Skip to main content

ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป

Kasian Tejapira(27/11/55)

 

นโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์-ทักษิณ ผมรับได้ในทางการเมือง เป็นการใช้อำนาจรัฐและเงินงบประมาณรัฐแทรกแซงขนานใหญ่เข้าไปในตลาดข้าว ทำให้รัฐกลายเป็นผู้ซื้อรายใหญ่สุด เป้าหมายเพื่อ "เกลี่ย" ผลประโยชน์การค้าข้าวที่เคยจัดสรรแบ่งกันแต่เดิมในหมู่กลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเสียใหม่ โดยให้ประโยชน์กับชาวนาบางกลุ่มมากขึ้น ซึ่งก็ย่อมมีผู้เสียประโยชน์ ไม่พอใจและพยายามต่อต้านคัดค้าน เช่น ผู้ส่งออกข้าว เป็นต้น ต้นทุน/ผลได้การเมืองเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องชั่งวัดน้ำหนักทางสังคมและรัฐบาลคงต้องจ่าย/ได้คะแนนในทางการเมือง
 
นั่นแปลว่าข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
 
อย่างไรก็ตาม ในแง่เศรษฐกิจและการบริหารจัดการ นโยบายจำนำข้าวแบบที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำ มีจุดอ่อนอยู่ และเสี่ยงสูง (แบบฉบับทักษิณ) คือเครื่องมือแทรกแซงได้แก่เงินงบประมาณส่วนรวม และก้อนโต ไม่น่าจะทำได้ต่อเนื่องยาวนาน เมื่อทำแล้ว กระทบทำให้ตลาดข้าวเปลี่ยน "ระเบียบเก่า" ทรุดโทรมไป ขณะที่ "ระเบียบใหม่" ยังไม่ลงตัวและอาจไม่ยืนนาน กล่าวคือ มีจุดอ่อนรั่วไหลเยอะ ต้นทุนจะสูงกว่าที่ควรจะเป็น และการยืนนานของนโยบายนี้ไม่แน่ไม่นอนว่ารัฐจะทนควักกระเป้าแทรกแซงเพื่อ "เกลี่ย" ผลประโยชน์ใหม่ไปอีกนานเท่าไร
 
มองเป็น package ทั้งชุด นี่ก็เป็นแนวนโยบายแบบฉบับทักษิณ คือใช้อำนาจรัฐแทรกแซงเศรษฐกิจ จัดการ "เกลี่ย" ผลประโยชน์ในภาคส่วนเศรษฐกิจต่าง ๆ ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกันใหม่ เพื่อปฏิรูปมันไปในทิศทางที่ได้คะแนนเสียงทางการเมือง แต่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจของบางฝ่ายเฉพาะหน้าซึ่งพวกเขาย่อมออกมาต่อต้านคัดค้าน ที่ทำก็ด้วยคำอธิบายว่าจะเอื้อเฟื้อต่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว (ยุทธศาสตร์ส่งออกสินค้าถูกแรงงานถูกหมดอนาคตแล้ว ต้องเสริมสร้างตลาดภายใน เพิ่มกำลังซื้อ กระตุ้นอุปสงค์ หรือเพิ่มสมรรถนะทางเศรษฐกิจสังคมของคนส่วนมากบางกลุ่มบางชนชั้น เป็นต้น) ไม่ว่านโยบายจำนำข้าวที่เอื้อประโยชน์ชาวนากลาง, ขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท/วันทั่วประเทศที่เอื้อประโยชน์กรรมกรในอุตสาหกรรมย่อยและกลาง เป็นต้น มันเสี่ยงสูงและหักหาญและจะกระทบกลุ่มผลประโยชน์สำคัญและถูกต่อต้านเยอะ
 
พูดอีกอย่าง ยุคของระบอบนโยบายแน่นอนตายตัวคาดการณ์ได้ที่วางอยู่บนการจัดแบ่งผลประโยชน์อย่างที่เคยเป็นมา และรองรับด้วยฐานเสียงสนับสนุนของเทคโนแครต นักวิชาการ นักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ครอบงำเดิม หมดไปแล้ว พรรคทักษิณ-ยิ่งลักษณ์มีแนวโน้มบุคลิกประจำที่จะหยิบนโยบายเหล่านี้ที่เขาคิดว่าสำคัญต่อยุทธศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจ มารื้อใหม่ "เกลี่ย" ผลประโยชน์กันใหม่ทีละภาคส่วน ซึ่งเท่ากับเป็นการ politicize ระบอบนโยบายที่เคยสงบเงียบแบ่งปันกันกินอย่างราบคาบ(โดยอาจไม่เท่าเทียมหรือเป็นธรรมแก่ฝ่ายต่าง ๆ และสังคมก็ได้)ขนานใหญ่ ก่อให้เกิดการขัดแย้งต่อสู้อย่างดุเดือดในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น สมาคมอุตสาหกรรม, วงการค้าข้าว, ปัญญาชนสาธารณะ ฯลฯ ดังที่เรากำลังประสบพบเห็น

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง