Skip to main content

Kasian Tejapira(22/10/55)

ผมใคร่บอกกับคุณ “ฉลาด แซ่โง่” ผู้เขียนบทความ “ความรุนแรงที่ปฏิวัติ: โต้พวกเพ้อเจ้อ” http://prachatai.com/journal/2012/10/43263 ว่า

๑) มันเป็นเรื่องความเชื่อ ผู้เขียนอยู่ในโหมดปฏิวัติพคท.-เหมาอิสต์เมื่อหลายสิบปีก่อนไม่เปลี่ยน การย้ายความเชื่อ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ไม่ใช่เรื่องง่าย

๒) ผู้เขียนดูจะไม่ได้อ่านงานของอ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์เรื่อง non-violence เลย จึงมิสามารถพิจารณาหรือเล็งเห็นสันติวิธีในแง่ประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติทางการเมืองหรือในแง่จริยธรรมได้ ในโลกแห่งความเป็นจริงอันแคบชัดของผู้เขียนนั้น อะไรที่แปลกใหม่เบี่ยงเบนย่อมเพ้อเจ้อทั้งสิ้น

ในฐานะความเขื่อที่คอยผดุงให้ประวัติการต่อสู้เสียสละและชีวิตของบุคคลมีค่าน่าภูมิใจ อาจไม่ใช่ภารกิจที่จะต้องเข้าไปรื้อมัน แต่เท่าที่เป็นวิวาทะสาธารณะก็ควรพูดเท่าที่จำเป็น

Max Weber

นิยามเรื่องรัฐของ Weber มาจากความเรียงโด่งดังเรื่อง “Politics as a vocation” http://anthropos-lab.net/wp/wp-content/uploads/2011/12/Weber-Politics-as-a-Vocation.pdf ย่อหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นดังนี้ (นิยามรัฐสมัยใหม่ขีดเส้นใต้อยู่กลางย่อหน้า)

'Every state is founded on force,' said Trotsky at BrestLitovsk. That is indeed right. If no social institutions existed which knew the use of violence, then the concept of 'state' would be eliminated, and a condition would emerge that could be designated as 'anarchy,' in the specific sense of this word. Of course, force is certainly not the normal or the only means of the state--nobody says that--but force is a means specific to the state. Today the relation between the state and violence is an especially intimate one. In the past, the most varied institutions-- beginning with the sib--have known the use of physical force as quite normal. Today, however, we have to say that a state is a human community that (successfully) claims the monopoly of the legitimate use of physical force within a given territory. Note that 'territory' is one of the characteristics of the state. Specifically, at the present time, the right to use physical force is ascribed to other institutions or to individuals only to the extent to which the state permits it. The state is considered the sole source of the 'right' to use violence. Hence, 'politics' for us means striving to share power or striving to influence the distribution of power, either among states or among groups within a state.

กำเนิดของความเรียงเรื่อง Politics as a vocation นี้มีที่มาจากคำบรรยายที่ Weber แสดงแก่สหภาพนักศึกษาเสรีที่มหาวิทยาลัยมิวนิคเมื่อมกราคมปี ๑๙๑๙ ในระหว่างการปฏิวัติเยอรมัน (หลัง WWI) นั้นเองจะเห็นได้ว่า Weber ขยายนิยามรัฐจากข้อสังเกตของทรอตสกี้ว่า "รัฐทุกรัฐย่อมตั้งอยู่บนการใช้กำลัง" โดยบวกเชื้อมูลสำคัญเรื่อง ๑) ผูกขาดความรุนแรง/การใช้กำลัง ๒) โดยชอบธรรม ๓) เหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ เข้าไป

เงื่อนไขข้อ ๒) นี้เองเป็นปมที่สอดรับกับข้อสังเกตเรื่องอำนาจรัฐของอ.ชัยวัฒน์ที่ว่าในที่สุด การยอมทำตามรัฐ สำคัญกว่าการใช้กำลังบังคับควบคุมพลเมืองโดยรัฐ เพราะรัฐมีพลังศักยภาพจำกัดในการทำประการหลัง ถือปืนจ่อจี้พลเมืองนาน มือย่อมสั่น ในที่สุดฐานอำนาจรัฐที่แท้คือการยอมตามของพลเมือง ตรงนี้เองคือฐานคิดของชัยวัฒน์เรื่อง อารยะขัดขืน civil disobedience ว่าเป็นช่องทางการต่อสู้ที่ทรงพลังในการกร่อนจำกัดอำนาจรัฐได้ของพลเมือง จะเพื่อการปฏิวัติชนชั้นหรือปฏิรูปนโยบายหนึ่ง ๆ เป็นเรื่องเป้าหมายการเมือง ซึ่งไม่ใช่ประเด็นโต้แย้งถกเถียงของวิธีคิดแบบสันติวิธี เพียงต้องการชี้ว่าสันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง