Skip to main content

มองหลากมุม: ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?

ที่มาภาพประกอบ theloftatlizs.com

Kasian Tejapira(14/11/55)

Write a comment...

Options
Bus Tewarit


"คิดไม่ตกว่าขณะที่เราปกป้องเสียงและดุลยพินิจของประชาชนว่าดีกว่าผู้ทรงศีลหรือนักสิทธิจากการแต่งตั้ง แล้วเราจะปฏิเสธเฮชสปีชได้ไง เราจะบอกได้ไงว่าการพูดแบบนั้นแบบนี้มันจะทำให้คนทำร้ายกับโดย "การพูด" ในเมื่อคุณบอกว่าปนะชาชนมีดุลยพินิจของตนเอง? มันขัดกันมั้ย"

 

Kasian Tejapira

๑) ประชาชน ผม คุณ ไม่ใช่เทวดา เรามีทังด้านสว่าง ด้านมืด ประชาชนโง่ ผิด หลงใหลได้พอ ๆ กับนักสิทธิจากการแต่งตั้งและนักวิชาการ ปัญญาชนทุกคน รวมทั้งผมด้วย ไม่มีใครเกิดมาดวงตาเห็นธรรมแต่เกิด และดวงตาเห็นธรรมตลอดไป

๒) ดังนั้น สังคมหนึ่ง ๆ จึงสร้างกฎในการอยู่ร่วมกันของผมกับคุณและคนที่ต่ำกว่าเทวดาทุกคนไว้เสมอ ไม่ว่าประชาชนทั่วไปหรือคนกลุ่มใดจึงมีการวางระเบียบกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อขีดเส้นกำกับการพูดการเขียนเอาไว้ ไม่ให้ไปรังแกทำร้ายล่วงเกินผู้อื่น เช่น คำบรรยายของผมในชั้นเรียน ไม่มีเสรีภาพจะยุให้นักศึกษาไปฆ่าอาจารย์ท่านอื่น เพราะเขาเลวผิดมนุษย์ รับใช้เผด็จการ ฆ่ามันเลย หรือไม่มีสิทธิ์จะพูดลวนลามรังควานทางเพศต่อนักศึกษาในชั้น แล้วอ้าง free speech, เพราะเราอยากได้เสรีภาพทางการพูดการเขียนการแสดงออก แต่เราไม่บ้าพอจะเอาแต่เสรีภาพอย่างเดียว แล้วทำลายคุณค่าอื่น ๆ ทั้งหมด เช่น สิทธิในร่างกายชีวิตทรัพย์สิน การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่นและตัวเอง เราอยากได้อันหลังน้้นด้วย อย่าบอด อย่าบ้าจนเอาแต่เสรีภาพแล้วไม่คำนึงอย่างอื่นเลย มันเท่ากับบอดและบ้าจนเอาแต่เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น จนทำลายเสรีภาพหมดเลย มันบอดและบ้าพอ ๆ กัน อย่าเป็นเอง อย่าชวนโลกเป็น

๓) ปัญหาอยู่ตรงกฎเกณฑ์นี้วางอย่างไร กำหนดจากไหน ทุกคนมีสิทธิ์เข้าร่วมและเห็นต่างอย่างเสมอภาคกันไหม? และเมื่อวางกฎเกณฑ์แบบมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคแล้ว จะมีขั้นตอนกระบวนการเปิดให้คนเห็นต่างแสดงความเห็นต่างและนำไปสู่การแก้ไขโดยเสียงข้างมากตามกฎกติกาอย่างไร?

๔) สิ่งที่ควรเกลียดชังไม่ใช่การมีกฎเกณฑ์ แต่คือกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์ที่ไม่เปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมกำหนดเองและทำตามสิ่งที่ตัวเองกำหนดอย่างเสมอภาค และมีเนื้อหาที่ปิดกั้นเกินไปจนทำลายการสื่อสารและสร้างสรรค์ที่พึงมี

๕) เรื่องนี้ในทุกสังคมไม่มีคำตอบสำเร็จรูปตายตัว hate speech หรือ speeches อื่น ๆ ที่ก่อปัญหาหมายถึงอะไรบ้าง? เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ต้องขีดเส้นกั้นคืออะไร? ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปแกะกล่องใช้ได้ถาวรทุกสังคม ไม่มี มันเป็นเรื่องเราต้องลงมานั่งคุยกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันเถียง และวางว่ามันอยู่ตรงไหน เท่าที่เราคิดออกตอนนี้ ใช้ไป ถ้าผิด ก็มีกระบวนการมาคิดกันใหม่ แก้ใหม่อีก ไม่มีหรอกกฎภาววิสัยสากลจากเทวดาที่เหมือนกันทุกสังคมและทุกคนต้องเห็นด้วย และไม่ควรมีกฎอัตวิสัยของผู้มีอำนาจ กฎเดียวที่ควรมีคือกฎที่ intersubjective ไม่ใช่ objective ล้วน ๆ หรือ subjective ล้วน ๆ

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง