Skip to main content

Kasian Tejapira(13/2/56)

ข่าวผู้ก่อความไม่สงบยกกำลังบุกตีค่ายนาวิกโยธินที่นราธิวาสกลางดึกคืนที่ผ่านมาซึ่งมีการสู้รบหนักและฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบแตกพ่ายเสียชีวิตเกือบยี่สิบราย ดูจะสอดรับกับข่าวคราวช่วงหลังที่ปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบรุกเร้ารุนแรงครึกโครมขึ้นเป็นลำดับ คำถามคือมันสะท้อนสถานการณ์อย่างไร?

ผมไม่ได้ติดตามสถานการณ์ภาคใต้อย่างเกาะติดใกล้ชิดมาหลายปีแล้ว ด้วยความสนเท่ห์ใจ ได้สอบถามไปยังอดีตนักข่าว นักวิจัยชายแดนภาคใต้ท่านหนึ่งซึ่งรู้จักกันและตอนนี้กำลังไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลบอกเล่าแนวโน้มตามที่เธอสังเกตเห็นว่าการยกระดับการโจมตีรุนแรงขึ้นและมีลักษณะสู้รบเป็นแบบแผนทางทหารมากขึ้นนี้สะท้อนอะไร? ขั้นตอนใหม่ของการต่อสู้ทางทหารหรือ? รึว่าเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ?

เธอวิเคราะห์ให้ฟังว่า:

มันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ที่ไม่เปลี่ยนของผู้ก่อความไม่สงบ อันเป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการทหารมากกว่างานการเมือง เท่าที่เธอสืบทราบปีกการเมืองของขบวนการอ่อนแอ ทำให้ปีกการทหารครอบงำขบวนการ เอาเข้าจริงผู้ก่อความไม่สงบกำลังสูญเสียแรงสนับสนุนของมวลชนลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากปฏิบัติการรุนแรงแบบไม่จำแนกแยกแยะเป้า รวมทั้งการโจมตีเป้าหมายอ่อนเปราะ เช่น ครู เป็นต้น แม้แต่เอ็นจีโอซึ่งเห็นด้วยกับการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่มากขึ้นก็ยังถึงกับเริ่มใช้ถ้อยคำว่านี่มันเข้าข่าย "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" ขณะที่ประชาคมสากลส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเช่นกัน ในทางการเมือง ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบจึงเพลี่ยงพล้ำเสียท่า แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงจะยุติในเวลาอันใกล้

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"