Skip to main content

Kasian Tejapira(13/2/56)

ข่าวผู้ก่อความไม่สงบยกกำลังบุกตีค่ายนาวิกโยธินที่นราธิวาสกลางดึกคืนที่ผ่านมาซึ่งมีการสู้รบหนักและฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบแตกพ่ายเสียชีวิตเกือบยี่สิบราย ดูจะสอดรับกับข่าวคราวช่วงหลังที่ปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบรุกเร้ารุนแรงครึกโครมขึ้นเป็นลำดับ คำถามคือมันสะท้อนสถานการณ์อย่างไร?

ผมไม่ได้ติดตามสถานการณ์ภาคใต้อย่างเกาะติดใกล้ชิดมาหลายปีแล้ว ด้วยความสนเท่ห์ใจ ได้สอบถามไปยังอดีตนักข่าว นักวิจัยชายแดนภาคใต้ท่านหนึ่งซึ่งรู้จักกันและตอนนี้กำลังไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลบอกเล่าแนวโน้มตามที่เธอสังเกตเห็นว่าการยกระดับการโจมตีรุนแรงขึ้นและมีลักษณะสู้รบเป็นแบบแผนทางทหารมากขึ้นนี้สะท้อนอะไร? ขั้นตอนใหม่ของการต่อสู้ทางทหารหรือ? รึว่าเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ?

เธอวิเคราะห์ให้ฟังว่า:

มันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ที่ไม่เปลี่ยนของผู้ก่อความไม่สงบ อันเป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการทหารมากกว่างานการเมือง เท่าที่เธอสืบทราบปีกการเมืองของขบวนการอ่อนแอ ทำให้ปีกการทหารครอบงำขบวนการ เอาเข้าจริงผู้ก่อความไม่สงบกำลังสูญเสียแรงสนับสนุนของมวลชนลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากปฏิบัติการรุนแรงแบบไม่จำแนกแยกแยะเป้า รวมทั้งการโจมตีเป้าหมายอ่อนเปราะ เช่น ครู เป็นต้น แม้แต่เอ็นจีโอซึ่งเห็นด้วยกับการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่มากขึ้นก็ยังถึงกับเริ่มใช้ถ้อยคำว่านี่มันเข้าข่าย "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" ขณะที่ประชาคมสากลส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเช่นกัน ในทางการเมือง ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบจึงเพลี่ยงพล้ำเสียท่า แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงจะยุติในเวลาอันใกล้

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม