ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สำนักงานทั่วไปของคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออก เอกสารเวียนลับ “รายงานว่าด้วยสถานภาพปัจจุบันในด้านอุดมการณ์” ให้หน่วยพรรคเหนือระดับเทศบาลทั่วประเทศจัดศึกษาอภิปรายเอกสารนี้ในหมู่สมาชิกและผู้ปฏิบัติงาน กระชับงานอุดมการณ์และการเมืองให้เข้มข้นขึ้น โดยตอนหนึ่งของรายงานได้เอ่ยถึง “ปัญหาหลัก ๗ ประการ” ที่ต้องเน้นระแวดระวังในปริมณฑลอุดมการณ์
และในช่วงใกล้กันนั้นเองก็ได้มีคำชี้แนะจากศูนย์กลางพรรคและรัฐบาลให้ดำเนินการรณรงค์ “เจ็ดไม่พูด” ในองค์การหน่วยงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม (ดูรายละเอียดในภาพประกอบ) ขอร้องให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยไม่พูดไม่สอนเรื่องทั้งเจ็ด และสั่งถอดถอนลบทิ้งโพสต์ออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีข้อความว่า “เจ็ดไม่พูด” , “เจ็ดต้องไม่”, หรือ “ปัญหาทั้งเจ็ด” ออกหมด
รายละเอียดแคมเปน "เจ็ดไม่พูด"
นี่นับเป็นสัญญาณการถอยหลังเข้าคลองทางอุดมการณ์ครั้งสำคัญของแกนนำพรรครุ่นใหม่ที่มีสีจิ้นผิงเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคและประธานาธิบดี และหลี่เค่อเฉียงเป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ก่อนหน้านี้สีจิ้นผิงได้แสดงท่าทีเปิดกว้าง เอ่ยอ้างถึงการเดินหน้าสู่ “ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” แต่มิทันไรก็หันหลังกลับตาลปัตรเป็น “เจ็ดไม่พูด” เสียแล้ว
พรรคคอมมิวนิสต์จีนมักมีแคมเปนอุดมการณ์แบบนี้เป็นระยะ ๆ ก่อนหน้านี้ก็มีแคมเปน “ห้าไม่ทำ” → แคมเปน “ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย” → และล่าสุดคือแคมเปน “เจ็ดไม่พูด” ในปัจจุบัน
แคมเปน "ห้าไม่ทำ" --> "ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย" --> "เจ็ดไม่พูด"
นับแต่หลังเกิดเหตุการณ์ปราบปรามการประท้วงของนักศึกษา, กรรมกรและประชาชนอย่าง นองเลือด “๔ มิถุนายน” (ค.ศ. ๑๙๘๙) ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่งเป็นต้นมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดตั้ง “แผนกอุดมการณ์/การเมือง” ขึ้นในทุกมหาวิทยาลัยแล้วบรรจุคนของพรรคที่ซื่อ สัตย์เข้มข้นทางอุดมการณ์เข้าไป คนเหล่านี้ไม่ทำวิจัย ไม่มีผลงานความสามารถโดดเด่นทางวิชาการ แต่จะเข้ากุมการนำผ่านตำแหน่งสำคัญทางบริหารและตำแหน่งศาสตราจารย์ของคณะ/มหาวิทยาลัยเสมอ เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรคและจัดแถวบรรดาคณาจารย์และนักศึกษาให้อยู่ในกรอบอุดมการณ์ดังกล่าว เสมือนหนึ่งพรรคได้ยึดครองมหาวิทยาลัยเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรม
สีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียง ผู้นำรุ่นใหม่ของพรรคและรัฐจีน
ต่อเรื่องนี้ ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตยที่อยู่ในนิวยอร์ค ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า:
“ก่อนนี้พักหนึ่ง พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องการจะป้อนยาอีให้ประชาชนและพร่ำพูดถึงการสร้าง “ความฝันของจีน” และ “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ผู้คนบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนบาง คนหลงคิดไปว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยากปฏิรูป ดังนั้นพวกเขาก็เลยปากกล้าขึ้น แต่แล้วทางพรรคก็เห็นว่าพวกเขาชักจะปากกล้าเกินไป ก็เลยฟาดพวกเขาล้มลง แล้วบอกพวกเขาให้ทำตามหลัก “เจ็ดไม่พูด” แม้แต่คำว่า “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ก็ยังพูดไม่ได้เลยทั้งที่เอาเข้าจริงสีจิ้นผิงเองนั่น แหละเป็นผู้หยิบยกมันขึ้นมาเองแต่แรก เหลือเชื่อจริง ๆ ประชาชนจีนก็เลยไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ไม่รู้ว่าตกลงแล้วจะให้พวกเขาพูดหรือไม่พูดอะไรกันแน่?
ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตย
“ผมคิดว่าพูดให้ถึงที่สุดนี่เป็นเรื่องดี เพราะมันช่วยให้ปัญญาชนจีนตาสว่าง พวกเราทั้งหลายได้ตระ หนักว่าเราถูกหลอกอีกแล้ว สิ่งที่เรียกว่าการปกครองใหม่ของสีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียงและวาทกรรม ของพวกเขาที่เรียกว่าการปฏิรูปนั้นมันก็แค่ฟองสบู่ทั้งเพ มันเป็นแค่ละครของพรรคเพื่อลวงประ ชาชนอีกเรื่องหนึ่งแค่นั้นเอง อันที่จริงแล้วมันจึงดีสำหรับขบวนการประชาธิปไตยในที่สุด”
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"