Skip to main content
 
หลังจากฟังข้อถกเถียงเรื่อง "การบังคับใส่เครื่องแบบนักศึกษาเข้าเรียน" มาพักหนึ่งและตรวจข้อสอบไปหลายเล่ม ผมสังเกตเห็นว่ามีความเข้าใจผิดสำคัญบางอย่างในหมู่นักศึกษาทั่วไป
 
คือเข้าใจว่า การใส่เครื่องแบบ/แต่งกายชุดนักศึกษาเหมือนกันหรือเป็นแบบแผนเดียวกัน = ความเสมอภาค
 
จริงหรือ? ใช่แน่หรือ?
sameness/uniformity
 
ลองคิดดูดี ๆ มันไม่จริงและไม่ใช่นะครับ!
 
ในแง่ concept, Equality ไม่ได้เท่ากับ Sameness/Uniformity
 
เวลาเราเรียกร้องให้คนเราเท่ากัน ไม่ได้แปลว่าคนเราจะเท่ากันได้ทุกคนต้องเหมือนกันเสียก่อนด้วย เช่น ทำอาชีพเดียวกัน แต่งกายเหมือนกัน นับถือศาสนาเหมือนกัน มีอุดมการณ์หรือจุดยืนการเมืองเหมือนกัน มีเพศเดียวกัน มีภูมิลำเนาหรือเชื้อชาติหรือพูดภาษาตรงกัน ฯลฯ 
 
แต่แปลว่าทุกคนถูกปฏิบัติต่อโดยสมมุติเสมือนหนึ่งว่าพวกเขาเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงซึ่งอาชีพ, เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, ศาสนา, ความเชื่อทางการเมือง, เพศที่แตกต่างกันไปของพวกเขา ฯลฯ ตอบข้อสอบถูก ก็ได้เกรดได้คะแนนเท่ากัน ไม่ใช่ว่าคะแนนจะต่างกันไปตามเพศ, ศาสนา, เชื้อชาติ, ภาษา, ภูมิลำเนา, เครื่องแต่งกาย, สีหรือค่ายอุดมการณ์ทางการเมือง ฯลฯ
 
Equality ตรงข้ามกับ Inequality (ไม่ใช่ Sameness)
 
ส่วน Sameness/Uniformity ตรงข้ามกับ Difference (ไม่ใช่ Inequality)
 
แปลว่าคนเราไม่เหมือนกัน (เช่น แต่งกายต่างกัน) ก็เท่ากันได้
 
และก็แปลด้วยว่าต่อให้คนเราเหมือนกัน (แต่งกายเหมือนกัน, เพศเดียวกัน, ถือศาสนาเดียวกัน, มีเชื้อชาติเดียวกัน, พูดภาษาเดียวกัน, ฯลฯ) ก็ไม่เสมอภาคกันได้
 
อย่าหลงผิด, ผิดฝาผิดตัว
equality for all who are different 
 
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
same nation but unequal

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"