Skip to main content

ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ

ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ ยิ่งในสังคมที่มีระบบเศรษฐกิจตลาดแบบทุนนิยม ก็ยิ่งปกติและกระทั่งเป็นองค์ประกอบจำเป็นที่ขาดเสียมิได้เพื่อให้เศรษฐกิจแข่งขัน-แพ้ชนะ-เหลื่อมล้ำแบบตลาดเสรีพอหาทางออกปรับตัวแก้ไขปัญหาได้ โดยมีกฎเกณฑ์ระเบียบกติกากระบวนการในกรอบกฎหมายของระบอบประชาธิปไตยให้แก้ไขกันไปตามธรรมดา

สิ่งผิดปกติคือการที่กปปส.และพรรคพวกก่อม็อบอนาธิปไตย ปิดย่านสำคัญของกรุงเทพฯและสถานที่ราชการ ทำให้รัฐและเศรษฐกิจเป็นอัมพาตหรือล้มเหลวบางส่วน เพื่อบังคับล้มระบอบการเมืองโดยพลการและผิดกฎหมายในระยะที่ผ่านมา

แต่การยึดและควบคุมอำนาจปกครองแล้วกดปราบบังคับด้วยอำนาจอัยการศึกให้ความขัดแย้งอัดอั้นเก็บไว้ไม่ปรากฏสำแดงอาการออกมาก็เป็นสิ่งไม่ปกติเช่นกัน มันขัดฝืนกับธรรมชาติปกติธรรมดาของสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลาย และขัดฝืนกับธรรมชาติปกติธรรมดาของเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีการแข่งขัน-แพ้ชนะ-เหลื่อมล้ำ ยิ่งคงมาตรการอำนาจผิดปกตินี้ไว้นานเท่าไหร่ สังคมพหุนิยมและเศรษฐกิจทุนนิยมก็จะสำแดงอาการทำงานผิดปกติ (malfunction, dysfunction) ออกมามากขึ้นบ่อยขึ้นเพียงนั้น จนผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว

แรงต่อต้านคสช.และรัฐบาลที่ปรากฏดกดื่นมากขึ้นในระยะหลังนี้ก็สะท้อนความจริงข้อนี้

โดยใช้อำนาจกฎอัยการศึกอุดปิดช่องทางหรือร่องรูปกติที่ใช้ระบายหาทางออกจากความขัดแย้งของสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งหลายเรื่องไม่จำต้องเกี่ยวข้องกับคสช.และรัฐบาลโดยตรง การณ์กลับกลายเป็นว่าคสช.และรัฐบาลเหมารวมเอาความขัดแย้งทั้งหมดไประดมสุมใส่ตัวเอง กลายเป็นคู่กรณีในทุก ๆ ความขัดแย้งที่ไปใช้อำนาจปิดช่องทางการแสดงออกไว้

การเหมารวบอำนาจ จึงเป็นที่มาของการเหมารวบความขัดแย้ง ทำให้กลายเป็นเป้าโจมตีรวมศูนย์ รู้สึกปวดหัว เหนื่อยหน่าย เปลืองตัว อยากรีบทำให้เสร็จ ๆ แต่ก็ไม่ละเลิกการคงอำนาจผิดปกติอันเป็นสาเหตุที่มาของอาการทั้งปวง

ผมเห็นว่าทางเลือกเฉพาะหน้าของคสช.และรัฐบาลเพื่อประคองตัว พยายามทำภารกิจที่กำหนดให้ตัวเองตามโรดแมป 1 ปีข้างหน้าให้ราบรื่นหน่อย ลำบากน้อยหน่อย ขัดแย้งน้อยหน่อย คือ

- คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด

- ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติลงให้เหลือต่ำสุด

แต่ผมเกรงว่าท่านคงไม่ทำ และอาจทำตรงข้ามกับที่แนะนำข้างต้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็น่าเป็นห่วงบ้านเมืองของเรา

 

หมายเหตุ : บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' วันที่ 20 พ.ย.2557

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"