การพูดคุยในงานเสวนาวันที่ 23 กุมภาพันธ์เมื่อที่ผ่านมา1 ถือว่าสนุกและได้รับฟังเสียงของคนที่มีจุดยืนที่เห็นด้วยต่อรัฐธรรมนูญ 60 พอสมควร'ขอไม่พูดถึงก่อน'
ขอยกการพูดคุยของอาจารย์พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธ์ุ "เราไม่สามารถตัดวาระของปัญหาทางสังคมออกจากปัญหาสิทธิเสรีภาพ ปชต. การจัดโครงสร้างทางสังคมได้
....น่าแปลกนะที่ นักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ค่อนข้างที่จะมีศักยภาพ คือ พื้นที่นี้ เขาอยู่ภายใต้สภาวะปัญหากดดันนอกรั้วมหาลัยเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว เด็กที่เข้ามาเรียนที่นี่เขาคาดหวังถึงองค์ความรู้ที่จะเอาไปใช้ในการทำให้ชีวิตนอกรั้วมหาลัยเขาเนี่ยดีขึ้น แต่อาจารย์เชื่อมั้ยว่า ที่นี่ไม่เคยมีชมรมนักศึกษาที่พูดถึงปชต.ที่ตรงประเด็น เขาจะไปพูดเรื่องสิทธิเสรีภาพ/มนุษยชน การต่อต้านคอร์รัปชั่น และมีชมรมจิตอาสานู่น นี่ อาจารย์บอกว่า ทุกเรื่องที่คุณพูดเนี่ย มันดีทั้งนั้น
แต่เรื่องนึงที่ผมตั้งคำถามคือ 'คุณจะแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน ทุจริตได้อย่างไร ถ้าคุณไม่มุ่งไปพูดเรื่องปัญหาทางโครงสร้างทางการเมืองให้ปชช.มีส่วนร่วมมากที่สุด ขยายปชต.ออกมา กระจายอำนาจออกมา'
ตัวนี้ต่างหากที่เป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นวาระทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงทรัพยากร การศึกษา ปัญหาสาธารณสุขต่างๆ ทุกอย่างมันพุ่งออกมาให้ เห็นได้ชัดคือตอนนี้เนี่ย ที่การเมืองมันไม่เปิด ปัญหามันจึงถูกกลบหมด ด้วยคอนเซปต์เดียวว่า 'กระทบความมั่นคง' นี่แหละคือสิ่งที่เกิดตอนนี้"
ประเด็นที่ผมจะกล่าวคือ การขับเคลื่อนของนักศึกษาในมหาลัยที่มันไม่ได้มีการแตะเรื่องการเมือง/ประชาธิปไตยแบบส่วนร่วม(ถึงในช่วงหลัง จะมีกลุ่มนอกมหาลัยเริ่มที่จะพยายามเข้าขบวนกระแสหลัก เพื่อเป็นการพูดคุยการเลือกตั้งก็เถอะ) ในส่วนที่อาจารย์พูดคุยผมเห็นด้วย แต่ประเด็นในด้านกิจกรรมต่างๆในชมรมมหาลัยนั้น สิ่งหนึ่งที่ผมพยายามที่จะอธิบายคือ หลายๆชมรมมีการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่มักจะตอบสนองต่อรัฐ/หน่วยงานรัฐเสียมากกว่า มีภูมิฐานของการสร้างผู้นำที่ผิดไปจากร่องจากรอยและคำนิยามถึงกิจกรรมที่มันบิดเบือนไปอย่างคลุมเครือ หรือแม้แต่ตัวผมเอง ก็ถูกมักถามถึงในประเด็นกิจกรรมว่า “ทำไมถึงไม่ลงกิจกรรมอาสา?(ที่นี่มีกิจกรรมในรูปแบบนี้เยอะมาก)” คำตอบของผมตลอดที่ผ่านมาและมาถึงทุกวันนี้ ผมมักจะตั้งแง่ว่า ทำไมถึงต้องอาสาทำกุศลขนาดนั้นด้วย? ‘แน่นอนว่าการบริจาคหรือการกุศลนั้นช่วยบรรเทาความรู้สึกทางจิตวิญญาณและบรรเทาความลำบากในชีวิตของคนยากไร้ได้บ้าง’ แต่ทำไม เขาถึงยังเป็นอยู่อย่างนั้นตลอดมา? หรือวิธีที่ดีที่สุดในช่วงเวลาที่เราร่ำเรียนในมหาลัยคือการนำงบที่ได้มันมา มาใช้กับการทำกิจกรรมช่วยเหลือเรื่องเดิมสถานที่เดิมๆ ซ้ำๆ(ไม่ได้บอกว่าไม่ดีอย่างไร)
แต่จะถามต่อไปว่า เราจะทำอย่างนั้นตลอดไปเลยหรือ? เรื่องเหล่านี้ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน และอื่นๆของคนในพื้นที่แน่ๆ แต่สิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่วิถีทางในการแก้ปัญหา แต่มันเป็นการทำให้ปัญหายิ่งรุนแรงขึ้น การทำกิจกรรมอาสา(เพียงด้านเดียวตลอด)นั้นอาจจะช่วยบรรเทาความลำบากในชีวิตของคนได้บ้างหากแต่มันเป็นไม้เท้าค้ำยันที่ช่วยพยุงปัญหาที่เป็นอยู่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวซ้ำซากขึ้นมา
หนำซ้ำไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาหรือกระทั่งกล่าวถึงต้นตอของปัญหาเลย ส่วนผู้กระทำกิจกรรมก็ได้แต่ปวารณาตัวเองว่าได้ช่วยเหลือพวกเขาแล้ว และปล่อยให้เขาได้ใช้ชีวิตโดยที่ตัวเองไม่สามารถกำหนดชะตากรรมชีวิตของตัวเองได้เลยภายใต้สภาวะของทุนนิยม เหลือแค่พลางรอคอยกิจกรรมข้างหน้าว่าจะมาหยิบยื่นจุนเจือความเดือดร้อนของตนได้บ้าง
หรือในท้ายที่สุดถ้าเรามีจิตใจที่เอื้ออาทรที่จะมอบอุปกรณ์การเรียน สร้างหอสมุดชุมชนในกิจกรรมๆหนึ่งให้กับชุมชนที่ยากไร้ เรื่องเหล่านี้จะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาจริงๆหรือเปล่า ดังนั้นสิ่งแรกเราก็ควรที่จะมีความกล้าหาญมากพอที่จะตั้งคำถามว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงลำบาก ยากไร้ และกลายเป็นอย่างนี้ตั้งแต่แรก?
เราสามารถตั้งคำถามและหาคำตอบผ่านองค์ความรู้ที่เราได้ศึกษาในวิชาการทางรัฐศาสตร์ได้หรือไม่นะ? วิธีคิดทำน้อยให้ได้มาก? how to? อะไรอย่างนั้นช่วยถากถางหาคำตอบหรือมองในมุมมองอื่นได้หรือเปล่า? ในฐานะที่เรากำลังศึกษาและออกมาในรั้วมหาลัยเพื่อรับใช้สังคมในภายภาคหน้า อย่างที่เราได้ฝึกฝนความเป็นผู้นำกันอย่างแข็งขันตลอดที่ผ่านมา
สิ่งที่ผมอยากนำเสนอคือ ศาสตร์องค์ความรู้ที่ได้มันมาในมหาวิทยาลัย มันสามารถที่จะตอบโจทย์เพื่อช่วยเหลือสังคมได้จริงๆอย่างถอนรากถอนโคนได้หรือเปล่า การรวมกลุ่มเป็นองค์กรหรือชมรมทางด้านสันติภาพก็ดี จิตอาสาก็ดี ล้วนแล้วมีเป้าหมายร่วมกันคือสังคมที่ดี แต่ไฉนถึงไม่มีการรวมกลุ่มการพูดคุยประเด็นโครงสร้างทางการเมือง(บ้าง) จุดมุ่งหมายของการเมืองที่ดีนั้น มันจะช่วยหาทางให้กับการแก้ไขปัญหาต่างๆได้คลี่คลายง่ายมากขึ้น เพราะแน่นอนการเมืองที่มีเสถียรภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแข็งขัน มันจะสร้างพลังถ่วงดุลและต่อรองกับรัฐในปัญหาต่างๆได้ไม่ยากเท่าที่ทำมาตลอด
เพราะผมเชื่อเหลือเกินว่าการละลายงบไปกับการทำกิจกรรม(เดิมๆซ้ำซาก)ที่คล้ายกับการสมานแผลทุนนิยมที่เน่าเฟะของสังคมที่ได้รับผลกระทบของเศรษฐกิจที่ทอดทิ้งประชาชนนั้น มันไม่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในระดับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองเลย
อ้างอิงเสวนาสาธารณะ เรื่อง "การเลือกตั้งและความขัดแย้งในสังคมไทย" วิทยากร โดย ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ผศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี https://www.facebook.com/deepsouthwatch/videos/1965631870116634/
บล็อกของ Sam
Sam
ขอยกคำว่า คนที่ยกตัวเองว่าเป็นเสรีนิยมนี่ แต่ละคนไม่มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่างทางความคิดของผู้คนเลยอ่ะครับ.เอาล่ะ ถ้าพูดแล้ว คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกเข้าใจว่ากำลังหมายถึงเรื่องเหยียดหรือเปล่า.
Sam
การพูดคุยในงานเสวนาวันที่ 23 กุมภาพันธ์เมื่อที่ผ่านมา1 ถือว่าสนุกและได้รับฟังเสียงของคนที่มีจุดยืนที่เห็นด้วยต่อรัฐธรรมนูญ 60 พอสมควร'ขอไม่พูดถึงก่อน'
ขอยกการพูดคุยของอาจารย์พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธ์ุ "เราไม่สามารถตัดวาระของปัญหาทางสังคมออกจากปัญหาสิทธิเสรีภาพ ปชต.