Skip to main content

-1-


พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ..พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า


"
ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 .. 51, หน้า 13)


จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีความเข้าใจในพลังความสำคัญของคำพูด ของการใช้ภาษาที่สามารถทำให้คนรัก คนชัง สมานฉันท์หรือแตกแยกได้ และพลเอกเปรมคงตระหนักเป็นอย่างดีว่าคำพูด หรือการใช้ภาษาในลักษณะของการเดินสายพูดยุยง ปลุกปั่น สามารถนำไปสู่การรัฐประหารได้เช่นกัน


คำถามที่เราควรจะถามก็คือ การเดินสายเพื่อ “ใช้ภาษา” ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ผ่านมานั้น เป็นการใช้ภาษาเพื่อให้เกิดความโกรธ เกลียด ทำลายกัน หรือทำให้เกิดรัฐประหาร ใช่หรือไม่ ?

-2-


การใช้ภาษาของอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจที่สามารถทำให้คนโกรธเกลียดเคียดแค้น และฆ่ากันได้คือการใช้ภาษาของพวกฟาสซิสม์-ปฏิกริยา-ม็อบพันธมิตร ฯ


ครูภาษาไทยที่เพ้อพกกับความงามของภาษาไทย คงจะอกแตกตายหากได้ยินหรือได้อ่านการใช้ภาษาของคนกลุ่มนี้ เพราะพวกปฏิกริยาทำให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นมีศักยภาพล้นเหลือในการจูงใจให้เกิดความเกลียด เคียดแค้น กระทั่งฆ่ากันได้แบบที่ม็อบพันธมิตร ฯ กำลังทำอยู่ ที่ชัดเจนอย่างยิ่งก็คือการใช้ “ปฏิกริยาภาษา” กรณีดา ตอร์ปิโด


การใช้ภาษาของฝ่ายซ้ายในสมัยก่อน หลายคำหากนำมาใช้ในปัจจุบันอาจฟังดูแปร่งแปลก แต่มีความรุ่มรวย ประณีต พิถีพิถัน มีลักษณะเป็นนามธรรมสูง ในขณะที่พวกปฏิกริยาฝ่ายขวาแถวสะพานมัฆวานนั้น “ด่าอย่างเดียว” ยิ่งด่าได้ “แรง” มากเท่าไหร่ก็จะได้รับการยอมรับมากเท่านั้น


การใช้ภาษาของพวกปฏิกริยาม็อบพันธมิตร ฯ นั้นเรียกได้ว่าเข้าใกล้ขั้นสูงสุดแล้ว เกือบจะไปถึงขีดจำกัดของความเลวทรามต่ำช้าที่ภาษาจะชักพาไปได้ นี่นอกจากจะเป็น “ความสามารถของภาษา” แล้ว แน่นอนเป็นความสามารถของผู้พูดด้วย


ลองมาดูว่าพวกพันธมิตรฯ แสดงออกทางภาษาในกรณีของดา ตอร์ปิโด ได้เก่งกาจเพียงใด


ปฎิกริยาภาษาของสนธิ ลิ้มทองกุล “อีนางนี่นอกจากจะต้องติดคุกแล้ว จะต้องเอามันให้ตาย ผมพูดจากตัวผมเองสาบาน อย่าให้กูเจอมึงที่ไหนนะ กูจะตบให้คว่ำเลยอีห่า”


ปฏิกิริยาภาษาของ ศ.ดร. ภูวดล ทรงประเสริฐ “จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงที่สุด เท่าที่เคยมี คนไทยเคยวิพากษ์วิจารณ์ เคยมุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เท่ากับคนๆ นี้ เท่าที่ผมเกิดมา เท่าที่ผมศึกษามา ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์กว่า 200 ปี ไม่เคยมีใครวิพากษ์วิจารณ์ จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์เท่ากับอีนางเปรตตัวนี้...


พี่น้องจงจำไว้ว่า ถ้าหากสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังคงถูกลบหลู่จากคนเหล่านี้ โดยที่สำนักงานตำรวจไม่ทำอะไร พี่น้องจงจำไว้ได้เลยภายในเวลาไม่นาน ผมเชื่อว่าแผ่นดินนี้จะลุกเป็นไฟ จากความไม่พอใจที่อีนางกะหรี่ตัวนี้ด่าสถาบันสูงสุดอย่างแน่นอน”


ปฏิกริยาภาษาของ พลเอกปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ “รู้สึกดีใจกับประเทศที่สุด ที่วันนี้มีการจับกุมผู้ซึ่งผมคิดว่า บังอาจที่สุดเท่าที่ผมรับราชการมา ไม่เคยเจอผู้หญิงคนไหนเป็นแบบนี้ คำพูดที่สุภาพ คงใช้กับ ... ผมอยากจะพูดว่ามันเดียรัจฉานดีๆ นี่เอง” (หัวไม้ story, คำนิยมดา ตอร์ปิโด, ปราศรัยโดยกลุ่มพันธมิตร ฯ, http://blogazine.prachatai.com/user/headline/post/1103)


จากตัวอย่างที่ยกมา จะเห็นได้ว่าภาษาของพวก “ปฏิกริยา” นั้นสุดยอดเพียงใด ผู้อ่านจะถูกภาษาลากพาไปจนถึงสุดขอบของจินตนาการของความโกรธเกลียดชิงชัง ซึ่งแน่นอนว่าจินตนาการเหล่านี้เป็นเรื่องไร้เหตุผล


ภาษาของพวกม็อบพันธมิตร ฯ เป็นภาษาที่ไร้เหตุผล เป็นภาษาที่ใช้สำหรับการด่าทอแบบคนที่ไม่ได้รับการขัดเกลาหรือได้รับการอบรมสั่งสอน การใช้ภาษาของคนประเภทเหล่านี้ส่อให้เห็นถึงลักษณะที่ใกล้เคียงกับความเป็นสัตว์อย่างยิ่งในแง่ของการไม่มีวัฒนธรรม


ปฏิกริยาภาษาของม็อบพันธมิตร ฯ มีกลุ่มคำจำนวนมากที่เป็นคำกริยาและคำวิเศษณ์ที่ใช้สำหรับการขยายความและการเร้าอารมณ์จนเกินพอดี หรือเป็นคำเก่าโบร่ำโบราณ เป็นต้นว่า “กูจะตบให้คว่ำเลยอีห่า” ”อย่างบัดซบ อย่างสามานย์ อย่างสถุนที่สุด” “กะหรี่” ฯลฯ


การกล้าใช้คำเหล่านี้ในที่สาธารณะ และออกอากาศไปทั่วประเทศของม็อบพันธมิตรฯ โดยไม่มีใครท้วงติงนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกสำหรับสังคมไทยที่มือถือสาก ปากถือศีล เราลองคิดกันเล่น ๆ สิว่าถ้าท่านายก ฯ สมัคร สุนทรเวช พูดคำเหล่านี้ออกโทรทัศน์ช่อง NBT จะถูกประณามขนาดไหน แต่พอออกมาจากปากของพันธมิตร ฯ กลับ “รับกันได้”


-3-


พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และกลุ่มพันธมิตร ฯ ต่างเข้าใจถึงพลังความสำคัญของการใช้ภาษา การเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 49 และความแตกแยกชิงชังที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเป็นประจักษ์พยานว่าคนพวกนี้ “ใช้ภาษา” เพื่ออะไร.


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
บทความเรื่อง "แรงฤทธิ์ แต่อ่อนผล" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนรายวันhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11314) มีหลายประโยค หลายวลี หลายคำที่อ่านแล้วต้องส่ายหัวด้วยความอิดหนาระอาใจกับอคติและภูมิปัญญาของเขา แต่มีอยู่ประโยคหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้ผมสะดุดหยุดกึกในทันทีคือประโยคที่ว่า "ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"
เมธัส บัวชุม
ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง "ผู้หญิง 5 บาป" เพราะเคเบิลทีวีเอามาฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก อันที่จริงหนังเกรดต่ำแบบนี้ไม่เคยอยู่ในความคิดอยากจะดูเลย แต่ผมก็เหมือนคนอื่น ๆ คือฉากรักร้อน ๆ ดิบ ๆ ที่ปรากฏอยู่มากมายสะกดให้ต้องหยุดดู หนังเรื่องนี้เหมือนหนังโป๊ะที่ดูแล้ว ถึงจุดออกัสซั่มแล้ว ไม่ควรจะมีอะไรให้พูดถึงอีกหรือหากอยากจะพูดถึงก็คงเป็นเรื่องความไม่เอาไหนของคนทำหนังที่อุตส่าห์ขนดาราและนักแสดงรับเชิญมาเพียบ แต่ทำได้เพียงแค่หลอกขายฉาก "เอากัน" เท่านั้น โดยให้ผู้หญิง 5 คนผลัดกันมาเล่าประสบการณ์ทางเพศที่โลดโผนโจนทะยาน (มีอะไรกับลูกศิษย์ตัวเอง โดนยามข่มขืน ได้กับวินมอไซค์)
เมธัส บัวชุม
31 มกราคมที่ผ่านมา ทีมงานความจริงวันนี้ สร้างปรากฏการณ์ "แดงทั้งแผ่นดิน- Red in The Land" ที่ท้องสนามหลวงด้วยประชาชนหลายหมื่น คนรวยคนจน นักวิชาการหัวก้าวหน้า นักปฏิวัติ คนรุ่นใหม่รุ่นเก่ามากันพร้อมหน้า บรรยากาศฮึกเหิมคึกคัก ส่งสัญญาณความไม่พอใจที่ล้นอกไปยังเหล่าศักดินา เขย่าขวัญพวกอมาตยาธิปไตยให้หยุดสำเหนียกให้มากก่อนจะกระทำการใด อันที่จริงการสำแดงพลังที่รัชมังคลาภิเษกเมื่อวันที่ 1 พ.ย.51 ที่ประชาชนเข้าร่วมงานอย่างอุ่นหนาฝาคั่งนั้นน่าพรั่นพรึงและเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าชาว “แดง” พร้อมชนกับซากเดนของระบอบศักดินาเพียงขอให้มีเงื่อนไขที่เอื้อหรือสถานการณ์สุกงอมพอเท่านั้น…
เมธัส บัวชุม
  ผมชอบดูและเล่นฟุตบอลแม้ว่าจะเล่นไม่ดีเลยก็ตาม  มันเป็นความบันเทิงและกีฬาที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเหมือนเข้าฟิตเนส  แต่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผมไม่เคยชอบดูฟุตบอลไทยเลย อาจจะเปิดโทรทัศน์ไปเจอโดยบังเอิญ หยุดดูสักครึ่งนาที พอได้ยินเสียงพากย์ของนักพากย์กีฬาช่อง 7 ซึ่งไม่พากย์ไปตามเกมกีฬา หากแต่จ้องจะเข้าข้างทีมไทยท่าเดียวทำให้เสียอารมณ์จนต้องรีบเปลี่ยนช่องยิ่งเมื่อได้เห็นภาพข่าวนักฟุตบอลไทย แสดงอาการกักขฬะมีเรื่องวิวาทกับนักเตะต่างชาติอยู่บ่อย ๆ ด้วยแล้ว ผมยิ่งรู้สึกสมน้ำหน้า รู้สึกสมน้ำหน้ามากขึ้นเมื่อนักพากย์กีฬา…
เมธัส บัวชุม
ข่าวการตัดสินจำคุกชาวต่างชาติ “แฮร์รี่ นิโคไลเดส” ชาวออสเตรเลีย ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นนอกจากจะน่าอนาถใจไทยแลนด์แล้ว ยังสร้างแรงสะเทือนต่อสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพ” อยู่ไม่น้อยผมเคยคิดว่าไทยเป็นประเทศที่มี “เสรีภาพ” มากพอสมควร ถึงตอนนี้ก็ยังคิดเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่ว่า “เสรีภาพ” ในไทยนั้นมี “เพดาน” กั้น มี “ขีด” ที่ข้ามไปไม่ได้ เราไม่อาจใช้เสรีภาพไปวิพากษ์วิจารณ์บางคนหรือบางองค์กรหรือเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสได้ เช่น องคมนตรี ศาล กองทัพ เสรีภาพที่เรามีอยู่จึงเป็น “เสรีภาพแบบพอเพียง”
เมธัส บัวชุม
การเมืองหลังการเข้ามาของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร คือการแข่งขันกันนำเสนอด้านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการสิ่งอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งถูกละเลยมาตลอด ผลงานของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ยิ่งยงและพรรคไทยรักไทยที่ได้ทำไว้ในเรื่องการกำหนดนโยบายสำหรับคนยากคนจน และผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงกระทั่งใครต่อใครพรรคประชาธิปัตย์ปากว่าตาขยิบลอกมาหน้าตาเฉย แม้แต่พรรคภูมิใจของเนวิน ชิดชอบที่เพิ่งเปิดตัวไปก็ชูเรื่องประชานิยมเป็นม็อตโตของพรรค
เมธัส บัวชุม
-1-เมื่อกลุ่มก่อการร้ายพันธมิตร ฯ แยกย้ายสลายตัว เดินลงจากเวทีหลังจากสร้างความยับเยินสาธารณะจนสาแก่ใจ แล้วส่งพรรคประชาธิปัตย์วิ่งราวเข้าไปเป็นฝ่ายรัฐบาลโดยผนวกรวมกลุ่มงูเห่าของพวกเนวิน ชิดชอบ เข้าไปด้วยแล้ว การเมืองก็หมดสีสันลงอย่างมากเหมือนกับละครน้ำเน่าที่ตัวอิจฉาหายไปจากจอ ยอมรับนะครับ ว่ากลุ่มก่อการร้ายพันธมิตรที่เป็นม็อบมีเส้นนั้นดึงดูดกระแสความสนใจการเมืองขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด แม้แต่คนที่ร้อยวันพันปีไม่เคยใส่ใจเรื่องการเมืองเลยนั้นก็หันไปใส่เสื้อเหลือง เสื้อแดงกับเขาด้วย บางคนใส่ได้ทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลืองแล้วแต่ว่ากระแสความนิยมของฝ่ายใดจะมาแรงกว่า
เมธัส บัวชุม
ชัยชนะที่ได้มาด้วยการฉ้อฉลของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งรัฐบาลสมความมุ่งมาดปรารถนาที่รอคอยมาเกือบสิบปี แต่ก็ด่างพร้อยอย่างยิ่ง ไม่มีความสง่างามแม้แต่นิดเดียว ล่อนจ้อนน่าละอาย ผิดกติกามารยาทรวมไปถึงผิดกฏหมาย กระทั่งก่อให้เกิดความระอาเกลียดชัง บทบาทพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกข้างต้น ทำให้หลายคนตั้งฉายา สร้างวาทกรรมในการใช้เรียกขานพรรคประชาธิปัตย์ไปต่าง ๆ  นานาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปในแง่ลบฉายาที่ 1 "รัฐบาลต่างตอบแทน" ตอบแทนกระทรวงกลาโหมให้กองทัพที่ยืนหยัดช่วยเหลือทั้งทางตรงทางอ้อมแก่พรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด…
เมธัส บัวชุม
  เป็นการพังทลายลงของสถาบันตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความน่าเชื่อถือ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคการเมืองซีกรัฐบาลรวดเดียว 3 พรรค อย่างรวบรัดตัดความ เร่งร้อนลนลานและผิด ๆ ถูก ๆ นักวิชาการผู้เคารพในหลักการ และคอการเมืองทั้งหลายพากันวิพากษ์วิจารณ์กันขรมถึงสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลงไป เริ่มตั้งแต่ประเด็นเรื่องคุณสมบัติของตุลาการผู้เอาตัวรอดด้วยการท่องคาถาคุณธรรม จริยธรรม เป็นนิจสิน อย่างนายจรัล ภักดีธนากุล ไปจนถึงการย้ายสถานที่พิจารณาตัดสินคดีอย่างปุบปับ รวมไปถึงการนำทหารป่าหวายเข้ามาอารักขาตุลาการ แทนที่จะหยุดยั้งเหล่ามารพันธมิตร บางคนต่อรองไว้ว่าร้อยนึงเอาบาทเดียว…
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็นกันแล้วว่าลัทธิพันธมิตรสามารถทำอะไรได้บ้าง ลัทธิพันธมิตรทำอะไรก็ได้ทั้งนั้นถ้าอยากทำ ตั้งแต่การปิดสี่แยกเพื่อให้การจราจรเป็นอัมพาต ยึดรถเมล์ ล้อมรัฐสภา ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ไปจนถึงการปิดสนามบินเพื่อทำให้ผู้อื่น-ชาวต่างชาติ เดือดร้อนอย่างจงใจบัดนี้ ใครที่ยังเชื่อว่าลัทธิพันธมิตรชุมนุมแบบอหิงสาอันหมายความว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่นนั้นคงจะปัญญาอ่อนเต็มที ใครที่ยังเห็นว่าลัทธิพันธมิตรเป็นการเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยคงจะเป็นคนโง่ดักดาน และดังนั้นเพื่อชีวิตจะได้กลับสู่ความปกติ จึงควรหยุดให้ท้ายลัทธิพันธมิตรในทุกทาง…
เมธัส บัวชุม
อัสนี วสันต์ ในเพลง "ก็เคยสัญญา" เคยแหกปากตะโกนประโยคที่ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"  อันหมายถึงความรักที่แปรผันตามวันเวลาที่ผ่านพ้น   แม้ว่าจะสัญญากันไว้หนักแน่นก็ตาม ประโยคนี้ถูกตอกย้ำให้ฮือฮาอีกครั้งจากปาก แอ๊ด คาราบาว ผู้ซึ่งสวมบทนักร้อง นักดนตรี "เพื่อชีวิต"  วิพากษ์วิจารณ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่โฆษณามอมเมาให้คนซื้อทั้งที่ไม่มีคุณค่าสารอาหารแต่ประการใด แต่ในเวลาต่อมา แอ๊ด คาราบาว กลับมาทำธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลัง "คาราบาวแดง" อย่างที่รู้กัน เมื่อมีคนถาม แอ๊ด คาราบาว บอกง่าย ๆ ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"
เมธัส บัวชุม
เพราะว่าในนามของความถูกต้อง จะทำผิดอย่างไรก็ได้ ดังนั้นม็อบพันธมิตร ฯ จึงพากันทำผิดร้อยแปดพันเก้าประการ การกระทำทั้งร้อยแปดพันเก้าประการนั้นแม้จะเลวร้ายอย่างไรก็ไม่สำคัญนักเพราะถูกฉาบเคลือบไว้ในนามของความถูกต้อง เช่นนี้เองที่เป็นเหตุนำไปสู่คือปัญหาความขัดแย้งยุ่งเหยิงและความรุนแรงในทุก ๆ ทาง การหลบอยู่หลังวาทกรรมประเภท “กู้ชาติ” “พิทักษ์สถาบัน” ฯลฯ การหลงว่าตนเองหรือกลุ่มตนเองเป็นฝ่ายถูก เป็นฝ่ายจงรักภักดี รักชาติ ทำถูกกฏหมาย ตีตราฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิด ขายชาติ ไม่จงรักภักดี ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม เลว ดังนั้นในนามของความถูกต้อง จำเป็นต้องกำจัดให้หายไปไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตาม