Skip to main content

-1-


พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ..พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า


"
ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 .. 51, หน้า 13)


จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีความเข้าใจในพลังความสำคัญของคำพูด ของการใช้ภาษาที่สามารถทำให้คนรัก คนชัง สมานฉันท์หรือแตกแยกได้ และพลเอกเปรมคงตระหนักเป็นอย่างดีว่าคำพูด หรือการใช้ภาษาในลักษณะของการเดินสายพูดยุยง ปลุกปั่น สามารถนำไปสู่การรัฐประหารได้เช่นกัน


คำถามที่เราควรจะถามก็คือ การเดินสายเพื่อ “ใช้ภาษา” ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ผ่านมานั้น เป็นการใช้ภาษาเพื่อให้เกิดความโกรธ เกลียด ทำลายกัน หรือทำให้เกิดรัฐประหาร ใช่หรือไม่ ?

-2-


การใช้ภาษาของอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจที่สามารถทำให้คนโกรธเกลียดเคียดแค้น และฆ่ากันได้คือการใช้ภาษาของพวกฟาสซิสม์-ปฏิกริยา-ม็อบพันธมิตร ฯ


ครูภาษาไทยที่เพ้อพกกับความงามของภาษาไทย คงจะอกแตกตายหากได้ยินหรือได้อ่านการใช้ภาษาของคนกลุ่มนี้ เพราะพวกปฏิกริยาทำให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นมีศักยภาพล้นเหลือในการจูงใจให้เกิดความเกลียด เคียดแค้น กระทั่งฆ่ากันได้แบบที่ม็อบพันธมิตร ฯ กำลังทำอยู่ ที่ชัดเจนอย่างยิ่งก็คือการใช้ “ปฏิกริยาภาษา” กรณีดา ตอร์ปิโด


การใช้ภาษาของฝ่ายซ้ายในสมัยก่อน หลายคำหากนำมาใช้ในปัจจุบันอาจฟังดูแปร่งแปลก แต่มีความรุ่มรวย ประณีต พิถีพิถัน มีลักษณะเป็นนามธรรมสูง ในขณะที่พวกปฏิกริยาฝ่ายขวาแถวสะพานมัฆวานนั้น “ด่าอย่างเดียว” ยิ่งด่าได้ “แรง” มากเท่าไหร่ก็จะได้รับการยอมรับมากเท่านั้น


การใช้ภาษาของพวกปฏิกริยาม็อบพันธมิตร ฯ นั้นเรียกได้ว่าเข้าใกล้ขั้นสูงสุดแล้ว เกือบจะไปถึงขีดจำกัดของความเลวทรามต่ำช้าที่ภาษาจะชักพาไปได้ นี่นอกจากจะเป็น “ความสามารถของภาษา” แล้ว แน่นอนเป็นความสามารถของผู้พูดด้วย


ลองมาดูว่าพวกพันธมิตรฯ แสดงออกทางภาษาในกรณีของดา ตอร์ปิโด ได้เก่งกาจเพียงใด


ปฎิกริยาภาษาของสนธิ ลิ้มทองกุล “อีนางนี่นอกจากจะต้องติดคุกแล้ว จะต้องเอามันให้ตาย ผมพูดจากตัวผมเองสาบาน อย่าให้กูเจอมึงที่ไหนนะ กูจะตบให้คว่ำเลยอีห่า”


ปฏิกิริยาภาษาของ ศ.ดร. ภูวดล ทรงประเสริฐ “จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงที่สุด เท่าที่เคยมี คนไทยเคยวิพากษ์วิจารณ์ เคยมุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เท่ากับคนๆ นี้ เท่าที่ผมเกิดมา เท่าที่ผมศึกษามา ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์กว่า 200 ปี ไม่เคยมีใครวิพากษ์วิจารณ์ จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์เท่ากับอีนางเปรตตัวนี้...


พี่น้องจงจำไว้ว่า ถ้าหากสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังคงถูกลบหลู่จากคนเหล่านี้ โดยที่สำนักงานตำรวจไม่ทำอะไร พี่น้องจงจำไว้ได้เลยภายในเวลาไม่นาน ผมเชื่อว่าแผ่นดินนี้จะลุกเป็นไฟ จากความไม่พอใจที่อีนางกะหรี่ตัวนี้ด่าสถาบันสูงสุดอย่างแน่นอน”


ปฏิกริยาภาษาของ พลเอกปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ “รู้สึกดีใจกับประเทศที่สุด ที่วันนี้มีการจับกุมผู้ซึ่งผมคิดว่า บังอาจที่สุดเท่าที่ผมรับราชการมา ไม่เคยเจอผู้หญิงคนไหนเป็นแบบนี้ คำพูดที่สุภาพ คงใช้กับ ... ผมอยากจะพูดว่ามันเดียรัจฉานดีๆ นี่เอง” (หัวไม้ story, คำนิยมดา ตอร์ปิโด, ปราศรัยโดยกลุ่มพันธมิตร ฯ, http://blogazine.prachatai.com/user/headline/post/1103)


จากตัวอย่างที่ยกมา จะเห็นได้ว่าภาษาของพวก “ปฏิกริยา” นั้นสุดยอดเพียงใด ผู้อ่านจะถูกภาษาลากพาไปจนถึงสุดขอบของจินตนาการของความโกรธเกลียดชิงชัง ซึ่งแน่นอนว่าจินตนาการเหล่านี้เป็นเรื่องไร้เหตุผล


ภาษาของพวกม็อบพันธมิตร ฯ เป็นภาษาที่ไร้เหตุผล เป็นภาษาที่ใช้สำหรับการด่าทอแบบคนที่ไม่ได้รับการขัดเกลาหรือได้รับการอบรมสั่งสอน การใช้ภาษาของคนประเภทเหล่านี้ส่อให้เห็นถึงลักษณะที่ใกล้เคียงกับความเป็นสัตว์อย่างยิ่งในแง่ของการไม่มีวัฒนธรรม


ปฏิกริยาภาษาของม็อบพันธมิตร ฯ มีกลุ่มคำจำนวนมากที่เป็นคำกริยาและคำวิเศษณ์ที่ใช้สำหรับการขยายความและการเร้าอารมณ์จนเกินพอดี หรือเป็นคำเก่าโบร่ำโบราณ เป็นต้นว่า “กูจะตบให้คว่ำเลยอีห่า” ”อย่างบัดซบ อย่างสามานย์ อย่างสถุนที่สุด” “กะหรี่” ฯลฯ


การกล้าใช้คำเหล่านี้ในที่สาธารณะ และออกอากาศไปทั่วประเทศของม็อบพันธมิตรฯ โดยไม่มีใครท้วงติงนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกสำหรับสังคมไทยที่มือถือสาก ปากถือศีล เราลองคิดกันเล่น ๆ สิว่าถ้าท่านายก ฯ สมัคร สุนทรเวช พูดคำเหล่านี้ออกโทรทัศน์ช่อง NBT จะถูกประณามขนาดไหน แต่พอออกมาจากปากของพันธมิตร ฯ กลับ “รับกันได้”


-3-


พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และกลุ่มพันธมิตร ฯ ต่างเข้าใจถึงพลังความสำคัญของการใช้ภาษา การเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 49 และความแตกแยกชิงชังที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเป็นประจักษ์พยานว่าคนพวกนี้ “ใช้ภาษา” เพื่ออะไร.


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…