Skip to main content
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด


คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์"


สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)


ถ้าหากจำแนกตามสาขาอาชีพแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงก็มีความหลากหลายตั้งแต่ประชาชนคนรากหญ้า คนอีสาน เหนือ ใต้ กลุ่มนักศึกษาหัวก้าวหน้า พ่อค้าแม่ค้า นักการเมือง นักวิชาการ เอ็นจีโอ นักเคลื่อนไหว ฯลฯ จะเห็นได้ว่าคนเสื้อแดงมีความหลากหลายยิ่ง สามารถกล่าวได้ว่าแม้กระทั่งคนที่ "ไม่เอาทักษิณ" ก็สามารถเป็นเสื้อแดงได้เช่นเดียวกัน


"จุดร่วมของความเป็นแดงอยู่ไหน?"


จุดร่วมของความเป็นแดงคือความต้องการประชาธิปไตยที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ตุลาการไม่ถูกแทรกแซง กองทัพไม่มายุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยเด็ดขาด องคมนตรีไม่คอยชักใยอยู่เบื้องหลัง มีการเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการร้องขอจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เพราะว่าที่แท้แล้วพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรง หากแต่จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการต่อสู้ทั้งในและนอกสภา


อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เคยพูดหลายครั้งว่าคิดถึงเมืองไทย ต้องการกลับ(มาตาย)เมืองไทย นี่เป็นเป้าหมายของปุถุชนคนไกลบ้านและความปรารถนาส่วนตนของอดีตนายก ฯ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเมืองไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น


อีกทางที่อาจเป็นไปได้ก็คือการเจรจาต่อรองกับผู้มีอำนาจ หากตกลงกันได้ทุกอย่างก็เรียบร้อย แต่หากตกลงกันไม่ได้เพราะมีบางกลุ่มไม่ต้องการเจรจา สิ่งที่พอจะทำได้สำหรับการนี้คือการกดดันทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎรคือใช้พรรคฝ่ายค้านเพื่อไทย และใช้มวลชนคนเสื้อแดงช่วยกันตีกระหน่ำให้ผู้มีอำนาจอ่อนกำลังกระทั่งยอมเจรจาต่อรอง


อดีตนายก ฯ ต่อสู้กับกลุ่มอมาตยาเพื่อต่อรอง ไม่ได้ต่อสู้เพื่อแตกหัก ?


นอกจากความพยายามในการกดดันกลุ่มผู้มีอำนาจแล้ว หนทางอีกประการหนึ่งคือการหันไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารซึ่งอดีตนายก ฯ ก็ยอมรับในที่สุดว่าเคยทำหนังสือถึงองค์พระมหากษัตริย์ถึง 3 ครั้ง แม้จะปฏิเสธว่าไม่ใช่เป็นการขออภัยโทษแต่เป็นการกราบบังคมทูลถวายรายงานเท่านั้น


"ในฐานะที่ตนเป็นข้ารองพระบาท รับใช้พระองค์ท่านมาตลอด เมื่อตนอยู่ต่างประเทศ ก็ต้องกราบบังคมทูลว่าสิ่งที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นอย่างไร โดยทำมา 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดทำก่อนเดินทางกลับมาประเทศไทยก็ได้กราบบังคมทูลให้ทราบว่าจะกลับมา"
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0101150352§ionid=0101&selday=2009-03-15 (มติชนรายวัน, อาทิตย์ 15 มี.ค. 52)


บทความของพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ได้วิเคราะห์ถึงประเด็นนี้ไว้แล้วว่า

"จุดอ่อนประการสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตยคือ ทั้งอดีตผู้นำพรรคไทยรักไทยและแกนนำพรรคพลังประชาชนยังคงเพ้อฝันลม ๆ แล้ง ๆ ที่จะประนีประนอม "หย่าศึก" กับฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตย ปฏิเสธที่จะรับรู้บทเรียนทางประวัติศาสตร์ของคณะราษฎรยุค 2490 และไม่เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของตนเองในช่วงสามปีมานี้ว่า ฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตยตลอดหลายสิบปีมานี้ รู้จักเดินแต่เพียงแนวทางเดียวคือ "ประนีประนอมหลอก ๆ" แต่ "เข่นฆ่าทำลายล้างจริง ๆ" โดยมีเป้าหมายคือ กวาดล้างศัตรูทางการเมืองอย่างถึงรากถึงโคนทุกครั้ง และในครั้งนี้ พวกเขาก็ยังคงเดินตามแนวทางเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


อดีตผู้นำพรรคไทยรักไทย และแกนนำพรรคพลังประชาชนจึงได้กระทำผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีหลายครั้ง พวกเขาต่อสู้ผ่านกลไกของรัฐบาลอย่างโดดเดี่ยว ไร้เป้าหมาย โดยไม่สนใจการเคลื่อนไหวมวลชนประชาธิปไตยนอกสภา เพ้อฝันว่า ด้วยการวิงวอนร้องขอและต่อรองกัน ฝ่ายอำมาตยาธิไตยก็จะยอมรามือ ปล่อยให้กลไกรัฐสภาดำเนินไป และยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ" http://www.prachatai.com/05web/th/home/15739


อารมณ์ค้างและความกังขาต่อการยกเลิกการชุมนุมหน้าทำเนียบอย่างกะทันหันของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมาซึ่งผมอยู่ที่นั่นด้วยทำให้คิดถึงประเด็นนี้


"นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าวถึงสาเหตุการเลิกการชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มคนเสื้อแดงว่าช่วงเย็นเมื่อวันที่ 26 ก.พ. แกนนำคนเสื้อแดงทั้งหมดได้ร่วมประชุมกันที่หลังเวทีใหญ่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อหาข้อสรุปการชุมนุม ซึ่งแกนนำเห็นพ้องต้องกัน ว่า การชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงในวันนี้ ไม่สามารถชนะรัฐบาลได้"

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=15716&Key=HilightNews


แกนนำกลุ่มเสื้อแดงทำหน้าที่ได้ดี แต่บอกตรง ๆ ว่าผมชักเริ่มเบื่อ ผมคิดมากไปเองหรือระแวงเกินไปหรือเปล่าว่าที่คิดว่าแกนนำคนเสื้อแดง(ส่วนหนึ่ง) จำกัดหวังอยู่เพียงแค่เรื่องราวของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้นและจะหยุดการต่อสู้ลงเมื่อเจรจาลงตัว ?


กระนั้นก็ตาม เราคงไปคาดหวังเรียกร้องจากคนอื่นไม่ได้แม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกันเอง ขอเพียงรักษาเป้าหมายของตนเองไว้ อย่าลดระดับการต่อสู้ของตนเองลงแม้ว่าบางคนจะไม่ได้ต้องการเหมือนเราก็ตาม

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
มหาชนสีแดงยื่นบันไดแห่งการยุบสภาให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีนลงมาอย่างง่าย ๆ ชนิดที่บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แต่ไม่เป็นผลอะไร ด้วยโมหะจริต นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ดึงดันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้ว่าจะต้องทำอะไรที่เสียเกียรติความเป็นผู้นำไปมากก็ตาม
เมธัส บัวชุม
การเคลื่อนพลของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดินน่าตื่นตาตื่นใจและอลังการสมการรอคอย แม้ว่าการมาทางเรือจะผิดจากความคาดหวังอยู่มากก็ตาม ผมยืนรอชมขบวนเรือของคนเสื้อแดงบนสะพานกรุงธนนานกว่า 3 ชั่วโมงพร้อมกับแดงคนอื่น ๆ เต็มสะพาน โบกไม้โบกมือ ไชโยโห่ร้องกับคนเสื้อแดงที่ขับรถผ่านไปมา
เมธัส บัวชุม
แม้ผลการตัดสินคดียึดทรัพย์เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่คนเสื้อแดงหลายคนยังรู้สึกเจ็บปวด บางคนถึงขั้นหลั่งน้ำตาทั้งที่เงินนั้นไม่ใช่เงินของตนเอง พวกอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์และคนเสื้อเหลืองไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่าที่คนเสื้อแดงหลั่งน้ำตานั้นไม่ใช่เพราะเสียดายเงินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่ถูกยึดไปอย่างไม่เป็นธรรม แต่เป็นเพราะรู้สึกเจ็บปวดที่ตนเองทำอะไรไม่ได้เมื่อเห็นความอยุติธรรมบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาครั้งแล้วครั้งเล่า
เมธัส บัวชุม
ไม่ว่าผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ (ปล้นทรัพย์อย่างถูกกฎหมาย) ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาเป็นอย่างไร การลุกฮือของคนเสื้อแดงก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยอาจไม่ได้ยี่หระเลยกับทรัพย์สินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเพราะนั่นเป็นราคาที่อดีตนายก ฯ ต้องจ่ายสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย หลายคนจะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยนั้นถ้าไม่จ่ายด้วยเลือดและชีวิตก็ต้องจ่ายด้วยทรัพย์สินแสนแพง
เมธัส บัวชุม
 เมื่อความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายต่าง ๆ เขม็งเกลียวแน่นใกล้ถึงจุดวิกฤติ ข่าวเกี่ยวกับการทำรัฐประหารก็ลอยมาจากทางโน้นทางนี้เป็นระยะ น่าเชื่อบ้าง ไม่น่าเชื่อบ้าง ราวกับว่ารัฐประหารเป็นทางออกเดียวในการจัดการปัญหา
เมธัส บัวชุม
การเข้าครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยงอย่างผิดกฏหมายขององคมนตรีคุณธรรมสูงอย่างสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแม้แต่น้อย ไม่ใช่ข้อค้นพบที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่ความลับที่น้อยคนรู้ ชาวบ้านร้านตลาดในบริเวณนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่าวิลล่าสวยงามบนเขายายเที่ยงนั้นเป็นของใคร
เมธัส บัวชุม
ผมค่อนข้างแปลกใจที่สังคมไทยยังไม่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ว่าที่จริงสงกรานต์เลือดเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นโอกาสเหมาะไม่น้อยสำหรับการเกิดสงครามกลางเมืองซึ่งอาจจะจบลงด้วยการทำลายพลังประชาชนรากหญ้าและคนชั้นกลางฝ่ายก้าวหน้าลงอย่างย่อยยับ จนยากที่จะฟื้นกลับคืนมาใหม่ หรืออาจเป็นไปในทางกลับกันก็ได้หากประชาชนได้รับชัยชนะคือระบอบประชาธิปไตยจะขยับไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อำนาจของอำมาตย์จะถูกจำกัดวง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด?
เมธัส บัวชุม
-1- ฉันมีวิธีเผชิญหน้ากับอาการนอนไม่หลับด้วยการนอนลืมตาอยู่ในความมืด พยายามไม่คิดอะไร แต่ดวงความคิดของฉันก็ไหลลอยไปสู่เรื่องนั้นเรื่องนี้ หวนรำลึกไปถึงสถานที่และผู้คนที่ฉันเคยพานพบประหนึ่งว่าฉันเพิ่งจากผู้คนและสถานที่เหล่านั้นมา
เมธัส บัวชุม
เรื่องราวในชีวิตของคนเราสามารถนำมาเขียนแต่งเป็นนิยายได้ทั้งนั้น โดยการใส่พล็อตหรือท้องเรื่องเข้าไป ตีความให้ดูน่าสนใจ แล้วเสาะหา(สร้าง)ข้อมูลเพื่อยัดลงไปในพล็อตที่วางไว้โดยอาจหยิบเพียงบางช่วงบางตอนของชีวิตก็ได้
เมธัส บัวชุม
คงไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจแต่ประการใดที่เราได้เห็นปัญญาชนสยาม ปัญญาชนสาธารณะอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ไปออกโทรทัศน์ของทาง ASTV “รายการรู้ทันประเทศไทย” ที่มีเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการผู้หากินกับวาทกรรม “ชาวบ้าน” มายาวนาน งนี้เพราะหลายคนซึ้งแน่แก่ใจแล้วว่าบั้นปลายชีวิตของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้หลงตนนั้นโน้มเอียงไปทางเผด็จการ หรือไปทางศักดินามากเสียยิ่งกว่าจะยืนข้างชาวบ้านอย่างที่เขาพร่ำพูดถึงเสมอ
เมธัส บัวชุม
หากผมบอกว่าชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว บางคนคงโต้แย้ง ผมจึงต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ให้กว้าง ๆ ว่า ชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมการเมืองในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
เมธัส บัวชุม
รถไฟไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่มานาน โดยแทบไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรเลยตั้งแต่เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้เพราะความเสื่อมโทรมของรถไฟให้ประโยชน์แก่คนหลายกลุ่ม รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ดังนั้นแนวคิดใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้รถไฟเปลี่ยนไปจึงถูกต่อต้านแม้จะมีผลการวิเคราะห์วิจัยรองรับอยู่จำนวนมาก