Skip to main content
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด


คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์"


สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)


ถ้าหากจำแนกตามสาขาอาชีพแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงก็มีความหลากหลายตั้งแต่ประชาชนคนรากหญ้า คนอีสาน เหนือ ใต้ กลุ่มนักศึกษาหัวก้าวหน้า พ่อค้าแม่ค้า นักการเมือง นักวิชาการ เอ็นจีโอ นักเคลื่อนไหว ฯลฯ จะเห็นได้ว่าคนเสื้อแดงมีความหลากหลายยิ่ง สามารถกล่าวได้ว่าแม้กระทั่งคนที่ "ไม่เอาทักษิณ" ก็สามารถเป็นเสื้อแดงได้เช่นเดียวกัน


"จุดร่วมของความเป็นแดงอยู่ไหน?"


จุดร่วมของความเป็นแดงคือความต้องการประชาธิปไตยที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ตุลาการไม่ถูกแทรกแซง กองทัพไม่มายุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยเด็ดขาด องคมนตรีไม่คอยชักใยอยู่เบื้องหลัง มีการเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการร้องขอจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เพราะว่าที่แท้แล้วพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรง หากแต่จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการต่อสู้ทั้งในและนอกสภา


อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เคยพูดหลายครั้งว่าคิดถึงเมืองไทย ต้องการกลับ(มาตาย)เมืองไทย นี่เป็นเป้าหมายของปุถุชนคนไกลบ้านและความปรารถนาส่วนตนของอดีตนายก ฯ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเมืองไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น


อีกทางที่อาจเป็นไปได้ก็คือการเจรจาต่อรองกับผู้มีอำนาจ หากตกลงกันได้ทุกอย่างก็เรียบร้อย แต่หากตกลงกันไม่ได้เพราะมีบางกลุ่มไม่ต้องการเจรจา สิ่งที่พอจะทำได้สำหรับการนี้คือการกดดันทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎรคือใช้พรรคฝ่ายค้านเพื่อไทย และใช้มวลชนคนเสื้อแดงช่วยกันตีกระหน่ำให้ผู้มีอำนาจอ่อนกำลังกระทั่งยอมเจรจาต่อรอง


อดีตนายก ฯ ต่อสู้กับกลุ่มอมาตยาเพื่อต่อรอง ไม่ได้ต่อสู้เพื่อแตกหัก ?


นอกจากความพยายามในการกดดันกลุ่มผู้มีอำนาจแล้ว หนทางอีกประการหนึ่งคือการหันไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารซึ่งอดีตนายก ฯ ก็ยอมรับในที่สุดว่าเคยทำหนังสือถึงองค์พระมหากษัตริย์ถึง 3 ครั้ง แม้จะปฏิเสธว่าไม่ใช่เป็นการขออภัยโทษแต่เป็นการกราบบังคมทูลถวายรายงานเท่านั้น


"ในฐานะที่ตนเป็นข้ารองพระบาท รับใช้พระองค์ท่านมาตลอด เมื่อตนอยู่ต่างประเทศ ก็ต้องกราบบังคมทูลว่าสิ่งที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นอย่างไร โดยทำมา 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดทำก่อนเดินทางกลับมาประเทศไทยก็ได้กราบบังคมทูลให้ทราบว่าจะกลับมา"
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0101150352§ionid=0101&selday=2009-03-15 (มติชนรายวัน, อาทิตย์ 15 มี.ค. 52)


บทความของพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ได้วิเคราะห์ถึงประเด็นนี้ไว้แล้วว่า

"จุดอ่อนประการสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตยคือ ทั้งอดีตผู้นำพรรคไทยรักไทยและแกนนำพรรคพลังประชาชนยังคงเพ้อฝันลม ๆ แล้ง ๆ ที่จะประนีประนอม "หย่าศึก" กับฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตย ปฏิเสธที่จะรับรู้บทเรียนทางประวัติศาสตร์ของคณะราษฎรยุค 2490 และไม่เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของตนเองในช่วงสามปีมานี้ว่า ฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตยตลอดหลายสิบปีมานี้ รู้จักเดินแต่เพียงแนวทางเดียวคือ "ประนีประนอมหลอก ๆ" แต่ "เข่นฆ่าทำลายล้างจริง ๆ" โดยมีเป้าหมายคือ กวาดล้างศัตรูทางการเมืองอย่างถึงรากถึงโคนทุกครั้ง และในครั้งนี้ พวกเขาก็ยังคงเดินตามแนวทางเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


อดีตผู้นำพรรคไทยรักไทย และแกนนำพรรคพลังประชาชนจึงได้กระทำผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีหลายครั้ง พวกเขาต่อสู้ผ่านกลไกของรัฐบาลอย่างโดดเดี่ยว ไร้เป้าหมาย โดยไม่สนใจการเคลื่อนไหวมวลชนประชาธิปไตยนอกสภา เพ้อฝันว่า ด้วยการวิงวอนร้องขอและต่อรองกัน ฝ่ายอำมาตยาธิไตยก็จะยอมรามือ ปล่อยให้กลไกรัฐสภาดำเนินไป และยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ" http://www.prachatai.com/05web/th/home/15739


อารมณ์ค้างและความกังขาต่อการยกเลิกการชุมนุมหน้าทำเนียบอย่างกะทันหันของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมาซึ่งผมอยู่ที่นั่นด้วยทำให้คิดถึงประเด็นนี้


"นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าวถึงสาเหตุการเลิกการชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มคนเสื้อแดงว่าช่วงเย็นเมื่อวันที่ 26 ก.พ. แกนนำคนเสื้อแดงทั้งหมดได้ร่วมประชุมกันที่หลังเวทีใหญ่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อหาข้อสรุปการชุมนุม ซึ่งแกนนำเห็นพ้องต้องกัน ว่า การชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงในวันนี้ ไม่สามารถชนะรัฐบาลได้"

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=15716&Key=HilightNews


แกนนำกลุ่มเสื้อแดงทำหน้าที่ได้ดี แต่บอกตรง ๆ ว่าผมชักเริ่มเบื่อ ผมคิดมากไปเองหรือระแวงเกินไปหรือเปล่าว่าที่คิดว่าแกนนำคนเสื้อแดง(ส่วนหนึ่ง) จำกัดหวังอยู่เพียงแค่เรื่องราวของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้นและจะหยุดการต่อสู้ลงเมื่อเจรจาลงตัว ?


กระนั้นก็ตาม เราคงไปคาดหวังเรียกร้องจากคนอื่นไม่ได้แม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกันเอง ขอเพียงรักษาเป้าหมายของตนเองไว้ อย่าลดระดับการต่อสู้ของตนเองลงแม้ว่าบางคนจะไม่ได้ต้องการเหมือนเราก็ตาม

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
-1-พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยชูคำขวัญที่ฟังดูดัดจริตและกินไม่ได้ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”ผมได้ยินหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งคำนี้ออกมาแล้วก็ให้นึกสงสัยว่าจะมีใครซักกี่คนในโลกนี้เชื่อในสิ่งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ พูดออกมาพรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามสไตล์ถนัดด้วยการโฆษณาหาเสียงก่อนใครเพื่อน  ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคพลังประชาชนนั้นต้องเจอกับอำนาจชั่วที่คอยการสกัดกั้นทุกรูปแบบ-2-ต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคพลังประชาชนจะฝ่าต้านแรงสกัดจากอำนาจชั่วได้มากน้อยแค่ไหน…
เมธัส บัวชุม
อันที่จริง ผมตั้งใจจะหยุดเขียนบทความการเมืองสักระยะด้วยรู้สึกระอากับความวิปริตทางปัญญาของสังคมไทย ผมยังรู้สึกหลอนไม่หายกับการยึดอำนาจของทหารท่ามกลางความดีอกดีใจของพวก “ทาสที่ปล่อยไม่ไป” และพวกที่กลุ้มรุมทึ้งแย่งผลประโยชน์ “แห่งชาติ” ที่ไม่ได้ “เหลือแต่กระดูก” หลังการจากไปของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกลุ่มคนเหล่านี้ที่เข้ามายึดกุมอำนาจหลังรัฐประหาร ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการสร้างประชาธิปไตยหรือปฏิรูปการเมือง  รัฐบาลเถื่อนของนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ คมช. คตส. กกต. ที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้างที่เป็นสร้างเสริมประชาธิปไตย หรือปฏิรูปการเมืองไปสู่ครรลองประชาธิปไตยนอกจากสมคบคิดกันกวาดล้างกลุ่ม…
เมธัส บัวชุม
นิตยสาร “ราหูอมจันทร์” เกิดขึ้นท่ามกลางความซบเซาทั้งทางด้านการเขียน การอ่านและการวิจารณ์ของแวดวงเรื่องสั้นไทย ราหูอมจันทร์ เป็นนิตยสารรายครึ่งปีหรือที่ทางผู้จัดทำเรียกว่ารายฤดูกาล เป็นการคัดสรรเรื่องสั้นที่มีผู้ส่งไปจากทั่วสารทิศเพื่อรวมพิมพ์เป็นเล่มบรรดาคอเรื่องสั้น ต่างวาดหวังว่าการมาถึงของราหูอมจันทร์อาจช่วยให้วงการคึกคักขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย   อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านแล้ว ต้องกล่าวตามตรงว่าราหูอมจันทร์ Vol. 3 “วันปลดปล่อยผีเสื้อ” นั้นมีระดับคุณภาพที่น่าผิดหวังไม่น้อย ทางผู้จัดทำนิตยสารนี้คือกองทุน “กนกพงศ์  สงสมพันธุ์” ก็ยอมรับว่า“ราหูอมจันทร์ Vol. 3…