Skip to main content
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่"


ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (หยิบจับสิ่งใดก็ไม่ประสบผลสำเร็จ) ขาดหิริโอตตัปปะ (ไม่ละอายต่อการทำผิด) ไม่ทำตามที่พูด (บอกจะทวงคืนเขาพระวิหาร) ทำงานไม่เป็น ฯลฯ


ลักษณะอีกหลายอย่างที่ผสมรวมกันจนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นอย่างที่เป็นอยู่ สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลชัดแล้ว ประเทศดิ่งสู่หายนะในทุกทาง ไปทางไหนก็มีแต่คนบ่นไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความล้มเหลวของรัฐบาล


มันทำให้ผมย้อนคิดไปถึงการการันตีคุณภาพของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตอนปลายปี 51 ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำคณะเข้าอวยพรปีใหม่

"มั่นใจว่านายกรัฐมนตรีจะแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองได้ด้วยความร่วมมือของคนทั้งประเทศ ดีใจที่ได้นายกรัฐมนตรีชื่ออภิสิทธิ์ และคิดว่าคนไทยก็ดีใจ แต่คนไทยยังคงไม่หายกลัวเท่าไร คงต้องรอดูว่านายกรัฐมนตรีจะเอาอะไรไปมอบให้ประชาชนได้บ้าง" http://www.prachatai.com/05web/th/home/15036

 

ถึงตอนนี้ผมไม่รู้ว่าคนไทยจะดีใจไปกับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ด้วยหรือไม่กับการได้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่านอกจากบุคลิกส่วนตัวที่ขาดความงามสง่าแล้วการทำงานและนโยบายทุกอย่างล้มเหลวทั้งหมด คนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า มีแต่ราคาคุยเท่านั้น ดีแต่พูดจาสุภาพออกโทรทัศน์แต่เนื้อหาการทำงานกลวงเปล่า อเน็จอนาถใจจริง ๆ


บัณฑิตใหม่ไม่มีงานทำ โรงงานปิดตัว โครงการต้นกล้าอาชีพหายเข้าสู่กลีบเมฆ เงิน 2000 บาทแจกไม่ครบทุกกลุ่มตามที่โฆษณาไว้เพราะเงินหมดแล้ว ถ่วงเวลาเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ทำคดีพันธมิตร ใช้ความรุนแรงกับคนเสื้อแดง แก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ ฯลฯ


ผมเข้าไปอ่านดูนโยบายของรัฐบาลชุดนี้อีกครั้งว่าเคยแถลงอะไรส่งเดชเอาไว้บ้าง มีอะไรที่ทำได้จริงบ้างหรือเปล่า อะไรทำไม่ได้เลย http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1779&contents=15861

 

รัฐบาลแถลงนโยบายไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว โดยแบ่งเป็น 2 ระยะคือนโยบายระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล จะขอหยิบยกมานำเสนอบางนโยบาย


- นโยบาย "เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล"


ผมไม่รู้ว่ารัฐบาลเร่งรัดอย่างไรยาเสพติดถึงระบาดหนัก หนักมาก มีคนตั้งข้อสังเกตว่าทุกครั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ยาเสพติดจะระบาดทั่วประเทศไทย !


ในบริเวณที่ผมอาศัยอยู่ กัญชาและยาบ้าเป็นสินค้ายอดนิยมที่หาได้ง่ายและระบาดหนักในหมู่วัยรุ่น แค่ 14 ปีก็ดูดกัญชาดูดยาบ้ากันแล้ว ทั้งซื้อทั้งขายโจ๋งครึ่ม เด็กไม่เรียนหนังสือและคนตกงาน หันมาเป็นเอเย่นต์ค้ายา


ความล้มเหลวในนโยบายเร่งด่วนเรื่องยาเสพติดทำให้อดไม่ได้ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับการเอาจริงเอาจังของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย


- นโยบาย "ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ โดยดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต"


นี่เป็นอีกหนึ่งความล้มเหลวอย่างชัดเจนของรัฐบาลขอทาน(ตามคำเรียกของคุณเฉลิม อยู่บำรุง) นอกจากจะไม่สามารถดูแลเรื่องระดับราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับรายได้ของคนส่วนใหญ่แล้ว ยังทำการขูดรีดประชาชนมากยิ่งขึ้นในนามของภาษีบาป (เหล้า เบียร์ บุหรี่) ซ้ำขึ้นราคาน้ำมัน การกระทำแบบนี้ของรัฐบาลเหมือนเป็นการโยนความล้มเหลวของตนเองไปให้ประชาชนช่วยกันแบก


- นโยบาย "ดำเนินการให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย"


นี่ก็เป็นอีกหนึ่งนโยบายขายฝัน มีเสียงบ่นหนาหูว่าไม่ฟรีจริง การบริหารโครงการย่ำแย่เสียจนป่านนี้เปิดเทอมมาเป็นสัปดาห์ที่สองแล้วเด็กมัธยมยังไม่ได้หนังสือเรียน บางโรงเรียนพ่อแม่ต้องควักเงินค่าประกันหนังสือก่อนหลายร้อยบาท ในกรณีม.ปลาย พอจบ ม.6 หากหนังสือไม่ชำรุดเสียหายจึงจะได้รับเงินประกันคืนซึ่งแทบไม่ต่างอะไรกับการซื้อหนังสือเอง


--------------------------


หากขับไล่รัฐบาลโจรชุดนี้ออกไปไม่ได้ สิ่งที่ประชาชนพอทำได้คือทำใจ กัดฟันอดทนต่อความไม่ชอบ เปลี่ยนจากการดูโทรทัศน์มาอ่านหนังสือพิมพ์แทนเพื่อจะได้ไม่ต้องเจอหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เอาใจช่วยแก๊งพันธมิตรตั้งพรรคการเมืองเพื่อให้คนประเภทเดียวกันฟัดกันเอง คืนบัตรประชาชนเหมือนเกษตรกรทางภาคเหนือ หรือถ้าไม่รู้จะใช้วิธีไหนแล้วก็ลองสะกดจิตตนเองด้วยการนึกถึงคำพูดของพลเอกเปรมที่ว่า


"มั่นใจว่านายกรัฐมนตรีจะแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองได้ด้วยความร่วมมือของคนทั้งประเทศ ดีใจที่ได้นายกรัฐมนตรีชื่ออภิสิทธิ์ และคิดว่าคนไทยก็ดีใจ แต่คนไทยยังคงไม่หายกลัวเท่าไร คงต้องรอดูว่านายกรัฐมนตรีจะเอาอะไรไปมอบให้ประชาชนได้บ้าง"

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
มหาชนสีแดงยื่นบันไดแห่งการยุบสภาให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีนลงมาอย่างง่าย ๆ ชนิดที่บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แต่ไม่เป็นผลอะไร ด้วยโมหะจริต นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ดึงดันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้ว่าจะต้องทำอะไรที่เสียเกียรติความเป็นผู้นำไปมากก็ตาม
เมธัส บัวชุม
การเคลื่อนพลของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดินน่าตื่นตาตื่นใจและอลังการสมการรอคอย แม้ว่าการมาทางเรือจะผิดจากความคาดหวังอยู่มากก็ตาม ผมยืนรอชมขบวนเรือของคนเสื้อแดงบนสะพานกรุงธนนานกว่า 3 ชั่วโมงพร้อมกับแดงคนอื่น ๆ เต็มสะพาน โบกไม้โบกมือ ไชโยโห่ร้องกับคนเสื้อแดงที่ขับรถผ่านไปมา
เมธัส บัวชุม
แม้ผลการตัดสินคดียึดทรัพย์เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่คนเสื้อแดงหลายคนยังรู้สึกเจ็บปวด บางคนถึงขั้นหลั่งน้ำตาทั้งที่เงินนั้นไม่ใช่เงินของตนเอง พวกอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์และคนเสื้อเหลืองไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่าที่คนเสื้อแดงหลั่งน้ำตานั้นไม่ใช่เพราะเสียดายเงินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่ถูกยึดไปอย่างไม่เป็นธรรม แต่เป็นเพราะรู้สึกเจ็บปวดที่ตนเองทำอะไรไม่ได้เมื่อเห็นความอยุติธรรมบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาครั้งแล้วครั้งเล่า
เมธัส บัวชุม
ไม่ว่าผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ (ปล้นทรัพย์อย่างถูกกฎหมาย) ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาเป็นอย่างไร การลุกฮือของคนเสื้อแดงก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยอาจไม่ได้ยี่หระเลยกับทรัพย์สินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเพราะนั่นเป็นราคาที่อดีตนายก ฯ ต้องจ่ายสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย หลายคนจะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยนั้นถ้าไม่จ่ายด้วยเลือดและชีวิตก็ต้องจ่ายด้วยทรัพย์สินแสนแพง
เมธัส บัวชุม
 เมื่อความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายต่าง ๆ เขม็งเกลียวแน่นใกล้ถึงจุดวิกฤติ ข่าวเกี่ยวกับการทำรัฐประหารก็ลอยมาจากทางโน้นทางนี้เป็นระยะ น่าเชื่อบ้าง ไม่น่าเชื่อบ้าง ราวกับว่ารัฐประหารเป็นทางออกเดียวในการจัดการปัญหา
เมธัส บัวชุม
การเข้าครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยงอย่างผิดกฏหมายขององคมนตรีคุณธรรมสูงอย่างสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแม้แต่น้อย ไม่ใช่ข้อค้นพบที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่ความลับที่น้อยคนรู้ ชาวบ้านร้านตลาดในบริเวณนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่าวิลล่าสวยงามบนเขายายเที่ยงนั้นเป็นของใคร
เมธัส บัวชุม
ผมค่อนข้างแปลกใจที่สังคมไทยยังไม่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ว่าที่จริงสงกรานต์เลือดเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นโอกาสเหมาะไม่น้อยสำหรับการเกิดสงครามกลางเมืองซึ่งอาจจะจบลงด้วยการทำลายพลังประชาชนรากหญ้าและคนชั้นกลางฝ่ายก้าวหน้าลงอย่างย่อยยับ จนยากที่จะฟื้นกลับคืนมาใหม่ หรืออาจเป็นไปในทางกลับกันก็ได้หากประชาชนได้รับชัยชนะคือระบอบประชาธิปไตยจะขยับไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อำนาจของอำมาตย์จะถูกจำกัดวง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด?
เมธัส บัวชุม
-1- ฉันมีวิธีเผชิญหน้ากับอาการนอนไม่หลับด้วยการนอนลืมตาอยู่ในความมืด พยายามไม่คิดอะไร แต่ดวงความคิดของฉันก็ไหลลอยไปสู่เรื่องนั้นเรื่องนี้ หวนรำลึกไปถึงสถานที่และผู้คนที่ฉันเคยพานพบประหนึ่งว่าฉันเพิ่งจากผู้คนและสถานที่เหล่านั้นมา
เมธัส บัวชุม
เรื่องราวในชีวิตของคนเราสามารถนำมาเขียนแต่งเป็นนิยายได้ทั้งนั้น โดยการใส่พล็อตหรือท้องเรื่องเข้าไป ตีความให้ดูน่าสนใจ แล้วเสาะหา(สร้าง)ข้อมูลเพื่อยัดลงไปในพล็อตที่วางไว้โดยอาจหยิบเพียงบางช่วงบางตอนของชีวิตก็ได้
เมธัส บัวชุม
คงไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจแต่ประการใดที่เราได้เห็นปัญญาชนสยาม ปัญญาชนสาธารณะอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ไปออกโทรทัศน์ของทาง ASTV “รายการรู้ทันประเทศไทย” ที่มีเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการผู้หากินกับวาทกรรม “ชาวบ้าน” มายาวนาน งนี้เพราะหลายคนซึ้งแน่แก่ใจแล้วว่าบั้นปลายชีวิตของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้หลงตนนั้นโน้มเอียงไปทางเผด็จการ หรือไปทางศักดินามากเสียยิ่งกว่าจะยืนข้างชาวบ้านอย่างที่เขาพร่ำพูดถึงเสมอ
เมธัส บัวชุม
หากผมบอกว่าชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว บางคนคงโต้แย้ง ผมจึงต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ให้กว้าง ๆ ว่า ชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมการเมืองในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
เมธัส บัวชุม
รถไฟไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่มานาน โดยแทบไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรเลยตั้งแต่เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้เพราะความเสื่อมโทรมของรถไฟให้ประโยชน์แก่คนหลายกลุ่ม รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ดังนั้นแนวคิดใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้รถไฟเปลี่ยนไปจึงถูกต่อต้านแม้จะมีผลการวิเคราะห์วิจัยรองรับอยู่จำนวนมาก