Skip to main content

ตอนแรกตั้งใจจะตั้งชื่อบทความว่า “กวีพันธมิตร ฯ” แต่เห็นชื่อที่โดนใจวัยรุ่นกว่าในเวบบอร์ด “ฟ้าเดียวกัน” ว่า “กวีเกรียน” โดยคุณ Homo erectus (ซึ่งเคยเข้ามาวิพากษ์เชิงด่าผมอยู่เป็นประจำจนเลิกไปเอง) จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม


กวีเกรียน” ในความหมายของผมคือกวีที่ล้าหลัง คิดอ่านไร้เดียงสาเหมือนเด็กที่อ่อนต่อโลก วิเคราะห์สังคมไม่ออกเพราะไม่มีหลักคิดที่มั่นคง อ่านการเมืองไม่เป็นเพราะมัวแต่คิดว่านักการเมืองชั่วร้ายเลวทรามในขณะที่ประชาชนและข้าราชการ และพวกอภิสิทธิชนนั้นมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออย่างน้อยก็มีมากกว่านักการเมือง


ขอบอกว่าความเชื่อและความเข้าใจข้างต้นเป็นสิ่งที่ผิดอย่างร้ายแรง เพราะที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นพวกผู้ลากมากดีหรือกรรมกรแบกหาม ก็ไม่มีใครดีหรือเลวมากกว่านักการเมือง ทุกคนในฐานะที่เป็นคนต่างเลวหรือดีเหมือนกันหมด ส่วนผมชัดเจนในความเห็นของผมมานานแล้วว่า “ทุกคนเลวเหมือนกันทั้งนั้น”


กวีเกรียน” ไร้จุดยืนและหลักการ ชอบเต้นเร่า ๆ ไปตามกระแสข่าว ขาดทัศนะวิพากษ์แบบถึงรากถึงโคนจึงไม่สามารถผลักตรรกะออกไปจนสุด ทำให้มีเพดานทางการวิเคราะห์ที่แคบตื้น ไม่อาจวิพากษ์ได้อย่างเฉียบขาดแหลมคม ไม่มีความคงเส้นคงวาในการใช้เหตุผลหรือ “ใช้เหตุผลแบบเลือกปฏิบัติ”


ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่ม “พันธมิตร ฯ” สามารถปั้นน้ำเป็นตัวด่ารัฐบาลในกรณีของคุณจักรภพ เพ็ญแขหรือในกรณีของคุณนพดล ปัทมะได้ แต่รัฐบาลปั้นน้ำเป็นตัวด่ากลุ่ม “พันธมิตร ฯ” หรือแม้แต่นำเสนอข้อเท็จจริงออกไป กลับเป็นสิ่งที่ไม่มีชอบธรรม ต้องมีการตรวจสอบ ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระค่อย ๆ ยักยอกเงินมาสร้างบ้านราคา 50 ล้านบาทเป็นสิ่งไม่น่าเกลียด แต่ถ้านักการเมืองทำบ้าง ชาว “กวีเกรียน” จะรับไม่ได้


ทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวมาส่งผลให้ “กวีเกรียน” มองเห็นการกระทำและความคิดเห็นของกลุ่ม “พันธมิตร ฯ” เป็นอะไรที่ถูกต้องเหมาะสม พอถึงเวลาเลือกข้างจึงเลือกที่จะเข้าข้าง “พันธมิตร ฯ” โดยไม่ต้องรู้สึกละอาย


กวีเกรียน” ไม่เฉลียวใจเลยว่ากลุ่ม “พันธมิตร ฯ” นั่นแหละคือปัญหา คืออาการของโรคต่อต้านประชาธิปไตยที่มีอำนาจตุลาการ และทหาร เป็นฐานสนับสนุน “กวีเกรียน” มีจิตสำนึกผิดพลาดที่ไม่ตระหนักว่าสองสถาบันที่ว่านี้แหละคืออุปสรรคต่อพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย


การที่กวีเกรียนเลือกข้าง “พันธมิตร ฯ” ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะว่ารสนิยมทางการเมืองนั้นของใครก็ของมัน ไม่ว่ากัน บางคนสมาทานระบอบอมาตยาธิปไตยเพราะเชื่อว่าผู้ดีย่อมดีกว่าไพร่ บางคนสมาทานระบอบพ่อปกครองลูกเพราะเห็นว่าเป็นอะไรที่อบอุ่นใกล้ชิด บางคนพอใจกับระบอบอุปถัมภ์เพราะไม่เน้นเรื่องคุณธรรมความสามารถ ฯลฯ


แต่ประเด็นก็คือ “กวีเกรียน” และ “พันธมิตร ฯ” อ้างถึงประชาชนและประชาธิปไตยไม่ขาดปาก ทั้งที่เนื้อหาและประเด็นการเคลื่อนไหวนั้นกลับตรงกันข้าม!


บรรดารายชื่อกวีที่ขึ้นเวทีพันธมิตร ฯ หรือเป็นแนวร่วมนั้นล้วนแล้วแต่เป็นกวีแถวหน้าของเมืองไทยทั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (คนนี้ขาประจำ) อังคาร กัลยาณพงศ์ (ท่านนี้ไม่อยากแตะเลย) คมทวน คันธนู (ผมไม่ค่อยอ่านงานของเขานัก) ฯลฯ


เมื่อเห็นรายชื่อของกวีแถวหน้าแล้ว จึงคิดได้ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใดที่แวดวงกวีของไทยยังย่ำอยู่กับที่ ไม่มีพัฒนาการ ทำได้เพียงแค่โหนกระแสแกะสลักตัวอักษรไปเรื่อยเปื่อย ไม่มีทิศทาง ผลที่เกิดขึ้นคือไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้อ่านและสังคม ผลัดกันเขียน เวียนกันอ่าน วานกันชม ในวงแคบ ๆ ไม่กี่คน ผลิตงานรวมเล่มออกมาเพื่อหวังรางวัลของโรงแรมโอเรียนเต็ล(ซีไรท์) เท่านั้น!


ผมไม่รู้ว่าการที่กวีนำบทกวีของตนเองขึ้นไปอ่านบทเวที “พันธมิตรฯ” หรือส่งบทกวีไปให้คนอื่นอ่านแทนนั้นจะได้ค่าจ้างมากน้อยเพียงใด หรือบรรดาศิลปิน “เพื่อชีวิต” ที่ขึ้นไปร้องเพลงให้พันธมิตร ฯ จะได้ค่าแรงมากน้อยเพียงใด เข้าใจว่าคงจะได้บ้าง


แต่รู้สึกใจหายและเสียดายครับ น่าใจหายและน่าเสียดายครับที่กวีใหญ่เหล่านี้ทำลาย ทำร้ายตนเอง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นั้น ไปไกลเกินกู่แล้วจริงๆ ความรู้สึกนึกคิดแบบอนุรักษ์นิยมเต็มเปี่ยมท่วมท้น


นอกจากจะขยันเขียนบทกวีให้ “พันธมิตร ฯ” แล้วเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ยัง “ซื้อ” แนวคิด “คลั่งชาติ” ว่าด้วยเรื่องการทวงสิทธิ “เขาพระวิหาร” เขาเป็นหัวขบวนเรียกร้องทวงสิทธิใน “เขาพระวิหาร” ร่วมกับบรรดาพวกผู้ดีและไม่ผู้ดีแถวสะพานมัฆวานโดยไม่ตระหนักถึงข้อเท็จจริงและความเป็นไปได้


ผมอยากจะบอกว่าแนวคิดชาตินิยมสุดขั้วหรือความคลั่งชาติแบบกลุ่มพันธมิตร ฯ นั้นเป็นแนวคิดที่คับแคบ เห็นแก่ตัว หากลองตัดส่วนได้เสียในฐานะที่เป็นคนไทยหรือคนเขมรออกไปแล้ว ก็จะคิดได้ว่า “เขาพระวิหาร” จะเป็นของใครก็ไม่ใช่ปัญหา ขอให้มันเป็นมรดกของมนุษยชาติก็พอ ! ทำไมกวีไม่คิดเช่นนี้เล่า!


ในบทความชิ้นต่อ ๆ ไปคงจะได้วิเคราะห์ถึงเนื้อหาของบทกวีบางชิ้น ส่วนบทความนี้ขอจบด้วยบทกวีของใครก็ไม่รู้อยู่ในเวบบอร์ดประชาไท (ต้องขออภัยผู้แต่งอย่างแรงที่ไม่ได้จดชื่อมาด้วย ใครรู้ช่วยบอกที) เขียนไว้ว่า

ความล้าหลังปรากฎในชนชั้นกลาง
ยืน เดิน นั่ง ตะโกนกันคลั่งบ้า
กู่ ปาวๆ เอาประเทศไทยคืนมา
คืนมาจากกำมือประชาชน!!!


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
-1-พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยชูคำขวัญที่ฟังดูดัดจริตและกินไม่ได้ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”ผมได้ยินหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งคำนี้ออกมาแล้วก็ให้นึกสงสัยว่าจะมีใครซักกี่คนในโลกนี้เชื่อในสิ่งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ พูดออกมาพรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามสไตล์ถนัดด้วยการโฆษณาหาเสียงก่อนใครเพื่อน  ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคพลังประชาชนนั้นต้องเจอกับอำนาจชั่วที่คอยการสกัดกั้นทุกรูปแบบ-2-ต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคพลังประชาชนจะฝ่าต้านแรงสกัดจากอำนาจชั่วได้มากน้อยแค่ไหน…
เมธัส บัวชุม
อันที่จริง ผมตั้งใจจะหยุดเขียนบทความการเมืองสักระยะด้วยรู้สึกระอากับความวิปริตทางปัญญาของสังคมไทย ผมยังรู้สึกหลอนไม่หายกับการยึดอำนาจของทหารท่ามกลางความดีอกดีใจของพวก “ทาสที่ปล่อยไม่ไป” และพวกที่กลุ้มรุมทึ้งแย่งผลประโยชน์ “แห่งชาติ” ที่ไม่ได้ “เหลือแต่กระดูก” หลังการจากไปของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกลุ่มคนเหล่านี้ที่เข้ามายึดกุมอำนาจหลังรัฐประหาร ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการสร้างประชาธิปไตยหรือปฏิรูปการเมือง  รัฐบาลเถื่อนของนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ คมช. คตส. กกต. ที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้างที่เป็นสร้างเสริมประชาธิปไตย หรือปฏิรูปการเมืองไปสู่ครรลองประชาธิปไตยนอกจากสมคบคิดกันกวาดล้างกลุ่ม…
เมธัส บัวชุม
นิตยสาร “ราหูอมจันทร์” เกิดขึ้นท่ามกลางความซบเซาทั้งทางด้านการเขียน การอ่านและการวิจารณ์ของแวดวงเรื่องสั้นไทย ราหูอมจันทร์ เป็นนิตยสารรายครึ่งปีหรือที่ทางผู้จัดทำเรียกว่ารายฤดูกาล เป็นการคัดสรรเรื่องสั้นที่มีผู้ส่งไปจากทั่วสารทิศเพื่อรวมพิมพ์เป็นเล่มบรรดาคอเรื่องสั้น ต่างวาดหวังว่าการมาถึงของราหูอมจันทร์อาจช่วยให้วงการคึกคักขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย   อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านแล้ว ต้องกล่าวตามตรงว่าราหูอมจันทร์ Vol. 3 “วันปลดปล่อยผีเสื้อ” นั้นมีระดับคุณภาพที่น่าผิดหวังไม่น้อย ทางผู้จัดทำนิตยสารนี้คือกองทุน “กนกพงศ์  สงสมพันธุ์” ก็ยอมรับว่า“ราหูอมจันทร์ Vol. 3…