Skip to main content
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด


คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์"


สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)


ถ้าหากจำแนกตามสาขาอาชีพแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงก็มีความหลากหลายตั้งแต่ประชาชนคนรากหญ้า คนอีสาน เหนือ ใต้ กลุ่มนักศึกษาหัวก้าวหน้า พ่อค้าแม่ค้า นักการเมือง นักวิชาการ เอ็นจีโอ นักเคลื่อนไหว ฯลฯ จะเห็นได้ว่าคนเสื้อแดงมีความหลากหลายยิ่ง สามารถกล่าวได้ว่าแม้กระทั่งคนที่ "ไม่เอาทักษิณ" ก็สามารถเป็นเสื้อแดงได้เช่นเดียวกัน


"จุดร่วมของความเป็นแดงอยู่ไหน?"


จุดร่วมของความเป็นแดงคือความต้องการประชาธิปไตยที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ตุลาการไม่ถูกแทรกแซง กองทัพไม่มายุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยเด็ดขาด องคมนตรีไม่คอยชักใยอยู่เบื้องหลัง มีการเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการร้องขอจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เพราะว่าที่แท้แล้วพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรง หากแต่จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการต่อสู้ทั้งในและนอกสภา


อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เคยพูดหลายครั้งว่าคิดถึงเมืองไทย ต้องการกลับ(มาตาย)เมืองไทย นี่เป็นเป้าหมายของปุถุชนคนไกลบ้านและความปรารถนาส่วนตนของอดีตนายก ฯ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเมืองไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น


อีกทางที่อาจเป็นไปได้ก็คือการเจรจาต่อรองกับผู้มีอำนาจ หากตกลงกันได้ทุกอย่างก็เรียบร้อย แต่หากตกลงกันไม่ได้เพราะมีบางกลุ่มไม่ต้องการเจรจา สิ่งที่พอจะทำได้สำหรับการนี้คือการกดดันทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎรคือใช้พรรคฝ่ายค้านเพื่อไทย และใช้มวลชนคนเสื้อแดงช่วยกันตีกระหน่ำให้ผู้มีอำนาจอ่อนกำลังกระทั่งยอมเจรจาต่อรอง


อดีตนายก ฯ ต่อสู้กับกลุ่มอมาตยาเพื่อต่อรอง ไม่ได้ต่อสู้เพื่อแตกหัก ?


นอกจากความพยายามในการกดดันกลุ่มผู้มีอำนาจแล้ว หนทางอีกประการหนึ่งคือการหันไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารซึ่งอดีตนายก ฯ ก็ยอมรับในที่สุดว่าเคยทำหนังสือถึงองค์พระมหากษัตริย์ถึง 3 ครั้ง แม้จะปฏิเสธว่าไม่ใช่เป็นการขออภัยโทษแต่เป็นการกราบบังคมทูลถวายรายงานเท่านั้น


"ในฐานะที่ตนเป็นข้ารองพระบาท รับใช้พระองค์ท่านมาตลอด เมื่อตนอยู่ต่างประเทศ ก็ต้องกราบบังคมทูลว่าสิ่งที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นอย่างไร โดยทำมา 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดทำก่อนเดินทางกลับมาประเทศไทยก็ได้กราบบังคมทูลให้ทราบว่าจะกลับมา"
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0101150352§ionid=0101&selday=2009-03-15 (มติชนรายวัน, อาทิตย์ 15 มี.ค. 52)


บทความของพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ได้วิเคราะห์ถึงประเด็นนี้ไว้แล้วว่า

"จุดอ่อนประการสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตยคือ ทั้งอดีตผู้นำพรรคไทยรักไทยและแกนนำพรรคพลังประชาชนยังคงเพ้อฝันลม ๆ แล้ง ๆ ที่จะประนีประนอม "หย่าศึก" กับฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตย ปฏิเสธที่จะรับรู้บทเรียนทางประวัติศาสตร์ของคณะราษฎรยุค 2490 และไม่เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของตนเองในช่วงสามปีมานี้ว่า ฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตยตลอดหลายสิบปีมานี้ รู้จักเดินแต่เพียงแนวทางเดียวคือ "ประนีประนอมหลอก ๆ" แต่ "เข่นฆ่าทำลายล้างจริง ๆ" โดยมีเป้าหมายคือ กวาดล้างศัตรูทางการเมืองอย่างถึงรากถึงโคนทุกครั้ง และในครั้งนี้ พวกเขาก็ยังคงเดินตามแนวทางเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


อดีตผู้นำพรรคไทยรักไทย และแกนนำพรรคพลังประชาชนจึงได้กระทำผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีหลายครั้ง พวกเขาต่อสู้ผ่านกลไกของรัฐบาลอย่างโดดเดี่ยว ไร้เป้าหมาย โดยไม่สนใจการเคลื่อนไหวมวลชนประชาธิปไตยนอกสภา เพ้อฝันว่า ด้วยการวิงวอนร้องขอและต่อรองกัน ฝ่ายอำมาตยาธิไตยก็จะยอมรามือ ปล่อยให้กลไกรัฐสภาดำเนินไป และยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ" http://www.prachatai.com/05web/th/home/15739


อารมณ์ค้างและความกังขาต่อการยกเลิกการชุมนุมหน้าทำเนียบอย่างกะทันหันของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมาซึ่งผมอยู่ที่นั่นด้วยทำให้คิดถึงประเด็นนี้


"นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าวถึงสาเหตุการเลิกการชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มคนเสื้อแดงว่าช่วงเย็นเมื่อวันที่ 26 ก.พ. แกนนำคนเสื้อแดงทั้งหมดได้ร่วมประชุมกันที่หลังเวทีใหญ่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อหาข้อสรุปการชุมนุม ซึ่งแกนนำเห็นพ้องต้องกัน ว่า การชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงในวันนี้ ไม่สามารถชนะรัฐบาลได้"

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=15716&Key=HilightNews


แกนนำกลุ่มเสื้อแดงทำหน้าที่ได้ดี แต่บอกตรง ๆ ว่าผมชักเริ่มเบื่อ ผมคิดมากไปเองหรือระแวงเกินไปหรือเปล่าว่าที่คิดว่าแกนนำคนเสื้อแดง(ส่วนหนึ่ง) จำกัดหวังอยู่เพียงแค่เรื่องราวของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้นและจะหยุดการต่อสู้ลงเมื่อเจรจาลงตัว ?


กระนั้นก็ตาม เราคงไปคาดหวังเรียกร้องจากคนอื่นไม่ได้แม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกันเอง ขอเพียงรักษาเป้าหมายของตนเองไว้ อย่าลดระดับการต่อสู้ของตนเองลงแม้ว่าบางคนจะไม่ได้ต้องการเหมือนเราก็ตาม

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
บทความเรื่อง "แรงฤทธิ์ แต่อ่อนผล" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนรายวันhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11314) มีหลายประโยค หลายวลี หลายคำที่อ่านแล้วต้องส่ายหัวด้วยความอิดหนาระอาใจกับอคติและภูมิปัญญาของเขา แต่มีอยู่ประโยคหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้ผมสะดุดหยุดกึกในทันทีคือประโยคที่ว่า "ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"
เมธัส บัวชุม
ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง "ผู้หญิง 5 บาป" เพราะเคเบิลทีวีเอามาฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก อันที่จริงหนังเกรดต่ำแบบนี้ไม่เคยอยู่ในความคิดอยากจะดูเลย แต่ผมก็เหมือนคนอื่น ๆ คือฉากรักร้อน ๆ ดิบ ๆ ที่ปรากฏอยู่มากมายสะกดให้ต้องหยุดดู หนังเรื่องนี้เหมือนหนังโป๊ะที่ดูแล้ว ถึงจุดออกัสซั่มแล้ว ไม่ควรจะมีอะไรให้พูดถึงอีกหรือหากอยากจะพูดถึงก็คงเป็นเรื่องความไม่เอาไหนของคนทำหนังที่อุตส่าห์ขนดาราและนักแสดงรับเชิญมาเพียบ แต่ทำได้เพียงแค่หลอกขายฉาก "เอากัน" เท่านั้น โดยให้ผู้หญิง 5 คนผลัดกันมาเล่าประสบการณ์ทางเพศที่โลดโผนโจนทะยาน (มีอะไรกับลูกศิษย์ตัวเอง โดนยามข่มขืน ได้กับวินมอไซค์)
เมธัส บัวชุม
31 มกราคมที่ผ่านมา ทีมงานความจริงวันนี้ สร้างปรากฏการณ์ "แดงทั้งแผ่นดิน- Red in The Land" ที่ท้องสนามหลวงด้วยประชาชนหลายหมื่น คนรวยคนจน นักวิชาการหัวก้าวหน้า นักปฏิวัติ คนรุ่นใหม่รุ่นเก่ามากันพร้อมหน้า บรรยากาศฮึกเหิมคึกคัก ส่งสัญญาณความไม่พอใจที่ล้นอกไปยังเหล่าศักดินา เขย่าขวัญพวกอมาตยาธิปไตยให้หยุดสำเหนียกให้มากก่อนจะกระทำการใด อันที่จริงการสำแดงพลังที่รัชมังคลาภิเษกเมื่อวันที่ 1 พ.ย.51 ที่ประชาชนเข้าร่วมงานอย่างอุ่นหนาฝาคั่งนั้นน่าพรั่นพรึงและเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าชาว “แดง” พร้อมชนกับซากเดนของระบอบศักดินาเพียงขอให้มีเงื่อนไขที่เอื้อหรือสถานการณ์สุกงอมพอเท่านั้น…
เมธัส บัวชุม
  ผมชอบดูและเล่นฟุตบอลแม้ว่าจะเล่นไม่ดีเลยก็ตาม  มันเป็นความบันเทิงและกีฬาที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเหมือนเข้าฟิตเนส  แต่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผมไม่เคยชอบดูฟุตบอลไทยเลย อาจจะเปิดโทรทัศน์ไปเจอโดยบังเอิญ หยุดดูสักครึ่งนาที พอได้ยินเสียงพากย์ของนักพากย์กีฬาช่อง 7 ซึ่งไม่พากย์ไปตามเกมกีฬา หากแต่จ้องจะเข้าข้างทีมไทยท่าเดียวทำให้เสียอารมณ์จนต้องรีบเปลี่ยนช่องยิ่งเมื่อได้เห็นภาพข่าวนักฟุตบอลไทย แสดงอาการกักขฬะมีเรื่องวิวาทกับนักเตะต่างชาติอยู่บ่อย ๆ ด้วยแล้ว ผมยิ่งรู้สึกสมน้ำหน้า รู้สึกสมน้ำหน้ามากขึ้นเมื่อนักพากย์กีฬา…
เมธัส บัวชุม
ข่าวการตัดสินจำคุกชาวต่างชาติ “แฮร์รี่ นิโคไลเดส” ชาวออสเตรเลีย ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นนอกจากจะน่าอนาถใจไทยแลนด์แล้ว ยังสร้างแรงสะเทือนต่อสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพ” อยู่ไม่น้อยผมเคยคิดว่าไทยเป็นประเทศที่มี “เสรีภาพ” มากพอสมควร ถึงตอนนี้ก็ยังคิดเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่ว่า “เสรีภาพ” ในไทยนั้นมี “เพดาน” กั้น มี “ขีด” ที่ข้ามไปไม่ได้ เราไม่อาจใช้เสรีภาพไปวิพากษ์วิจารณ์บางคนหรือบางองค์กรหรือเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสได้ เช่น องคมนตรี ศาล กองทัพ เสรีภาพที่เรามีอยู่จึงเป็น “เสรีภาพแบบพอเพียง”
เมธัส บัวชุม
การเมืองหลังการเข้ามาของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร คือการแข่งขันกันนำเสนอด้านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการสิ่งอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งถูกละเลยมาตลอด ผลงานของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ยิ่งยงและพรรคไทยรักไทยที่ได้ทำไว้ในเรื่องการกำหนดนโยบายสำหรับคนยากคนจน และผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงกระทั่งใครต่อใครพรรคประชาธิปัตย์ปากว่าตาขยิบลอกมาหน้าตาเฉย แม้แต่พรรคภูมิใจของเนวิน ชิดชอบที่เพิ่งเปิดตัวไปก็ชูเรื่องประชานิยมเป็นม็อตโตของพรรค
เมธัส บัวชุม
-1-เมื่อกลุ่มก่อการร้ายพันธมิตร ฯ แยกย้ายสลายตัว เดินลงจากเวทีหลังจากสร้างความยับเยินสาธารณะจนสาแก่ใจ แล้วส่งพรรคประชาธิปัตย์วิ่งราวเข้าไปเป็นฝ่ายรัฐบาลโดยผนวกรวมกลุ่มงูเห่าของพวกเนวิน ชิดชอบ เข้าไปด้วยแล้ว การเมืองก็หมดสีสันลงอย่างมากเหมือนกับละครน้ำเน่าที่ตัวอิจฉาหายไปจากจอ ยอมรับนะครับ ว่ากลุ่มก่อการร้ายพันธมิตรที่เป็นม็อบมีเส้นนั้นดึงดูดกระแสความสนใจการเมืองขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด แม้แต่คนที่ร้อยวันพันปีไม่เคยใส่ใจเรื่องการเมืองเลยนั้นก็หันไปใส่เสื้อเหลือง เสื้อแดงกับเขาด้วย บางคนใส่ได้ทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลืองแล้วแต่ว่ากระแสความนิยมของฝ่ายใดจะมาแรงกว่า
เมธัส บัวชุม
ชัยชนะที่ได้มาด้วยการฉ้อฉลของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งรัฐบาลสมความมุ่งมาดปรารถนาที่รอคอยมาเกือบสิบปี แต่ก็ด่างพร้อยอย่างยิ่ง ไม่มีความสง่างามแม้แต่นิดเดียว ล่อนจ้อนน่าละอาย ผิดกติกามารยาทรวมไปถึงผิดกฏหมาย กระทั่งก่อให้เกิดความระอาเกลียดชัง บทบาทพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกข้างต้น ทำให้หลายคนตั้งฉายา สร้างวาทกรรมในการใช้เรียกขานพรรคประชาธิปัตย์ไปต่าง ๆ  นานาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปในแง่ลบฉายาที่ 1 "รัฐบาลต่างตอบแทน" ตอบแทนกระทรวงกลาโหมให้กองทัพที่ยืนหยัดช่วยเหลือทั้งทางตรงทางอ้อมแก่พรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด…
เมธัส บัวชุม
  เป็นการพังทลายลงของสถาบันตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความน่าเชื่อถือ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคการเมืองซีกรัฐบาลรวดเดียว 3 พรรค อย่างรวบรัดตัดความ เร่งร้อนลนลานและผิด ๆ ถูก ๆ นักวิชาการผู้เคารพในหลักการ และคอการเมืองทั้งหลายพากันวิพากษ์วิจารณ์กันขรมถึงสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลงไป เริ่มตั้งแต่ประเด็นเรื่องคุณสมบัติของตุลาการผู้เอาตัวรอดด้วยการท่องคาถาคุณธรรม จริยธรรม เป็นนิจสิน อย่างนายจรัล ภักดีธนากุล ไปจนถึงการย้ายสถานที่พิจารณาตัดสินคดีอย่างปุบปับ รวมไปถึงการนำทหารป่าหวายเข้ามาอารักขาตุลาการ แทนที่จะหยุดยั้งเหล่ามารพันธมิตร บางคนต่อรองไว้ว่าร้อยนึงเอาบาทเดียว…
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็นกันแล้วว่าลัทธิพันธมิตรสามารถทำอะไรได้บ้าง ลัทธิพันธมิตรทำอะไรก็ได้ทั้งนั้นถ้าอยากทำ ตั้งแต่การปิดสี่แยกเพื่อให้การจราจรเป็นอัมพาต ยึดรถเมล์ ล้อมรัฐสภา ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ไปจนถึงการปิดสนามบินเพื่อทำให้ผู้อื่น-ชาวต่างชาติ เดือดร้อนอย่างจงใจบัดนี้ ใครที่ยังเชื่อว่าลัทธิพันธมิตรชุมนุมแบบอหิงสาอันหมายความว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่นนั้นคงจะปัญญาอ่อนเต็มที ใครที่ยังเห็นว่าลัทธิพันธมิตรเป็นการเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยคงจะเป็นคนโง่ดักดาน และดังนั้นเพื่อชีวิตจะได้กลับสู่ความปกติ จึงควรหยุดให้ท้ายลัทธิพันธมิตรในทุกทาง…
เมธัส บัวชุม
อัสนี วสันต์ ในเพลง "ก็เคยสัญญา" เคยแหกปากตะโกนประโยคที่ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"  อันหมายถึงความรักที่แปรผันตามวันเวลาที่ผ่านพ้น   แม้ว่าจะสัญญากันไว้หนักแน่นก็ตาม ประโยคนี้ถูกตอกย้ำให้ฮือฮาอีกครั้งจากปาก แอ๊ด คาราบาว ผู้ซึ่งสวมบทนักร้อง นักดนตรี "เพื่อชีวิต"  วิพากษ์วิจารณ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่โฆษณามอมเมาให้คนซื้อทั้งที่ไม่มีคุณค่าสารอาหารแต่ประการใด แต่ในเวลาต่อมา แอ๊ด คาราบาว กลับมาทำธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลัง "คาราบาวแดง" อย่างที่รู้กัน เมื่อมีคนถาม แอ๊ด คาราบาว บอกง่าย ๆ ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"
เมธัส บัวชุม
เพราะว่าในนามของความถูกต้อง จะทำผิดอย่างไรก็ได้ ดังนั้นม็อบพันธมิตร ฯ จึงพากันทำผิดร้อยแปดพันเก้าประการ การกระทำทั้งร้อยแปดพันเก้าประการนั้นแม้จะเลวร้ายอย่างไรก็ไม่สำคัญนักเพราะถูกฉาบเคลือบไว้ในนามของความถูกต้อง เช่นนี้เองที่เป็นเหตุนำไปสู่คือปัญหาความขัดแย้งยุ่งเหยิงและความรุนแรงในทุก ๆ ทาง การหลบอยู่หลังวาทกรรมประเภท “กู้ชาติ” “พิทักษ์สถาบัน” ฯลฯ การหลงว่าตนเองหรือกลุ่มตนเองเป็นฝ่ายถูก เป็นฝ่ายจงรักภักดี รักชาติ ทำถูกกฏหมาย ตีตราฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิด ขายชาติ ไม่จงรักภักดี ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม เลว ดังนั้นในนามของความถูกต้อง จำเป็นต้องกำจัดให้หายไปไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตาม