Skip to main content
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง


ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย

1. เริ่มที่กรณีการส่ง SMS ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าโทรศัพท์มือถือของประชาชน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชี้แจงกรณีนี้ว่า


"นายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ชี้แจงว่า การส่งข้อความสั้นไม่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนตัว ถือเป็นการเชิญชวนประชาชนให้มามีส่วนร่วมทางการเมือง และการตอบกลับนั้นเป็นความสมัครใจของเจ้าของโทรศัพท์เอง (มติชนรายวัน, 20 มีนาคม พ.ศ. 2552)

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0101200352&sectionid=0101&selday=2009-03-20


เราจะเห็นได้ว่าการชี้แจงจากฝ่ายรัฐบาลนั้นไม่สามารถช่วยให้หลุดพ้นจากประเด็นในเรื่องจริยธรรมได้เลย เป็นไปได้ที่การส่งข้อความสั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์แต่มันเป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนอย่างแน่นอน เป็นเรื่องผิดจริยธรรมอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะนำข้อมูลส่วนบุคคลไปให้กับบริษัทเอกชน รัฐบาลอภิสิทธิ์ชอบอวดอ้างเรื่องจริยธรรมแต่กลับทำผิดหน้าตาเฉย แถมยัง(กล้า)บอกว่าเป็นสิทธิของประชาชนที่จะตอบกลับ


2. กรณีของนายกษิต ภิรมย์ ผู้ซึ่งเปรียบเหมือน "ปลาเน่า" บรรจุกระป๋อง การอภิปรายจากฝ่ายค้านได้เปิดเผยให้เห็น "ตำหนิ" ในชีวิตมากมายจนน่าตกใจทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัว และเรื่องการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขอตั๋วจากการบินไทยปีละ 500 ใบ อ้างว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่กลับไปแจกจ่ายให้ญาติ เรื่องเปียโน (ไม่เสียภาษี) ที่อ้างว่าจะเอาไปให้ผู้บริหารบ้านเมืองแต่กลับนำไปเป็นของตนเอง และที่สร้างชื่อเสียให้กับตนเองคือการลงทุนปิดสนามบินเพื่อให้ตนเองได้เป็นรัฐมนตรี นายกษิต ภิรมย์ ตอบฝ่ายค้านว่า


"ทำไมผมถึงไป ขอเรียนว่าใครก็ตามที่มีอุดมการณ์ มีความเป็นนักประชาธิปไตย และร่วมต่อต้านการทุจริตมิชอบ รวมกระทั่งการต่อสู้การเป็นเผด็จการรัฐสภา ครอบงำสังคมไทย สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้ เป็นสิ่งที่ผมต่อสู้มาตลอดชีวิต ผมไม่มีความละอายใดๆ ที่จะทำในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่เปิดเผย


ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่กล่าวหาว่าผมใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อสมเด็จฯ ฮุนเซนนั้น เพราะก่อนหน้านี้ ท่านได้รับข้อมูลว่าไทยได้ส่งกำลังทหาร 500 นาย เข้าประชิดชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดขึ้นหลังจากท่านสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ต่างประเทศสมัยนั้น เดินทางกลับมาจากการเยือนกัมพูชา สมเด็จฯฮุนเซนก็ออกมาประกาศว่าให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกไป ด้วยความรักชาติ และต้องการรักษาความสง่างาม รักษาศักดิ์ศรีของทหารไทย ผมจึงได้พูดไปอย่างที่ปรากฏในเทปบันทึกภาพที่ท่านผู้อภิปรายนำออกมาเปิดเผยต่อที่ประชุม"

(มติชนรายวัน, 21 มีนาคม. พ.ศ. 2552) 

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol04210352&sectionid=0133&day=2009-03-21


เข้าใจได้ที่นายกษิต ภิรมย์ ไม่สนใจเรื่องเล็กน้อยอย่างตั๋วเครื่องบินหรือเปียโน แต่น่าตกใจที่นายกษิต ภิรมย์กล้าพูดว่าตนเอง "มีความเป็นนักประชาธิปไตย" อันที่จริงถ้านายกษิต ภิรมย์ อยากจะเป็น "แมน" กว่านี้ ควรจะกล่าวว่า "ผมไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง การตัดสินด้วยเสียงข้างมาก ผมจึงออกมาต่อต้าน" ผมอยากจะสรุปการกระทำของนายกษิต ภิรมย์ ว่า "จัดการสิ่งที่(เห็นว่า)เลว ด้วยการกระทำที่เลวกว่า"


ในเรื่องประเด็นเขาพระวิหาร กล่าวคำผรุสวาทใส่สมเด็จฯ ฮุนเซ็นออกสื่อสาธารณะโดยไม่ระวังปาก นายกษิต ภิรมย์ ออกตัวว่าเป็นการตอบโต้การกระทำของสมเด็จฮุนเซ็น ที่เกิดจากการเข้าใจผิด


สมมติว่าเกิดจากการเข้าใจผิดจริง นายกษิต ภิรมย์ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงกริยาหรือกล่าวถ้อยคำหยาบคายอย่างที่ได้กล่าวไป ไม่น่าเชื่อว่าคนที่เป็นนักการทูตหลายประเทศ ไม่ได้มีกิริยาวาจาแตกต่างจากชาวบ้านร้านตลาดเลยแม้แต่น้อย เปิดเผยสกุลรุนชาติของตนเองออกมาง่ายดาย ถ้านายกษิต ภิรมย์ อยากจะเป็น "แมน" กว่านี้ แค่เปิดปากยอมรับผิดและขอโอกาสปรับปรุงแก้ไขน่าจะช่วยให้ตนเองดูดีขึ้น


3. ที่หนักเกินเยียวยาคือการให้เหตุผลของสส.พันธมิตร นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เขาพูดหลายครั้งหลายหนเรื่องปิดสนามบินว่า พันธมิตรไม่ได้ปิด แต่ผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ และ ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นผู้สั่งปิด


"นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นใช้สิทธิพาดพิงว่า ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายสากลถือเป็นทัศนคติของคนมอง แต่การจะเข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้ายได้ต้องครบองค์ประกอบตามอนุสัญญาทางการบิน ต้องใช้กำลังประทุษร้ายอากาศยานในขณะบินอยู่ ต้องปิดน่านฟ้าสากล แต่เราไม่เคยยึดเครื่องบินหรือทำลายอากาศยาน เพียงใช้เวทีด้านหน้าสนามบิน โดยไม่มีการปิดถนนและในบันทึกการประชุมบอร์ดการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บอท.) ก็ระบุว่าผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ และ ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นผู้สั่งปิดไม่ใช่เรา"

( เดลินิวส์, วันที่ 21 มีนาคม 2552) http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=194032&Newstype=1&template=1


การให้เหตุผลของนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เป็นเรื่องน่าทุเรศเหลือเชื่อ เป็นการเอาสีข้างเข้าถูอย่างแท้จริง ผมสามารถยกตัวอย่างเทียบเคียงเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่า สมมติว่าเกิดการลอบวางระเบิดในโรงเรียนแห่งหนึ่งจนเสียหายยับเยิน ผู้อำนายการจึงสั่งปิดโรงเรียน 2 สัปดาห์เพื่อซ่อมแซมอาคารที่เสียหาย กรณีนี้เราจะกล่าวโทษผู้อำนวยการว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้โรงเรียนปิด?


ไม่น่าเชื่อว่านายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จะเป็นอาจารย์สอนหนังสือ ไม่น่าเชื่อว่านายสมเกียติ พงษ์ไพบูลย์ พูดเช่นนี้ขณะอยู่ในสภาฯ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์เป็นตัวสะท้อนได้อย่างดีถึงคุณภาพของพันธมิตร

 

รัฐบาลเอาตัวรอดไปได้เพราะแรงหนุนจากหลายฝ่าย แต่เราก็ได้เห็นกันอีกครั้งหนึ่งว่าระดับสติปัญญาและคุณภาพของรัฐบาลนี้มีไม่มากนัก แค่พูดให้เป็นเหตุเป็นผล หรือตอบให้ตรงคำถามยังทำไม่ได้เลย.

 

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
บทความเรื่อง "แรงฤทธิ์ แต่อ่อนผล" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนรายวันhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11314) มีหลายประโยค หลายวลี หลายคำที่อ่านแล้วต้องส่ายหัวด้วยความอิดหนาระอาใจกับอคติและภูมิปัญญาของเขา แต่มีอยู่ประโยคหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้ผมสะดุดหยุดกึกในทันทีคือประโยคที่ว่า "ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"
เมธัส บัวชุม
ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง "ผู้หญิง 5 บาป" เพราะเคเบิลทีวีเอามาฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก อันที่จริงหนังเกรดต่ำแบบนี้ไม่เคยอยู่ในความคิดอยากจะดูเลย แต่ผมก็เหมือนคนอื่น ๆ คือฉากรักร้อน ๆ ดิบ ๆ ที่ปรากฏอยู่มากมายสะกดให้ต้องหยุดดู หนังเรื่องนี้เหมือนหนังโป๊ะที่ดูแล้ว ถึงจุดออกัสซั่มแล้ว ไม่ควรจะมีอะไรให้พูดถึงอีกหรือหากอยากจะพูดถึงก็คงเป็นเรื่องความไม่เอาไหนของคนทำหนังที่อุตส่าห์ขนดาราและนักแสดงรับเชิญมาเพียบ แต่ทำได้เพียงแค่หลอกขายฉาก "เอากัน" เท่านั้น โดยให้ผู้หญิง 5 คนผลัดกันมาเล่าประสบการณ์ทางเพศที่โลดโผนโจนทะยาน (มีอะไรกับลูกศิษย์ตัวเอง โดนยามข่มขืน ได้กับวินมอไซค์)
เมธัส บัวชุม
31 มกราคมที่ผ่านมา ทีมงานความจริงวันนี้ สร้างปรากฏการณ์ "แดงทั้งแผ่นดิน- Red in The Land" ที่ท้องสนามหลวงด้วยประชาชนหลายหมื่น คนรวยคนจน นักวิชาการหัวก้าวหน้า นักปฏิวัติ คนรุ่นใหม่รุ่นเก่ามากันพร้อมหน้า บรรยากาศฮึกเหิมคึกคัก ส่งสัญญาณความไม่พอใจที่ล้นอกไปยังเหล่าศักดินา เขย่าขวัญพวกอมาตยาธิปไตยให้หยุดสำเหนียกให้มากก่อนจะกระทำการใด อันที่จริงการสำแดงพลังที่รัชมังคลาภิเษกเมื่อวันที่ 1 พ.ย.51 ที่ประชาชนเข้าร่วมงานอย่างอุ่นหนาฝาคั่งนั้นน่าพรั่นพรึงและเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าชาว “แดง” พร้อมชนกับซากเดนของระบอบศักดินาเพียงขอให้มีเงื่อนไขที่เอื้อหรือสถานการณ์สุกงอมพอเท่านั้น…
เมธัส บัวชุม
  ผมชอบดูและเล่นฟุตบอลแม้ว่าจะเล่นไม่ดีเลยก็ตาม  มันเป็นความบันเทิงและกีฬาที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเหมือนเข้าฟิตเนส  แต่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผมไม่เคยชอบดูฟุตบอลไทยเลย อาจจะเปิดโทรทัศน์ไปเจอโดยบังเอิญ หยุดดูสักครึ่งนาที พอได้ยินเสียงพากย์ของนักพากย์กีฬาช่อง 7 ซึ่งไม่พากย์ไปตามเกมกีฬา หากแต่จ้องจะเข้าข้างทีมไทยท่าเดียวทำให้เสียอารมณ์จนต้องรีบเปลี่ยนช่องยิ่งเมื่อได้เห็นภาพข่าวนักฟุตบอลไทย แสดงอาการกักขฬะมีเรื่องวิวาทกับนักเตะต่างชาติอยู่บ่อย ๆ ด้วยแล้ว ผมยิ่งรู้สึกสมน้ำหน้า รู้สึกสมน้ำหน้ามากขึ้นเมื่อนักพากย์กีฬา…
เมธัส บัวชุม
ข่าวการตัดสินจำคุกชาวต่างชาติ “แฮร์รี่ นิโคไลเดส” ชาวออสเตรเลีย ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นนอกจากจะน่าอนาถใจไทยแลนด์แล้ว ยังสร้างแรงสะเทือนต่อสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพ” อยู่ไม่น้อยผมเคยคิดว่าไทยเป็นประเทศที่มี “เสรีภาพ” มากพอสมควร ถึงตอนนี้ก็ยังคิดเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่ว่า “เสรีภาพ” ในไทยนั้นมี “เพดาน” กั้น มี “ขีด” ที่ข้ามไปไม่ได้ เราไม่อาจใช้เสรีภาพไปวิพากษ์วิจารณ์บางคนหรือบางองค์กรหรือเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสได้ เช่น องคมนตรี ศาล กองทัพ เสรีภาพที่เรามีอยู่จึงเป็น “เสรีภาพแบบพอเพียง”
เมธัส บัวชุม
การเมืองหลังการเข้ามาของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร คือการแข่งขันกันนำเสนอด้านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการสิ่งอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งถูกละเลยมาตลอด ผลงานของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ยิ่งยงและพรรคไทยรักไทยที่ได้ทำไว้ในเรื่องการกำหนดนโยบายสำหรับคนยากคนจน และผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงกระทั่งใครต่อใครพรรคประชาธิปัตย์ปากว่าตาขยิบลอกมาหน้าตาเฉย แม้แต่พรรคภูมิใจของเนวิน ชิดชอบที่เพิ่งเปิดตัวไปก็ชูเรื่องประชานิยมเป็นม็อตโตของพรรค
เมธัส บัวชุม
-1-เมื่อกลุ่มก่อการร้ายพันธมิตร ฯ แยกย้ายสลายตัว เดินลงจากเวทีหลังจากสร้างความยับเยินสาธารณะจนสาแก่ใจ แล้วส่งพรรคประชาธิปัตย์วิ่งราวเข้าไปเป็นฝ่ายรัฐบาลโดยผนวกรวมกลุ่มงูเห่าของพวกเนวิน ชิดชอบ เข้าไปด้วยแล้ว การเมืองก็หมดสีสันลงอย่างมากเหมือนกับละครน้ำเน่าที่ตัวอิจฉาหายไปจากจอ ยอมรับนะครับ ว่ากลุ่มก่อการร้ายพันธมิตรที่เป็นม็อบมีเส้นนั้นดึงดูดกระแสความสนใจการเมืองขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด แม้แต่คนที่ร้อยวันพันปีไม่เคยใส่ใจเรื่องการเมืองเลยนั้นก็หันไปใส่เสื้อเหลือง เสื้อแดงกับเขาด้วย บางคนใส่ได้ทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลืองแล้วแต่ว่ากระแสความนิยมของฝ่ายใดจะมาแรงกว่า
เมธัส บัวชุม
ชัยชนะที่ได้มาด้วยการฉ้อฉลของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งรัฐบาลสมความมุ่งมาดปรารถนาที่รอคอยมาเกือบสิบปี แต่ก็ด่างพร้อยอย่างยิ่ง ไม่มีความสง่างามแม้แต่นิดเดียว ล่อนจ้อนน่าละอาย ผิดกติกามารยาทรวมไปถึงผิดกฏหมาย กระทั่งก่อให้เกิดความระอาเกลียดชัง บทบาทพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกข้างต้น ทำให้หลายคนตั้งฉายา สร้างวาทกรรมในการใช้เรียกขานพรรคประชาธิปัตย์ไปต่าง ๆ  นานาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปในแง่ลบฉายาที่ 1 "รัฐบาลต่างตอบแทน" ตอบแทนกระทรวงกลาโหมให้กองทัพที่ยืนหยัดช่วยเหลือทั้งทางตรงทางอ้อมแก่พรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด…
เมธัส บัวชุม
  เป็นการพังทลายลงของสถาบันตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความน่าเชื่อถือ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคการเมืองซีกรัฐบาลรวดเดียว 3 พรรค อย่างรวบรัดตัดความ เร่งร้อนลนลานและผิด ๆ ถูก ๆ นักวิชาการผู้เคารพในหลักการ และคอการเมืองทั้งหลายพากันวิพากษ์วิจารณ์กันขรมถึงสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลงไป เริ่มตั้งแต่ประเด็นเรื่องคุณสมบัติของตุลาการผู้เอาตัวรอดด้วยการท่องคาถาคุณธรรม จริยธรรม เป็นนิจสิน อย่างนายจรัล ภักดีธนากุล ไปจนถึงการย้ายสถานที่พิจารณาตัดสินคดีอย่างปุบปับ รวมไปถึงการนำทหารป่าหวายเข้ามาอารักขาตุลาการ แทนที่จะหยุดยั้งเหล่ามารพันธมิตร บางคนต่อรองไว้ว่าร้อยนึงเอาบาทเดียว…
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็นกันแล้วว่าลัทธิพันธมิตรสามารถทำอะไรได้บ้าง ลัทธิพันธมิตรทำอะไรก็ได้ทั้งนั้นถ้าอยากทำ ตั้งแต่การปิดสี่แยกเพื่อให้การจราจรเป็นอัมพาต ยึดรถเมล์ ล้อมรัฐสภา ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ไปจนถึงการปิดสนามบินเพื่อทำให้ผู้อื่น-ชาวต่างชาติ เดือดร้อนอย่างจงใจบัดนี้ ใครที่ยังเชื่อว่าลัทธิพันธมิตรชุมนุมแบบอหิงสาอันหมายความว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่นนั้นคงจะปัญญาอ่อนเต็มที ใครที่ยังเห็นว่าลัทธิพันธมิตรเป็นการเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยคงจะเป็นคนโง่ดักดาน และดังนั้นเพื่อชีวิตจะได้กลับสู่ความปกติ จึงควรหยุดให้ท้ายลัทธิพันธมิตรในทุกทาง…
เมธัส บัวชุม
อัสนี วสันต์ ในเพลง "ก็เคยสัญญา" เคยแหกปากตะโกนประโยคที่ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"  อันหมายถึงความรักที่แปรผันตามวันเวลาที่ผ่านพ้น   แม้ว่าจะสัญญากันไว้หนักแน่นก็ตาม ประโยคนี้ถูกตอกย้ำให้ฮือฮาอีกครั้งจากปาก แอ๊ด คาราบาว ผู้ซึ่งสวมบทนักร้อง นักดนตรี "เพื่อชีวิต"  วิพากษ์วิจารณ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่โฆษณามอมเมาให้คนซื้อทั้งที่ไม่มีคุณค่าสารอาหารแต่ประการใด แต่ในเวลาต่อมา แอ๊ด คาราบาว กลับมาทำธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลัง "คาราบาวแดง" อย่างที่รู้กัน เมื่อมีคนถาม แอ๊ด คาราบาว บอกง่าย ๆ ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"
เมธัส บัวชุม
เพราะว่าในนามของความถูกต้อง จะทำผิดอย่างไรก็ได้ ดังนั้นม็อบพันธมิตร ฯ จึงพากันทำผิดร้อยแปดพันเก้าประการ การกระทำทั้งร้อยแปดพันเก้าประการนั้นแม้จะเลวร้ายอย่างไรก็ไม่สำคัญนักเพราะถูกฉาบเคลือบไว้ในนามของความถูกต้อง เช่นนี้เองที่เป็นเหตุนำไปสู่คือปัญหาความขัดแย้งยุ่งเหยิงและความรุนแรงในทุก ๆ ทาง การหลบอยู่หลังวาทกรรมประเภท “กู้ชาติ” “พิทักษ์สถาบัน” ฯลฯ การหลงว่าตนเองหรือกลุ่มตนเองเป็นฝ่ายถูก เป็นฝ่ายจงรักภักดี รักชาติ ทำถูกกฏหมาย ตีตราฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิด ขายชาติ ไม่จงรักภักดี ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม เลว ดังนั้นในนามของความถูกต้อง จำเป็นต้องกำจัดให้หายไปไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตาม