Skip to main content
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง


ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย

1. เริ่มที่กรณีการส่ง SMS ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าโทรศัพท์มือถือของประชาชน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชี้แจงกรณีนี้ว่า


"นายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ชี้แจงว่า การส่งข้อความสั้นไม่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนตัว ถือเป็นการเชิญชวนประชาชนให้มามีส่วนร่วมทางการเมือง และการตอบกลับนั้นเป็นความสมัครใจของเจ้าของโทรศัพท์เอง (มติชนรายวัน, 20 มีนาคม พ.ศ. 2552)

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0101200352&sectionid=0101&selday=2009-03-20


เราจะเห็นได้ว่าการชี้แจงจากฝ่ายรัฐบาลนั้นไม่สามารถช่วยให้หลุดพ้นจากประเด็นในเรื่องจริยธรรมได้เลย เป็นไปได้ที่การส่งข้อความสั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์แต่มันเป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนอย่างแน่นอน เป็นเรื่องผิดจริยธรรมอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะนำข้อมูลส่วนบุคคลไปให้กับบริษัทเอกชน รัฐบาลอภิสิทธิ์ชอบอวดอ้างเรื่องจริยธรรมแต่กลับทำผิดหน้าตาเฉย แถมยัง(กล้า)บอกว่าเป็นสิทธิของประชาชนที่จะตอบกลับ


2. กรณีของนายกษิต ภิรมย์ ผู้ซึ่งเปรียบเหมือน "ปลาเน่า" บรรจุกระป๋อง การอภิปรายจากฝ่ายค้านได้เปิดเผยให้เห็น "ตำหนิ" ในชีวิตมากมายจนน่าตกใจทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัว และเรื่องการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขอตั๋วจากการบินไทยปีละ 500 ใบ อ้างว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่กลับไปแจกจ่ายให้ญาติ เรื่องเปียโน (ไม่เสียภาษี) ที่อ้างว่าจะเอาไปให้ผู้บริหารบ้านเมืองแต่กลับนำไปเป็นของตนเอง และที่สร้างชื่อเสียให้กับตนเองคือการลงทุนปิดสนามบินเพื่อให้ตนเองได้เป็นรัฐมนตรี นายกษิต ภิรมย์ ตอบฝ่ายค้านว่า


"ทำไมผมถึงไป ขอเรียนว่าใครก็ตามที่มีอุดมการณ์ มีความเป็นนักประชาธิปไตย และร่วมต่อต้านการทุจริตมิชอบ รวมกระทั่งการต่อสู้การเป็นเผด็จการรัฐสภา ครอบงำสังคมไทย สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้ เป็นสิ่งที่ผมต่อสู้มาตลอดชีวิต ผมไม่มีความละอายใดๆ ที่จะทำในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่เปิดเผย


ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่กล่าวหาว่าผมใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อสมเด็จฯ ฮุนเซนนั้น เพราะก่อนหน้านี้ ท่านได้รับข้อมูลว่าไทยได้ส่งกำลังทหาร 500 นาย เข้าประชิดชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดขึ้นหลังจากท่านสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ต่างประเทศสมัยนั้น เดินทางกลับมาจากการเยือนกัมพูชา สมเด็จฯฮุนเซนก็ออกมาประกาศว่าให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกไป ด้วยความรักชาติ และต้องการรักษาความสง่างาม รักษาศักดิ์ศรีของทหารไทย ผมจึงได้พูดไปอย่างที่ปรากฏในเทปบันทึกภาพที่ท่านผู้อภิปรายนำออกมาเปิดเผยต่อที่ประชุม"

(มติชนรายวัน, 21 มีนาคม. พ.ศ. 2552) 

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol04210352&sectionid=0133&day=2009-03-21


เข้าใจได้ที่นายกษิต ภิรมย์ ไม่สนใจเรื่องเล็กน้อยอย่างตั๋วเครื่องบินหรือเปียโน แต่น่าตกใจที่นายกษิต ภิรมย์กล้าพูดว่าตนเอง "มีความเป็นนักประชาธิปไตย" อันที่จริงถ้านายกษิต ภิรมย์ อยากจะเป็น "แมน" กว่านี้ ควรจะกล่าวว่า "ผมไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง การตัดสินด้วยเสียงข้างมาก ผมจึงออกมาต่อต้าน" ผมอยากจะสรุปการกระทำของนายกษิต ภิรมย์ ว่า "จัดการสิ่งที่(เห็นว่า)เลว ด้วยการกระทำที่เลวกว่า"


ในเรื่องประเด็นเขาพระวิหาร กล่าวคำผรุสวาทใส่สมเด็จฯ ฮุนเซ็นออกสื่อสาธารณะโดยไม่ระวังปาก นายกษิต ภิรมย์ ออกตัวว่าเป็นการตอบโต้การกระทำของสมเด็จฮุนเซ็น ที่เกิดจากการเข้าใจผิด


สมมติว่าเกิดจากการเข้าใจผิดจริง นายกษิต ภิรมย์ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงกริยาหรือกล่าวถ้อยคำหยาบคายอย่างที่ได้กล่าวไป ไม่น่าเชื่อว่าคนที่เป็นนักการทูตหลายประเทศ ไม่ได้มีกิริยาวาจาแตกต่างจากชาวบ้านร้านตลาดเลยแม้แต่น้อย เปิดเผยสกุลรุนชาติของตนเองออกมาง่ายดาย ถ้านายกษิต ภิรมย์ อยากจะเป็น "แมน" กว่านี้ แค่เปิดปากยอมรับผิดและขอโอกาสปรับปรุงแก้ไขน่าจะช่วยให้ตนเองดูดีขึ้น


3. ที่หนักเกินเยียวยาคือการให้เหตุผลของสส.พันธมิตร นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เขาพูดหลายครั้งหลายหนเรื่องปิดสนามบินว่า พันธมิตรไม่ได้ปิด แต่ผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ และ ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นผู้สั่งปิด


"นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นใช้สิทธิพาดพิงว่า ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายสากลถือเป็นทัศนคติของคนมอง แต่การจะเข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้ายได้ต้องครบองค์ประกอบตามอนุสัญญาทางการบิน ต้องใช้กำลังประทุษร้ายอากาศยานในขณะบินอยู่ ต้องปิดน่านฟ้าสากล แต่เราไม่เคยยึดเครื่องบินหรือทำลายอากาศยาน เพียงใช้เวทีด้านหน้าสนามบิน โดยไม่มีการปิดถนนและในบันทึกการประชุมบอร์ดการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บอท.) ก็ระบุว่าผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ และ ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นผู้สั่งปิดไม่ใช่เรา"

( เดลินิวส์, วันที่ 21 มีนาคม 2552) http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=194032&Newstype=1&template=1


การให้เหตุผลของนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เป็นเรื่องน่าทุเรศเหลือเชื่อ เป็นการเอาสีข้างเข้าถูอย่างแท้จริง ผมสามารถยกตัวอย่างเทียบเคียงเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่า สมมติว่าเกิดการลอบวางระเบิดในโรงเรียนแห่งหนึ่งจนเสียหายยับเยิน ผู้อำนายการจึงสั่งปิดโรงเรียน 2 สัปดาห์เพื่อซ่อมแซมอาคารที่เสียหาย กรณีนี้เราจะกล่าวโทษผู้อำนวยการว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้โรงเรียนปิด?


ไม่น่าเชื่อว่านายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จะเป็นอาจารย์สอนหนังสือ ไม่น่าเชื่อว่านายสมเกียติ พงษ์ไพบูลย์ พูดเช่นนี้ขณะอยู่ในสภาฯ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์เป็นตัวสะท้อนได้อย่างดีถึงคุณภาพของพันธมิตร

 

รัฐบาลเอาตัวรอดไปได้เพราะแรงหนุนจากหลายฝ่าย แต่เราก็ได้เห็นกันอีกครั้งหนึ่งว่าระดับสติปัญญาและคุณภาพของรัฐบาลนี้มีไม่มากนัก แค่พูดให้เป็นเหตุเป็นผล หรือตอบให้ตรงคำถามยังทำไม่ได้เลย.

 

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…