Skip to main content

หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้

แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"

นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้า

แต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550 ซึ่งร่างโดยนักวิชาการเฮง... กลับสนองความต้องการของกลุ่มข้าราชการที่ต้องการกลับเข้ามามีบทบาทในวงการเมือง ที่ต้องการเข้ามามี "ส่วนแบ่ง" ในวงการเมืองซึ่งมีเงินสะพัดมหาศาล

ผู้เขียน "รัดทะมะนวย ฉบับหัวคูณ" ใช้นามปากกาว่า "วาทตะวัน สุพรรณเภษัช นักเขียน มิลเลี่ยนคลิก" เป็นการรวบรวมบทความที่เคยเผยแพร่ทางเวบไซต์ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ช่วง 1 ปีตั้งแต่มีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

สามารถติดตามได้ไม่ยากว่าแท้จริงแล้ว ผู้เขียนชื่อมีชื่อจริงว่า พ.ต.อ.ประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช ส่วนคนที่จัดพิมพ์คือ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีต รอง ผบ.ตร. เป็นคนจัดพิมพ์ออกจำหน่ายเล่มละ 100 บาท ส่วนคนที่ซื้อมาเพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับผู้สมัครพรรคพลังประชาชนคือ พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก ผู้สมัคร ส.ส.ระบบสัดส่วน กลุ่ม 6 (กทม. นนทบุรี สมุทร ปราการ) แห่งพรรคพลังประชาชน

พ.ต.อ.ประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช เปิดเผยถึงที่มาที่ไปของ "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ" ให้ฟังว่า
"ผมไม่เห็นด้วยกับเหตุการณ์รัฐประหาร เพราะไม่เชื่อว่าคนที่ทำลายประชาธิปไตย ฉีกรัฐธรรมนูญ จะเข้าใจ ประชาธิปไตย และเชื่อเสมอว่า ตำรวจเข้าใจประชาธิปไตยมากที่สุด และเมื่อรัฐประหารเสร็จเรียบร้อย ก็มีข่าวเรื่องการทุจริตต่างๆ นานา อย่างรถหุ้มเกราะล้อยาง ซึ่งผมไม่พอใจมาก เพราะในอดีตมีทหารกี่คนที่ทุจริตและถูกดำเนินคดีไม่รู้จัก กี่คน..."

พร้อมกันนี้ ผู้เขียนได้อธิบายความหมายของคำว่า "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ" แบบมีอารมณ์ขันว่า
"มันไม่ได้เป็นคำหยาบคายอะไร หากอ่านหนังสือผมให้หมดก็จะรู้ว่า คำว่ารัดทำมะนวย เป็นคำที่ยืมมาจาก สุจิตต์ วงศ์เทศ ที่เขียนเอาไว้ในหนังสือพิมพ์ มติชนว่า รัดทำมะนวยปล้นอำนาจประชาชน ส่วน ฉบับหัวคูณ ผมเอามาจากคำของซือแป๋ ราชดำเนิน (พล.ต.หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช) ที่เขียนเอา ไว้ว่า ไอ้พวกทุจริตมันเป็นพวกหัวคูณ คือคิดอะไรแต่เรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง โดยการคูณ คูณ คูณ คูณ ว่าเป็นเงินเท่าไร ผมก็ยืมเอาคำมาผสมกันเป็น รัดทำ มะนวย ฉบับหัวคูณ"

อย่างไรก็ตาม ในหนังสือเล่มดังกล่าวหน้า 129 ผู้เขียนระบุคำว่า รัดทำมะนวย มาจากบทกวีของ คุณชนะ คำมงคล ที่เขียนไว้ว่า

"เจ้าขุนทองยังไม่มา เห็นแต่หน้าเจ้าขุนทวย
กำลังร่างรัดทำมะนวย ฉวยอำนาจประชาชน"

ส่วน พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ผู้จัดพิมพ์ และเป็นประธานชมรมข้าราชการตำรวจบำนาญบอกว่า หนังสือเล่มนี้เป็นผลพวงมาจากหนังสือ "ทำลายรัฐตำรวจ สร้างรัฐทหาร" ของชมรมข้าราชการตำรวจ ซึ่งเป็นหนังสือ ที่ชมรมทำออกจำหน่ายให้กับข้าราชการตำรวจ ช่วงต้นปี 2550 เพื่อชี้แจงถึงรายละเอียดร่าง พ.ร.บ. ข้าราชการตำรวจ ที่จะมีผลกระทบกับตำรวจทุกคนในอนาคต

"...เพราะคนนอกที่ไม่ใช่ตำรวจ กำลังจะเข้ามามีอำนาจเหนือตำรวจทั้งประเทศ ต่อมารัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ (จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี) เริ่มพูดถึง นโยบายการปราบยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และการฆ่าตัดตอน 2,000 ศพ ชมรมเห็น ว่าเป็นการสร้างเรื่องเพื่อทำลายข้าราชการตำรวจ และผลักให้ตำรวจทั้งประเทศเป็นผู้ร่วมกระทำผิด และผลักให้ไปเป็นพวก พ.ต.ท.ทักษิณ โดยไม่ตั้งใจ"

"...ทำให้ตำรวจที่เป็นผู้ปฏิบัติเสียกำลังใจอย่างมาก จึงรวมตัวกันออกหนังสืออีกเล่ม เพื่อบอกความจริงกับสังคมชื่อ "ฆ่าตัดตอน โกหกบันลือโลก" ซึ่งเป็นเป็นหนังสือคู่แฝดที่จัดทำมาพร้อมกับ "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ"

หนังสือเล่มนี้ จะเป็นสีสันและอาจส่งผลต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนธันวาคม 2550 มากไปกว่านั้นหนังสือเล่มนี้จะต้องส่งผลสะเทือนไม่มากก็น้อย ต่อชะตาชีวิตของรัฐธรรมนูญปี 2550

มันยิ่งเป็นการตอกย้ำความเชื่อที่ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นั้นเป็นรัฐธรรมนูญเถื่อนที่ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อะไรเลย เพราะผู้ร่างก็เป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกตั้งขึ้นโดยอำนาจเถื่อนที่ไม่ได้การยอมรับ ซ้ำเนื้อหาก็เถื่อนเอามาก ๆ (เวลาที่ผมเข้าไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเผอิญเห็นหน้านักวิชาการที่ช่วยยกร่างรัฐธรรมนูญปี 50 แล้ว ผมก็นึกถึงรัฐธรรมนูญเถื่อนทุกที ราวกับว่าที่หน้าผากของนักวิชาการท่านนี้มีรัฐธรรมนูญปี 50 แปะอยู่)

ผมเชื่อว่าชะตาชีวิตของรัฐธรรมนูญปี 2550 คงจะสั้นเอามาก ๆ หรืออย่างน้อยก็จะไม่มีความศักดิ์สิทธิ์น่ายำเกรง เป็นกรอบกฏหมายสูงสุดที่สัปดน น่าหัวร่อ มันจะกลายเป็นขี้ปากให้ใครต่อใครเอามาด่าเล่น

แม้ว่าผมจะไม่ค่อยเห็นด้วย กับเหตุผลที่ทางผู้จัดพิมพ์ยกมาอ้างในการจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ" แต่ผมเห็นด้วยว่ารัฐธรรม "นวย" ปี 2550 นั้น "หัวคูณ" จริงๆ

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
มหาชนสีแดงยื่นบันไดแห่งการยุบสภาให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีนลงมาอย่างง่าย ๆ ชนิดที่บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แต่ไม่เป็นผลอะไร ด้วยโมหะจริต นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ดึงดันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้ว่าจะต้องทำอะไรที่เสียเกียรติความเป็นผู้นำไปมากก็ตาม
เมธัส บัวชุม
การเคลื่อนพลของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดินน่าตื่นตาตื่นใจและอลังการสมการรอคอย แม้ว่าการมาทางเรือจะผิดจากความคาดหวังอยู่มากก็ตาม ผมยืนรอชมขบวนเรือของคนเสื้อแดงบนสะพานกรุงธนนานกว่า 3 ชั่วโมงพร้อมกับแดงคนอื่น ๆ เต็มสะพาน โบกไม้โบกมือ ไชโยโห่ร้องกับคนเสื้อแดงที่ขับรถผ่านไปมา
เมธัส บัวชุม
แม้ผลการตัดสินคดียึดทรัพย์เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่คนเสื้อแดงหลายคนยังรู้สึกเจ็บปวด บางคนถึงขั้นหลั่งน้ำตาทั้งที่เงินนั้นไม่ใช่เงินของตนเอง พวกอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์และคนเสื้อเหลืองไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่าที่คนเสื้อแดงหลั่งน้ำตานั้นไม่ใช่เพราะเสียดายเงินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่ถูกยึดไปอย่างไม่เป็นธรรม แต่เป็นเพราะรู้สึกเจ็บปวดที่ตนเองทำอะไรไม่ได้เมื่อเห็นความอยุติธรรมบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาครั้งแล้วครั้งเล่า
เมธัส บัวชุม
ไม่ว่าผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ (ปล้นทรัพย์อย่างถูกกฎหมาย) ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาเป็นอย่างไร การลุกฮือของคนเสื้อแดงก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยอาจไม่ได้ยี่หระเลยกับทรัพย์สินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเพราะนั่นเป็นราคาที่อดีตนายก ฯ ต้องจ่ายสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย หลายคนจะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยนั้นถ้าไม่จ่ายด้วยเลือดและชีวิตก็ต้องจ่ายด้วยทรัพย์สินแสนแพง
เมธัส บัวชุม
 เมื่อความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายต่าง ๆ เขม็งเกลียวแน่นใกล้ถึงจุดวิกฤติ ข่าวเกี่ยวกับการทำรัฐประหารก็ลอยมาจากทางโน้นทางนี้เป็นระยะ น่าเชื่อบ้าง ไม่น่าเชื่อบ้าง ราวกับว่ารัฐประหารเป็นทางออกเดียวในการจัดการปัญหา
เมธัส บัวชุม
การเข้าครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยงอย่างผิดกฏหมายขององคมนตรีคุณธรรมสูงอย่างสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแม้แต่น้อย ไม่ใช่ข้อค้นพบที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่ความลับที่น้อยคนรู้ ชาวบ้านร้านตลาดในบริเวณนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่าวิลล่าสวยงามบนเขายายเที่ยงนั้นเป็นของใคร
เมธัส บัวชุม
ผมค่อนข้างแปลกใจที่สังคมไทยยังไม่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ว่าที่จริงสงกรานต์เลือดเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นโอกาสเหมาะไม่น้อยสำหรับการเกิดสงครามกลางเมืองซึ่งอาจจะจบลงด้วยการทำลายพลังประชาชนรากหญ้าและคนชั้นกลางฝ่ายก้าวหน้าลงอย่างย่อยยับ จนยากที่จะฟื้นกลับคืนมาใหม่ หรืออาจเป็นไปในทางกลับกันก็ได้หากประชาชนได้รับชัยชนะคือระบอบประชาธิปไตยจะขยับไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อำนาจของอำมาตย์จะถูกจำกัดวง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด?
เมธัส บัวชุม
-1- ฉันมีวิธีเผชิญหน้ากับอาการนอนไม่หลับด้วยการนอนลืมตาอยู่ในความมืด พยายามไม่คิดอะไร แต่ดวงความคิดของฉันก็ไหลลอยไปสู่เรื่องนั้นเรื่องนี้ หวนรำลึกไปถึงสถานที่และผู้คนที่ฉันเคยพานพบประหนึ่งว่าฉันเพิ่งจากผู้คนและสถานที่เหล่านั้นมา
เมธัส บัวชุม
เรื่องราวในชีวิตของคนเราสามารถนำมาเขียนแต่งเป็นนิยายได้ทั้งนั้น โดยการใส่พล็อตหรือท้องเรื่องเข้าไป ตีความให้ดูน่าสนใจ แล้วเสาะหา(สร้าง)ข้อมูลเพื่อยัดลงไปในพล็อตที่วางไว้โดยอาจหยิบเพียงบางช่วงบางตอนของชีวิตก็ได้
เมธัส บัวชุม
คงไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจแต่ประการใดที่เราได้เห็นปัญญาชนสยาม ปัญญาชนสาธารณะอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ไปออกโทรทัศน์ของทาง ASTV “รายการรู้ทันประเทศไทย” ที่มีเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการผู้หากินกับวาทกรรม “ชาวบ้าน” มายาวนาน งนี้เพราะหลายคนซึ้งแน่แก่ใจแล้วว่าบั้นปลายชีวิตของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้หลงตนนั้นโน้มเอียงไปทางเผด็จการ หรือไปทางศักดินามากเสียยิ่งกว่าจะยืนข้างชาวบ้านอย่างที่เขาพร่ำพูดถึงเสมอ
เมธัส บัวชุม
หากผมบอกว่าชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว บางคนคงโต้แย้ง ผมจึงต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ให้กว้าง ๆ ว่า ชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมการเมืองในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
เมธัส บัวชุม
รถไฟไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่มานาน โดยแทบไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรเลยตั้งแต่เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้เพราะความเสื่อมโทรมของรถไฟให้ประโยชน์แก่คนหลายกลุ่ม รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ดังนั้นแนวคิดใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้รถไฟเปลี่ยนไปจึงถูกต่อต้านแม้จะมีผลการวิเคราะห์วิจัยรองรับอยู่จำนวนมาก