หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง
เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน
\\/--break--\>
นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนวิเคราะห์กิจกรรมทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงแบบหลวม ๆ รวม ๆ ว่า
“ความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลืองเสื้อแดง จึงไม่ใช่เพราะฝ่ายหนึ่งเชียร์อำมาตยาธิปไตย แต่อีกฝ่ายหนึ่งอยากล้ม ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันด้วยเรื่องประชาธิปไตยต่างหาก เพราะต่างก็นิยามประชาธิปไตยแตกต่างกัน
ฝ่ายเสื้อเหลืองเห็นว่า ประชาธิปไตยไทยมีแต่การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนทางให้นักการเมืองขี้ฉ้อเข้ามากุมอำนาจรัฐ แล้วก็ทำการทุจริตคิดมิชอบกันไม่รู้จบ ถึงจะสร้างกลไกตรวจสอบอย่างที่รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำไว้ ก็ไม่อาจป้องกันได้ เพราะนักการเมืองขี้ฉ้อ กลับแทรกแซงองค์กรอิสระเสียจนไม่อาจทำงานได้อย่างเที่ยงธรรม วิธีแก้คือสร้างหรือเสริมอำนาจนอกระบบ (ประชาธิปไตย) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศีลธรรม, ตุลาการ, ระบบราชการบางส่วน หรือสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งในทางตรงกันข้าม ฝ่ายเสื้อแดงให้ความสำคัญแก่การเลือกตั้งจนละเลยองค์ประกอบอื่นๆ ของประชาธิปไตยไปเสียหมด ทั้งนี้เพราะฝ่ายเสื้อแดงเชื่อว่าการเลือกตั้งจะทำให้รัฐบาลต้องจัดสรรทรัพยากรให้ตกแก่ประชาชนที่อยู่นอกเขตตัวเมือง และประชาชนระดับล่างมากขึ้น ปัญหาการคอร์รัปชั่นของนักการเมืองเป็นปัญหาระดับรอง เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งรัฐบาลไทยทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐประหารได้ทำสืบเนื่องกันมานาน ฉะนั้นจึงต้องเอาระบอบเลือกตั้งกลับคืนมา โดยรอนอำนาจนอกระบบ (ประชาธิปไตย) ทุกชนิดลงเสีย เพื่อให้กระบวนการทางการเมืองเป็นกระบวนการที่มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว”
ไม่ว่าจะมองในเชิงยุทธศาสตร์หรือยุทธวิธี การกระทำที่ผ่านมาของคนเสื้อเหลืองไม่เกี่ยวข้องอะไรกับประชาธิปไตย กระทั่งเป็นอุปสรรคขัดขวาง การต่อสู้ของคนเสื้อเหลืองทำให้ระบอบมาตยาธิปไตยเฟื่องฟูขึ้นมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันได้ แต่ประเด็นที่แน่นอนก็คือผลพวงจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรนำไปสู่การทำลายล้างระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรงที่สุด สนับสนุนให้อำนาจนอกกติกาเข้าแทรกแซงหลักการประชาธิปไตย ส่งเสริมให้อำนาจของกองทัพเติบใหญ่ ลดทอนความสำคัญของการเมืองภาคประชาชนลง
ทั้งกระบวนการ(บุกNBT ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน) และเป้าหมาย (การเรียกร้องในเรื่อง 70 : 30 ส่งบัตรเชิญทหารให้ทำรัฐประหาร) ของกลุ่มพันธมิตรไม่อาจเรียกได้แม้แต่น้อยเลยว่าเกิดจากการนิยามประชาธิปไตยที่แตกต่างกันดังที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชี้ชวนให้เชื่อ
ไม่มีตัวบ่งชี้แม้นเพียงตัวเดียวจะที่จะชี้ให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรเป็นผลดีต่อประชาธิปไตย นอกเสียจากจะคิดแบบหลุดโลกว่าการรัฐประหารเป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่งไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย!
นอกจากจะฟอกให้คนเสื้อเหลืองดูสะอาดแล้ว นิธิ เอียวศรีวงศ์ ยังเข้าใจผิดอย่างแรงเกี่ยวกับคนเสื้อแดงโดยบอกว่า “คนเสื้อแดงให้ความสำคัญแก่การเลือกตั้งจนละเลยองค์ประกอบอื่นๆ ของประชาธิปไตย ...เพื่อให้กระบวนการทางการเมืองเป็นกระบวนการที่มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว”
ผมเข้าร่วมชุมนุมประท้วงกับคนเสื้อแดงหลายครั้ง หลายครา ไม่เคยได้ยินเลยว่าคนเสื้อแดงไม่ต้องการกลไกประชาธิปไตยอื่นใดนอกจากการเลือกตั้ง! ไม่เคยมีคนเสื้อแดงคนไหนต้องการเพียงการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว! นิธิ เอียวศรีวงศ์ คงจินตนาการไปเอง
สิ่งที่คนเสื้อแดงต้องการไม่ใช่การทอนให้ประชาธิปไตยเหลือเพียงการเลือกตั้ง หากแต่ต้องการทำให้ “หลักการ” มีความหมายว่า “หลักการ”
คนเสื้อแดงต่อสู้เพื่อ “หลักการ” โดยที่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวอย่างของเหยื่อแห่งความไร้หลักการนั่นเอง
บทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์ อ่อนด้อยลงทุกวันเมื่อเขียนเรื่องการเมือง จิตสำนึกที่ผิดพลาด ความเกลียดกลัวนักการเมืองบวกกับรสนิยมทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม ทำให้การวิเคราะห์การเมืองของเขาล้าหลัง ไม่ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย
การเมืองเรื่องระบบตัวแทนนั้นเป็นสิ่งที่มีปัญหาแน่ แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้นเราต้องเริ่มต้นด้วยการเคารพกติกาง่าย ๆ เรื่องการยอมรับเสียงข้างมากเสียก่อน เราต้องผ่านขั้นตอนที่การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับเสียก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วป่วยการที่จะวิเคราะห์ถึงปัญหาของระบบตัวแทนในเมื่อเราไม่เคยมีระบบนี้จริง ๆ
ผมเคยเขียนไปครั้งหนึ่งแล้วว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวแทนนักการเมืองที่เหมาะที่สุดในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เราต้องส่งเสริมให้เกิดนักการเมืองแบบนี้มาก ๆ เพื่อที่ว่าระบบรัฐสภาจะได้มีการพัฒนาจนเห็นข้อดีข้อด้อย
เราจะแก้จุดอ่อนของระบบรัฐสภาได้อย่างไรหากไม่เคยศรัทธา.
บล็อกของ เมธัส บัวชุม
เมธัส บัวชุม
-1-พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยชูคำขวัญที่ฟังดูดัดจริตและกินไม่ได้ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”ผมได้ยินหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งคำนี้ออกมาแล้วก็ให้นึกสงสัยว่าจะมีใครซักกี่คนในโลกนี้เชื่อในสิ่งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พูดออกมาพรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามสไตล์ถนัดด้วยการโฆษณาหาเสียงก่อนใครเพื่อน ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคพลังประชาชนนั้นต้องเจอกับอำนาจชั่วที่คอยการสกัดกั้นทุกรูปแบบ-2-ต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคพลังประชาชนจะฝ่าต้านแรงสกัดจากอำนาจชั่วได้มากน้อยแค่ไหน…
เมธัส บัวชุม
อันที่จริง ผมตั้งใจจะหยุดเขียนบทความการเมืองสักระยะด้วยรู้สึกระอากับความวิปริตทางปัญญาของสังคมไทย ผมยังรู้สึกหลอนไม่หายกับการยึดอำนาจของทหารท่ามกลางความดีอกดีใจของพวก “ทาสที่ปล่อยไม่ไป” และพวกที่กลุ้มรุมทึ้งแย่งผลประโยชน์ “แห่งชาติ” ที่ไม่ได้ “เหลือแต่กระดูก” หลังการจากไปของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกลุ่มคนเหล่านี้ที่เข้ามายึดกุมอำนาจหลังรัฐประหาร ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการสร้างประชาธิปไตยหรือปฏิรูปการเมือง รัฐบาลเถื่อนของนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ คมช. คตส. กกต. ที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้างที่เป็นสร้างเสริมประชาธิปไตย หรือปฏิรูปการเมืองไปสู่ครรลองประชาธิปไตยนอกจากสมคบคิดกันกวาดล้างกลุ่ม…
เมธัส บัวชุม
นิตยสาร “ราหูอมจันทร์” เกิดขึ้นท่ามกลางความซบเซาทั้งทางด้านการเขียน การอ่านและการวิจารณ์ของแวดวงเรื่องสั้นไทย ราหูอมจันทร์ เป็นนิตยสารรายครึ่งปีหรือที่ทางผู้จัดทำเรียกว่ารายฤดูกาล เป็นการคัดสรรเรื่องสั้นที่มีผู้ส่งไปจากทั่วสารทิศเพื่อรวมพิมพ์เป็นเล่มบรรดาคอเรื่องสั้น ต่างวาดหวังว่าการมาถึงของราหูอมจันทร์อาจช่วยให้วงการคึกคักขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านแล้ว ต้องกล่าวตามตรงว่าราหูอมจันทร์ Vol. 3 “วันปลดปล่อยผีเสื้อ” นั้นมีระดับคุณภาพที่น่าผิดหวังไม่น้อย ทางผู้จัดทำนิตยสารนี้คือกองทุน “กนกพงศ์ สงสมพันธุ์” ก็ยอมรับว่า“ราหูอมจันทร์ Vol. 3…