Skip to main content

เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง

การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร การกลายเป็นตัวตลกของ “มือสกปรกที่มองไม่เห็น” การเล่นจำอวดของตุลาการรัฐธรรมนูญในกรณียุบพรรค  การเดินขบวนไปบ้านสี่เสาเทเวศน์ ฯลฯ

และประเด็นที่กำลังจะกล่าวถึงในบทความนี้ก็คือ กระบวนการสร้างข่าวลวง ข่าวลือ การ ”ปั้นน้ำเป็นตัว” อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของสื่อที่เรียกตัวเองว่าเป็น “สื่อแท้” อย่างสื่อในเครือของผู้จัดการ  

ASTV และเวบไซต์ผู้จัดการ คือสุดยอดของ “การปั้นเป็นตัว” “จับแพะชนแกะ” “ใส่สีตีข่าว” “มั่ว” ชนิดที่หาไม่ได้อีกแล้วไม่ว่าจะในอดีตหรืออนาคตทั้งนี้เพราะด้วยความต่อเนื่อง และความเอาจริงเอาจังที่ไม่เคยลดราวาศอก (ราวกับว่าความเท็จจะเป็นความจริงได้หากตอกย้ำไปเรื่อยๆ)  

“การปั้นน้ำเป็นตัว” ซึ่งเป็นงานถนัดของสื่อค่ายนี้นั้นเล่นตั้งแต่ประเด็นเรื่องในมุ้งไปจนถึงจ้องล้มรัฐบาล เอาแค่นามปากกา “ซ้อเจ็ด” แห่งเวบไซต์ผู้จัดการซึ่งเขียนนินทาคนดังราวกับตนเองนอนแอบอยู่ใต้เตียงก็เพียงพอที่จะบอกได้ว่าสื่อในเครือ “ผู้จัดการ” นั้นปั้นน้ำเป็นตัวได้เก่งขนาดไหนและขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสื่อมากเพียงใด

ส่วนในเรื่องการเมืองนั้น เผอิญผมได้อ่านข่าว/บทความสองชิ้นจากการตามลิงค์ไปเวบไซต์ผู้จัดการ อ่านไปอุทานไปกับจินตนาการการ “ผูกนิยาย” ของเขา

ชิ้นแรกโดยฝีมือของคำนูญ สิทธิสมาน ข่าว/บทความชิ้นนี้กล่าวถึงการนำเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ NBT ในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งในเนปาลซึ่งจะส่งผลต่อความเป็นไปของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศของเขา จากนั้นก็โยงไปถึงมติชนสุดสัปดาห์ซึ่งเคยเล่นข่าวนี้เหมือนกันโดยตั้งคำถามว่า

“กรณีที่หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน 2549 นำมาขึ้นปก แล้วขึ้นพาดหัวว่า “Case study กรณีเนปาล” ซึ่งคุณสนธิ ลิ้มทองกุลเคยนำไปตั้งข้อสังเกตในรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ที่เวทีลีลาศสวนลุมพินีว่านักหนังสือพิมพ์อาวุโสคนคุมเนื้อหาหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ที่เคยเข้าป่าจับปืน สมาทานลัทธิเหมามาก่อนมีเจตนาซ่อนเร้นพิเศษอะไรหรือไม่”

จากนั้นก็กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของคุณจักรภพ  เพ็ญแข ในสมัยที่เป็น นปก. ซึ่งเคยเคลื่อนขบวนไปบ้านสี่เสาเทเวศร์

“คุณจักรภพ เพ็ญแขเกิดไม่ทันโตไม่ทันที่จะสัมผัสกับลัทธิเหมาโดยตรง เมื่อ 30 ปีก่อน แต่ ณ ปี 2550 ท่านคงสมาทานความคิดความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเข้าไปผสมผสานสันดาปกับประสบการณ์ส่วนตัวของท่าน ก่อให้เกิดพลังทางอุดมการณ์คุกรุ่นรุนแรง”
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews...D=9510000045831

ทั้งหมดทั้งปวงไม่ใช่อะไรอื่นคือ “การปั้นน้ำเป็นตัว” ยัดเยียดให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นพวก “ซ้าย” เพื่อที่จะดึงสถาบันกษัตริย์ลงมาชนกับกลุ่มคนพวกนี้ ผมเคยเขียนไปหลายครั้งแล้วว่านี่เป็นวิธีการที่ “ทุเรศ”

อีกชิ้นหนึ่งก็โดย คำนูณ  สิทธิสมาน เจ้าเก่า มีการพาดหัวนำเรื่องด้วยถ้อยคำโฆษณาชวนเชื่อให้น่าหวาดเสียวว่า
“ยามเฝ้าแผ่นดิน” แฉขบวนการหมิ่นเหม่เบื้องสูง เพ่นพ่านทั่วเวบไซต์เครือข่ายหนุน “ทักษิณ” ล่าสุดแกนนำ  “19ก.ย.ต้านรัฐประหาร” เข้ารับข้อหาหมิ่นฯ ฐานไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ จี้ “หมัก” สวมวิญญาณ “เลือดสีน้ำเงิน” ใช้อำนาจนายกฯ-รมว.กลาโหม ตัดสินใจยุติปัญหาก่อนสายเกินแก้ พร้อมชี้เบาะแส “นายใหญ่-นายหญิง” จ้องปลดนายกฯ นอมินี”

การปั้นน้ำเป็นตัวหนนี้เริ่มด้วยการพูดถึงข่าวการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญที่เกิดขึ้นจากนักเคลื่อนไหวสองท่าน ในโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งซึ่งเป็นข้อเท็จจริงทั่วไป แต่มีการพยายามที่จะ “ปั้นน้ำ” โดยทะลึ่งเติมความเห็นเข้าไปว่า
“เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับการตั้งข้อสังเกตถึงการเสนอข่าวเนปาลของเอ็นบีทีเมื่อวันก่อน” แล้วก็อ้างโน่นอ้างนี่เป็นเรื่อย ๆ ก่อนจะพูดเอง เข้าใจเองว่า

“นายโชติศักดิ์ (ผู้ไม่ยืนในโรงหนัง) นั้นมีชีวิตและอุดมการณ์ที่ตรงกับ นปก. ขณะเดียวกันยังให้สัมภาษณ์เปิดใจกับเวบไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา มีการโพสต์ข้อความท้ายบทสัมภาษณ์ที่ดูจะหมิ่นเหม่ต่อการกระทำผิดกฎหมายค่อนข้างสูง”

น้ำเริ่มจะ “เป็นตัว”

แล้วก็ตามพล็อตเดิมคือโยงไปหาอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ก่อนจะสรุปไปตามโครงสร้างของนิยายที่ต้องดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาชนกับฝ่ายตรงข้ามว่า

“รูปธรรมกระแสอุดมการณ์ใหม่ยังปรากฏอยู่ในข้อเขียน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเว็บบอร์ดและเวบไซต์ที่มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกัน มีความหมิ่นเหม่หลายต่อหลายครั้ง ขณะเดียวกันยังเปิดพื้นที่ในเว็บบอร์ดเพื่อแสดงความคิดเห็น มีรหัสเรียกขานชวนให้คิดให้เข้าใจว่า จงใจหมายถึงสถานบันที่เคารพสูงสุด”

ข่าว/บทความชิ้นที่สองยังไม่จบเท่านี้หากแต่ยังใช้จินตนาการ “ปั้นน้ำ” ให้ “เป็นตัว” ต่อไปว่านายกฯ สมัคร สุนทรเวช กำลังจะถูก “นายใหญ่” ปลด

“คนที่ต้องการจะเอานายกสมัครลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นคนที่ให้นายสมัครขึ้นมาเป็นนายกฯ นั่นเอง”

แบบเดิมครับ อ้างแพะ อ้างแกะไปเรื่อย ๆ ก่อนจะสรุปจบตามพล็อตว่า
“การเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องของการแย่งชิงกันระหว่างคนรักทักษิณ กับคนไม่ชอบทักษิณเท่านั้น แต่ไปไกลกว่านั้น มันเป็นอนาคตเป็นวิกฤติของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถ้าระบอบนี้ก้าวไม่พ้นวิกฤติในช่วงนี้ เชื่อว่าจะน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง”

ครับ อ่านข่าวจากสื่อในเครือผู้จัดการเหมือนกับอ่านนิยายจริงๆ เสียแต่เป็นนิยายน้ำเน่าเล่าเรื่องเดิมๆ ที่น่าทุเรศ

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการเขียนนิยายแบบนี้ต้องมีความสามารถไม่น้อย เป็นความสามารถในการ ”ปั้นน้ำ” ให้ “เป็นตัว” ซึ่งจะว่าไปก็เป็นงานถนัดของสื่อในเครือ “ผู้จัดการ”

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
บทความเรื่อง "แรงฤทธิ์ แต่อ่อนผล" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนรายวันhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11314) มีหลายประโยค หลายวลี หลายคำที่อ่านแล้วต้องส่ายหัวด้วยความอิดหนาระอาใจกับอคติและภูมิปัญญาของเขา แต่มีอยู่ประโยคหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้ผมสะดุดหยุดกึกในทันทีคือประโยคที่ว่า "ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"
เมธัส บัวชุม
ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง "ผู้หญิง 5 บาป" เพราะเคเบิลทีวีเอามาฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก อันที่จริงหนังเกรดต่ำแบบนี้ไม่เคยอยู่ในความคิดอยากจะดูเลย แต่ผมก็เหมือนคนอื่น ๆ คือฉากรักร้อน ๆ ดิบ ๆ ที่ปรากฏอยู่มากมายสะกดให้ต้องหยุดดู หนังเรื่องนี้เหมือนหนังโป๊ะที่ดูแล้ว ถึงจุดออกัสซั่มแล้ว ไม่ควรจะมีอะไรให้พูดถึงอีกหรือหากอยากจะพูดถึงก็คงเป็นเรื่องความไม่เอาไหนของคนทำหนังที่อุตส่าห์ขนดาราและนักแสดงรับเชิญมาเพียบ แต่ทำได้เพียงแค่หลอกขายฉาก "เอากัน" เท่านั้น โดยให้ผู้หญิง 5 คนผลัดกันมาเล่าประสบการณ์ทางเพศที่โลดโผนโจนทะยาน (มีอะไรกับลูกศิษย์ตัวเอง โดนยามข่มขืน ได้กับวินมอไซค์)
เมธัส บัวชุม
31 มกราคมที่ผ่านมา ทีมงานความจริงวันนี้ สร้างปรากฏการณ์ "แดงทั้งแผ่นดิน- Red in The Land" ที่ท้องสนามหลวงด้วยประชาชนหลายหมื่น คนรวยคนจน นักวิชาการหัวก้าวหน้า นักปฏิวัติ คนรุ่นใหม่รุ่นเก่ามากันพร้อมหน้า บรรยากาศฮึกเหิมคึกคัก ส่งสัญญาณความไม่พอใจที่ล้นอกไปยังเหล่าศักดินา เขย่าขวัญพวกอมาตยาธิปไตยให้หยุดสำเหนียกให้มากก่อนจะกระทำการใด อันที่จริงการสำแดงพลังที่รัชมังคลาภิเษกเมื่อวันที่ 1 พ.ย.51 ที่ประชาชนเข้าร่วมงานอย่างอุ่นหนาฝาคั่งนั้นน่าพรั่นพรึงและเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าชาว “แดง” พร้อมชนกับซากเดนของระบอบศักดินาเพียงขอให้มีเงื่อนไขที่เอื้อหรือสถานการณ์สุกงอมพอเท่านั้น…
เมธัส บัวชุม
  ผมชอบดูและเล่นฟุตบอลแม้ว่าจะเล่นไม่ดีเลยก็ตาม  มันเป็นความบันเทิงและกีฬาที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเหมือนเข้าฟิตเนส  แต่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผมไม่เคยชอบดูฟุตบอลไทยเลย อาจจะเปิดโทรทัศน์ไปเจอโดยบังเอิญ หยุดดูสักครึ่งนาที พอได้ยินเสียงพากย์ของนักพากย์กีฬาช่อง 7 ซึ่งไม่พากย์ไปตามเกมกีฬา หากแต่จ้องจะเข้าข้างทีมไทยท่าเดียวทำให้เสียอารมณ์จนต้องรีบเปลี่ยนช่องยิ่งเมื่อได้เห็นภาพข่าวนักฟุตบอลไทย แสดงอาการกักขฬะมีเรื่องวิวาทกับนักเตะต่างชาติอยู่บ่อย ๆ ด้วยแล้ว ผมยิ่งรู้สึกสมน้ำหน้า รู้สึกสมน้ำหน้ามากขึ้นเมื่อนักพากย์กีฬา…
เมธัส บัวชุม
ข่าวการตัดสินจำคุกชาวต่างชาติ “แฮร์รี่ นิโคไลเดส” ชาวออสเตรเลีย ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นนอกจากจะน่าอนาถใจไทยแลนด์แล้ว ยังสร้างแรงสะเทือนต่อสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพ” อยู่ไม่น้อยผมเคยคิดว่าไทยเป็นประเทศที่มี “เสรีภาพ” มากพอสมควร ถึงตอนนี้ก็ยังคิดเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่ว่า “เสรีภาพ” ในไทยนั้นมี “เพดาน” กั้น มี “ขีด” ที่ข้ามไปไม่ได้ เราไม่อาจใช้เสรีภาพไปวิพากษ์วิจารณ์บางคนหรือบางองค์กรหรือเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสได้ เช่น องคมนตรี ศาล กองทัพ เสรีภาพที่เรามีอยู่จึงเป็น “เสรีภาพแบบพอเพียง”
เมธัส บัวชุม
การเมืองหลังการเข้ามาของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร คือการแข่งขันกันนำเสนอด้านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการสิ่งอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งถูกละเลยมาตลอด ผลงานของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ยิ่งยงและพรรคไทยรักไทยที่ได้ทำไว้ในเรื่องการกำหนดนโยบายสำหรับคนยากคนจน และผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงกระทั่งใครต่อใครพรรคประชาธิปัตย์ปากว่าตาขยิบลอกมาหน้าตาเฉย แม้แต่พรรคภูมิใจของเนวิน ชิดชอบที่เพิ่งเปิดตัวไปก็ชูเรื่องประชานิยมเป็นม็อตโตของพรรค
เมธัส บัวชุม
-1-เมื่อกลุ่มก่อการร้ายพันธมิตร ฯ แยกย้ายสลายตัว เดินลงจากเวทีหลังจากสร้างความยับเยินสาธารณะจนสาแก่ใจ แล้วส่งพรรคประชาธิปัตย์วิ่งราวเข้าไปเป็นฝ่ายรัฐบาลโดยผนวกรวมกลุ่มงูเห่าของพวกเนวิน ชิดชอบ เข้าไปด้วยแล้ว การเมืองก็หมดสีสันลงอย่างมากเหมือนกับละครน้ำเน่าที่ตัวอิจฉาหายไปจากจอ ยอมรับนะครับ ว่ากลุ่มก่อการร้ายพันธมิตรที่เป็นม็อบมีเส้นนั้นดึงดูดกระแสความสนใจการเมืองขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด แม้แต่คนที่ร้อยวันพันปีไม่เคยใส่ใจเรื่องการเมืองเลยนั้นก็หันไปใส่เสื้อเหลือง เสื้อแดงกับเขาด้วย บางคนใส่ได้ทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลืองแล้วแต่ว่ากระแสความนิยมของฝ่ายใดจะมาแรงกว่า
เมธัส บัวชุม
ชัยชนะที่ได้มาด้วยการฉ้อฉลของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งรัฐบาลสมความมุ่งมาดปรารถนาที่รอคอยมาเกือบสิบปี แต่ก็ด่างพร้อยอย่างยิ่ง ไม่มีความสง่างามแม้แต่นิดเดียว ล่อนจ้อนน่าละอาย ผิดกติกามารยาทรวมไปถึงผิดกฏหมาย กระทั่งก่อให้เกิดความระอาเกลียดชัง บทบาทพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกข้างต้น ทำให้หลายคนตั้งฉายา สร้างวาทกรรมในการใช้เรียกขานพรรคประชาธิปัตย์ไปต่าง ๆ  นานาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปในแง่ลบฉายาที่ 1 "รัฐบาลต่างตอบแทน" ตอบแทนกระทรวงกลาโหมให้กองทัพที่ยืนหยัดช่วยเหลือทั้งทางตรงทางอ้อมแก่พรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด…
เมธัส บัวชุม
  เป็นการพังทลายลงของสถาบันตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความน่าเชื่อถือ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคการเมืองซีกรัฐบาลรวดเดียว 3 พรรค อย่างรวบรัดตัดความ เร่งร้อนลนลานและผิด ๆ ถูก ๆ นักวิชาการผู้เคารพในหลักการ และคอการเมืองทั้งหลายพากันวิพากษ์วิจารณ์กันขรมถึงสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลงไป เริ่มตั้งแต่ประเด็นเรื่องคุณสมบัติของตุลาการผู้เอาตัวรอดด้วยการท่องคาถาคุณธรรม จริยธรรม เป็นนิจสิน อย่างนายจรัล ภักดีธนากุล ไปจนถึงการย้ายสถานที่พิจารณาตัดสินคดีอย่างปุบปับ รวมไปถึงการนำทหารป่าหวายเข้ามาอารักขาตุลาการ แทนที่จะหยุดยั้งเหล่ามารพันธมิตร บางคนต่อรองไว้ว่าร้อยนึงเอาบาทเดียว…
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็นกันแล้วว่าลัทธิพันธมิตรสามารถทำอะไรได้บ้าง ลัทธิพันธมิตรทำอะไรก็ได้ทั้งนั้นถ้าอยากทำ ตั้งแต่การปิดสี่แยกเพื่อให้การจราจรเป็นอัมพาต ยึดรถเมล์ ล้อมรัฐสภา ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ไปจนถึงการปิดสนามบินเพื่อทำให้ผู้อื่น-ชาวต่างชาติ เดือดร้อนอย่างจงใจบัดนี้ ใครที่ยังเชื่อว่าลัทธิพันธมิตรชุมนุมแบบอหิงสาอันหมายความว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่นนั้นคงจะปัญญาอ่อนเต็มที ใครที่ยังเห็นว่าลัทธิพันธมิตรเป็นการเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยคงจะเป็นคนโง่ดักดาน และดังนั้นเพื่อชีวิตจะได้กลับสู่ความปกติ จึงควรหยุดให้ท้ายลัทธิพันธมิตรในทุกทาง…
เมธัส บัวชุม
อัสนี วสันต์ ในเพลง "ก็เคยสัญญา" เคยแหกปากตะโกนประโยคที่ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"  อันหมายถึงความรักที่แปรผันตามวันเวลาที่ผ่านพ้น   แม้ว่าจะสัญญากันไว้หนักแน่นก็ตาม ประโยคนี้ถูกตอกย้ำให้ฮือฮาอีกครั้งจากปาก แอ๊ด คาราบาว ผู้ซึ่งสวมบทนักร้อง นักดนตรี "เพื่อชีวิต"  วิพากษ์วิจารณ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่โฆษณามอมเมาให้คนซื้อทั้งที่ไม่มีคุณค่าสารอาหารแต่ประการใด แต่ในเวลาต่อมา แอ๊ด คาราบาว กลับมาทำธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลัง "คาราบาวแดง" อย่างที่รู้กัน เมื่อมีคนถาม แอ๊ด คาราบาว บอกง่าย ๆ ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"
เมธัส บัวชุม
เพราะว่าในนามของความถูกต้อง จะทำผิดอย่างไรก็ได้ ดังนั้นม็อบพันธมิตร ฯ จึงพากันทำผิดร้อยแปดพันเก้าประการ การกระทำทั้งร้อยแปดพันเก้าประการนั้นแม้จะเลวร้ายอย่างไรก็ไม่สำคัญนักเพราะถูกฉาบเคลือบไว้ในนามของความถูกต้อง เช่นนี้เองที่เป็นเหตุนำไปสู่คือปัญหาความขัดแย้งยุ่งเหยิงและความรุนแรงในทุก ๆ ทาง การหลบอยู่หลังวาทกรรมประเภท “กู้ชาติ” “พิทักษ์สถาบัน” ฯลฯ การหลงว่าตนเองหรือกลุ่มตนเองเป็นฝ่ายถูก เป็นฝ่ายจงรักภักดี รักชาติ ทำถูกกฏหมาย ตีตราฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิด ขายชาติ ไม่จงรักภักดี ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม เลว ดังนั้นในนามของความถูกต้อง จำเป็นต้องกำจัดให้หายไปไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตาม