Skip to main content

เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง

การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร การกลายเป็นตัวตลกของ “มือสกปรกที่มองไม่เห็น” การเล่นจำอวดของตุลาการรัฐธรรมนูญในกรณียุบพรรค  การเดินขบวนไปบ้านสี่เสาเทเวศน์ ฯลฯ

และประเด็นที่กำลังจะกล่าวถึงในบทความนี้ก็คือ กระบวนการสร้างข่าวลวง ข่าวลือ การ ”ปั้นน้ำเป็นตัว” อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของสื่อที่เรียกตัวเองว่าเป็น “สื่อแท้” อย่างสื่อในเครือของผู้จัดการ  

ASTV และเวบไซต์ผู้จัดการ คือสุดยอดของ “การปั้นเป็นตัว” “จับแพะชนแกะ” “ใส่สีตีข่าว” “มั่ว” ชนิดที่หาไม่ได้อีกแล้วไม่ว่าจะในอดีตหรืออนาคตทั้งนี้เพราะด้วยความต่อเนื่อง และความเอาจริงเอาจังที่ไม่เคยลดราวาศอก (ราวกับว่าความเท็จจะเป็นความจริงได้หากตอกย้ำไปเรื่อยๆ)  

“การปั้นน้ำเป็นตัว” ซึ่งเป็นงานถนัดของสื่อค่ายนี้นั้นเล่นตั้งแต่ประเด็นเรื่องในมุ้งไปจนถึงจ้องล้มรัฐบาล เอาแค่นามปากกา “ซ้อเจ็ด” แห่งเวบไซต์ผู้จัดการซึ่งเขียนนินทาคนดังราวกับตนเองนอนแอบอยู่ใต้เตียงก็เพียงพอที่จะบอกได้ว่าสื่อในเครือ “ผู้จัดการ” นั้นปั้นน้ำเป็นตัวได้เก่งขนาดไหนและขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสื่อมากเพียงใด

ส่วนในเรื่องการเมืองนั้น เผอิญผมได้อ่านข่าว/บทความสองชิ้นจากการตามลิงค์ไปเวบไซต์ผู้จัดการ อ่านไปอุทานไปกับจินตนาการการ “ผูกนิยาย” ของเขา

ชิ้นแรกโดยฝีมือของคำนูญ สิทธิสมาน ข่าว/บทความชิ้นนี้กล่าวถึงการนำเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ NBT ในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งในเนปาลซึ่งจะส่งผลต่อความเป็นไปของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศของเขา จากนั้นก็โยงไปถึงมติชนสุดสัปดาห์ซึ่งเคยเล่นข่าวนี้เหมือนกันโดยตั้งคำถามว่า

“กรณีที่หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน 2549 นำมาขึ้นปก แล้วขึ้นพาดหัวว่า “Case study กรณีเนปาล” ซึ่งคุณสนธิ ลิ้มทองกุลเคยนำไปตั้งข้อสังเกตในรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ที่เวทีลีลาศสวนลุมพินีว่านักหนังสือพิมพ์อาวุโสคนคุมเนื้อหาหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ที่เคยเข้าป่าจับปืน สมาทานลัทธิเหมามาก่อนมีเจตนาซ่อนเร้นพิเศษอะไรหรือไม่”

จากนั้นก็กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของคุณจักรภพ  เพ็ญแข ในสมัยที่เป็น นปก. ซึ่งเคยเคลื่อนขบวนไปบ้านสี่เสาเทเวศร์

“คุณจักรภพ เพ็ญแขเกิดไม่ทันโตไม่ทันที่จะสัมผัสกับลัทธิเหมาโดยตรง เมื่อ 30 ปีก่อน แต่ ณ ปี 2550 ท่านคงสมาทานความคิดความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเข้าไปผสมผสานสันดาปกับประสบการณ์ส่วนตัวของท่าน ก่อให้เกิดพลังทางอุดมการณ์คุกรุ่นรุนแรง”
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews...D=9510000045831

ทั้งหมดทั้งปวงไม่ใช่อะไรอื่นคือ “การปั้นน้ำเป็นตัว” ยัดเยียดให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นพวก “ซ้าย” เพื่อที่จะดึงสถาบันกษัตริย์ลงมาชนกับกลุ่มคนพวกนี้ ผมเคยเขียนไปหลายครั้งแล้วว่านี่เป็นวิธีการที่ “ทุเรศ”

อีกชิ้นหนึ่งก็โดย คำนูณ  สิทธิสมาน เจ้าเก่า มีการพาดหัวนำเรื่องด้วยถ้อยคำโฆษณาชวนเชื่อให้น่าหวาดเสียวว่า
“ยามเฝ้าแผ่นดิน” แฉขบวนการหมิ่นเหม่เบื้องสูง เพ่นพ่านทั่วเวบไซต์เครือข่ายหนุน “ทักษิณ” ล่าสุดแกนนำ  “19ก.ย.ต้านรัฐประหาร” เข้ารับข้อหาหมิ่นฯ ฐานไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ จี้ “หมัก” สวมวิญญาณ “เลือดสีน้ำเงิน” ใช้อำนาจนายกฯ-รมว.กลาโหม ตัดสินใจยุติปัญหาก่อนสายเกินแก้ พร้อมชี้เบาะแส “นายใหญ่-นายหญิง” จ้องปลดนายกฯ นอมินี”

การปั้นน้ำเป็นตัวหนนี้เริ่มด้วยการพูดถึงข่าวการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญที่เกิดขึ้นจากนักเคลื่อนไหวสองท่าน ในโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งซึ่งเป็นข้อเท็จจริงทั่วไป แต่มีการพยายามที่จะ “ปั้นน้ำ” โดยทะลึ่งเติมความเห็นเข้าไปว่า
“เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับการตั้งข้อสังเกตถึงการเสนอข่าวเนปาลของเอ็นบีทีเมื่อวันก่อน” แล้วก็อ้างโน่นอ้างนี่เป็นเรื่อย ๆ ก่อนจะพูดเอง เข้าใจเองว่า

“นายโชติศักดิ์ (ผู้ไม่ยืนในโรงหนัง) นั้นมีชีวิตและอุดมการณ์ที่ตรงกับ นปก. ขณะเดียวกันยังให้สัมภาษณ์เปิดใจกับเวบไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา มีการโพสต์ข้อความท้ายบทสัมภาษณ์ที่ดูจะหมิ่นเหม่ต่อการกระทำผิดกฎหมายค่อนข้างสูง”

น้ำเริ่มจะ “เป็นตัว”

แล้วก็ตามพล็อตเดิมคือโยงไปหาอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ก่อนจะสรุปไปตามโครงสร้างของนิยายที่ต้องดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาชนกับฝ่ายตรงข้ามว่า

“รูปธรรมกระแสอุดมการณ์ใหม่ยังปรากฏอยู่ในข้อเขียน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเว็บบอร์ดและเวบไซต์ที่มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกัน มีความหมิ่นเหม่หลายต่อหลายครั้ง ขณะเดียวกันยังเปิดพื้นที่ในเว็บบอร์ดเพื่อแสดงความคิดเห็น มีรหัสเรียกขานชวนให้คิดให้เข้าใจว่า จงใจหมายถึงสถานบันที่เคารพสูงสุด”

ข่าว/บทความชิ้นที่สองยังไม่จบเท่านี้หากแต่ยังใช้จินตนาการ “ปั้นน้ำ” ให้ “เป็นตัว” ต่อไปว่านายกฯ สมัคร สุนทรเวช กำลังจะถูก “นายใหญ่” ปลด

“คนที่ต้องการจะเอานายกสมัครลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นคนที่ให้นายสมัครขึ้นมาเป็นนายกฯ นั่นเอง”

แบบเดิมครับ อ้างแพะ อ้างแกะไปเรื่อย ๆ ก่อนจะสรุปจบตามพล็อตว่า
“การเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องของการแย่งชิงกันระหว่างคนรักทักษิณ กับคนไม่ชอบทักษิณเท่านั้น แต่ไปไกลกว่านั้น มันเป็นอนาคตเป็นวิกฤติของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถ้าระบอบนี้ก้าวไม่พ้นวิกฤติในช่วงนี้ เชื่อว่าจะน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง”

ครับ อ่านข่าวจากสื่อในเครือผู้จัดการเหมือนกับอ่านนิยายจริงๆ เสียแต่เป็นนิยายน้ำเน่าเล่าเรื่องเดิมๆ ที่น่าทุเรศ

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการเขียนนิยายแบบนี้ต้องมีความสามารถไม่น้อย เป็นความสามารถในการ ”ปั้นน้ำ” ให้ “เป็นตัว” ซึ่งจะว่าไปก็เป็นงานถนัดของสื่อในเครือ “ผู้จัดการ”

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…