Skip to main content

เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ


ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก


สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่ คนที่ถูกข่มขืนบางรายจึงคิดว่าตายเสียกว่าดีมีชีวิตอยู่


อย่างไรก็ตาม มีบางรายเหมือนกันที่สามารถปรับตัวปรับใจเข้ากับการทำรัฐประหารหรือการถูกข่มขืนได้โดยไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาแต่อย่างใด หรือไม่ก็ลืม ๆ มันไปเสียเพื่อที่จะได้มีชีวิตอยู่ต่อไป เหยื่อบางรายไปไกลกว่านั้นมาก คือติดใจชมชอบการทำรัฐประหารหรือการถูกข่มขืนไปเลย แต่ชีวิตของคนแบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากสัตว์


เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่า รัฐประหารนั้นเป็นการใช้กำลังอันป่าเถื่อนเพื่อบังคับอย่างตรงไปตรงมา และโดยอ้อมให้ยอมรับ ยอมจำนนต่อกติกาอันไร้เหตุผล จากนั้นก็ทำการยัดเยียดสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งที่เป็นพิษเข้าไปในร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ในระบอบประชาธิปไตยรัฐประหารคือสิ่งสุดท้ายของพรมแดนแห่งจินตนาการทางการเมืองที่มนุษย์จะนึกคิดได้หรือที่จะอนุญาตให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับที่ไม่มีใครอยากให้ตนเองหรือลูกหลานของตนเองถูกข่มขืน


ดังนั้น เราจึงพยายามหลีกเลี่ยงรัฐประหารหรือการถูกข่มขืนโดยการออกแบบการปกครองที่ไม่ป้องกันการใช้กำลังกระทำต่อผู้อื่น หรือป้องกันการฆ่ากันในยามที่ทะเลาะกัน หรือใช้ความรุนแรงในการตัดสินแพ้ชนะ พูดง่าย ๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยถูกออกแบบขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความป่าเถื่อนและการฆ่ากันตายโหงโดยไม่จำเป็น ตามความเชื่อที่ว่าชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าไม่ควรจะตายกันง่าย ๆ เพราะความบ้าและหลงอำนาจของคนที่ไม่รู้จักคำว่า “พอเพียง”


แต่แล้ว รัฐประหารกลับทำลายสิ่งที่ว่านี้ไปพร้อมทั้งสร้างความเชื่อขึ้นมาว่ารถถังหรือปืนหรือการใช้กำลังทหารในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง) สามารถชี้แพ้ชนะ สามารถตัดสินถูกผิดดีชั่วได้


สามารถเอาตัวคน “ที่ถูกกล่าวหา” มาลงโทษหรือตั้งองค์กรเถื่อน (อย่างคตส.) ขึ้นมาเพื่อเอาผิด “ผู้ถูกกล่าวหา” แล้วเรียกหน้าด้าน ๆ ว่าเป็นการ “เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม” โดยไม่คิดสักนิดเลยว่ากระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นไม่ได้ภายใต้อำนาจเถื่อนของปากกระบอกปืน


จะว่าไปแล้ววิธีคิดตลอดจนความเชื่อ ที่รัฐประหารสร้างขึ้นมายาวนานหลายปี ไม่ได้ต่างอะไรกับพฤติกรรมของสัตว์ หรือให้ดีขึ้นมาหน่อยก็อาจเปรียบเทียบได้กับการที่กลุ่มโจรเข้ามาปล้นฆ่าผู้นำและลูกบ้านบางคนแล้วตั้งตนเป็นใหญ่ปกครองชุมชนนั้นต่อไป


ในทางการเมืองรัฐประหารจึงเป็นความเลวร้ายสูงสุดที่เราต้องต่อต้าน แต่ไฉนนักสิทธิสตรีหรือนักสิทธิมนุษยชนหรือนักวิชาการในเมืองไทยหลายรายกลับเฉย ๆ กระทั่งเห็นดีเห็นงามกับการรัฐประหาร (ในขณะที่นักสิทธิมนุษยชนอย่างคุณจรัล ดิษฐาอภิชัย ที่เลือกข้างความถูกต้อง กลับได้รับก้อนอิฐตอบแทน)


เป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเมืองไทยที่หลายคนคุ้นเคยจนมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา ? และเห็นว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาทางการเมืองที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับที่การข่มขืนก็เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถตกลงยอมความกันได้โดยอาจจะจ่ายค่าเสียหายเพื่อเป็นการชดเชย ?


การรัฐประหารครั้งล่าสุด 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของความเลวร้ายและเลวทรามในเรื่องของการละเมิดรวมหมู่ในหลักการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์แล้วนำกติกาเก่าแก่ที่ป่าเถื่อนล้าหลังแบบเดียวกับสัตว์กลับมาใช้นั้นแยกไม่ออกจากบทบาทการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่อาจหาญเรียกตัวเองว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”


การเรียกตัวเองเช่นนี้ให้คำว่า “ประชาธิปไตย” สามานย์และสาธารณ์ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคนกลุ่มนี้นี่เองที่เปิดประตูเชื้อเชิญให้คณะทหารเข้ามายึดอำนาจ ดังนั้นการเลือกใช้คำของกลุ่มคนกลุ่มนี้จึงเป็นเหมือนการเล่นตลกที่กลับตาลปัตรกันไปหมด ไม่ว่าพวกเขาจะคิดอย่างนั้นหรือไม่ก็ตาม


หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่การนำมวลชนจัดตั้งมาปักหลักอยู่หน้าทำเนียบเป็นแรมเดือนของคนกลุ่มนี้จะถูกมองว่าจงใจทำให้เกิดการรัฐประหารหรือการข่มขืนรวมหมู่ขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เคยทำสำเร็จมาหนหนึ่งแล้ว


แม้ว่าแกนนำบางรายของกลุ่มผู้ชุมนุมจะประกาศอารยะขัดขืนแต่มันก็ไม่ช่วยม็อบกลุ่มนี้ดูดีขึ้นมาเลย เพราะอารยะขัดขืนนั้นต้องขับเคลื่อนด้วยความจริง ความถูกต้อง รวมไปถึงการไม่ใช้ความรุนแรงทางวาจา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ม็อบที่เรียกว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ไม่มีเลย ดังนั้นน่าจะเปลี่ยนจากคำว่า “อารยะขัดขืน” เป็น “อารยะข่มขืน” ที่แปลว่า “การข่มขืนแบบเนียน ๆ” น่าจะตรงกว่า.

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
-1-พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยชูคำขวัญที่ฟังดูดัดจริตและกินไม่ได้ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”ผมได้ยินหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งคำนี้ออกมาแล้วก็ให้นึกสงสัยว่าจะมีใครซักกี่คนในโลกนี้เชื่อในสิ่งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ พูดออกมาพรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามสไตล์ถนัดด้วยการโฆษณาหาเสียงก่อนใครเพื่อน  ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคพลังประชาชนนั้นต้องเจอกับอำนาจชั่วที่คอยการสกัดกั้นทุกรูปแบบ-2-ต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคพลังประชาชนจะฝ่าต้านแรงสกัดจากอำนาจชั่วได้มากน้อยแค่ไหน…
เมธัส บัวชุม
อันที่จริง ผมตั้งใจจะหยุดเขียนบทความการเมืองสักระยะด้วยรู้สึกระอากับความวิปริตทางปัญญาของสังคมไทย ผมยังรู้สึกหลอนไม่หายกับการยึดอำนาจของทหารท่ามกลางความดีอกดีใจของพวก “ทาสที่ปล่อยไม่ไป” และพวกที่กลุ้มรุมทึ้งแย่งผลประโยชน์ “แห่งชาติ” ที่ไม่ได้ “เหลือแต่กระดูก” หลังการจากไปของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกลุ่มคนเหล่านี้ที่เข้ามายึดกุมอำนาจหลังรัฐประหาร ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการสร้างประชาธิปไตยหรือปฏิรูปการเมือง  รัฐบาลเถื่อนของนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ คมช. คตส. กกต. ที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้างที่เป็นสร้างเสริมประชาธิปไตย หรือปฏิรูปการเมืองไปสู่ครรลองประชาธิปไตยนอกจากสมคบคิดกันกวาดล้างกลุ่ม…
เมธัส บัวชุม
นิตยสาร “ราหูอมจันทร์” เกิดขึ้นท่ามกลางความซบเซาทั้งทางด้านการเขียน การอ่านและการวิจารณ์ของแวดวงเรื่องสั้นไทย ราหูอมจันทร์ เป็นนิตยสารรายครึ่งปีหรือที่ทางผู้จัดทำเรียกว่ารายฤดูกาล เป็นการคัดสรรเรื่องสั้นที่มีผู้ส่งไปจากทั่วสารทิศเพื่อรวมพิมพ์เป็นเล่มบรรดาคอเรื่องสั้น ต่างวาดหวังว่าการมาถึงของราหูอมจันทร์อาจช่วยให้วงการคึกคักขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย   อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านแล้ว ต้องกล่าวตามตรงว่าราหูอมจันทร์ Vol. 3 “วันปลดปล่อยผีเสื้อ” นั้นมีระดับคุณภาพที่น่าผิดหวังไม่น้อย ทางผู้จัดทำนิตยสารนี้คือกองทุน “กนกพงศ์  สงสมพันธุ์” ก็ยอมรับว่า“ราหูอมจันทร์ Vol. 3…