Thai Movie In 2012 : แนวรบเบื้องหน้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง

 

                อีกไม่กี่วันจะขึ้นปีใหม่แล้วนะครับ จะว่าไปวันเวลานี่ผ่านไปค่อนข้างไวนะครับ เผลอแปป ๆ ก็ปีใหม่กันอีกแล้วเรียกได้ว่า เวลาไม่เคยรอใครจริง ๆ ครับ และขออวยพรผู้อ่านทุกท่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่บนหน้าจอด้วยนะครับ ขอให้สุขภาพแข็งแรง ร่ำรวยกันถ้วนทุกคนนะครับ อย่าเจ็บ อย่าจนเป็นดีที่สุดครับผม

                และเมื่อมองย้อนกลับมายังวงการภาพยนตร์ไทยในบ้านเราปีนี้จะเรียกว่าเป็นปีที่ค่อนข้างเงียบอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะ มีภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินถึง 100 ล้านบาทเพียงเรื่องเดียวเท่านั่น ท่ามกลางภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ที่ต่างทำเงินกันไม่มากนักสวนทางกับจำนวนหนังที่ออกมาฉายกันอย่างมากมายในปีนี้

 
                และที่น่าตลกก็คือ การมีภาพยนตร์รักเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว ในขณะที่ภาพยนตร์แนวอื่นอย่าง ผี ตลก เริ่มลดลงไปตามกาลเวลา ด้วยเหตุนี้ผมจึงจะพาทุกท่านย้อนไปดูว่า ใน 1 ปีที่ผ่านมานั่นในวงการภาพยนตร์ไทยนั่นมีอะไรน่าสนใจเกิดขึ้นบ้าง
 
 
                1. 2012  เมื่อหนังรักครองเมือง
 
                สิ่งที่น่าบันทึกเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์ไทยก็คือ การที่มีหนังที่มีคำว่า รัก ไว้ในเรื่องถึง 20 เรื่องทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์แปลกที่หาดูได้ยากในประเทศไทยที่จะมีภาพยนตร์ที่มีชื่อคำว่า รัก มากมายเช่นนี้จนคนดูที่เห็นชื่อเรื่องโปสเตอร์ต้องพากันถึงกับยี้ว่า อะไรกันว่ะ หนังรักอีกแล้วเหรอ ขึ้นมากันเลยทีเดียว
 
                ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า เหตุใดหนังไทยถึงได้นิยมทำหนังรักกันจังในช่วงนี้ อย่างแรกก็เพราะความสำเร็จของหนังรักหลาย ๆ เรื่องโดยเฉพาะของค่าย GTH ที่ทำเงินไปได้เป็นล่ำเป็นสันในหลายปีที่ผ่านโดยเฉพาะพวกหนังเลิฟคอมเมดี้ทั้งหลายที่พาเหรดกันออกมาทำเงินมากมายด้วยทุนอันน้อยนิด
 
                นั้นเองที่ทำให้ค่ายหนังต่าง ๆ พากันเฮโลไปทำหนังแนวกันมากมาย ซึ่งประสบความสำเร็จบ้าง น้อยบ้างตามแต่คุณภาพหนังและหน้าหนังที่จะชวนคนไปดูครับ
 
                 หนังรักที่น่าสนใจปีนี้สำหรับผมก็คงเป็นหนังอย่าง ไม่ได้ขอให้มารัก , Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ ที่เป็นหนังรักที่พูดถึงความรักในมุมมองที่ออกมาในแนวความจริงมากกว่า หนังรักไทยหลายเรื่องที่เน้นเรื่องราวของวัยรุ่น คนทำงานที่ล้วนแล้วแต่เป็นความรักที่ถูกสรรสร้างออกมาเพื่อสร้างทัศนคติว่า จงรักกันเอาไว้ รักกันเยอะ อย่าไปคิดอะไร รักกันเข้าไป 
 
 
                 จนบางครั้งมันก็มากเกินไปครับ เราจึงเห็นหนังรักเจ๊งในระดับต่ำล้านหลายเรื่องมาก ๆ อาทิ รักเลี้ยวเฟี้ยวอ่ะ ที่ทำเงินไปเพียง 80000 บาท หรือ รัก ที่ทำเงินไปไม่ถึง 1 ล้านบาทด้วยซ้ำ
 
                และปีนี้ดัชนีเฉลี่ยของหนังที่ทำเงินปีนี้ก็ตกอยู่ที่ 20 – 30 ล้านเท่านั่นเอง
 
                อาจจะดูน้อย แต่ด้วยทุนที่น้อยขายได้กำไรงามก็เพียงพอแล้ว
 
                และที่สำคัญหนังพวกนี้มักจะได้ใจชาวเมืองกรุงที่เป็นแหล่งใหญ่ในการเข้าถึงหนังพวกนี้จากโรงภาพยนตร์จำนวนมากที่มีเป็นล่ำเป็นสัน จึงไม่แปลกใจที่ตัวละครในหนังพวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นคนชนชั้นกลาง วัยรุ่น ที่เป็นภาพสะท้อนของคนกรุง
 
                 และเป็นจุดร่วมของคนดูที่เมื่อเห็นตัวละครในเรื่องนี้แล้วต้องรู้สึกว่า ช่างตรงกับตัวของพวกเขาเสียจริง ๆ
 
                  2. GTH ทำเงินและทำใจ
 
 
                  อย่างที่กล่าวเอาไว้ตอนต้นว่า ปีนี้มีหนังทำเงินสูงสุดถึง 152 ล้านบาทเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งก็คือเรื่อง ATM เออรัก เออเร่อของ เมธ ธราธร ที่ทำเงินได้อย่างเซอร์ไพส์สวนทางกับคำวิจารณ์ที่หลายคนมองว่า หนังเรื่องนี้น่าผิดหวังที่สุดของค่ายนี้ แต่นั้นยังไม่เท่าหนังที่ตามมาอย่าง รัก 7 ปี ดี 7 หน ที่ทำขึ้นเพื่อฉลองการครบ 7 ปีของค่ายหนังคุณภาพในสายตาใครหลายคนค่ายนี้แถมยังค้นดารามามากมายบวกกับเรื่องราวรัก ๆ ในเมืองหลวงที่น่าจะทำเงินไปไม่น้อยกว่า ATM แน่ ๆ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นผลงานน่าผิดหวังอีกเรื่อง (เช่นเดียวกับ Countdown ที่มีกระแสวิจารณ์ไม่ดีนัก) 
 
                 ผมเคยเขียนวิพากษ์เรื่องนี้เอาไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว แต่สิ่งที่ต้องเพิ่มมาก็คือ ประเด็นในการตั้งธงทำหนังสักเรื่องของ GTH ที่มุ่งเน้นเพลย์เซฟทำเงินเอาไว้ก่อนกับคนชนชั้นกลาง ดังนั่นจึงไม่น่าแปลกใจที่หนังของค่ายนี้จะมุ่งเน้นกับประเด็นของคนชั้นกลางที่วัน ๆ ไม่มีอะไรต้องปวดหัวนอกจากรถติด ค่าคอนโด ขับรถ อกหัก จีบสาว แค่นั่น และประเด็นของหนังค่ายนี้ก็ไม่เคยพ้นไปกว่านี้อีกเลย
 
                  ถามว่า เราจะมีโอกาสได้เห็นหนังของค่ายนี้ที่พูดถึงประเด็นอย่าง โลกด้านมืดที่แตกต่างออกไปบ้างไหมเช่น การค้าประเวณี ศาสนา ฆาตกรรม หรืออื่น ๆ 
 
                  คำตอบคือ ผมไม่รู้
 
                  3. หนังของยอร์ช ฤกษ์ชัยกับความบันเทิงย่อยง่าย
 
 
                  ย้อนเวลากลับไปก่อนหน้านี้สักประมาณปี 2548 ได้มีหนังเรื่อง พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้าพร้อมกับการมาของผู้กำกับหน้าใหม่อย่าง ยอร์ช ฤกษ์ชัย ที่กำกับหนังตลกเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจเพราะเป็นการพูดถึงคนชายขอบที่มาเจอเรื่องวุ่น ๆ กันในโรงพยาบาลบ้า ทั้ง ตำรวจ โจร กระเหรี่ยง ผี หมอผี คนบ้า และ สายลับ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่มักจะไม้ได้ถูกเล่าในหนังไทยสักเท่าไหร่นักก่อนที่หนังเรื่องต่อ ๆ มาของเขานั้นเริ่มมีลายเซ็นท์เป็นของเขาชัดเจน โดยเฉพาะการพูดถึงคนชนชั้นล่างที่พยายามปากกัดตีนถีบสร้างชีวิตตัวเองขึ้นมาใหม่ ซึ่งเรื่องราวนี้ถูกบอกเล่า ในหนังตลกร้อยล้านอย่าง แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า และ โปงลางสะดิ้ง ลำซิ่งส่ายหน้า ก่อนจะมาถึงโหดหน้าเหี่ยวที่ทำให้เรารู้ว่า ผู้กำกับคนนี้น่าจับตามองว่า เขามีอะไรดี
 
                   กระทั่งการมาของหนังยุคหลังจากย้ายไปอยู่ M39 ค่ายใหม่ที่เขาเริ่มมีการทำหนังเปลี่ยนไป โดยเลือกละทิ้งตัวละครคนชั้นล่างปากกัดตีนถีบไปเป็น ตัวละครคนชนชั้นกลางที่มีชีวิตแสนสุขสบายและสนใจแต่เรื่องรักเรื่องใคร่แทน หนังในยุคนี้เรียกได้ว่า เป็นหนังยุคใหม่ของเขาอันได้แก่ 32 ธันวา  , สุดเขตเสลดเป็ด , สคส สวีทตี้ , วาเลนไทน์ สวีทตี้  ที่แต่ล่ะเรื่องทำเงินไปไม่ต่ำกว่า 50 ล้านแทบทั้งสิ้นด้วยแรงสนับสนุนจากกลุ่มคนชนชั้นกลางที่พากันเข้ามาดูหนังเรื่องนี้กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
 
                    ถามว่า  ผู้กำกับผิดไหมที่ทำหนังแบบนี้ 
 
                    คำตอบคือ ไม่ครับ 
 
                    แต่ถามว่า น่าเบื่อไหม คำตอบคือ ใช่เลยครับ
 
                    สิ่งที่หนังของยอร์ช ฤกษ์ชัยเป็น คือการสะท้อนตัวตนของคนเมืองออกมาผ่านหนังในยุคหลัง ๆ ที่โครงสร้างบทหนังของเรื่องนั่นแทบจะไม่มีความสลักสำคัญอะไรอีกแล้ว นอกจากการยัดมุข ยัดตัวละครเข้าไปเยอะ ๆ แล้วเรื่องมันจะตลกเอง
 
                    แต่ที่เป็นส่วนที่ทำให้หนังน่าเบื่อก็คือ ไดอะล็อคของหนังที่ทำหน้าที่เสมอทวิตเตอร์หรือเฟสบุ๊คที่คนดูชอบพิมพ์นั้นเอง แม้จะฟังดูคมหรืออะไรก็ตาม แต่สิ่งที่ขาดไปคือ การที่หนังมีสภาพคล้ายกับหนังสือรวมคำคมที่เรามักจะเห็นตามร้านหนังสือ ซึ่งสะท้อนภาพของคนเมืองที่ไม่ต้องการจะใช้สมองในการคิดอะไรเยอะ ๆ แต่ชอบการรับประทานของด่วนอย่าง Fast Food ชุดความคิดนั่นเอง
 
                    นั่นทำให้หนังของยอร์ช ฤกษ์ชัยนั้นสามารถทำงานได้ดีกับคนเมืองหรือคนเมืองหลวง ในขณะที่คนชนชั้นล่างนั่นคงพากันงงหรือรู้สึกถึงความฝืดครั้งใหญ่ในหนังของเขาไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
 
                     แอบหวังว่า คุณนายโฮจะมีอะไรน่าสนใจกว่านี้ (แต่คงไม่คาดหวังอะไรอีกแล้ว)
 
                     4. ยุคทองของหนังอิสระ
 
                      หนังอิสระ คืออะไร 
 
                      หากจะให้อธิบายอย่างง่ายดายมันก็คือ หนังที่ถูกสร้างขึ้นโดยไม่จำกัดกับสตูดิโอใหญ่ ๆ ในประเทศ โดยใช้เงินทุนของผู้กำกับเองบ้าง เงินจากกองทุนต่าง ๆ บ้างที่เป็นทุนให้หนังเหล่านี้ที่นอกจากจะไม่ใช่หนังกระแสหลักทั่ว ๆ ไปแล้วยังเป็นหนังที่ไม่มีโอกาสเป็นรูปร่าง ๆ แน่ ๆ หากทำกับสตูดิโอใหญ่หรืออาจจะถูกดัดแปลงต่อเติมจากเจ้าของเงินทุนอีกด้วย ดั่งนั้นผู้กำกับหลายคนจึงหันมาสร้างหนังอิสระกันมากมายในปีที่ผ่านมา
 
 
                      หลังอภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล ได้รับรางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลหนังเมืองคานส์เมื่อสองสามปีก่อนก็เสมือนกับการเปิดโอกาสให้กับหนังอิสระต่าง ๆ ได้มีที่หายใจในวงการนี้บ้างหลังจากลุงบุญมีฉายเพียงโรงเดียวและทำเงินไปพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงได้เห็นผู้กำกับทั้งหน้าเก่าและใหม่หันมาหนังอิสระนี้บ้างเช่น คงเดช จตุรันต์รัสมี กับ แต่เพียงผู้เดียว , 36 ของเต๋อ นวพล , สถานีสี่ภาค ของ บุญส่ง นาคภู่ ,ปาดังเบซาร์ ของ ต้องปอง จันทรากูร , สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย และ นมัสเต ส่งเกรียนไปอินเดีย
 
                      เมื่อดูจากชื่อหนังและองค์ประกอบอื่น ๆ แล้วหากเป็นหนังในระบบนั้นอาจจะไม่มีสิทธิคลอดออกมาเลยก็เป็นได้ หรือไม่อาจจะถูกรื้อจนไม่เหลือสภาพด้วยซ้ำไป
 
                      นั่นทำให้ผู้กำกับที่อยากจะทำหนังที่ไม่อิงกับกระแสเหล่านี้หันไปทำหนังอิสระกันมากในปีนี้และแน่นอนว่าพวกเขาได้รับตอบรับที่ดีเอามาก ๆ เพราะหลายเรื่องฉายไม่กี่รอบก็ทำเงินคืนให้ผู้กำกับไปแล้ว
 
                      แต่ที่แน่นอนก็คือ การดำเนินเรื่องที่แตกต่างไปจากหนังในกระแสหลายเรื่องทำให้หนังเหล่านี้ได้รับการพูดถึงในฐานะหนังทางเลือกใหม่สำหรับคนที่เบื่อหนังไทยในกระแส 
 
                      และมีทีท่าว่าจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปีหน้าสำหรับหนังนอกกระแสเหล่านี้
 
                      Father Land ของ ยุทธเลิศที่บอกเล่าเรื่องราวของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กระทั่งหนังอย่าง นวมทองเองก็เช่นกัน ซึ่งน่าจะเป็นหนังอิสระที่น่าสนใจปี 2013 ที่กำลังจะมาถึงนี้
 
                      5. ผี วิพากษ์สังคมไทยผ่านหนังสยองขวัญ
 
 
                      ผี เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานานพอสมควร และหนังผีมักสะท้อนภาพของมนุษย์ในยุคสมัยนั่น ๆ ได้เป็นอย่างดีและครั้งหนึ่งวงการภาพยนตร์ไทยก็มีหนังผีออกมาฉายอย่างมากมายเหมือนกับหนังรักสมัยนี้จนหลายคนรู้สึกเอียนกันไปตาม ๆ กันแล้วด้วยซ้ำไป เหมือนหนังรักที่เข้าฉายกันเป็นแถบ ๆ นี่ล่ะครับ
 
                    และปีนี้ก็มีหนังผีฉายไม่กี่เรื่องเท่านั่นเองครับ และทำเงินไม่มากเท่าไหร่ แต่เชื่อว่า ยังมีหนังผีอีกหลายจะตามในปีหน้านี้แน่ ๆ
 
                       ถึงจะหนังผีจะดูเป็นหนังเกรดบีในสายตาของคนทั่วไป แต่เอาจริง ๆ แล้วหนังผีนั่นสะท้อนภาพของสังคมได้น่าสนใจมาตลอดในปีที่แล้วเราก็มี ลัดดาแลนด์ ที่พูดถึงสังคมคนชนชั้นกลางได้อย่างน่าสะพรึงจนน่ากลัวยิ่งกว่าผีในเรื่องเสียอีก
 
                       ในปีนี้ก็มีหนังผีที่น่าสนใจอยู่ได้แก่ วงจรปิด ของยุทธเลิศ และ บอกเล่าเก้าศพ
 
                        วงจรปิดเป็นหนังสั้นสามเรื่องที่กำกับโดยยุทธเลิศและทิวา เมไธสง ที่บอกเล่าเรื่องราวสยองขวัญโดยมีกล้องวงจรปิดเป็นส่วนหนึ่งของการบอกเล่า ซึ่งเรื่องแรกอย่างมรดกผีที่กำกับโดยธิวา เมไธสงก็บอกเล่าเรื่องความโลภที่นำพาตัวละครหลายคนมาตายในบ้านหลังหนึ่ง แต่ที่น่าสนใจย่อมไม่พ้นหนังเรื่องสองและสามที่แสดงภาพของความรักที่ควบคู่ไปกับความมืดมิดที่แตกต่างกับหนังรักหลายเรื่องที่มีแง่มุมในเชิงสดใสและให้เห็นว่า ความรักนั้นเป็นสิ่งที่น่าค้นและน่าหลงใหลจนลืมไปว่า ความรักมีทั้งด้านดีและด้านลบเหมือนเช่นทุกสิ่ง
 
                        บอกเล่าเก้าศพเองก็เป็นอีกเรื่องที่บอกเล่าเกี่ยวกับความตาย วิญญาณและความรักได้น่าสนใจและน่าสนใจยิ่งในหนังหลายเรื่อง เพราะมันยิ่งเป็นการบอกเล่าว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีด้านลบและบวกไม่ต่างกันแม้กระทั่งความรักที่ย่อมนำความตายมาสู่ใครก็ได้
 
                        รักฉันอย่าคิดถึงฉัน เองก็เป็นหนังที่บอกเล่าถึงความรักในมุมมองที่แตกต่างออกไปได้ โดยสิ่งที่มันพูดถึงปรัชญาหนึ่งได้อย่างเข้าใจว่า
 
                        ที่ใดมีรักที่นั่นย่อมมีความทุกข์เสมอ
               
                        หนังสยองขวัญเหล่านี้จึงเป็นเหมือนกระจกสะท้อนค่านิยมหนังรักฝันหวานฝันดี Feel Good ยุคนี้ว่า 
 
                         ไม่มีอะไรมีด้านเดียวเสมอไป
 
                         6. เพศทางเลือก ความเปลี่ยนแปลงของมุมมองเพศที่สาม
 
 
                       ในวงการหนังไทยย่อมขาดไม่ได้เลยกับเหล่าเพศทางเลือก หรือ เพศที่สามที่มักจะถูกบอกเล่าในหนังหลาย ๆ เรื่องในหลายปีที่ผ่านมาในเชิงตัวตลก หรือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งในหนังปีนี้เราก็มีหนังของพจน์ อานนท์ที่มุ่งเน้นสร้างความบันเทิงโดยไม่สนใจอะไรเช่นเคยอย่าง ปล้นนะยะ 2 หรือ หอแต๋วแตกภาค 4 ที่ยังคงนำเสนอมุมมองทางเพศเดิม ๆ ไม่ต่างไปจากเมื่อหลายปีก่อน
 
                        ทว่าปีนี้ก็หนังเพศทางเลือกที่น่าสนใจออกมาอย่าง ไม่ได้ขอให้มารัก ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ที่นำเสนอมุมมองของเพศทางเลือกอย่าง กระเทย เกย์ ได้อย่างน่าสนใจและดูมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด นอกจากนี้หนังอย่าง Yes or no 2 ก็เป็นหนังที่สะท้อนภาพของเพศทางเลือกอย่าง เลสเบี้ยน ทอม ได้อย่างเป็นธรรมชาติพร้อมกับสร้างมุมมองใหม่ต่อคนที่ชมว่า
 
                         พวกเขาไม่ได้ผิดปกติอะไรทั้งนั้น
 
                         ตรงนี้กลายเป็นพื้นที่ให้เราเห็นภาพมุมมองทางเพศของผู้คนในสังคมได้ว่า พวกเขามองมุมมองทางเพศโดยเฉพาะทางเลือกเหล่านี้อย่างไร
 
                         บางคนก็อาจจะตั้งแง่รังเกียจ บางคนอาจจะมองว่าเพศทางเลือกเหล่านี้คือ พวกผิดปกติธรรมชาติ ขัดหลักศาสนาและไม่ควรสร้างหนังแบบนี้ออกมาเยอะ ๆ เพราะกลัวเด็กจะเลียนแบบหรือกลายเป็นแบบนี้ ทั้ง ๆ ที่การเป็นเพศทางเลือกนั้นไม่ได้มีความผิดอะไรเลย มันเป็นเรื่องของธรรมชาติมิใช่หรือ
 
                          การมีหนังเพศทางเลือกย่อมสะท้อนว่า พวกเขาเองก็เป็นมนุษย์แบบเดียวกับเราจะไปตั้งแง่รังเกียจพวกเขาทำไมกันเล่า
 
                          7. CensorShip 
 
 
                         สิ่งที่ทำให้ต้องฤกษ์คิ้วขึ้นด้วยความสงสัยก็คือ การที่นาย สมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมสั่งตรวจบัตรผู้ชม จันดารา ภาคปฐมบท ซึ่งได้เรต 18+ อย่างเข้มงวด ซึ่งสะท้อนถึงความเข้าใจในตัวบทกฎหมายเรตติ้งของคนในประเทศได้อย่างดีเพราะ จันดาราได้เรต 18+ ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจบัตรผู้ชมก่อน ในขณะที่ 20- นั่นจะต้องตรวจก่อน และนี่เองที่ทำให้เราต้องมาดูว่า ในปีที่ผ่านมาระบบการเซ็นเซอร์ได้พัฒนาไปบ้างหรือไม่
 
                        คำตอบคือ ไม่
 
 
                        ในหนึ่งปีที่ผ่านมามีหนังถูกแบนไปหนึ่งเรื่องได้แก่ เช็คสเปียร์ต้องตาย ของ สมานรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ ด้วยเหตุผลคล้ายคลึงกันคือ มีเนื้อหาก่อให้เกิดการแตกสามัคคีในชาติ ซึ่งหากมองย้อนไปก่อนหน้านี้ Insect in the Backyard ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ก็ถูกแบนด้วยข้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดีมาแล้วเช่นกัน
 
                        ถามว่า การเซ็นเซอร์นั่นมีผลอย่างไรกับประเทศไทย แน่นอนว่ามันคือการละเมิดสิทธิที่จะพูดอะไรสักเรื่องหนึ่งแต่ไม่สามารถที่จะพูดได้เพราะต้องมานั่งกังวลว่าจะถูกจัดเรตไปในแบบไหน บางเรื่องถูกจัดเรตไปอยู่ในเรตอย่าง 20- หรือ 18+ ซึ่งอาจจะส่งผลให้รายได้ต่ำลงเพราะ เด็กหรือวัยรุ่นที่อายุไม่ถึงไม่สามารถดูได้ แต่บางคนก็ไม่ได้สนใจเพราะหนังทำออกมาให้ดูในระดับวัยนี้อยู่แล้วนั่นเอง 
 
                         และด้วยการเซ็นเซอร์หรือการจัดเรตที่เข้มงวดนี่เองที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนังไทยไม่สามารถเล่าเรื่องที่นอกเหนือจากตรงนี้ได้ บางคนยอมทำหนังรักเพราะมันเสี่ยงน้อยที่สุดที่จะโดนแบนนั่นเอง ทำให้เราเห็นสภาพของการโอนอ่อนต่ออำนาจของวงการภาพยนตร์นี้ได้อย่างชัดแจ้งยิ่ง 
 
                         ซึ่งตรงนี้ได้สะท้อนภาพของสังคมไทยที่นิยมโอนอ่อนต่ออำนาจเพื่อเอาตัวรอด โดยไม่คิดจะสู้ใด ๆ ทั้งสิ้น (ซึ่งมีการยื่นต่อศาลปกครองไปแล้วโดย คุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ว่า กฎหมายเรตติ้งตัวนี้ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ก่อนจะมีการบอกว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้ต้องมานั่งตั้งคำถามถึงตัวบทรัฐธรรมนูญกันว่า สิทธิเสรีภาพของประชาชนและศีลธรรมอันดีคืออะไรกันแน่)
 
                         เราจึงเห็นได้กับการทำหนังอย่างอื่นที่แสดงถึงการเลี่ยงไม่มีปัญหากับกองเซ็นเซอร์ออกมามากมายในยุคหลัง
 
                         นั่นแสดงถึงความกลัวของเราต่ออำนาจหรือเปล่า 
 
                          ถามว่า พวกเขาผิดหรือเปล่าที่ทำหนังพวกนี้ คำตอบคือไม่ผิด อาชีพผู้กำกับคนทำหนังนั่นเป็นเรื่องปากท้อง ทำอะไรได้ทำไปก่อนทั้งนั้นแหละครับ
 
                         เพียงแต่ ต้องถามว่าจะต้องยอมไปอีกนานเท่าไหร่กัน ถึงจะได้รับเสรีภาพ
 
.....
 
                          ผมก็ได้หวังว่า ในปีหน้า ปี 2013 ที่จะถึงนี้ วงการภาพยนตร์ไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น ในด้านตัวบทภาพยนตร์ ประเภทของภาพยนตร์ และมีความกล้าหาญมากขึ้นในการบอกเล่าประเด็นต่าง ๆ มากกว่าที่เราจะต้องมาทนดูหนังรักซ้ำไปมาราวกับโลกนี้เป็นสีชมพู 
 
                         ขอให้กำลังใจคนทำหนังทุกคนให้สู้กันต่อไปในวงการภาพยนตร์แห่งนี้ครับ
 
บันทึกความทรงจำภาพยนตร์ไทยที่ควรพูดถึงในปี 2012 
คน-โลก-จิต  
อันธพาล
วงจรปิด
407 เที่ยวบินผี
ไม่ได้ขอให้มารัก
Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
แม่โขงโฮเต็ล
8-8-81 บอกเล่าเก้าศพ
 
                             สวัสดีปีใหม่ครับ

ธี่หยด : พลังอำนาจน่าสะพรึงของ Folk Horror

ปี 2515 ณ หมู่บ้านห่างไกลผู้คนในจังหวัดกาญจนบุรี แย้ม เด็กสาวผู้เคยป่วยหนักจนเกือบตายได้มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น เธอเริ่มพูดจาด้วยคำหยาบคายกับคนในครอบครัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มโกหกและยุแยงให้คนในบ้านแตกคอกัน รวมทั้งลุกขึ้นมาตอนกลางคืนเพื่อนกินของสดทำให้คนในครอบครัวโดยเฉพาะ หยาด เกิดความสงสัยขึ

สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน

สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน

 

          “ความตาย...มันฆ่าเฮาได้แค่ครั้งเดียว แต่ความฮัก มันฆ่าเฉาไปเรื่อยๆๆ จนกว่าเฮาสิตายพุ่นเด้”

บักมืด

 

คุณเอล์ฟโอตาคุ : นี่คือ อนิเมชั่นที่อยากให้รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมคนใหม่ได้ชม

                ระหว่างที่เขียนต้นฉบับบทความนี้อยู่นั้น การโหวตประธานรัฐสภาและรองประธานสองคนการประชุมสภาวันแรกได้จบลงแล้ว และ ผลคือ คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนใหม่ ร่วมกับ รองประธานสภาสองท่านจากพรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อไทย ที่เป็นเสมือนการเริ่มต้นคณะรัฐมนตรีช

เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ : แสงสว่างของไอดอลและความมืดมิดของชีวิต

            คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดในซีซั่นนี้ที่เรียกว่า สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับบรรดาคนดูอนิเมชั่น และ คนดูหนังหลายคนได้เท่ากับ อนิเมชั่นซีรีย์เรื่อง Oshi no Ko หรือ ชื่อไทยว่า เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ผลงานดัดแปลงจากมังงะขายดีของ อากะ อาคาซากะ ที่ได้ฤกษ์ออกฉายไปเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมาในตอน

Bocchi the rock : บทเพลงร็อคแด่คนขี้แพ้

                "พรมนิ้วลงไป หวังให้อัสนีกึกก้องด้วยละอองแสง

                  กระหน่ำตีเข้าไปให้ถึงปลายทางของความเจ็บปวด

                  ทำยังไงดี เสียงหัวใจดุร้ายอาละวาดไม่หยุดหย่อน