Skip to main content

เคยได้ยินเรื่องเล่าหนึ่งว่า มหาเศรษฐีคนหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่โตในประเทศแห่งหนึ่ง เขาพูดกับใครต่อใคร (ซึ่งแน่นอนว่าคำพูดของเขามีอิทธิพลต่อคนทั้งประเทศ ด้วยว่าผู้คนต่างก็อยากรวยอย่างเขานั่นเอง) ว่า ในชีวิตของเขา สามารถให้อภัยคนได้สามครั้ง ว่าก็คือ ในงานของเขา ลูกน้องของเขา เมื่อทำผิดครั้งแรก เขาอภัย ทำผิดครั้งที่สอง เขายังอภัย ทำผิดครั้งที่สาม เขาให้อภัย และเป็นโอกาสสุดท้าย แต่เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นอีก ก็จะถูกไล่ออก


ครั้งหนึ่ง มีคนผู้แสวงหาถามผู้เฒ่าชนบทคนหนึ่ง ว่าเราจะให้อภัยคนได้สักกี่ครั้ง หากว่ามีคนๆ หนึ่งทำผิดต่อเราซ้ำแล้วซ้ำเล่า คำตอบของผู้เฒ่าคือ “ไม่มีที่สิ้นสุด”


ว่ากันว่า การอภัย ถือเป็นคุณงามความดีอันหนึ่งของการรับรู้ของผู้คน และสังคม มันเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ผู้คนต่างรับรู้ และเช่นนั้นเอง มันจึงเป็นค่ามาตรฐานที่ตีค่าความสูงส่งของจิตใจ ดังนั้น เมื่อมีใครกระทำการอันใดที่เราไม่ชอบใจ แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมันกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงได้ แต่ในระดับความสัมพันธ์ หลายครั้งเมื่อใครทำอะไรที่ก่อเป็นความไม่พอใจ เขาผู้นั้นก็กล่าวคำขอโทษ และโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม หรือเป็นความคุ้นเคย หรือเป็นเพราะมารยาททางสังคม หรือมันทำให้เราดูดีในสายตาคนอื่น หรือมันทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง เราก็เพียงพูดว่า ไม่เป็นไร


ในเรื่องเล็กน้อย เมื่อเรากล่าวว่าไม่เป็นไร มันก็อาจจะไม่เป็นไรจริงๆ หรือเพียงชั่วขณะ เราก็ลืมเรื่องนั้นไปเสียแล้ว แม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ อย่างนั้นเกิดขึ้นอยู่หลายครั้งเราก็ยังให้อภัยได้เสมอ แต่นั่นย่อมไม่ใช่เรื่องที่กระทบกับ “อัตตา” ของเราอย่างแรง


ภาวะที่อัตตาถูกระทบกระแทกโดยตรง หรือภาวะที่มีผลต่อภาวะความเปราะบางทางอารมณ์ ภาพลักษณ์ของสังคมปรากฏขึ้นทุกครั้ง และหลายครั้งมันเป็นอัตโนมัติ เราก็ยังมักจะพูดว่าไม่เป็นไร...ไม่เป็นไร... บางคนก็ขอโทษซ้ำแล้วซ้ำอีก เราก็ยังพร่ำบอกเหมือนเดิมว่า ไม่เป็นไร...ไม่เป็นไร พร้อมกับที่ข้างในของเรานั้นคุกรุ่นไปด้วยอารมณ์เคียดแค้น


วาระหนึ่งที่พบเห็น ในวิถีแห่งการให้อภัย เราไม่สามารถให้อภัยใครได้อย่างจริงแท้ได้เลย เมื่อเรายังไม่ให้อภัยตัวเอง ในฐานะมนุษย์ เมื่อมีใครทำผิด และเรารู้สึกโกรธ นั่นก็คือ มนุษย์ผู้นั้นก็เป็นตัวแทนของจิตวิญญาณของเราในฐานะมนุษย์ หลายครั้งที่ไม่ว่าเราจะพยายามเพียงไหน เราก็ยังให้อภัยอย่างแท้จริงไม่ได้ นั่นเพราะเรายังไม่ได้อภัยตัวเอง นี่คือภาระที่ยากเย็นแสนเข็ญ


บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
หลายปีมาแล้ว เมื่อเรายังอาศัยอยู่บนดอยในหมู่บ้านปกาเกอะญอ ในฐานะคนอาสาไปสอนหนังสือ ด้วยว่าโรงเรียนในหมู่บ้านที่เราอาศัยอยู่นั้นเป็นหมู่บ้านเดียวที่มีโรงเรียนในละแวกนั้น จึงมีเด็กในหมู่บ้านอื่นๆ มาเรียนหนังสือและอยู่ประจำที่โรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนของเราจึงมีสภาพเป็นโรงเรียนประจำอยู่ส่วนหนึ่ง ดังนั้นพวกเราจึงต้องช่วยดูแลเด็กที่อยู่ประจำด้วย ยิ่งยามเจ็บป่วยด้วยแล้ว ว่าก็ในแถบถิ่นชายแดนตะวันตกซึ่งมีโรคยอดฮิตคือมาลาเรีย ครั้งหนึ่งเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นเด็กเล็กอายุเพียงหกขวบ เป็นจังหวะประจวบเหมาะที่เราได้เป็นคนเฝ้าอยู่โรงพยาบาล ต้องนอนเฝ้ากันอยู่หลายวัน คราวนั้นเองที่เราพบว่า…
นาโก๊ะลี
ดูจะเป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อเราเป็นคนบนภูเขา เราจึงคุ้นเคยและมีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมเพื่ออยู่บนภูเขา ว่าก็คือ เรารู้ว่าเราจะอยู่อย่างไร ทำมาหากินอย่างไร หาอาหาร หาน้ำ ได้ที่ไหน หรือกระทั่งเวลาหลงทางเราจะพัก หรือหลับที่ไหนในเวลาค่ำคืน หรือแม้กระทั่งว่าในการหลงทางนั้นเราจะหาทางออกอย่างไร นี่ก็ว่ากันในแง่ของป่าที่เราไม่คุ้นเคย
นาโก๊ะลี
  ใครครวญถึงชีวิตคนสักคนหนึ่ง             กับภาระที่ถูกตอกตรึงกับยุคสมัยกับความซับซ้อนของสังคมที่เป็นไป      กับคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ไม่อาจค้นพบยังมีคนอยู่กี่คนบนโลกมนุษย์              ที่สายธารชีวิตสิ้นสุดก่อนถึงจุดจบมีความฝันก็ตามฝันยังไม่ครบ              ก็มีเหตุให้สยบต่อโชคชะตาคล้ายไม่น้อยนักที่เป็นอย่างนี้           …
นาโก๊ะลี
สนทนากับมิตรชาวมหานครคนหนึ่ง ถึงเรื่องราวของเมืองบางกอก อันสืบเนื่องจากเรื่องเล่าเรื่องราวในอดีตกาลนั้น ว่ากันต่อมาว่า บางกอกเป็นเมืองที่สวยมาก ผืนแผ่นดินลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเต็มไปด้วยห้วยน้ำลำคลอง ทุ่งนาเรือกสวน ว่าไปถึงการเดินทางสัญจรของประชาชนที่ใช้คลองใช้เรือเป็นด้านหลัก ในช่วงเวลานั้นบ้านเรือนราษฎรหันหน้าเข้าหาคลอง นี่คงเป็นภาพในอดีตที่มีการบอกเล่ากล่าวขานกันมานาน
นาโก๊ะลี
 หลายโอกาสจนดูเป็นเรื่องธรรมดา หรือเป็นเรื่องที่ควรเป็น  นั่นก็คือ บุคคลผู้ประกอบอาชีพใด ก็ย่อมเชี่ยวชาญในการงานหรืออาชีพนั้น  ช่างยนต์รู้เรื่องเครื่องยนต์ทุกซอกทุกมุมทุกเรื่องราวของเครื่องยนต์นั้น  กวีก็รู้ความหมาย องฟ้า แดด ลม ชาวประมงก็รู้เรื่องร่องน้ำ รู้เรื่องเส้นทางของปลา  นั่นก็ว่ากันไป  กระนั้นหลายครั้งที่เราพบเห็นบุคคลผู้ประกอบอาชีพ และเชี่ยวชาญในอาชีพของตน  แต่หลายหนพวกเขากล่าวประกาศว่าจะเลิกทำมันเสียที เพราะเขาไม่ได้ชอบมันเสียเลย
นาโก๊ะลี
เมื่อก่อน เวลาที่นึกถึง หรือได้ยินคำว่าชุมชน  เราก็มักนึกถึงหมู่บ้านในชนบท  ต่อมาเมื่อโตขึ้น ได้เดินทางสู่เมืองหลวงก็ได้ยินคำว่าชุมชนแออัด  คราวนั้นเราก็คงรับรู้ถึงชุมชนสองแบบนี้  ว่าก็ชุมชนในชนบท และชุมชนในเมือง บางสิ่งของสองชุมชนก็เหมือนกัน  บางอย่างก็ต่างกันออกไป  สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ผู้คนส่วนใหญ่ยากจน  สิ่งที่ต่างกัน ก็คงเป็นการทำมาหากิน  ความเป็นอยู่ บ้านเรือน ต่างกัน  และคงมีหลายสิ่งกว่านี้ที่ต่างกัน  แต่ว่าก็ว่า ในความยากจนในชุมชนชนบทนั้น  มีการพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูล  แน่นอนว่ามันมีความเกลียดชัง…
นาโก๊ะลี
เดือนมีนาคม ๒๕๕๒ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ต่างก็แจ้งข่าวว่า ปีนี้มีภัยแล้งเกิดไปทั่วหลายหย่อมย่านในเมืองไทย ว่าก็โดยเฉพาะแผ่นดินอิสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็บอกข่าวกล่าวความว่า ปีนี้ภัยแล้งหนักหนา.... รือว่าความจริงก็เป็นเช่นนั้น แต่ความจริงอีกเช่นกัน ความจริงอีกอันหนึ่งก็คือ ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์มาแล้ว.... บ้านเราฝนตก ที่ประหลาดใจก็คือ มันไม่ได้ตกแบบฝนหลงฤดู แบบสาดซัดลงมาแล้วก็หายไป แต่บรรยากาศมันเหมือนกับการเริ่มต้นฤดูฝน ด้วยมันมีฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ครืนครั่น แล้วฝนก็ตกลงมาต่อเนื่องหลายวัน และถึงแม้มันจะหายไปหลายวัน แต่ไม่นานก็กลับมาอีก แล้วบรรยากาศก็ยังเป็นบรรยากาศของฤดูฝน…
นาโก๊ะลี
เรือลำโตล่องลำอยู่ในทะเลกว้าง ขณะที่ฟ้าเริ่มมืดลงช้าๆ วันที่ฟ้าปลอดมรสุม ในความพลุกพล่านของคนบนเรือใหญ่ ใช่อยู่ว่า ผู้คนต่างก็เดินทางของตัวเอง แต่ ณ ขณะนี้ เราต่างอยู่บนเรือลำเดียวกัน ไม่นานนักหรอก เพียงเมื่อเรือเทียบท่า เราก็ออกจากเรือลำเดียวกันนี้ สู่ทางของตัวเองอีกครั้ง คนภูเขาอย่างเราไม่ได้คุ้ยเคยนักกับเรื่องราวของทะเล แต่ก็เหมือนกับทุกครั้ง แม้ในท่ามกลางผู้คน เมื่อใจเรารวมกับทะเล มันก็ยังเกิดคลื่นความเหงาอยู่ นั่นคงเป็นทุกครั้งคราวไปกระมัง เมื่อยามมาเยือนทะเล แต่....นั่นก็งดงามไม่น้อยหรอก เมื่อเหงาเราจึงได้เฝ้ามอง คลื่นความคิดเคลื่อนตามแรงกระเพื่อมของพายุอารมณ์ ทำให้เราพบว่าที่สุดแล้ว…
นาโก๊ะลี
  ตาตื่นก็ตื่นตา                  ณ เวลาของเช้าใหม่กลิ่นฝนยังกรุ่นไอ            กับลมพัดยังพลิ้วโชยก่อนแดดจะแรงส่อง         ก่อนสัตว์ผองจะหิวโหยก่อนฝนหยาดเม็ดโปรย     เห็นผีเสื้อออกโบยบิน
นาโก๊ะลี
เด็กผู้หญิงตัวน้อยคนหนึ่งบอกว่า "โตขึ้นหนูจะเป็นนักเลง" บางคนอาจจะฟังแล้ว เฉยๆ เพราะว่านั่นก็เป็นหนึ่งในจินตนาการธรรมดาของเด็ก บางคนอาจจะรู้สึกตกใจ ว่า ทำไมความคิดเธอรุนแรงอย่างนี้ บางคนก็อาจจะมีความคิดแตกต่างกันไปต่อถ้อยคำสั้นๆ นั้น หรือกระทั้งบางคนอาจจะไม่ได้รู้สึกอะไรกับมันเลย หรือบางคนรก็ได้ได้ฟังมันนัก หรือเปล่า....มั้ง นั่นก็คงไม่ได้จะบอกว่าเราดีกว่าคนอื่น เมื่อเราจะบอกว่า เรารู้สึกบางอย่างกับถ้อยคำนี้ คำพูดคำนี้ของเธอทำให้เรามานั่งทบทวน เรื่องราวมากมายในชีวิตของผู้คน และนั่นทำให้เราได้พยายามทำความเข้าใจกับคำว่า "นักเลง"
นาโก๊ะลี
มีคนเคยบอกว่า เมื่อเราใช้คนอื่นทำงาน หรือกระทั้งการทำงานร่วมกัน ถ้าเขาไม่ทำได้ดีกว่าเรา เขาก็ทำได้แย่กว่าเรา ว่ากันมาว่า ไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่า เขาและเราจะทำได้เท่ากัน ดูเหมือนว่า แต่ไหนแต่ไรมา สภาพสภาวะของมนุษย์ก็เป็นมาเช่นนี้เสมอ  มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ ในการอบรมครั้งหนึ่งว่า มนุษย์เรา มันมีแค่ไหนมันก็ได้แค่นั้น แรกที่ได้ฟัง เราก็แย้งในใจทันทีว่า จะกล่าวหาเช่นนั้นได้อย่างไร เพราะส่วนหนึ่งที่เราได้ยินมาก็คือ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ นั่นหมายถึงความถึงพร้อมสำหรับการบรรลุธรรม นี่ว่าในแง่ความเชื่อทางพุทธศาสนา เพราะเราได้ยินมาเสมอว่าสิ่งมีชีวิตเดียวที่พร้อมสำหรับการบรรลุธรรมก็คือมนุษย์…
นาโก๊ะลี
ถนนหนทางพาดวางวกวน ยาวเหยียดดั่งว่าจะประมาณการณ์ไม่ได้ว่า มันยาวไกลไปถึงดาวดวงไหน หากว่าระหว่างรอยต่อของหนทางทั้งหลายนั้นคือจุดบรรจบพบกันของผู้คน บางการประสบ มีสภาพสภาวะเป็นเพียงทางแยก แต่มีบางเส้นทางในบางคราวที่ทอดยาวคู่กันไป บางจังหวะก็แยกออก บางจังหวะก็แนบชิด นั่นก็ว่าไปตามสภาวะของผืนดิน ภูเขาแม่น้ำ และในการเคียงข้างไปของหนทางนั้นจะสั้นยาวอย่างไร ก็คงเป็นไปด้วยเงื่อนไขที่ต่างกัน แต่ที่สุดแล้ว ผู้คนก็คงต้องเลือกทางของตัวเองเสมอ ไม่ว่าทางนั้นจะเป็นทางที่เขาผู้นั้นเลือกเอง หรือทางที่ถูกเลือกไว้ หรือกระทั่งทางที่ถูกโชคชะตาบังคับเลือก จะพึงใจหรือไม่พึงใจ มันก็ต้องเป็นไปอย่างนั้นอยู่ดี