Skip to main content
ค่ำวันที่อากาศบนภูเขาหนาวจับใจ เราซ้อนมอเตอร์ไซค์มุ่งขึ้นดอย หมู่บ้านที่เราเคยไปเยือนหลายครั้งเมื่อหลายปีก่อน ว่าไปก็น่าจะเลยห้าปีมาแล้ว ด้วยความที่รู้สึกอยู่ว่า เวลาผ่านมานานขนาดนี้ หลายอย่างก็คงเปลี่ยนไปมากแล้ว ว่าก็คือ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง บ้านเรือนผู้คนแถบถิ่นเชิงเขาเปลี่ยนไปมาก มีคฤหาสน์หลังใหญ่โต ช่างเถิด นั่นไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับการเดินทางของเรานัก เข้าเขตภูเขาอากาศเริ่มเย็นยะเยือกมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สุดเราก็ล่วงลึกเข้าไปในภูเขา ถนนฝุ่นที่เราเคยพบเห็นสัมผัสคุ้นเคยในอดีตกลับมาอีกครั้ง จนถึงหมู่บ้าน บรรยากาศในทรงจำก็เริ่มโผล่ปรากฏ


บ้านทรงที่ยังคล้ายในอดีต เพิ่มตัวเรือนแยกออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นเรือนไฟ ก็คือเรือนที่มีเตาไฟ ใช้ทำครัว และเป็นที่นั่งสังสันต์ในครับครัว อีกฝั่งหนึ่งเป็นเรือนแบบใหม่ที่สร้างถาวรกว่าด้วยไม้ ว่ากันว่าในอดีต ชุมชนเคยย้ายไปย้ายมาตามพื้นที่การทำมาหากิน บ้านสมัยก่อนจึงเป็นเรือนเดี่ยวที่มีเตาไฟอยู่กลางบ้าน ทำผนังปิดมิดชิด กันร้อนกันหนาว และสร้างด้วยไม้ไผ่ มาถึงปัจจุบันการเคลื่อนย้ายชุมชนเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว จึงมีการสร้างบ้านไม้มากขึ้น และแยกเรือนไฟออกต่างหาก เมื่อถึงหมู่บ้าน เสียงของหมู่บ้านดึงเรากลับไปสู่ความทรงจำเมื่อคราวเดินทางเข้าหมู่บ้านครั้งแรก

 

ที่นั่น หมู่บ้านห้วยจะกือ จ.ตาก ต้นไม้รอบหมู่บ้านสูง ใหญ่ หมูตัวสีดำวิ่งหากินอยู่รอบหมู่บ้าน เสียงน้ำจากลำธารไหลพอได้ยิน อากาศชื้น พื้นแฉะ บางแห่งก็ลื่น สิ่งแรกที่เราสัมผัสหมู่บ้านก็คงเป็นเสียงนี่เอง เสียงที่เราเรียกมันว่าเสียงของหมู่บ้าน มันประกอบไปด้วยเสียงหลายเสียง ผสมผสานเป็นเสียงหมู่บ้าน ไก่ หมา เด็กร้อง เสียงคน ครกตำข้าว เสียงเคาะ เสียงผ่าฟืน เสียงเด็กวิ่งเล่น พูดคุยกัน เสียงทังหมดนั้นชัดเจนในความเงียบแบบป่า ที่ปราศจากรถยนต์และเครื่องขยายเสียง

 

ที่นี่ หมู่บ้านสบลาน หมู่บ้านเล็กๆ แถบอำเภอสะเมิง เชียงใหม่ อย่างที่ว่า เราไม่ได้มาที่นี่น่าจะมากกว่าห้าปีเข้าไปแล้ว สิ่งที่สัมผัสได้อย่างชัดเจนของการเดินทางครั้งนี้ หนึ่งคือเสียง เสียงของหมู่บ้านยังลอยอยู่ข้างหู และมันเรียกภาพและเสียงจากทรงจำให้ผุดพรายขึ้นมา หมู่บ้านเล็กๆ ที่ยังสงบ เงียบ แต่มีเสียงของหมู่บ้าน และเสียงของป่า กองไฟใต้ถุนบ้านหลายหลังลุกสว่าง แต่ละกองไฟก็มีผู้คนนั่งล้อมวง สนทนาผิงไฟ เด็กๆ ป้วนเปี้ยนอยู่รอบๆ แล้วก็มีหมา เสื้อผ้ามอมแมมคลุกฝุ่น บนยอดเขาใกล้ๆ ลมพัดไม่แรงนัก พอส่งเสียงมาถึงหมู่บ้าน เสียงน้ำไหลเบาๆ แต่มันจะดังชัดเจนขึ้นเมื่อยิ่งดึก อากาศยังหนาวแบบที่เคยหนาว ในหมู่บ้านบนดอย

 

สถานที่หนึ่ง มักโน้มนำความทรงจำของเราไปถึงอีกสถานที่หนึ่ง หรืออีกหลายๆ สถานที่ เหล่านั้นคือผืนแผ่นดินที่เราเคยผ่านทาง บางจังหวะเวลามันอาจไม่ได้ทรงค่าความหมายเท่าใดนัก แต่บางคราว มันคือสะพานที่เชื่อมเราไปสู่ความประทับใจ และความประทับใจในทรงจำนี้ก็คือพื้นที่แห่งความงดงาม บางครั้งมันก็เป็นพื้นที่แห่งแรงบันดาลใจ และหลายครั้งที่สถานที่หนึ่งพาเราไปยังอีกสถานที่หนึ่งในทรงจำเราอาจพบการเหลื่อมซ้อนของเวลา และนั่นอาจเป็นหนทางบางสายสำหรับการเดินทางอันยาวไกลของชีวิตก็เป็นได้

บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
เมื่อยังเด็ก เราไม่รู้ว่าเมื่อบ้านเราฝนตกนั้น บางแผ่นดินที่ไกลออกไป ฝนไม่ตก เรารู้เพียงแต่ว่าฝนตก กับฝนไม่ตก เวลาต่อมา พอรู้ความมากขึ้น เราเริ่มเห็นม่านฝนที่พุ่งตรงมาหาเรา แล้วก็กลายเป็นฝนตก แต่นั่นก็ไม่ทำให้เรารู้ว่า บางแห่งบนแผ่นดินที่ไกลออกไป ฝนไม่ตก โตขึ้นมาอีกนิด เมื่อบ้านเราฝนตก เราก็เริ่มได้ยินมาว่า มีบางแห่ง ฝนไม่ตก เราจึงเริ่มจินตนาการ ถึงรอยต่อระหว่างที่ๆ มีฝน กับที่ๆ ไม่มีฝน เราคิดว่าตรงรอยต่อนั้นมันจะเหมือนเรารดน้ำต้นไม้ เมื่อเราเทน้ำแรงๆ มันก็เป็นสายน้ำเทลงไป ตรงที่มีน้ำก็คล้ายสายฝน และมันก็ตัดไปเฉยๆ กับที่ๆ ไม่มีฝนนั้น
นาโก๊ะลี
มองดูชีวิต...ใช่สินะ  ในสังคมเมืองใหญ่ที่เราได้เข้าไปข้องเกี่ยวอยู่เนืองๆ   ผู้คนทั้งหลายในกาลเวลาสมัยปัจจุบัน ไม่มากก็น้อยล้วนแต่ต้องเกี่ยวข้องกับเมืองใหญ่กันทั้งนั้น  ระหว่างเมืองกับชนบทแยกกันไม่ได้เสียแล้ว...  ภาระหน้างานก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปหมด  สังคม การศึกษาต่างสอนให้เราเห็นแก่ตัว ว่าก็คือสอนให้เราแข่งขัน สอนว่าเราต้องขึ้นมาเป็นที่หนึ่ง สอนว่าเราต้องประสบผลสำเร็จในการงาน อันแปลว่าตำแหน่งที่สูงขึ้น และเงินเดือนเยอะๆ และเยอะขึ้นเรื่อยๆ บ้านหลังโตๆ และรถยนต์คันใหญ่  นี่คือเป้าหมายของผู้คนทั้งหมาย เกิดมาบนวิถีอันนี้ เรียนรู้เติบโต…
นาโก๊ะลี
  หน้าตึกหลังไม่ใหญ่โตนักในมหานคร ในบริเวณพื้นที่ก็ไม่กว้างใหญ่เท่าใดนัก มีต้นไม้อยู่ก็ไม่สักกี่ต้น ในจำนวนนั้นก็มีกล้วยอยู่กอหนึ่ง ที่กล้วยกำลังแก่พอจะเอามาบ่มได้แล้ว แล้วก็มีต้นเต่ารั้งอยู่กอหนึ่ง ช่วงนี้จึงเป็นที่สำราญของกระรอกน้อยสองตัว หรืออาจจะมากกว่าหรือเปล่า อันนี้เราไม่แน่ใจ อันที่จริงเราพบกระรอกสองตัวนี้หลายครั้งที่มาเยือนตึกนี้ ทุกเช้าเราจะพบเขาออกมาวิ่งเล่นตามกิ่งไม้ ช่วงไหนที่มีกล้วยที่ใกล้สุกอย่างนี้ ก็ดูเหมือนเขาทั้งสองจะสำราญเป็นพิเศษ ส่งเสียงร้องเจี๊ยวจ๊าวกัน แล้วก็วิ่งเลยกันจากต้นนั้นออกต้นนี้
นาโก๊ะลี
ในที่นอนบนรถไฟ....ขณะที่เรื่องราวรอบๆ ตัวค่อยๆ เงียบลงเรื่อยๆ มีเจ้าหน้าที่บางคนที่ยังเดินผ่านไปมาอยู่บ้างเท่านั้น บางครั้งแว่วเสียงกรนเบาๆ มาจากแห่งใดแห่งหนึ่งในตู้โดยสารนี้ แต่คล้ายเราเองก็มิได้ใส่ใจนัก ปล่อยให้ความคิดความฝัน จินตนาการล่องลอยออกไป คิดถึงเรื่องราวและเหตุการณ์หลายอย่าง คิดถึงภาระที่จะต้องจัดการเมื่อเราเดินทางถึงปลายทาง คิดถึงผู้คนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้น ความจริงเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ในการสนทนาที่จะมีในสองสามวันข้างหน้า แต่เหมือนก็รับรู้ได้ลางๆ ว่ามันน่าจะมีประเด็นอะไรบ้างที่จะได้เป็นหนทางแห่งการเรียนรู้ สำหรับพวกเราในการสนทนานั้น....…
นาโก๊ะลี
ความเป็นคนที่ไม่มีต้นทุนมากนัก ทั้งทางสถานภาพ และสถานะทางเศรษฐกิจ ทำให้เราทำอะไรๆ อย่างไม่คิดมากนัก  ว่าก็คือไม่ค่อยมีเวลา หรือโอกาสในการใคร่ครวญ  ยามที่มีอะไรให้ทำ เราก็เพียงแต่ทำๆ ไป ยิ่งถ้าเรื่องนั้นๆ เป็นเรื่องที่เราชอบด้วยแล้ว นั่นก็ไม่ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจเลย  ดั่งเรื่องรายของเราเมื่อสิบห้าปีก่อน  มีคนเล่าเรื่องโรงเรียนในหมู่บ้านปกาเกอะญอ จังหวัดตากให้ฟัง องค์ประกอบของเรื่องคือ ป่า นั่นแน่ๆ เพราะปกาเกอะญอ อยู่ป่า  แล้วก็คนปกาเกอะญอ หรือที่ก่อนนั้นเรารู้จักพวกเขาในนาม กะเหรี่ยง แล้วองค์ประกอบที่ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจก็คือโรงเรียน …
นาโก๊ะลี
เมื่อเราเด็กๆ เราจำได้อยู่ว่า ในหมู่บ้านของเรา เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ด้วยสายตาของเด็ก เราจะรู้สึกว่าทุกสิ่งรอบตัวนั้นใหญ่โต เส้นทางแต่ละทางมันก็ยาวไกล กระนั้นเราก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับความไกลและใหญ่โตนั้นเสมอ เป็นต้นว่า เดินไปโรงเรียน เดินไปลำห้วยท้ายหมู่บ้าน หรือเดินไปไร่ไปนา สิ่งสำคัญที่อยากจะเล่าเอาไว้ก็คือ ช่วงเวลานั้น ไม่ว่าจะไปไหน เราก็เดินไป ไม่ใช่เฉพาะเราเด็กๆ เท่านั้น ผู้ใหญ่เอง หรือคนเฒ่าคนแก่ก็เดิน ไปไร่ไปนาก็เดิน ขึ้นเขาหาหน่อไม้ก็เดิน ไปตลาดเท่านั้นถึงจะนั่งรถไป หรือกระทั่งบางครั้งก็ยังได้เคยซ้อนท้ายจักรยานคนเฒ่าไปตลาด นั่นคือช่วงเวลาที่ชีวิตเราง่ายเหลือหลาย อยากไปไหนเราก็ไปทันทีทันใด…
นาโก๊ะลี
ครั้งหนึ่งเราเคยได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียกร้องสันติ นั่นก็คือการต่อต้านสงคราม ความรู้สึกคราวนั้น จำได้ว่า เรารู้สึก และพูดไปว่า โลกขอเรามีคนเก่งและความเก่งกล้าสามารถมากมายนักแล้ว โลกของเรามีคนดีและความดีงามมากมายนักแล้ว แต่สิ่งที่โลกเรายังขาดอยู่มาก นั่นก็คือ ความรัก ใช่....ถึงวันนี้เราก็ยังรู้สึกเช่นนั้น แต่สิ่งที่เห็นจนวันนี้เราก็ยังพบว่า โลกก็ยังส่งเสริมความดีและความเก่ง แต่โลกกลับไม่ได้ส่งเสริมความรัก
นาโก๊ะลี
  กลับมามองท้องทุ่งกับฟ้ากว้าง             พักจากการเดินทางระหว่างสมัยกลับมาจากแผ่นดินของเมืองไกล         กลับมามองความเป็นไป-ฤดูกาลธรรมชาติแตกต่าง-มิแตกต่าง              ยามแสงแรกส่องฟ้าสางโลกสถานในชีวิตมีหม่นเศร้ามีเบิกบาน                เป็นอยู่นับกาลนานตลอดมามองดูคนในฐานะของธรรมชาติ          …
นาโก๊ะลี
หนทางทอดยาวเหยียด ยาวเพียงไหน หากเอาถนนทั้งหมดมาต่อกันเป็นเส้นเดียว ถนนนั้นจะยาวไปถึงดาวดวงใด ก็ในเมื่อ ทุกแผ่นดินในโลก มนุษว์สามารถเดินไปถึงสุดแท้แต่สภาพสภาวะของตน ด้วยความจริงข้อนี้หรือเปล่า ที่มันทำให้ผู้คนทั้งหลายต่างแสวงหาเสรีภาพ พร้อมกับที่เราเปรียบเปรยต่างๆ นานา เพื่อบ่งบอกถึงอิสรภาพ เสรีภาพ หรือว่าแท้จริงแล้ว ถนนหนทางทุกสายต่างหากที่เป็นผลพวงของความปรารถนามนุษย์
นาโก๊ะลี
ฟังมาว่า  มีผู้คนมากมายที่ห่วงใยต่อวิถีของโลก วิถีของสังคม   พวกเขาทั้งหลายต่างก็กล่าวคบอกกล่าวถึงการดูแลเยียวยา รักษา ฟื้นฟู โลกและสังคม  ด้วยวิธีการ ด้วยความเชื่อแบบของตน  นั่นคงเป็นเรื่องดีวามไม่น้อยถ้าหากว่า วิธีการทั้งหมดนั้นมันสามารถนำพาสังคม นำพาโลกและชีวิต ก้าวเข้าไปสู่มิติ วิธีแห่งการเยียวยา ฟื้นฟู  แต่กระไรเล่า คำถามง่ายๆ ที่ผลุดโผล่ขึ้นมาระหว่างมิติของยุคสมัยและกาลเวลาก็คือว่า  ผู้คนในแต่ละยุคสมัยก็ทำเช่นนี้เสมอมา  บอกเล่ากล่าวความถึงหนทางที่ดีงามของโลก  แต่ทำไม โลกกลับยิ่งเลวร้ายลง สังคมก็ยิ่งเลวร้ายลงทุกวัน.....
นาโก๊ะลี
ความเป็นเด็กบ้านนอกด้วยก็เป็นได้  และความจริงก็มักเป็นอย่างนั้นเสมอ  คือ...เรื่องมีอยู่ว่า เวลาที่เราต้องขึ้นรถโดยสารสาธารณะระหว่างเมืองหนึ่งสู่เมืองหนึ่ง  ก่อนโน้นคราวที่เรายังเด็ก รถรายังไม่ได้มีมากนักในสังคมชนบท  ว่าก็เมื่อก่อนชาวบ้านยังไม่รู้วิธีกูเงิน หรือหาเงินทีละเยอะๆ นั่นเอง   ดังนั้นเวลาเดินทาง ผู้คนจำนวนมากจึงต้องอาศัยรถโดยสารเป็นสำคัญ  ทีนี้เรื่องมันก็มีต่อไปว่า  เด็กรถ กระเปารถ มันจะดุมากๆ มันไม่รู้จะดุไปทำไม  แล้วชาวบ้านก็ไม่กล้าว่าอะไรมัน ด้วยท่าทางวางท่าแบบอันธพาลของมัน(เราจะเรียกคนแบบนี้ว่าอันธพาล ไม่ใช่นักเลง…
นาโก๊ะลี
ว่ากันโดยทั่วไป หรือเปล่า..มั้ง...เราต่างก็พยายามสร้างความชัดเจน ทั้งจากตัวเอง และจากผู้คน บางเรื่องราวในชีวิต เรื้องเล่าที่เราะยายามจะบอกกล่าว บางคราวที่เรารู้สึกว่าเรื่องราวนั้นยาก และซับซ้อน เราก็ใช้เวลานานในการอธิบาย ยิ่งเมื่ออธิบายไปแล้วผู้คนท่าทางงง เราก็ยิ่งพยายามหาทางอธิบาย แล้วที่สุดทั้งผู้เล่า และผู้ฟังต่างก็พบว่า การอธิบายเสียยืดยาวนั้นเหนื่อยเปล่า ด้วยไม่เกิดผลใดใดเลย ต่อการทำความเข้าใจ ว่าไปแล้ว เนื้อหาที่เราต้องการจะบอกกล่าว มันก็ไม่ได้ยากเกินไปหรือเปล่า เพียงแต่การรับรู้ หรือการเข้าไปทำอะไรกับเรื่องราวนั้นๆที่อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ซับซ้อนนั่นเองต่างหาก…