Skip to main content

ในช่วงชีวิตคนๆ หนึ่ง ว่ากันโดยส่วนใหญ่ตามประสบการณ์ที่เห็นอยู่  คงมีช่วงเวลาหนึ่งที่ชีวิตก้าวลงสู่ช่วงตกต่ำ  ในแง่นี้อาจจะหนักกว่าคำว่า “ขาลง”  ว่าก็คือชีวิตเริ่มล้มเหลว ทุกข์แสนสาหัส  ดูเหมือนช่วงเวลานั้นไม่ว่าจะพยายามเพียงใด  ทุ่มเทเพียงใด  มันก็ยังไม่มีอะไรดีขึ้น ยังคงแย่ลงๆ เรื่อยๆ  บางครั้งมันก็หนักหนาเกินกว่าจะทนไหว  ซึ่งแน่นอนว่าคนส่วนหนึ่งทนไม่ได้กับสภาวะนั้น  กรณีฆ่าตัวตายจึงเกิดขึ้น  เพราะเมื่อคนยิ่งแย่ลง  ต่ำลง  มันก็ได้เข้าสู่จุดศูนย์ของความเปราะบางมากที่สุด  บริเวณจุดศูนย์ของความเปราะบางนี้เองที่มันก็มีความข้น – จางต่างไปของแต่ละคนตามแต่วิถีของชีวิต  บ้างก็เข้าสู่ภาวะนั้นยาวนาน  บ้างก็สั้นต่างกันไป 

ความสำคัญของจุดศูนย์นั้น  ว่าที่สุดแล้วมันก็เป็นทางผ่านอันหนึ่งที่ชีวิตจำเป็นต้องก้าวผ่าน  หากเราใช้ทางที่ดิ่งลงนั้นหรือใช้จุดศูนย์นั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้  แน่นอนว่าเราก็จะเห็น  อันหมายถึงการเฝ้ามองภาวะนั้นตามที่มันเป็น  และดูเหมือนว่าไม่มีอะไรมากไปกว่าการทำความเข้าใจเท่านั้นที่จะทำให้เราก้าวผ่านมันไปได้อย่างมั่นคง  หรือแม้จะโงนเงนไปบ้าง  แต่ที่สุดเราก็จะผ่านมันได้อยู่ดี  ปัญหาก็คือว่า  เราจะก้าวและดำรงอยู่ในภาวะนั้นด้วยความเข้าใจได้อย่างไร  หากมองลึกลงไปอย่างแท้จริงในใจมนุษย์  ภาวะที่เป็นหลักการว่ามองมันอย่างเข้าใจจึงจะพบหนทาง  อย่างนี้เข้าใจได้ไม่ยากนัก  รับรู้ได้ไม่ยากนัก  แต่จะทำอย่างไรให้เข้าใจลึกลงไปในแง่การปฏิบัติ  นี่จึงเป็นเรื่องยากลึกลงไปกว่านั้น

ลองว่ากันดู…  ทางกายภาพคงต้องเปลี่ยนบางอย่างในชีวิต  เช่น  ถ้าการทำ ยิ่งทำยิ่งล้มเหลว  ก็อาจเปลี่ยนเป็นทำให้น้อยลง  แต่หันมาลงลึกกับสิ่งที่ทำให้มากขึ้น  ทำให้ช้าลง  และเรียนรู้เฝ้ามองกระบวนการนั้นโดยตลอดและละเอียด  หรือถ้าหนักหนาสาหัสนักก็อาจถึงขั้นหยุดทำทั้งหมด  แล้วรอ  เฝ้าดูกระบวนการที่ทำมาทั้งหมดว่ามันจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด  ในแง่นี้แน่นอนอยู่ว่า  ทั้งหมดมันมีกระบวนการเคลื่อนไหวของมัน  วิธีนี้ในขั้นแรกอาจต้องยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้น  ดังเช่น  คนป่วยที่ดื้อยา  เมื่อหยุดให้ยาก็อาจมีสภาพลงแดง  อันเป็นผลกระทบจากการหยุดยานั้นเอง  ซึ่งต้องใช้ความอดทนพอสมควร 

อีกวิธี… คือการเปลี่ยนทั้งขบวน  คือการเคลื่อนย้ายกระบวนการทั้งหมดของชีวิต  เปลี่ยนทุกสิ่งที่ทำ  ปล่อยให้ชีวิตก้าวลงสู่จุดศูนย์แล้วเริ่มต้นวิถีใหม่ทั้งหมด  อันนี้อาจยากกว่าแต่ก็เป็นไปได้  ในแง่นี้ก็คือการพาตัวเองมาจากสนามพลังอันนั้น  แล้วหันกลับไปมองมันอีกครั้ง  การเรียนรู้ก็จะผุดโผล่ขึ้นมา  ขณะเดียวกันก็อาจจะต้องเผื่อใจยอมรับว่า  ที่สุดแล้วมันจะไม่ได้เปลี่ยนในทันทีทันใด  ความอดทนเป็นปัจจัยสำคัญ  ในวาระนี้กัลยาณมิตรจึงสำคัญและมีส่วนไม่น้อยในการเปลี่ยนแปลง 

วิธีหนึ่ง…  ที่นำพาชีวิตสู่การเรียนรู้แบบใหม่ที่ง่ายที่สุดในภาวะก้าวลงสู่จุดศูนย์นี้  คือการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยกิจกรรมแบบใหม่  อาจเริ่มจากการปรับเวลาตื่นนอนให้เช้าขึ้น  แล้วออกไปเดิน  หรือออกกำลังกาย  หรือเดินแล้วค่อยออกกำลังกาย  เดินอย่างปราศจากจุดมุ่งหมาย  เดินช้าๆ  ไม่ต้องมีกระบวนวิธีอะไร  เพียงแค่เดิน  แค่เดินจริงๆ  วิธีนี้มีผู้คนใช้ได้ผลมาพอสมควรแล้ว  และถ้าว่าตามประวัติศาสตร์  ปราชญ์โบราณหลายคนล้วนเป็นนักเดินกันทั้งนั้น…เพียงแค่เดิน

นี่อาจเป็นวิธี…อาจตอบสนองต่อหลักการ (หรือเปล่า มั้ง) หรืออย่างไร…เชิญร่วมวงสนทนาหาทางร่วมกันเถิด

บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
หลายปีมาแล้ว เมื่อเรายังอาศัยอยู่บนดอยในหมู่บ้านปกาเกอะญอ ในฐานะคนอาสาไปสอนหนังสือ ด้วยว่าโรงเรียนในหมู่บ้านที่เราอาศัยอยู่นั้นเป็นหมู่บ้านเดียวที่มีโรงเรียนในละแวกนั้น จึงมีเด็กในหมู่บ้านอื่นๆ มาเรียนหนังสือและอยู่ประจำที่โรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนของเราจึงมีสภาพเป็นโรงเรียนประจำอยู่ส่วนหนึ่ง ดังนั้นพวกเราจึงต้องช่วยดูแลเด็กที่อยู่ประจำด้วย ยิ่งยามเจ็บป่วยด้วยแล้ว ว่าก็ในแถบถิ่นชายแดนตะวันตกซึ่งมีโรคยอดฮิตคือมาลาเรีย ครั้งหนึ่งเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นเด็กเล็กอายุเพียงหกขวบ เป็นจังหวะประจวบเหมาะที่เราได้เป็นคนเฝ้าอยู่โรงพยาบาล ต้องนอนเฝ้ากันอยู่หลายวัน คราวนั้นเองที่เราพบว่า…
นาโก๊ะลี
ดูจะเป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อเราเป็นคนบนภูเขา เราจึงคุ้นเคยและมีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมเพื่ออยู่บนภูเขา ว่าก็คือ เรารู้ว่าเราจะอยู่อย่างไร ทำมาหากินอย่างไร หาอาหาร หาน้ำ ได้ที่ไหน หรือกระทั่งเวลาหลงทางเราจะพัก หรือหลับที่ไหนในเวลาค่ำคืน หรือแม้กระทั่งว่าในการหลงทางนั้นเราจะหาทางออกอย่างไร นี่ก็ว่ากันในแง่ของป่าที่เราไม่คุ้นเคย
นาโก๊ะลี
  ใครครวญถึงชีวิตคนสักคนหนึ่ง             กับภาระที่ถูกตอกตรึงกับยุคสมัยกับความซับซ้อนของสังคมที่เป็นไป      กับคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ไม่อาจค้นพบยังมีคนอยู่กี่คนบนโลกมนุษย์              ที่สายธารชีวิตสิ้นสุดก่อนถึงจุดจบมีความฝันก็ตามฝันยังไม่ครบ              ก็มีเหตุให้สยบต่อโชคชะตาคล้ายไม่น้อยนักที่เป็นอย่างนี้           …
นาโก๊ะลี
สนทนากับมิตรชาวมหานครคนหนึ่ง ถึงเรื่องราวของเมืองบางกอก อันสืบเนื่องจากเรื่องเล่าเรื่องราวในอดีตกาลนั้น ว่ากันต่อมาว่า บางกอกเป็นเมืองที่สวยมาก ผืนแผ่นดินลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเต็มไปด้วยห้วยน้ำลำคลอง ทุ่งนาเรือกสวน ว่าไปถึงการเดินทางสัญจรของประชาชนที่ใช้คลองใช้เรือเป็นด้านหลัก ในช่วงเวลานั้นบ้านเรือนราษฎรหันหน้าเข้าหาคลอง นี่คงเป็นภาพในอดีตที่มีการบอกเล่ากล่าวขานกันมานาน
นาโก๊ะลี
 หลายโอกาสจนดูเป็นเรื่องธรรมดา หรือเป็นเรื่องที่ควรเป็น  นั่นก็คือ บุคคลผู้ประกอบอาชีพใด ก็ย่อมเชี่ยวชาญในการงานหรืออาชีพนั้น  ช่างยนต์รู้เรื่องเครื่องยนต์ทุกซอกทุกมุมทุกเรื่องราวของเครื่องยนต์นั้น  กวีก็รู้ความหมาย องฟ้า แดด ลม ชาวประมงก็รู้เรื่องร่องน้ำ รู้เรื่องเส้นทางของปลา  นั่นก็ว่ากันไป  กระนั้นหลายครั้งที่เราพบเห็นบุคคลผู้ประกอบอาชีพ และเชี่ยวชาญในอาชีพของตน  แต่หลายหนพวกเขากล่าวประกาศว่าจะเลิกทำมันเสียที เพราะเขาไม่ได้ชอบมันเสียเลย
นาโก๊ะลี
เมื่อก่อน เวลาที่นึกถึง หรือได้ยินคำว่าชุมชน  เราก็มักนึกถึงหมู่บ้านในชนบท  ต่อมาเมื่อโตขึ้น ได้เดินทางสู่เมืองหลวงก็ได้ยินคำว่าชุมชนแออัด  คราวนั้นเราก็คงรับรู้ถึงชุมชนสองแบบนี้  ว่าก็ชุมชนในชนบท และชุมชนในเมือง บางสิ่งของสองชุมชนก็เหมือนกัน  บางอย่างก็ต่างกันออกไป  สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ผู้คนส่วนใหญ่ยากจน  สิ่งที่ต่างกัน ก็คงเป็นการทำมาหากิน  ความเป็นอยู่ บ้านเรือน ต่างกัน  และคงมีหลายสิ่งกว่านี้ที่ต่างกัน  แต่ว่าก็ว่า ในความยากจนในชุมชนชนบทนั้น  มีการพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูล  แน่นอนว่ามันมีความเกลียดชัง…
นาโก๊ะลี
เดือนมีนาคม ๒๕๕๒ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ต่างก็แจ้งข่าวว่า ปีนี้มีภัยแล้งเกิดไปทั่วหลายหย่อมย่านในเมืองไทย ว่าก็โดยเฉพาะแผ่นดินอิสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็บอกข่าวกล่าวความว่า ปีนี้ภัยแล้งหนักหนา.... รือว่าความจริงก็เป็นเช่นนั้น แต่ความจริงอีกเช่นกัน ความจริงอีกอันหนึ่งก็คือ ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์มาแล้ว.... บ้านเราฝนตก ที่ประหลาดใจก็คือ มันไม่ได้ตกแบบฝนหลงฤดู แบบสาดซัดลงมาแล้วก็หายไป แต่บรรยากาศมันเหมือนกับการเริ่มต้นฤดูฝน ด้วยมันมีฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ครืนครั่น แล้วฝนก็ตกลงมาต่อเนื่องหลายวัน และถึงแม้มันจะหายไปหลายวัน แต่ไม่นานก็กลับมาอีก แล้วบรรยากาศก็ยังเป็นบรรยากาศของฤดูฝน…
นาโก๊ะลี
เรือลำโตล่องลำอยู่ในทะเลกว้าง ขณะที่ฟ้าเริ่มมืดลงช้าๆ วันที่ฟ้าปลอดมรสุม ในความพลุกพล่านของคนบนเรือใหญ่ ใช่อยู่ว่า ผู้คนต่างก็เดินทางของตัวเอง แต่ ณ ขณะนี้ เราต่างอยู่บนเรือลำเดียวกัน ไม่นานนักหรอก เพียงเมื่อเรือเทียบท่า เราก็ออกจากเรือลำเดียวกันนี้ สู่ทางของตัวเองอีกครั้ง คนภูเขาอย่างเราไม่ได้คุ้ยเคยนักกับเรื่องราวของทะเล แต่ก็เหมือนกับทุกครั้ง แม้ในท่ามกลางผู้คน เมื่อใจเรารวมกับทะเล มันก็ยังเกิดคลื่นความเหงาอยู่ นั่นคงเป็นทุกครั้งคราวไปกระมัง เมื่อยามมาเยือนทะเล แต่....นั่นก็งดงามไม่น้อยหรอก เมื่อเหงาเราจึงได้เฝ้ามอง คลื่นความคิดเคลื่อนตามแรงกระเพื่อมของพายุอารมณ์ ทำให้เราพบว่าที่สุดแล้ว…
นาโก๊ะลี
  ตาตื่นก็ตื่นตา                  ณ เวลาของเช้าใหม่กลิ่นฝนยังกรุ่นไอ            กับลมพัดยังพลิ้วโชยก่อนแดดจะแรงส่อง         ก่อนสัตว์ผองจะหิวโหยก่อนฝนหยาดเม็ดโปรย     เห็นผีเสื้อออกโบยบิน
นาโก๊ะลี
เด็กผู้หญิงตัวน้อยคนหนึ่งบอกว่า "โตขึ้นหนูจะเป็นนักเลง" บางคนอาจจะฟังแล้ว เฉยๆ เพราะว่านั่นก็เป็นหนึ่งในจินตนาการธรรมดาของเด็ก บางคนอาจจะรู้สึกตกใจ ว่า ทำไมความคิดเธอรุนแรงอย่างนี้ บางคนก็อาจจะมีความคิดแตกต่างกันไปต่อถ้อยคำสั้นๆ นั้น หรือกระทั้งบางคนอาจจะไม่ได้รู้สึกอะไรกับมันเลย หรือบางคนรก็ได้ได้ฟังมันนัก หรือเปล่า....มั้ง นั่นก็คงไม่ได้จะบอกว่าเราดีกว่าคนอื่น เมื่อเราจะบอกว่า เรารู้สึกบางอย่างกับถ้อยคำนี้ คำพูดคำนี้ของเธอทำให้เรามานั่งทบทวน เรื่องราวมากมายในชีวิตของผู้คน และนั่นทำให้เราได้พยายามทำความเข้าใจกับคำว่า "นักเลง"
นาโก๊ะลี
มีคนเคยบอกว่า เมื่อเราใช้คนอื่นทำงาน หรือกระทั้งการทำงานร่วมกัน ถ้าเขาไม่ทำได้ดีกว่าเรา เขาก็ทำได้แย่กว่าเรา ว่ากันมาว่า ไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่า เขาและเราจะทำได้เท่ากัน ดูเหมือนว่า แต่ไหนแต่ไรมา สภาพสภาวะของมนุษย์ก็เป็นมาเช่นนี้เสมอ  มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ ในการอบรมครั้งหนึ่งว่า มนุษย์เรา มันมีแค่ไหนมันก็ได้แค่นั้น แรกที่ได้ฟัง เราก็แย้งในใจทันทีว่า จะกล่าวหาเช่นนั้นได้อย่างไร เพราะส่วนหนึ่งที่เราได้ยินมาก็คือ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ นั่นหมายถึงความถึงพร้อมสำหรับการบรรลุธรรม นี่ว่าในแง่ความเชื่อทางพุทธศาสนา เพราะเราได้ยินมาเสมอว่าสิ่งมีชีวิตเดียวที่พร้อมสำหรับการบรรลุธรรมก็คือมนุษย์…
นาโก๊ะลี
ถนนหนทางพาดวางวกวน ยาวเหยียดดั่งว่าจะประมาณการณ์ไม่ได้ว่า มันยาวไกลไปถึงดาวดวงไหน หากว่าระหว่างรอยต่อของหนทางทั้งหลายนั้นคือจุดบรรจบพบกันของผู้คน บางการประสบ มีสภาพสภาวะเป็นเพียงทางแยก แต่มีบางเส้นทางในบางคราวที่ทอดยาวคู่กันไป บางจังหวะก็แยกออก บางจังหวะก็แนบชิด นั่นก็ว่าไปตามสภาวะของผืนดิน ภูเขาแม่น้ำ และในการเคียงข้างไปของหนทางนั้นจะสั้นยาวอย่างไร ก็คงเป็นไปด้วยเงื่อนไขที่ต่างกัน แต่ที่สุดแล้ว ผู้คนก็คงต้องเลือกทางของตัวเองเสมอ ไม่ว่าทางนั้นจะเป็นทางที่เขาผู้นั้นเลือกเอง หรือทางที่ถูกเลือกไว้ หรือกระทั่งทางที่ถูกโชคชะตาบังคับเลือก จะพึงใจหรือไม่พึงใจ มันก็ต้องเป็นไปอย่างนั้นอยู่ดี