Skip to main content

เมื่อมีโอกาสมองเข้าไปในการรับรู้ของผู้คน ในภาวะหรือในประเด็นของความขัดแย้งทั้งหลาย ดูเหมือนว่าโดยธรรมชาติ เราทั้งหลายถูกครอบงำจากวัฒนธรรมของตัวเองบางส่วน มันคล้ายเป็นความทรงจำของชนชาติ ว่าก็น่าจะประมาณนั้น นั่นคือว่า เรามีแนวโน้มที่เกลียดชังบางชนชาติที่ต่างไปจากเรา โดยว่าอันที่จริง เมื่อแรกที่เราเริ่มรู้สึกเกลียดนั้น เราก็อาจจะยังไม่ได้รู้จักกับผู้คนในชนชาตินั้นๆ เลยด้วยซ้ำไป มันมีแต่เพียงข้อมูลที่เราไม่รู้แน่ชัด เป็นแต่เพียงการได้ยินได้ฟังมาเท่านั้นเอง และนั่นเอง เราก็ปักใจ เชื่อ และมันก็กลายเป็นความเชื่อที่ฝังแน่นเหลือเกิน จนเมื่อเติบโตขึ้น เราก็พบว่า ความรู้สึกนั้นมันแน่นหนา จนยากจะคลี่คลาย หรือบางครั้งมันก็เป็นปราการที่ทำให้เราไม่อาจเข้าไปเรียนรู้วัฒนธรรมของชนชาติที่เราเกลียดชังนั้น แม้ว่าเราจะมีโอกาสอยู่ก็ตาม

นอกจากความขัดแย้ง หรือความเกลียดชังนั้นแล้ว มันก็ยังมีความเชื่อที่ติดแน่นมาแต่เยาว์วัยว่า บางชนชาตินั้นต่ำต้อยกว่าเรา เช่นนั้นความรู้สึกที่พัฒนาขึ้นก็จะเป็นไปในทางสองทาง คือ การดูถูก หรือไม่ถ้าเป็นไปในทางบวกขึ้นอีกนิด ก็จะเป็นว่า เราเห็นอกเห็นใจ อย่างไรก็ตาม ในสองทางนี้ เราก็กระทำต่อพวกเขาเหล่านั้นแบบเดียวกัน คือยกตัวเองไว้สูงกว่าพวกเขาเหล่านั้น อาจจะทั้งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม และในทางตรงกันข้าม เราก็พร้อมที่จะสยบยอม หรือเอาอกเอาใจกลุ่มคนที่เราเชื่อว่าเขาสูงส่งกว่าเรา


นั่นก็คือ การตัดสินโดยที่เราไม่ได้ตัดสินจากการศึกษาเรียนรู้ของเราเอง หากแต่ว่า มันเป็นการตัดสินที่มีมานาน และเราก็รับเอาการตัดสินนั้นมา แล้วก็เชื่อว่านั่นเป็นความชอบธรรมอย่างยิ่ง

ตัวอย่างหนึ่งที่เราจะพบเห็นโดยทั่วไปก็คือ คนไทยเกลียดพม่า เพราะในบทเรียนประวัติศาสตร์เมื่อยังเด็กสอนเรามาอย่างนั้นว่า พม่ารุกรานเรามาอย่างไร หนัง ละคร หรือหนังสือนิยายทั้งหลายที่กล่าวถึงเนื้อหาเหล่านี้ ก็ทำให้เห็นว่าพม่าไปในทางเลวร้าย แม้ว่านั่นจะเป็นเทคนิคในการเขียนบทละคร นิยาย เพื่อให้คนไทยที่เป็นฝ่ายเราปรากฏตัวอย่างงดงาม หรือในหนังสือเรียนอีกเหมือนกันที่บอกว่า ชนกลุ่มน้อย ชาวเขา อาศัยอยู่ในป่า ทำไร่เลื่อนลอย และเป็นผู้ทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ในเรื่องนี้แม้ในหนัง ละคร พวกเขาอาจจะไม่ได้ดูเลวร้ายนัก แต่ก็ถูกยกมาเป็นเรื่องตลก ล้อเลียนไป แล้วผู้คนส่วนใหญ่ก็เชื่อเสียสนิทใจว่า ชาวเขาทำลายป่า โดยไม่ได้ศึกษา และรับรู้อย่างแท้จริง


นั่นเอง โดยธรรมชาติของการปกป้องตัวเองของมนุษย์ เราจึงมีแนวโน้มที่จะดูถูก และเกลียดชังคนอื่น ชนชาติอื่น ด้วยเราได้ฟังเรื่องราวของพวกเขาในทางที่เลวร้ายมานานนั่นเอง มากไปกว่านั้น เราต่างมีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่าตัวเองนั้นดีกว่าคนอื่น เข้าข่ายที่ว่าใครฝันคนนั้นก็เป็นพระเอก หรือนางเอก ประมาณนั้น พร้อมกันนั้นสิ่งที่ควบคู่มากับอคติเหล่านี้คือความคิดเหมารวม เช่น เมื่อเราฟังข่าวว่า ชาวเขาค้ายาเสพติด เมื่อเราพบเห็นชาวเขา เราก็มีแนวโน้มที่จะคิดอย่างนั้น หรืออย่างน้อยก็คิดอย่างนั้นไว้ก่อน หรือเราฟังข่าวว่ามุสลิมก่อการร้าย เมื่อเราเจอมุสลิมเราก็มีแนวโน้มที่จะคิดอย่างนั้นไว้ก่อน เป็นต้น


เช่นนั้นแล้ว หากเราจะพัฒนาตัวเองไปสู่ความเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะไปให้พ้นอคติ หรือแนวโน้มที่จะเป็นไปเหล่านี้ นั่นก็อาจไม่ใช่เพื่อพวกเขาเหล่านั้น แต่ก็อาจเพื่อความงดงามในหัวใจของเรานั่นเอง

บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
นอกจากนอกหน้าต่างที่วิ่งผ่านไปตามถนนหนทาง ผ่านทิวทัศน์มากมาย ผ่านแผ่นดิน สายน้ำ ที่คนเดินทางได้เฝ้ามอง สิ่งหนึ่งที่คนเดินทางต้องผ่านพบเสมอ และบางครั้งบางคราว มันก็ยังกลายเป็นที่พักแรมจำเป็นก็ยังมี และที่ๆ เราจะต้องนั่งจับเจ่าอยู่เสมอก็คือ ชานชาลา เรื่องเล่ามากมายหลายเรื่องที่ได้ยินได้ฟังจากนักเดินทางก็มักมีเรื่องของชานชาลาอยู่ด้วยเสมอ
นาโก๊ะลี
เรามีโลกจริงเอาไว้....เพื่อให้เราได้ตระหนักรู้ถึงการมีชีวิต ให้เราได้เรียนรู้ถึงปรากฏการณ์ เงื่อนไขต่างๆ มีภาระหลากหลายว่าตั้งแต่เรื่องการทำมาหากิน การดูแลครอบครัว และผู้คนรอบข้างแวดล้อม และส่วนใหญ่แล้วดูเหมือนว่า เมื่อเราอยู่ในโลกนี้นั้น เรามักมีทุกข์มาก ยุคสมัยได้นำพาเราทั้งหลายดำเนินชีวิตมาถึงวาระที่ ความเป็นเมืองกับชนบทแทบไม่เหลือเส้นแบ่งอีกต่อไปแล้ว ต่างกันหน่อยตรงที่ว่า ชนบทยังไม่มีรถติดมากนัก แต่ก็เริ่มเห็นบ้างแล้ว ชนบทยังมีทุ่งนา แม่น้ำลำคลองยังใสสะอาด แต่เมื่อดูที่ระบบการดำเนินชีวิต เราแทบไม่เห็นความต่างนั้นแล้ว ว่าก็ ชาวนาซื้ออาหารถุงไปนา เพราะเร่งรีบ เป็นอย่างนั้น…
นาโก๊ะลี
เราต่างเติบโตมาอยู่ร่วมยุคสมัย พบเห็นโลกเป็นไปเสมอเหมือน อาจหลงลืมบางเรื่องลางเลือน แต่บางสิ่งเรากลบเกลื่อนความทรงจำ
นาโก๊ะลี
อ้ายไพทูรย์ พรหมวิจิตร เคยบอกว่า นี่เป็นที่นาผืนสุดท้ายของเชียงใหม่ ว่าก็คือมันเป็นที่นาผืนสุดท้ายที่อยู่ใกล้เมืองมากที่สุด นั่นคือบริเวณบ้านทุ่งเกวียน บ้านสันป่าสัก ตำบลหนองจ๊อม วันนั้นมันก็เป็นทุ่งนาที่มีคลองน้ำไหลผ่าน ชาวบ้านชาวนาหาปลาจากคลองซึ่งมีอยู่มากมาย ตกค่ำฝูงนกกระยางบินตัดฟ้ามาเป็นกลุ่ม แปลขบวนเป็นเส้นเป็นสาย เมื่อล่วงเข้าสู่เวลาค่ำ เสียงทุ่งนา เสียงรัตติกาลของทุ่งนา นั่นก็คือแมลงกลางคืนดังท่วมทุ่ง รอบๆ บริเวณผืนนานี้อาจมีบ้านจัดสรรอยู่บ้าง หลายคนที่มาอยู่ในแถบนี้ที่ย้ายมาจากในเมืองบอกว่าที่นี่น่าอยู่ มันเงียบสงบด้วย และก็ไม่ลำบากกับการเข้าเมือง…
นาโก๊ะลี
เฝ้ามองบางพื้นที่ ความจริงคือหลายพื้นที่ ที่พบ หรือความจริงอีกอย่างมันอาจจะเป็นทุกพื้นที่ ทุกสถานที่เหล่านี้มีผู้คนอาศัยอยู่ ดำรงชีวิต ประกอบกิจการงาน และมีหลายผู้คนวนเวียนเข้ามา ทั้งมาร่วมอยู่อาศัย ประกอบการงาน หรือกระทั่งเพียงผ่านมาเยี่ยมเยือน เช่นนั้นแล้ว ในสถานที่นั้นๆ มันจึงมีการเปลี่ยนแปลงผู้อยู่อาศัยอยู่เสมอ นั่นมันไม่ได้คงที่ ในฐานะอาคันตุกะ วาระหนึ่งเราพบคนหนึ่ง แต่เมื่อต่างวาระ เราก็พบคนที่ต่างไป และนั่นยังหมายความว่า อาคันตุกะผู้มาเยือนก็ต่างออกไป วาระหนึ่งเราอาจจะพบคนผู้หนึ่งเมื่อเราเดินทางมาพบกัน หากแต่ในอีกวาระหนึ่ง เราก็พบคนอีกผู้หนึ่งนั่นเอง…
นาโก๊ะลี
ค่ำวันที่อากาศบนภูเขาหนาวจับใจ เราซ้อนมอเตอร์ไซค์มุ่งขึ้นดอย หมู่บ้านที่เราเคยไปเยือนหลายครั้งเมื่อหลายปีก่อน ว่าไปก็น่าจะเลยห้าปีมาแล้ว ด้วยความที่รู้สึกอยู่ว่า เวลาผ่านมานานขนาดนี้ หลายอย่างก็คงเปลี่ยนไปมากแล้ว ว่าก็คือ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง บ้านเรือนผู้คนแถบถิ่นเชิงเขาเปลี่ยนไปมาก มีคฤหาสน์หลังใหญ่โต ช่างเถิด นั่นไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับการเดินทางของเรานัก เข้าเขตภูเขาอากาศเริ่มเย็นยะเยือกมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สุดเราก็ล่วงลึกเข้าไปในภูเขา ถนนฝุ่นที่เราเคยพบเห็นสัมผัสคุ้นเคยในอดีตกลับมาอีกครั้ง จนถึงหมู่บ้าน บรรยากาศในทรงจำก็เริ่มโผล่ปรากฏ
นาโก๊ะลี
  คงไม่มีใครได้ดั่งใจเรา เพราะวิถีของเขาก็แตกต่างผู้คนก็ล้วนเดินบนหนทาง ที่ถากถางสร้างมาด้วยตัวเอง
นาโก๊ะลี
ภาพเบื้องหน้า....นาข้าวเป็นสีทอง ทั้งรวงข้าว ต้นข้าวล้วนเป็นสีทอง นอกจากภาพนั้น ทุ่งก็เจอกลิ่นหอมของข้าวใหม่ลอยมาจางๆ ต้นข้าวบางส่วนยังยืนต้น บางส่วนก็ล้มลงไป ทั้งที่เพราะต้นงามสูงเกินไปจึงล้ม บ้างล้มเพราะพายุฝนปลายฤดูความทรงจำแรกที่โผล่ปรากฏ เรื่องเล่าของคณะคนเมืองที่ไปเดินป่าศึกษาวิถีชีวิตคนปกาเกอะญอบนดอยสูงของเทือกเขาเมืองเชียงใหม่ ระหว่างที่เดินไป ชายหนุ่มคนหนึ่งมองไปที่เชิงเขาเบื้องหน้า แล้วก็อุทานว่า "โอ้โห...ทุ่งหญ้าสวยมากเลย" เจ้าบ้าน และผู้ที่พอรู้จักทุ่งนั้นกล่าวออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า "นั่นไม่ใช่ทั่งหญ้า แต่มันคือทุ่งข้าว" ทันใดนั้นชายหนุ่มคนดังกล่าวก็ถลาวิ่งไปเบื้องหน้าเต็มกำลัง…
นาโก๊ะลี
ทิวแถวของผู้คนที่เดินทางจาริกแสวงบุญ กลางเปลวแดดที่แผดเผา ก่อนที่ลมหนาวจะมาถึง กระบวนผู้คนที่เดินทางนี้ ได้ย่ำเดินเพื่อนำเสนอข่าวคราวความป่วยไข้ของสายน้ำ และผืนแผ่นดิน ด้วยก้าวย่างแห่งการภาวนา วาระนี้เอง ในฐานะผู้ร่วมทางคราวนี้ ที่เราได้เดินเท้าเป็นทางไกลกว่าแปดสิบกิโล ลัดเลาะ และพักอยู่ตามหมู่บ้านในแถบลุ่มน้ำที่เราต่างปรารถนาฟื้นคืนชีวิตให้สายน้ำนั้น เสียงกลองนำขบวนดังอยู่ตลอดระหว่างการเดินทาง ไม่หรอก....ไม่ใช่เสียงกลองที่ตีตามจังหวะการก้าวเดิน ซ้าย ขวา ซ้าย หากแต่เป็นเสียงกลองที่ตีเพื่อเตือนเราให้อยู่กับการรับรู้ถึงการก้าวเดินของเรา.......... ชีวิตผู้คนพานพบ ประสบ สำเร็จ…
นาโก๊ะลี
หลายครั้งในการสนทนาถึงนิยายกำลังภายใน มีหลายเรื่องในใจผู้คนที่กล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันตามความชอบของตน นั่นเป็นธรรมดาอย่างยิ่ง อุ้ยเสี่ยวป้อ อาจไม่ได้ฮือฮามากนัก(มั้ง)ในการสนทนาของผู้คน แต่ในการวิจารณ์หลายหนที่พบในหนังสือของเซียนนิยายจีนทั้งหลาย ต่างก็ยกย่องเรื่องอุ้ยเสี่ยวป้ออยู่ไม่น้อย ในประเด็นที่ว่าด้วยมิตร หลายคนไม่ชอบอุ้ยเสี่ยวป้อ เพราะกะล่อน เจ้าชู้ แต่คุณธรรมของอุ้ยเสี่ยวป้อที่สำคัญก็คือ เขามีความรักต่อทุกคน เบื้องแรกเขากราบประมุขพรรคฟ้าดิน (ใช่ชื่อพรรคนี้หรือเปล่าไม่แน่ใจครับ) เป็นอาจารย์ เขาก็มีความภักดีอย่างยิ่งต่ออาจารย์ เมื่อเข้าวังกลายเป็นพระสหายของฮ่องเต้ชิง…
นาโก๊ะลี
“ไม่มีหนทางไปสู่สันติ หากแต่ว่าสันตินั่นแหละคือหนทาง” นี่เป็นคำกล่าวของ เอ เจ มัสเต นั่นหมายความว่า ตราบที่มนุษย์ยังตามหา แสวงหา ค้นหาสันติ พวกเขาทั้งหลายจะไม่มีทางได้พบมัน นั่นเพราะว่าปลายทางแห่งสันตินั้นอาจจะไม่ได้มีอยู่ หากแต่ว่า ทางเดินบางทางต่างหากคือสันติ เช่นนั้นแล้วน่าสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าผู้คนทั้งหลายผู้แสวงหาสันตินั้น พวกเขาเดินอยู่บนทางสายไหน พวกเขาเดินอยู่บนทางที่ชื่อสันติหรือไม่ แต่กระนั้น ที่สุดแล้ว ทางแห่งสันติมันไม่ได้เป็นรูปธรรม แต่ทางเส้นนั้นทอดยาวอยู่อย่างไม่มีจุดสิ้นสุดอยู่ในใจ อยู่ในจิตสำนึกของเราเอง มันทอดยาวขนานไปกับทางแห่งความเคียดแค้น ชิงชัง ว่ากันมาว่า…
นาโก๊ะลี
เคยได้ยินเรื่องเล่าหนึ่งว่า มหาเศรษฐีคนหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่โตในประเทศแห่งหนึ่ง เขาพูดกับใครต่อใคร (ซึ่งแน่นอนว่าคำพูดของเขามีอิทธิพลต่อคนทั้งประเทศ ด้วยว่าผู้คนต่างก็อยากรวยอย่างเขานั่นเอง) ว่า ในชีวิตของเขา สามารถให้อภัยคนได้สามครั้ง ว่าก็คือ ในงานของเขา ลูกน้องของเขา เมื่อทำผิดครั้งแรก เขาอภัย ทำผิดครั้งที่สอง เขายังอภัย ทำผิดครั้งที่สาม เขาให้อภัย และเป็นโอกาสสุดท้าย แต่เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นอีก ก็จะถูกไล่ออก ครั้งหนึ่ง มีคนผู้แสวงหาถามผู้เฒ่าชนบทคนหนึ่ง ว่าเราจะให้อภัยคนได้สักกี่ครั้ง หากว่ามีคนๆ หนึ่งทำผิดต่อเราซ้ำแล้วซ้ำเล่า คำตอบของผู้เฒ่าคือ “ไม่มีที่สิ้นสุด…