Skip to main content

วรรณกรรมจากแดนไกลเล่มนี้ คงไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนในความหมายที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมจินตนาการและการผจญภัยอันสนุกสนานของเด็ก ๆ ในแบบเดียวกับ “แฮร์รี่ พอตเตอร์” แม้ว่าชื่อเรื่องจะฟังดูชวนฝัน เสริมสร้างจินตนาการแบบเดียวกับ “เจ้าชายน้อย” ของ อังตวน เดอ เซงเตก ซูเปรี ก็ตาม


ตรงกันข้ามทีเดียวนี่เป็นวรรณกรรมที่เหมาะสำหรับนักอ่านประเภท “ฮาร์ดคอร์” โดยแท้ ซึ่งวรรณกรรมประเภทนี้เนื้อหาสาระจะนำมาซึ่งความบันเทิงประทับใจ เนื้อหาสาระอันเข้มข้นและลีลาลูกเล่นในการเล่าเรื่องต่างหากที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ ไม่ใช่สาระบันเทิงแบบรายการ “ตาสว่าง” ที่ดูแล้วชวนให้มืดมัวด้วยอคติและความไม่เข้าใจมากยิ่งขึ้น หรือความบันเทิงพร้อมสาระแบบเดียวกับทอล์คโชว์หรือละครหลังข่าว


มาตาปารี เด็กชายจากดวงดาว” เป็นผลงานเขียนของ เอ็มมานูเอล ดอนกาลา นักเขียนจากสาธารณรัฐคองโก แห่งทวีปแอฟริกา และแปลเป็นไทยโดยนักเขียนรางวัลซีไรท์นวนิยายของไทย งามพรรณ เวชชาชีวะ


เอ็มมานูเอล ดอนกาลา เป็นชื่อไม่คุ้นหูของวงการนักอ่านบ้านเราซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาเพราะหากไม่มีการแปลออกมาเป็นไทยแล้วก็ยากที่คนไทยจะรู้จัก หรือแม้เมื่อแปลเป็นไทยแล้วหลายคนก็ไม่คุ้นหูอยู่ดีเพราะรสนิยมการอ่านจะเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงวรรณกรรมประเภทนี้ อย่างไรก็ตามต้องขอชื่นชมนักแปลและสำนักพิมพ์ที่กล้าพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมาแม้จะคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้วว่าผลลัพธ์ในแง่ของยอดขายจะเป็นอย่างไร


เอ็มมานูเอล ดอนกาลา เป็นทั้งนักเขียนและนักวิชาการ เขาเคยสอนในมหาวิทยาลัยบราซซาวิล ในสาธารณรัฐคองโก ก่อนจะย้ายไปอยู่แมสซาซูเซตส์ และสอนที่ไซมอนส์ ร็อค แห่งมหาวิทยาลัยบาร์ด เขามีความสนใจเป็นพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเคมี ซึ่งเขาได้สอดแทรกเกร็ดความรู้ด้านนี้ไว้โดยทั่วไปในวรรณกรรมเรื่องนี้


ข้อสังเกตประการหนึ่งเมื่อได้อ่านประวัติเบื้องต้นของเขาก็คือ เขาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สนใจการเขียนวรรณกรรมซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ในวงการวรรณกรรมของเมืองไทย ที่นักเขียนกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัยจะแยกออกจากกันค่อนข้างเด็ดขาด นักวิชาการเป็นเพียงแค่กรรมการตัดสินวรรณกรรมประจำปีในรายการต่าง ๆ ในขณะที่นักเขียนมีสถานะที่ตกต่ำลงทุกวัน? อันเนื่องมาจากการผลิตงานที่ไร้คุณภาพและไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป ?


แม้ว่าบรรดานักเขียนและ/หรือศิลปินจะพยายามเข้ามามีบทบาทในสังคมการเมือง (แบบเดียวกับนักวิชาการ)โดยการเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับ “ภาคประชาชน” ก็ไม่ได้ทำให้สถานะนักเขียนและ/หรือศิลปินดูดีขึ้นมาแต่ประการใด


นักเขียนและ/หรือศิลปินบางรายอาศัยกระแสสังคมการเมือง ที่มีความขัดแย้งแหลมคมระหว่างสองขั้วฉวยโอกาสผลักดันตนเองให้เข้าไปมีบทบาทร่วม โดยยึดถือเอาแนวคิดในเรื่องชาตินิยมคับแคบล้าสมัยเป็นตัวนำทางโดยคิดเอาง่าย ๆ ว่าแนวคิดในเรื่องชาตินิยมอย่างประเด็นเรื่อง “เขาพระวิหาร” จะสามารถสร้างความนิยมชมชอบหรือได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญโดยไม่ดูข้อเท็จจริงหรือคิดให้ลึกซึ้งว่าแนวคิดเรื่องชาตินิยมขาดสติที่สมาทานอยู่นั้น ก่อให้เกิดผลดีผลเสียแท้จริงอย่างไรบ้างต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งการหาข้าวกินไปวัน ๆ นั้นสำคัญกว่าการถกเถียงเคลื่อนไหวไร้สาระเรื่องเขาพระวิหาร-นี่เป็นตัวอย่างของนักเขียนและ/หรือศิลปินที่ไม่รู้จักโตทางความคิดซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ “ตก” ขบวนรถไฟแห่งความเปลี่ยนแปลง


วรรณกรรมฉลาด ๆ และมีอารมณ์ขันอย่างร้ายกาจ เรื่อง “มาตาปารี” นี้อาจช่วยสร้างสรรค์คำตอบหรือหาทางออกให้ได้บ้างในแง่ของการไม่ยึดติดกับแนวคิดอะไรเลยไม่ว่าจะเป็น “สังคมนิยม” “กษัตริย์นิยม” และแน่นอน ”ชาตินิยม” ซึ่งต่างก็มีข้อจำกัดและล้วนแล้วแต่กดขี่เอาเปรียบประชาชนด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น


เรื่องราวต่าง ๆ ในวรรณกรรมเรื่อง “มาตาปารี” ถูกถ่ายทอดผ่านสายตาของเด็กชายที่ชื่อ “มาตาปารี” เขาเป็นเด็กแฝดคนที่สามที่คลอดออกมาทีหลังพี่ชายสองคนนานมากจนใคร ๆ พากันคิดว่าแม่มีเพียงแฝดสองเท่านั้น มาตาปารีมีนิสัยแตกต่างกับพี่ชายอีกสองคนอย่างสิ้นเชิง และพี่ชายทั้งสองคนพากันกลัวเขาเพราะความแปลกประหลาดบางอย่างของเขา


แม้ว่าเรื่องราวจะถูกเล่าผ่านสายตาของเด็กแต่เนื้อหาที่เล่าหาได้เป็นแบบเด็ก ๆ ไม่ วรรณกรรมพาผู้อ่านเข้าสู่การวิพากษ์วิจารณ์ของตัวละครเด็กอย่างมีอารมณ์ขัน แต่ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นไปด้านต่าง ๆ ในยุคแห่งสาธารณรัฐคองโก วรรณกรรมเล่มนี้ก็ไม่ละเลยที่จะวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิอาณานิคมเสียก่อนเป็นเบื้องแรก


คนฝรั่งเศสหาผลประโยชน์จากเรามากเสียจนเมื่อยี่สิบปีก่อนเราลุกฮือต่อต้านการเอาเปรียบที่เรียกว่า “ลัทธิอาณานิคม” และเราก็ปลดแอกจนเป็นไท หมายความว่าเรากุมชะตาชีวิตตัวเองได้ แต่ในเมื่อเราไม่สามารถขับไล่ทุกอย่างที่คนฝรั่งเศสเอามาให้ และเราใกล้ชิดผูกพันมาเกือบหนึ่งศตวรรษ เราจึงนำบรรพบุรุษกลับมาโดยยังคงรักษาพระเยซู คัมภีร์ไบเบิลและไม้กางเขนไว้ เรายังคงเก็บรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้เคียงข้างภาษาของเรา เช่นเดียวกับเสื้อผ้าคนขาว ไวน์แดง เนยแข็งกามองแบร์และขนมปังบาแก็ต เหมือนกับว่าเราเกิดใหม่จากสองรากเหง้า” (หน้า 13-14)

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
เย็นวันหนึ่ง สายรุ้งออกไปเล่นฟุตบอลเหมือนเคย แต่วันนี้แม่ของเขาไม่ไปด้วย เพราะมีเพื่อนของแม่มาหาที่บ้าน สายรุ้งจึงไปกับเด่นสองคน สายรุ้งใส่ชุดกีฬาสีขาวตัวโปรด ใส่รองเท้าสีแดงที่แม่เพิ่งซื้อให้ใหม่ ส่วนเด่นใส่สีแดงทั้งชุด“ใส่ชุดนี้แล้วทำประตูได้ทุกที” เด่นคุย สายรุ้งนำฟุตบอลไปด้วย เขาใส่ไว้ในตะกร้าด้านหน้าของจักรยาน แล้วก็บึ่งไปยังสวนสาธารณะพร้อมเด่นเหมือนเคย มีเพื่อนบางคนรออยู่แล้ว พวกเขากำลังเล่นลิงชิงบอลกันอยู่เป็นการวอร์มร่างกาย จากนั้นก็แบ่งทีมกัน พอแบ่งทีมเรียบร้อยแล้ว พวกเขาก็เล่น แต่วันนี้มีเด็กสองคนที่สายรุ้งไม่เคยเห็นมาก่อนมาขอเล่นด้วย“สองคนนี่เพิ่งย้ายมา” เด่นกระซิบ “…
นาลกะ
ตอนนี้ปิดเทอมแล้ว สายรุ้งใช้เวลาอยู่กับแม่เกือบตลอด มีเพียงที่เขาออกไปเที่ยวเล่นกับเด่นหรือไปที่บ้านคุณตาเท่านั้นที่ห่างจากสายตาแม่ คุณตาจะสอนให้เขาปลูกต้นไม้ ให้เขาเห็นความสำคัญของต้นไม้ที่มีต่อชีวิตและต่อสิ่งแวดล้อม“ต้นไม้แทบไม่เหลือแล้ว” คุณตาบ่น “มีแต่หมู่บ้านจัดสรร”,คุณตาชอบบ่นเกี่ยวกับหมู่บ้านจัดสรรอยู่บ่อย ๆ คุณตาบอกว่าหมู่บ้านจัดสรรทำลายสิ่งแวดล้อม แต่สายรุ้งยังไม่เข้าใจว่าหมู่บ้านจัดสรรจะทำลายสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรแม่จะหาโอกาสพาสายรุ้งไปทำกิจกรรมต่างๆ อยู่บ่อยครั้งเพื่อไม่ให้สายรุ้งเบื่อที่ต้องอยู่แต่ในบ้าน   เย็นวันหนึ่งแม่พาสายรุ้ง เด่นและสุนัขโอเว่นไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ…
นาลกะ
เมื่อมะม่วงต้นใหญ่ที่หน้าบ้านหักโค่นลง คุณปู่ เด่น และสายรุ้งก็จัดการเลื่อยออกเป็นท่อน ขัดอย่างดี แล้วทำเป็นโต๊ะกับม้านั่ง สายรุ้งมักจะชอบนั่งทำการบ้านตรงนั้น สัตว์หลากชนิดที่เลี้ยงไว้ก็จะเข้ามาห้อมล้อมสายรุ้ง โดยเฉพาะเจ้าโอเว่น สุนัขแสนรู้ ที่ชอบกระโดดให้ดูอยู่เสมอแล้วเวลาที่เด่นหรือเพื่อน ๆ มาหาสายรุ้งที่บ้าน โอเว่นก็มักจะอวดการกระโดดสูงให้เพื่อน ๆ ของสายรุ้งชม แต่แล้วก็เกิดเหตุร้ายก็เกิดขึ้นกับโอเว่น จนต้องนอนซมไปหลายวัน คืนหนึ่งมีฝนตกหนักอย่างไม่ลืมหูลืมตาทั้งคืน ลมก็พัดแรง แล้วพอรุ่งเช้าปรากฏว่ากิ่งไม้หักรานไปหลายกิ่งเพราะแรงลมพัดกระหน่ำ ใบไม้หล่นเกลื่อนกราดเต็มลานหน้าบ้าน…