Skip to main content

วรรณกรรมจากแดนไกลเล่มนี้ คงไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนในความหมายที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมจินตนาการและการผจญภัยอันสนุกสนานของเด็ก ๆ ในแบบเดียวกับ “แฮร์รี่ พอตเตอร์” แม้ว่าชื่อเรื่องจะฟังดูชวนฝัน เสริมสร้างจินตนาการแบบเดียวกับ “เจ้าชายน้อย” ของ อังตวน เดอ เซงเตก ซูเปรี ก็ตาม


ตรงกันข้ามทีเดียวนี่เป็นวรรณกรรมที่เหมาะสำหรับนักอ่านประเภท “ฮาร์ดคอร์” โดยแท้ ซึ่งวรรณกรรมประเภทนี้เนื้อหาสาระจะนำมาซึ่งความบันเทิงประทับใจ เนื้อหาสาระอันเข้มข้นและลีลาลูกเล่นในการเล่าเรื่องต่างหากที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ ไม่ใช่สาระบันเทิงแบบรายการ “ตาสว่าง” ที่ดูแล้วชวนให้มืดมัวด้วยอคติและความไม่เข้าใจมากยิ่งขึ้น หรือความบันเทิงพร้อมสาระแบบเดียวกับทอล์คโชว์หรือละครหลังข่าว


มาตาปารี เด็กชายจากดวงดาว” เป็นผลงานเขียนของ เอ็มมานูเอล ดอนกาลา นักเขียนจากสาธารณรัฐคองโก แห่งทวีปแอฟริกา และแปลเป็นไทยโดยนักเขียนรางวัลซีไรท์นวนิยายของไทย งามพรรณ เวชชาชีวะ


เอ็มมานูเอล ดอนกาลา เป็นชื่อไม่คุ้นหูของวงการนักอ่านบ้านเราซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาเพราะหากไม่มีการแปลออกมาเป็นไทยแล้วก็ยากที่คนไทยจะรู้จัก หรือแม้เมื่อแปลเป็นไทยแล้วหลายคนก็ไม่คุ้นหูอยู่ดีเพราะรสนิยมการอ่านจะเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงวรรณกรรมประเภทนี้ อย่างไรก็ตามต้องขอชื่นชมนักแปลและสำนักพิมพ์ที่กล้าพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมาแม้จะคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้วว่าผลลัพธ์ในแง่ของยอดขายจะเป็นอย่างไร


เอ็มมานูเอล ดอนกาลา เป็นทั้งนักเขียนและนักวิชาการ เขาเคยสอนในมหาวิทยาลัยบราซซาวิล ในสาธารณรัฐคองโก ก่อนจะย้ายไปอยู่แมสซาซูเซตส์ และสอนที่ไซมอนส์ ร็อค แห่งมหาวิทยาลัยบาร์ด เขามีความสนใจเป็นพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเคมี ซึ่งเขาได้สอดแทรกเกร็ดความรู้ด้านนี้ไว้โดยทั่วไปในวรรณกรรมเรื่องนี้


ข้อสังเกตประการหนึ่งเมื่อได้อ่านประวัติเบื้องต้นของเขาก็คือ เขาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สนใจการเขียนวรรณกรรมซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ในวงการวรรณกรรมของเมืองไทย ที่นักเขียนกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัยจะแยกออกจากกันค่อนข้างเด็ดขาด นักวิชาการเป็นเพียงแค่กรรมการตัดสินวรรณกรรมประจำปีในรายการต่าง ๆ ในขณะที่นักเขียนมีสถานะที่ตกต่ำลงทุกวัน? อันเนื่องมาจากการผลิตงานที่ไร้คุณภาพและไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป ?


แม้ว่าบรรดานักเขียนและ/หรือศิลปินจะพยายามเข้ามามีบทบาทในสังคมการเมือง (แบบเดียวกับนักวิชาการ)โดยการเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับ “ภาคประชาชน” ก็ไม่ได้ทำให้สถานะนักเขียนและ/หรือศิลปินดูดีขึ้นมาแต่ประการใด


นักเขียนและ/หรือศิลปินบางรายอาศัยกระแสสังคมการเมือง ที่มีความขัดแย้งแหลมคมระหว่างสองขั้วฉวยโอกาสผลักดันตนเองให้เข้าไปมีบทบาทร่วม โดยยึดถือเอาแนวคิดในเรื่องชาตินิยมคับแคบล้าสมัยเป็นตัวนำทางโดยคิดเอาง่าย ๆ ว่าแนวคิดในเรื่องชาตินิยมอย่างประเด็นเรื่อง “เขาพระวิหาร” จะสามารถสร้างความนิยมชมชอบหรือได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญโดยไม่ดูข้อเท็จจริงหรือคิดให้ลึกซึ้งว่าแนวคิดเรื่องชาตินิยมขาดสติที่สมาทานอยู่นั้น ก่อให้เกิดผลดีผลเสียแท้จริงอย่างไรบ้างต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งการหาข้าวกินไปวัน ๆ นั้นสำคัญกว่าการถกเถียงเคลื่อนไหวไร้สาระเรื่องเขาพระวิหาร-นี่เป็นตัวอย่างของนักเขียนและ/หรือศิลปินที่ไม่รู้จักโตทางความคิดซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ “ตก” ขบวนรถไฟแห่งความเปลี่ยนแปลง


วรรณกรรมฉลาด ๆ และมีอารมณ์ขันอย่างร้ายกาจ เรื่อง “มาตาปารี” นี้อาจช่วยสร้างสรรค์คำตอบหรือหาทางออกให้ได้บ้างในแง่ของการไม่ยึดติดกับแนวคิดอะไรเลยไม่ว่าจะเป็น “สังคมนิยม” “กษัตริย์นิยม” และแน่นอน ”ชาตินิยม” ซึ่งต่างก็มีข้อจำกัดและล้วนแล้วแต่กดขี่เอาเปรียบประชาชนด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น


เรื่องราวต่าง ๆ ในวรรณกรรมเรื่อง “มาตาปารี” ถูกถ่ายทอดผ่านสายตาของเด็กชายที่ชื่อ “มาตาปารี” เขาเป็นเด็กแฝดคนที่สามที่คลอดออกมาทีหลังพี่ชายสองคนนานมากจนใคร ๆ พากันคิดว่าแม่มีเพียงแฝดสองเท่านั้น มาตาปารีมีนิสัยแตกต่างกับพี่ชายอีกสองคนอย่างสิ้นเชิง และพี่ชายทั้งสองคนพากันกลัวเขาเพราะความแปลกประหลาดบางอย่างของเขา


แม้ว่าเรื่องราวจะถูกเล่าผ่านสายตาของเด็กแต่เนื้อหาที่เล่าหาได้เป็นแบบเด็ก ๆ ไม่ วรรณกรรมพาผู้อ่านเข้าสู่การวิพากษ์วิจารณ์ของตัวละครเด็กอย่างมีอารมณ์ขัน แต่ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นไปด้านต่าง ๆ ในยุคแห่งสาธารณรัฐคองโก วรรณกรรมเล่มนี้ก็ไม่ละเลยที่จะวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิอาณานิคมเสียก่อนเป็นเบื้องแรก


คนฝรั่งเศสหาผลประโยชน์จากเรามากเสียจนเมื่อยี่สิบปีก่อนเราลุกฮือต่อต้านการเอาเปรียบที่เรียกว่า “ลัทธิอาณานิคม” และเราก็ปลดแอกจนเป็นไท หมายความว่าเรากุมชะตาชีวิตตัวเองได้ แต่ในเมื่อเราไม่สามารถขับไล่ทุกอย่างที่คนฝรั่งเศสเอามาให้ และเราใกล้ชิดผูกพันมาเกือบหนึ่งศตวรรษ เราจึงนำบรรพบุรุษกลับมาโดยยังคงรักษาพระเยซู คัมภีร์ไบเบิลและไม้กางเขนไว้ เรายังคงเก็บรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้เคียงข้างภาษาของเรา เช่นเดียวกับเสื้อผ้าคนขาว ไวน์แดง เนยแข็งกามองแบร์และขนมปังบาแก็ต เหมือนกับว่าเราเกิดใหม่จากสองรากเหง้า” (หน้า 13-14)

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ