Skip to main content

ผมไม่ใช่คอการเมืองอเมริกา แต่ก็พอรู้ว่าประธานาธิบดีของประเทศนี้ชื่อบารัก โอบามา และแม้ผมไม่ได้ติดตามการเลือกตั้งอเมริกาอย่างใกล้ชิด แต่ก็พอรู้ว่าวาระ 2 สมัย ใน 8 ปีของเขานั้นได้หมดลง

ระหว่างนั่งทานอาหารเย็น ไม่รู้อะไรดลใจให้ผมเปิด Youtube ฟังบทสัมภาษณ์ครอบครัวแห่งทำเนียบขาวที่กำลังจะกลายเป็นอดีต นิตยสาร People ได้สัมภาษณ์ประธานาธิบดีและสตรีหมายเลขหนี่งก่อนที่เขาทั้งสองจะกลับมาเป็น นายและนางโอบามา (Mr and Mrs Obama) อีกครั้ง บทสัมภาษณ์ค่อนข้างเรียบง่าย กับคำถามที่เราๆท่านๆอยากรู้ว่า หลังจากนี้พวกเขาจะเป็นอย่างไร พวกเขามองการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอย่างไร และที่ผ่านมาชีวิตในทำเนียบขาวเป็นอย่างไรบ้าง

รายการเปิดด้วยประโยคเด็ดของมิเชล โอบามา ที่เธอได้กล่าวเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้วว่า 'ฉันตื่นมาทุกเช้าในทำเนียบขาวที่ถูกสร้างด้วยแรงงานทาส และเฝ้ามองลูกสาวผิวสีทั้งสองที่แสนสวย ออกจากบ้านเพื่อไปโรงเรียน พลางโบกมือลาคุณพ่อที่ตอนนี้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา'

คำกล่าวนี้มันได้สะท้อนมากขึ้น เมื่อมิเชลตอบคำถามถึงความรู้สึกของเธอต่อพิธีกรว่า 'มันเป็นความรู้สึกเดียวกับการที่ได้มองแม่ของเธอปรับตัวเข้ากับทำเนียบขาว และเธอก็รู้ว่าแม่ของเธอผู้มาจากพื้นเพชนชั้นแรงงานที่ยากจนนั้น ได้ยืนอยู่ที่ระเบียงเดียวกับอดีตประธานาธิบดีทรูแมน และทำหน้าที่ คุณยายหมายเลขหนี่งของประเทศ (the First Grandmother)'

จากนั้นพิธีกรได้ถามบารักว่า คิดอย่างไรกับแม่ยายบ้าง เขาได้ตอบติตตลกว่า เขารักแม่ยายของเขา และแม่ยายของเขาเป็นผู้ปกป้องประธานาธิบดีจากภรรยา เมื่อใดก็ตามที่มิเชลหงุดหงิด แม่ยายจะกระโจนเข้ามาแล้วพูดว่า 'โอบามาเป็นเด็กดี หยุดโวยวายได้แล้วมิเชล'

การมีผู้ใหญ่อยู่ในบ้านเป็นการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างวัยครอบครัว ให้คุณยายได้อบรมสั่งสอนหลานสาวทั้งสองนั้น เป็นการสร้างความต่อเนื่องของสถาบันครอบครัวและสร้างสิ่งแวดล้อมดังที่มิเชลได้เคยเติบโตมา ประธานาธิบดีโอบามากล่าว

นอกจากนี้เขายังได้ย้ำประเด็นที่น่าสนใจว่า การมีแม่ยายอยู่ร่วมกันในทำเนียบขาวเป็นสิ่งสนุก สนุกตรงที่ได้เฝ้ามองแม่ยายค้นพบสิ่งใหม่ๆ ซี่งต่างจากข้อจำกัดของเวลาและสถานที่ที่แม่ยายได้เติบโตขึ้นมา เพราะชาวอเมริกันเชื้อสายแฟริกันในบางรุ่นนั้น ไม่ได้ให้โอกาสตัวเองที่จะมีความฝันอันยิ่งใหญ่ (Dream Big) เกี่ยวกับอนาคต และในหลายครั้งแม่ยายก็มักจะคิดว่าเธอทำไม่ควรทำในบางสิ่ง

 

ครอบครัวโอบามา ณ อิตาลี

 

โอบามาได้เล่าให้ฟังต่อว่า เขามีโอกาสได้พาแม่ยายไปกรุงโรม อิตาลี ที่นั่นแม่ยายของเขาได้พบกันพระสันตะปาปา เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ได้เกิดขึ้น และเขาก็สัมผัสได้ถึง 'ความก้าวหน้า' ที่เขาและมิเชลได้ร่วมกันสร้าง และมันได้สะท้อนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมผ่านแววตาของหญิงผิวสีสูงวัยท่านนี้

พิธีกรได้ถามถึงการเลี้ยงลูกของบารักและมิเชล ซี่งบุตรสาวทั้งสองของพวกเขานั้นได้ค่อยๆเติบโตจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ผู้นำประเทศ ประธานาธิบดีโอบามา เล่าให้ฟังว่าการที่บุตรสาวทั้งสองได้อยู่ที่นี่และมีความผูกพันธ์กับประสบการณ์ที่ดีและผู้คนที่อบอุ่น การเติบโตในทำเนียบขาวและต้องจากที่นี่ทำให้ชีวิตของลูกๆแตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ เพราะเมื่อออกจากบ้านแห่งนี้แล้ว ลูกๆจะไม่สามารถกลับมายังบ้านที่พวกเธอได้เติบโตอีกแล้ว

อีกคำถามที่น่าคิดคือระหว่างแปดปีนั้นบารักและมิเชลต้องอยู่ภายใต้ความกดดันที่น้อยคนนักจะเข้าใจ สิ่งเหล่านี้กระทบต่อชีวิตสมรสของทั้งคู่หรือไม่ มิเชลตอบในขณะที่บารักกุมมือเธอไว้ตลอดเวลาว่า ที่นี่ทำให้เธอกับสามีใกล้ชิดกันมากขึ้น จากเดิมที่เธอทำงานและอาศัยอยู่ที่ชิคาโก ส่วนบารักทำงานคนละรัฐและเดินทางกลับบ้านเฉพาะในช่วงสุดสัปดาห์ แต่เมื่อย้ายเข้ามายังทำเนียบทำให้เธอและสามีได้อยู่ด้วยกันมากขึ้น ได้ทานอาหารเย็นด้วยกัน เธอรู้ว่าด้วยภาระหน้าที่อันยากและหนักอึ้งของสามีของเธอ ในความกดดันทั้งหลายเหล่านั้น บารักต้องการแค่ความปรกติธรรมดาและความรักจากครอบครัว ซี่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดของสามีของเธอคือการกดลิฟต์ขึ้นมาชั้นสองของทำเนียบขาวไปยังส่วนที่อยู่อาศัย นั่งลงที่โต๊ะทานข้าว พูดคุยเรื่องสรรเพเหระกับครอบครัว โดยไม่มีใครสนใจว่าวันนี้ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาไปทำอะไรมาบ้าง มิเชลยังได้กล่าวต่ออีกว่า เธอมีความภาคภูมิใจในตัวบารักซี่งไม่ใช่ในฐานะประธานาธิบดี แต่เป็นในฐานะมนุษย์คนหนี่ง เป็นพ่อ เป็นสามีที่ดี และเป็นต้นแบบให้กับคนนับล้านที่มีพื้นเพแตกต่างกัน

ในขณะที่บารัก กล่าวถึงสตรีหมายเลขหนี่งผู้เป็นภรรยาว่า เมื่อเฝ้ามองมิเชลเขายิ่งเคารพในตัวเธอมากขึ้น เพราะว่าไม่ทางใดก็ทางหนี่ง เธอได้ปรับเปลี่ยนตัวเธอไปสู่ชีวิตที่เธอไม่ได้เลือก และไม่มีคู่มือการเป็นสตรีหมายเลขหนี่งให้กับเธอ ในขณะเดียวกันมันก็เป็นเรื่องสนุกที่ได้เห็นคู่ชีวิตและสิ่งที่เธอทำเปล่งประกายและมีอิทธิพลต่อสังคม

พิธีกรได้ถามทั้งคู่ถึงผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาว่าพวกเขาคิดและรู้สึกอย่างไรบ้าง ทั้งบารักและมิเชลมาเห็นด้วยกับแนวทางประชาธิปไตยและการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติไปสู่ประธานาธิบดีคนใหม่ บารัคกล่าวว่าแม้จะมีข้อแตกต่างอย่างมากระหว่างทัศนคติและแนวคิดระหว่างเขาและทีมบริหารชุดใหม่ แต่ท้ายที่สุด เราทั้งหมดคือทีมเดียวกัน เขากล่าวเพิ่มเติมว่า (อมริกา) ที่นี่คือประเทศที่ซับซ้อน ซิกแซกไปมา ไม่ได้ถูกขีดเป็นเส้นตรง มีทั้งขึ้นและลง และชีวิตไม่ได้จบลงแค่นี้ ฉะนั้นการระมัดระวัง ความอ่อนโยน ความปรองดอง ความยุติธรรมและความเท่าเทียมคือสิ่งที่พวกเราทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ

ก่อนลงจากตำแหน่งและคืนหัวโขน บทสัมภาษณ์นี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าครอบครัวโอบามาได้ฝากข้อความอันทรงพลังทั้งคุณค่าของครอบครัว คุณค่าของความฝัน คุณค่าแห่งการลงมือทำ คุณค่าแห่งประชาธิปไตย และคุณค่าแห่งการอยู่ร่วมกัน ซี่งมิได้เป็นประโยชน์เพียงแค่แก่อเมริกันชน แต่เป็นสารที่ส่งถึงเราทุกคนในฐานะพลเมืองแห่งโลก (We are citizen of the world)

 

รับชมบทสัมภาษณ์เผยแพร่เมื่อ 7 ธันวาคม 2559 ฉบับเต็มได้ในลิงค์นี้ครับ
http://people.com/…/0…/00000158-d9d5-da13-ab5f-dfd75fa20000/

บล็อกของ ปิยณัฐ สร้อยคำ

ปิยณัฐ สร้อยคำ
กระแสการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ออกจากสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด การเรียกร้องดังกล่าวมีมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง จนนำไปสู่การลงประชามติในปี 2014 แม้ผลจะออกมาว่า ประชาชนร้อยละ 55 ยังคงเลือกที่จะอยู่รวมกับสหราชอาณาจักรต่อไป  แต่ที่เหลือกว่าร้อยละ 45 นั้นต้องก
ปิยณัฐ สร้อยคำ
ผมไม่ใช่คอการเมืองอเมริกา แต่ก็พอรู้ว่าประธานาธิบดีของประเทศนี้ชื่อบารัก โอบามา และแม้ผมไม่ได้ติดตามการเลือกตั้งอเมริกาอย่างใกล้ชิด แต่ก็พอรู้ว่าวาระ 2 สมัย ใน 8 ปีข
ปิยณัฐ สร้อยคำ
ดาลิต หรือ จัณฑาลนั้น มิได้ถูกทำให้หยุดนิ่งในฐานะกลุ่มชนที่ถูกกดขี่ทางสังคมและไร้ซี่งพัฒนาการแต่เพียงภาพเดียวเท่านั้น แต่ภายใต้การคุ้มครองโดยรัฐ การยกระดับคุณภาพชีวิต และการเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้สิทธิ์ของตนเอง ทำให้ดาลิตค่อยๆก้าวข้ามโชคชะตาที่ถูกเขียนไว้โดยบรรทัดฐานของสังคมผ่านการสร้างอัตลักษณ์และการตระหนักรู้ร่วม ฉะนั้นอนาคตของดาลิตย่อมเปลี่ยนแปลงและมีพลวัตที่น่าติดตามศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพื่ออย่างน้อยที่สุด กลุ่มคนที่ได้รับการกดขี่และละเมิดในสังคมต่างๆ รวมถึงประเทศไทย จะได้มีแรงเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสิทธิ์ในความเป็นมนุษย์ของตนเอง
ปิยณัฐ สร้อยคำ
เราพูดคุยกันเป็นอย่างมากถึงการเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนในฐานะองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค แต่ในขั้นตอนการนำนโยบายมาปฏิบัติในแต่ละประเทศนั้น หน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับกระทรวง มีบทบาทสำคัญและเป็นตัวแสดงหลักในการประสานงานดังกล่าว นอกจากนี้การพิจารณาโครงสร้างของแต่ละรัฐผ่านการมีอยู่ของกระทรวงต่างๆนั้น ทำให้เห็นว่าบรรดาชาติสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง จนนำมาสู่การจัดแบ่งองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์รัฐบาลกลางของแต่ละรัฐ นำมาสู่การจัดทำสังเขปหน่วยงานระดับกระทรวงของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ข้อสรุปที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
ปิยณัฐ สร้อยคำ
ผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าใดนัก แต่ที่ผมทราบคือเมื่อผมเข้าไปเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของอินเดีย ผมแทบจะไม่เห็นพิธีกรรมการรั
ปิยณัฐ สร้อยคำ
เรื่องราวของการอพยพ การพลัดถิ่น มิใช่เรื่องใหม่และไม่ได้เกิดขึ้นในระดับโลก หรือภูมิภาคเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นประเด็