Skip to main content

 

 

ปี พ.ศ.2516 วันที่ 14 ตุลาคม ฉันอยู่ชั้น ป.1 เสียงเพลงมาร์ชของทหารดังให้ได้ยินบ่อย ๆ จากวิทยุที่หัวนอนก๋ง คราวนี้มีคำใหม่ต่างไปจากคำว่า "ปฏิวัติ"
"คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" ครูบอกว่าปฏิรูปคือค่อย ๆ เปลี่ยน ปฏิวัติคือเปลี่ยนทันที
วันนี้ดีจัง มีปฏิรูป ครูบอกให้กลับบ้านได้ตอนสาย ๆ

ปี พ.ศ.2519 วันที่ 6 ตุลาคม ฉันอยู่ชั้น ป.3 ศัพท์ใหม่ที่น่ากลัวมากขึ้นคือคำว่า "คอมมิวนิสต์"
เสียงเฮลิคอปเตอร์มาลงที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียนอีกแล้ว เด็ก ๆ วิ่งออกมาดู

ทหารนำคนเจ็บใส่เปลสนามส่งโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชที่อยู่ติดกับโรงเรียน
มีรอยกระสุนปืนที่เฮลิคอปเตอร์ กลางคืนฉันได้ยินเสียงปืนใหญ่
ก๋งขู่ว่าถ้าซนคอมมิวนิสต์จะจับตัวไป

ปี ต่อ ๆ มา พี่ชายไปเรียนรามคำแหง ปิดเทอมเขากลับบ้านมาพร้อมกับเทปคลาสเซ็ต
เพลงบินหลา เพลงปักษ์ใต้บ้านเรา เพลงคนกับควาย เพลงนกสีเหลือง
พ่อบอกว่าห้ามเปิด เดี๋ยวตำรวจจับ ฉันหิ้วเครื่องเล่นเทปแอบฟังในมุ้ง

ปี 2520 พี่ชายยืนดูแข่งฟุตบอลที่ข้างสนาม หกโมงเย็น เสียงเพลงชาติดังขึ้น
เขาลุกยืน แต่ไม่ตรง ขยับขาไปมา
ผัวะ! ทหารหนุ่มคนหนึ่งเดินเข้ามาตบเขา แล้วแจ้งข้อหาคอมมิวนิสต์ ไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ
พ่อเขียนจดหมายไปลงหนังสือพิมพ์ นายทหารกลับมาขอโทษที่บ้าน

ทักษิณ ชินวัตร
ฉันไม่เคยเลือกเขา

ปี 2549 ฉันร่วมกู้ชาติ ขับไล่ทักษิณ ชินวัตร

ปี 2551 ฉันถอดเสื้อเหลือง เก็บเสื้อสีแดงชั่วคราว
เลือกที่จะไม่เลือก

ปลายปี 2551 ประเทศไทยยับเยินกับสงครามยืดเยื้อที่ทำเนียบรัฐบาล จบลงที่การยึดสนามบิน จบอีกครั้งในงานสงกรานต์ปี 2552 ที่พัทยา กรุงเทพ และทั่วประเทศไทย
ผบ.ทอ.แถลงว่าเหตุการณ์นี้คล้ายกับสมัย 14 ต.ค.16 และ 6 ต.ค.19 เป็นการกระทำที่ต้องการเปลี่ยนประเทศให้เป็นระบอบคอมมิวนิสต์

ประเทศไทยที่จบไม่เป็น ต้องจบแล้วจบอีก
ในเมืองที่มีการประกาศสภาวะฉุกเฉินขั้นร้ายแรง
เมืองที่นายกรัฐมนตรีถูกทุบรถยับเยิน
เมืองที่ฉันแอบคิดว่าคงจะได้พักรบพักหายใจกันสักนิด

ตำรวจฟันธงเหตุการณ์นี้ว่า
"คนร้ายหวังปลิดชีพนายสนธิ  ลิ้มทองกุล"

หมายเหตุ : ภาพทุกภาพคราวนี้ไม่ได้ถ่ายเองค่ะ เก็บมาจากในเว็บไซด์ต่าง ๆ ความที่มีเยอะมากก็เลยไม่ได้เก็บชื่อคนถ่าย ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ และขออนุญาตนำมาเผยแพร่ เนื่องจากเป็นภาพที่ดี มีความหมายโดยแทบไม่ต้องบรรยาย อยากให้คนอื่นได้เห็นด้วยค่ะ

ขอบคุณผู้ถ่ายภาพทุกท่าน ณ ตรงนี้ค่ะ

บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
  วันนี้ตั้งใจขับรถขึ้นไปที่ขุนช่างเคี่ยน เพื่อไปดูพญาเสือโคร่งประจำปีนี้ ตื่นหกโมงเช้า ฟ้ายังมืด อากาศหนาว ออกจากบ้านหกโมงครึ่ง แต่กว่าจะไปถึงแดดก็เริ่มแรงแล้ว รูปนี้ถ่ายพระอาทิตย์ขึ้นที่จุดชมวิว ก่อนถึงโค้งขุนกันต์ ดอยสุเทพ เห็นเส้นขอบฟ้าไกล ๆ ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง จึงเก็บฟ้าและเมืองได้ทั้งเมือง เชียงใหม่ยังมีมุมสวยอยู่
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาออกเดินทางอีกแล้ว ช่วงนี้ดอกพญาเสือโคร่งกำลังจะบาน ต้องตามข่าวกันทุกวันว่าบานถึงไหนแล้ว เพราะจะบานเพียง 7 วันเท่านั้น ภาพชุดนี้ถ่ายเมื่อปีที่แล้ว ตื่นสายไปนิด ไปถึงแปดโมงกว่า ๆ รู้สึกว่าแดดแรงไป ปีนี้คงต้องออกจากบ้านหกโมงเช้า     แดดแรงไปนิดนึงจริง ๆ แต่เก้าอี้ที่ไร้คนนั่ง คงไม่หนาวเหน็บเหมือนอากาศตอนนี้     ข้อดีของแดดจ้า ๆ ก็ทำให้ฟ้าเป็นสีฟ้า ดอกไม้สีชมพูเต็มต้น ตัดกับฟ้าสีฟ้าโดยไม่ต้องทำอะไรเลย ความทุกข์ทรมานอย่างหนึ่งของช่างภาพ คือต้องวิ่งตามแสง โดยเฉพาะแสงเช้า     ดอกบ๊วย ขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน ภาพนี้ใช้เลนส์ซูม ดึงเข้ามาใกล้…
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้มีโอกาสได้ไปถ่ายรูปห้องพักและอาหารให้กับเรือนคำอิน บ้านไม้สักทองทั้งหลัง มีห้องพักขนาดหรูหราเพียง 3 ห้อง และเป็นร้านอาหาร (อาหารพื้นเมืองรสชาติแบบคนเมืองแพร่) ปีนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี พี่นิดเจ้าของบ้านจึงลดราคาห้องพักลงมาแบบครึ่ง ๆ ภาพที่ยกมานี้เป็นห้อง living room ของหนึ่งในห้องนอนของบ้าน ราคาคืนละ 2500 บาท พร้อมอาหารเช้าไม่ได้โฆษณานะ แต่เผื่อใครหาที่พักในเชียงใหม่ ราคานี้ก็พอ ๆ กับโรงแรมในไนท์บาซ่า แต่สบายกว่ากันเยอะเลย ห้องสูธแพงกว่านี้พันนึง มีจากุชชี่ และห้องซาวน่าในตัวด้วยค่ะขอบอก เข้าไปหาข้อมูลในกูเกิ้ลได้ค่ะ
โอ ไม้จัตวา
  คราวที่แล้วเล่าเรื่องรีทัชสายไฟออกจากภาพ คราวนี้ลองมาเล่นที่ใบหน้า ลบรอยตีนกากันบ้างดีกว่า ไม่ต้องใช้เครื่องสำอางก็สวยได้  
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้ขอแนะนำวิธีรีทัชรูปแบบง่าย ๆ เริ่มจากโรคจิตของอิฉันเองที่ทนเห็นสายไฟรกรุงรังไม่ได้ ไม่ว่าจะในชีวิตจริงหรือในภาพ มีใครเป็นแบบนี้มั่งไหมเนี่ย เห็นไม้แขวนเสื้อกองรวมกันยุ่ง ๆ หรือสายโทรศัพท์ สายไฟ สายอะไรก็ตาม พันกันยุ่ง ๆ แล้วจะรู้สึกใจคุกรุ่นขึ้นมาเหมือนมีคนยั่วโมโห ทนไม่ได้ต้องนั่งคลาย ๆ ๆ ๆ
โอ ไม้จัตวา
โดยส่วนตัวแล้วเราโตมากับห้องมืด ตอนเด็ก ๆ ข้างบ้านเป็นร้านถ่ายรูป ฝึกล้างอัดรูปในห้องมืดที่โรงเรียน เข้ามหาลัยก็เข้าชมรมโฟโต้ ก็ได้เล่นห้องมืดต่ออีกนิดหน่อย เมื่อไม่นานมานี้ไปเช่าบ้านอยู่กับเพื่อน บ้านที่อยู่ในรั้วเดียวกันก็ยังเป็นห้องมืดให้นักศึกษาเช่าทำงานล้างอัดรูป ชีวิตจึงวนเวียนอยู่กับห้องมืด และภาพขาวดำ (ว่าไปก็น่าทำห้องมืดไว้เล่นเองเหมือนกันนะ)  
โอ ไม้จัตวา
ภาพนี้ถ่ายด้วยความโลภ ฟ้าก็อยากได้ ก้อนเมฆก็อยากได้ ใช้เลนส์ไวด์หรือเลนส์สำหรับถ่ายภาพให้ได้มุมกว้างถ่าย เวลาขณะนั้นประมาณเที่ยง ฟ้าสีฟ้า เมฆเต็มฟ้า แดดจัดมาก ถ้าวัดแสงที่ก้อนเมฆ ข้างล่างจะมืด ถ้าวัดแสงที่ข้างล่างก้อนเมฆจะจ้ารายละเอียดหายไปเลย  
โอ ไม้จัตวา
คราวนี้ไม่ค่อยกล้าทุบกล้องเท่าไรนัก เพราะใช้ Nikon D70 ถ่ายอาหาร โดยใช้เลนส์ Macro (อ่านว่า มาโคร) คือเลนส์ที่ใช้ถ่ายวัตถุในระยะประชิดระดับ 1 เซ็นได้ พวกงาน close up ทั้งหลายมักใช้เลนส์ หรือโหมดมาโครนี้ในกล้องดิจิตอล ที่มีวิธีดูง่าย ๆ คือ ปุ่มที่เป็นเครื่องหมายรูปดอกไม้ในตัวกล้อง นั่นคือปุ่มมาโคร สำหรับถ่ายดอกไม้ใกล้ ๆ ถ่ายมด ถ่ายขี้จิ้งจก หรือถ่ายอาหารอย่างวันนี้เป็นต้น
โอ ไม้จัตวา
  คราวนี้ยกแมวที่มีสีสันตัดกันอยู่ในตัวมาให้ดู แมวที่มีสีขาว และดำ อยู่ใกล้กันแบบนี้ เวลาถ่ายภาพจะต้องระวังการวัดแสง เพราะถ้าวัดแสงที่สีดำ ส่วนที่เป็นขาวก็จะจ้าจนความละเอียดหายไป ควรวัดแสงตรงสีที่เป็นกลาง ๆ เช่นสีน้ำตาลเป็นต้น ก็จะได้ภาพที่มีสีและแสงพอดี
โอ ไม้จัตวา
ติดพันจากแมวคราวที่แล้ว ตอนทำรูปก็พบว่ามีขั้นตอนที่ไม่ยากนักในการปรับภาพในโปรแกรมโฟโต้ช็อปเอามาแนะนำกัน ภาพที่เราถ่ายนั้นบางครั้งองค์ประกอบของภาพก็ยังไม่สมบูรณ์นัก เราสามารถใช้คำสั่ง crop ในโฟโต้ช็อปได้ หรือคลิ้กที่เครื่องหมายที่เราทำลูกศรสีแดงชี้ไว้ แล้วลากที่ภาพ สร้างกรอบภาพขึ้นมาใหม่ จากตัวอย่างที่ยกมาให้ดูภาพเต็มคือทั้งหมด เมื่อเราลาก crop ส่วนที่เป็นแถบสีดำรอบ ๆ ภาพ กรอบเล็กจะหายไปเมื่อเราดับเบิ้ลคลิ้ก
โอ ไม้จัตวา
“ถ่ายภาพเด็กกับสัตว์ให้โฟกัสที่ตา” ออกจากห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพที่โรงเรียนเมื่อสมัยอยู่ม.3 แล้วก็ไม่เคยเข้าห้องเรียนถ่ายรูปที่ไหนอีกเลย เคยเข้าไปเล่นเองบ้างก๊อกแก๊กในห้องอัดของชมรมถ่ายภาพในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งได้มีโอกาสหมกตัวอยู่ที่สวนทูนอิน บ้านพักของคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นบางช่วง และมีโอกาสเดินถ่ายรูปดอกไม้ยามเช้าในสวนทูนอิน ประโยคที่ยกมาข้างบนนั้นคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ พูดขึ้นมา (จะเรียกว่าสอนก็น่าจะได้) เมื่อชี้ให้ดูภาพแมวที่เขาถ่ายและใส่กรอบติดไว้ที่ผนังบ้าน    
โอ ไม้จัตวา
  แสงแดดมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพอย่างยิ่ง เพราะเป็นแสงจากธรรมชาติ ทำให้ภาพมีมิติ มีเงา แต่ก็ต้องเลือกเวลาเช่นกัน อย่างที่บอกในชื่อเรื่องว่า แสงแรกและแสงสุดท้าย แสงแรกนั้นคือ แสงแดดยามเช้าจนถึงสาย ๆ น่าจะประมาณ 8.30 น. และแสงสุดท้ายของวัน คือประมาณ 4-5 โมงเย็น เป็นช่วงเวลาที่พอดีที่สุดในการถ่ายภาพ