Skip to main content

 

คำถามเดิม ถ่ายยังไงให้ดีให้สวย คำตอบแบบกำปั้นทุบกล้องเลยคือ มองให้เห็นความงาม ซึ่งตรงนี้ขอเน้นย้ำว่า “ความงามเป็นเรื่องปัจเจก” เป็นเรื่องของใครของมัน กล้องก็ของเรา เราถ่ายเราก็เอาไปดู และชื่นชมอย่างน้อยก็กับตัวเอง คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างไม่ต้องสนใจ ถ้าเราเห็นว่างาม...ถ่ายเลย

\\/--break--\>

แต่สิ่งสำคัญก่อนจะถ่ายคือ ช่างภาพควรจะมีสายตาแบบช่างภาพ คือมองแล้วนึกให้ออกว่าถ้าเป็นภาพอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมในกล้องแล้ว จะออกมาอย่างไร บางครั้งเวลาไม่ได้ติดกล้องไปด้วย เจอภาพบางภาพ เราใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้กางออกเป็นมุมฉากสองมือแล้วเอามาชนกันแทนกรอบสี่เหลี่ยมสำหรับมองภาพ...เล่นอยู่คนเดียว


ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะมองให้เห็นแบบคนถ่ายภาพได้ ก็ต้องฝึกถ่ายบ่อย ๆ เดี๋ยวนี้มีกล้องดิจิตอลให้ความสะดวก และไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายมากมาย ถ่ายไปเถอะ ฝึกมือ ฝึกสายตา ถ่ายแล้วไม่ดีเราก็ลองใหม่ แรก ๆ อาจใช้โหมด Auto ก่อน แต่ Auto จะถ่ายให้ออกมาพอดีก็ต้องเรียนรู้จักกล้องบ้าง เพราะความเป็นดิจิตอลนั้น กล้องจะประมวลผลตามโปรแกรม ซึ่งบางครั้งและบ่อยครั้งภาพที่ออกมาอาจไม่ตรงกับการประมวลของลูกกะตาของเราก็ได้ ถ้าสีของวัตถุมีความต่างกันมาก แบบขาวกับดำ ถ้ากล้องไปวัดแสงที่ใดที่หนึ่งภาพที่ออกมากก็จะไม่มืดไปก็สว่างไป


จากรูปที่ยกมายังอยู่ในมุมเดียวกับรูปที่แล้ว เพียงแค่เราขยับเท้าออกมานิดหน่อย ภาพก็จะเปลี่ยนไป จากมุมที่เห็นนี้ เราเพียงแต่เดินตามทางเดินชื้นแฉะ ถ้ามองตรงไปข้างหน้าโดยไม่เหลียวดูข้างทางเลย เราก็จะพลาดช็อตนี้ไปอย่างน่าเสียดาย


คราวที่แล้วบอกว่ามุมนี้แสงน้อย เราแก้ไขด้วยการเพิ่ม ISO ให้มากขึ้น ให้กล้องรับแสงได้มากขึ้น เพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้น แก้ปัญหามือสั่นไหวซึ่งทำให้ภาพไหวเบลอ เรามีอีกวิธีหนึ่งในการแก้ไขคือ การปรับค่าในกล้องให้ภาพ under


มีภาษากล้องมาให้อีกสองคำคือ under แปลตรงตัวก็คือใต้ หรือต่ำ ในที่นี้คือค่าแสงที่ต่ำกว่าค่าสมดุลที่กล้องประมวลผลมาให้ ถ้ามองในจอกล้องจะเป็นเส้นประตรงกลางเป็นเลข 0 และมีขีดเลื่อนได้อยู่ข้างบน ถ้าขีดอยู่ตรงเลขศูนย์ แปลว่า จุดนี้คือจุดที่ดีที่สุด สมดุลที่สุดสำหรับภาพนี้ ถ้าเราปรับให้ขีดนั้นมาทางด้านซ้ายมือที่เป็นเครื่องหมายลบ ก็แปลว่าจะได้ภาพ under คือมืดลง ถ้าปรับขีดนั้นไปทางด้านขวาทางเครื่องหมายบวกก็จะได้ภาพ over คือสว่างขึ้น


ภาพนี้เราลองเล่นด้วยการปรับ ISO สูงขึ้น ซึ่งจะได้ภาพที่มีเม็ดเล็ก ๆ หรือ noise เต็มไปหมด เรายังอยากได้ภาพละเอียดบ้าง ก็เลยปรับ ISO ให้ต่ำลงมา อาจไม่ต้องถึง 100 เพราะแสงน้อยเกินไป แล้วปรับหน้ากล้องให้กว้างที่สุดเพื่อให้ความเร็วเพิ่มขึ้น ถ้าความเร็วยังไม่พอ สำหรับเราน่าจะ 1/15 วินาที ก็พอจะควบคุมมือตัวเองได้ เราก็ตั้งค่าชดเชยแสงให้ต่ำลงมาอีก ในกล้องแต่ละตัวจะมีโหมดนี้อยู่ตรงเครื่องหมายบวกลบ และการใช้งานไม่เหมือนกัน ตรงนี้ต้องอ่านคู่มืออย่างละเอียด เพื่อเรียนรู้อีกนิด


เมื่อเราชดเชยแสงให้มืดลง รอบ ๆ ภาพก็จะมืดลง ตรงพระอาทิตย์ที่สว่างมาก ๆ ก็จะลดลงมาด้วย และจะได้ลำแสงที่ลอดไม้ลงมาชัดเจนขึ้น


ส่วนที่เหลืออาจไปว่ากันในโฟโตช็อปอีกสักนิด

 

 

บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
  วันนี้ตั้งใจขับรถขึ้นไปที่ขุนช่างเคี่ยน เพื่อไปดูพญาเสือโคร่งประจำปีนี้ ตื่นหกโมงเช้า ฟ้ายังมืด อากาศหนาว ออกจากบ้านหกโมงครึ่ง แต่กว่าจะไปถึงแดดก็เริ่มแรงแล้ว รูปนี้ถ่ายพระอาทิตย์ขึ้นที่จุดชมวิว ก่อนถึงโค้งขุนกันต์ ดอยสุเทพ เห็นเส้นขอบฟ้าไกล ๆ ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง จึงเก็บฟ้าและเมืองได้ทั้งเมือง เชียงใหม่ยังมีมุมสวยอยู่
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาออกเดินทางอีกแล้ว ช่วงนี้ดอกพญาเสือโคร่งกำลังจะบาน ต้องตามข่าวกันทุกวันว่าบานถึงไหนแล้ว เพราะจะบานเพียง 7 วันเท่านั้น ภาพชุดนี้ถ่ายเมื่อปีที่แล้ว ตื่นสายไปนิด ไปถึงแปดโมงกว่า ๆ รู้สึกว่าแดดแรงไป ปีนี้คงต้องออกจากบ้านหกโมงเช้า     แดดแรงไปนิดนึงจริง ๆ แต่เก้าอี้ที่ไร้คนนั่ง คงไม่หนาวเหน็บเหมือนอากาศตอนนี้     ข้อดีของแดดจ้า ๆ ก็ทำให้ฟ้าเป็นสีฟ้า ดอกไม้สีชมพูเต็มต้น ตัดกับฟ้าสีฟ้าโดยไม่ต้องทำอะไรเลย ความทุกข์ทรมานอย่างหนึ่งของช่างภาพ คือต้องวิ่งตามแสง โดยเฉพาะแสงเช้า     ดอกบ๊วย ขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน ภาพนี้ใช้เลนส์ซูม ดึงเข้ามาใกล้…
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้มีโอกาสได้ไปถ่ายรูปห้องพักและอาหารให้กับเรือนคำอิน บ้านไม้สักทองทั้งหลัง มีห้องพักขนาดหรูหราเพียง 3 ห้อง และเป็นร้านอาหาร (อาหารพื้นเมืองรสชาติแบบคนเมืองแพร่) ปีนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี พี่นิดเจ้าของบ้านจึงลดราคาห้องพักลงมาแบบครึ่ง ๆ ภาพที่ยกมานี้เป็นห้อง living room ของหนึ่งในห้องนอนของบ้าน ราคาคืนละ 2500 บาท พร้อมอาหารเช้าไม่ได้โฆษณานะ แต่เผื่อใครหาที่พักในเชียงใหม่ ราคานี้ก็พอ ๆ กับโรงแรมในไนท์บาซ่า แต่สบายกว่ากันเยอะเลย ห้องสูธแพงกว่านี้พันนึง มีจากุชชี่ และห้องซาวน่าในตัวด้วยค่ะขอบอก เข้าไปหาข้อมูลในกูเกิ้ลได้ค่ะ
โอ ไม้จัตวา
  คราวที่แล้วเล่าเรื่องรีทัชสายไฟออกจากภาพ คราวนี้ลองมาเล่นที่ใบหน้า ลบรอยตีนกากันบ้างดีกว่า ไม่ต้องใช้เครื่องสำอางก็สวยได้  
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้ขอแนะนำวิธีรีทัชรูปแบบง่าย ๆ เริ่มจากโรคจิตของอิฉันเองที่ทนเห็นสายไฟรกรุงรังไม่ได้ ไม่ว่าจะในชีวิตจริงหรือในภาพ มีใครเป็นแบบนี้มั่งไหมเนี่ย เห็นไม้แขวนเสื้อกองรวมกันยุ่ง ๆ หรือสายโทรศัพท์ สายไฟ สายอะไรก็ตาม พันกันยุ่ง ๆ แล้วจะรู้สึกใจคุกรุ่นขึ้นมาเหมือนมีคนยั่วโมโห ทนไม่ได้ต้องนั่งคลาย ๆ ๆ ๆ
โอ ไม้จัตวา
โดยส่วนตัวแล้วเราโตมากับห้องมืด ตอนเด็ก ๆ ข้างบ้านเป็นร้านถ่ายรูป ฝึกล้างอัดรูปในห้องมืดที่โรงเรียน เข้ามหาลัยก็เข้าชมรมโฟโต้ ก็ได้เล่นห้องมืดต่ออีกนิดหน่อย เมื่อไม่นานมานี้ไปเช่าบ้านอยู่กับเพื่อน บ้านที่อยู่ในรั้วเดียวกันก็ยังเป็นห้องมืดให้นักศึกษาเช่าทำงานล้างอัดรูป ชีวิตจึงวนเวียนอยู่กับห้องมืด และภาพขาวดำ (ว่าไปก็น่าทำห้องมืดไว้เล่นเองเหมือนกันนะ)  
โอ ไม้จัตวา
ภาพนี้ถ่ายด้วยความโลภ ฟ้าก็อยากได้ ก้อนเมฆก็อยากได้ ใช้เลนส์ไวด์หรือเลนส์สำหรับถ่ายภาพให้ได้มุมกว้างถ่าย เวลาขณะนั้นประมาณเที่ยง ฟ้าสีฟ้า เมฆเต็มฟ้า แดดจัดมาก ถ้าวัดแสงที่ก้อนเมฆ ข้างล่างจะมืด ถ้าวัดแสงที่ข้างล่างก้อนเมฆจะจ้ารายละเอียดหายไปเลย  
โอ ไม้จัตวา
คราวนี้ไม่ค่อยกล้าทุบกล้องเท่าไรนัก เพราะใช้ Nikon D70 ถ่ายอาหาร โดยใช้เลนส์ Macro (อ่านว่า มาโคร) คือเลนส์ที่ใช้ถ่ายวัตถุในระยะประชิดระดับ 1 เซ็นได้ พวกงาน close up ทั้งหลายมักใช้เลนส์ หรือโหมดมาโครนี้ในกล้องดิจิตอล ที่มีวิธีดูง่าย ๆ คือ ปุ่มที่เป็นเครื่องหมายรูปดอกไม้ในตัวกล้อง นั่นคือปุ่มมาโคร สำหรับถ่ายดอกไม้ใกล้ ๆ ถ่ายมด ถ่ายขี้จิ้งจก หรือถ่ายอาหารอย่างวันนี้เป็นต้น
โอ ไม้จัตวา
  คราวนี้ยกแมวที่มีสีสันตัดกันอยู่ในตัวมาให้ดู แมวที่มีสีขาว และดำ อยู่ใกล้กันแบบนี้ เวลาถ่ายภาพจะต้องระวังการวัดแสง เพราะถ้าวัดแสงที่สีดำ ส่วนที่เป็นขาวก็จะจ้าจนความละเอียดหายไป ควรวัดแสงตรงสีที่เป็นกลาง ๆ เช่นสีน้ำตาลเป็นต้น ก็จะได้ภาพที่มีสีและแสงพอดี
โอ ไม้จัตวา
ติดพันจากแมวคราวที่แล้ว ตอนทำรูปก็พบว่ามีขั้นตอนที่ไม่ยากนักในการปรับภาพในโปรแกรมโฟโต้ช็อปเอามาแนะนำกัน ภาพที่เราถ่ายนั้นบางครั้งองค์ประกอบของภาพก็ยังไม่สมบูรณ์นัก เราสามารถใช้คำสั่ง crop ในโฟโต้ช็อปได้ หรือคลิ้กที่เครื่องหมายที่เราทำลูกศรสีแดงชี้ไว้ แล้วลากที่ภาพ สร้างกรอบภาพขึ้นมาใหม่ จากตัวอย่างที่ยกมาให้ดูภาพเต็มคือทั้งหมด เมื่อเราลาก crop ส่วนที่เป็นแถบสีดำรอบ ๆ ภาพ กรอบเล็กจะหายไปเมื่อเราดับเบิ้ลคลิ้ก
โอ ไม้จัตวา
“ถ่ายภาพเด็กกับสัตว์ให้โฟกัสที่ตา” ออกจากห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพที่โรงเรียนเมื่อสมัยอยู่ม.3 แล้วก็ไม่เคยเข้าห้องเรียนถ่ายรูปที่ไหนอีกเลย เคยเข้าไปเล่นเองบ้างก๊อกแก๊กในห้องอัดของชมรมถ่ายภาพในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งได้มีโอกาสหมกตัวอยู่ที่สวนทูนอิน บ้านพักของคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นบางช่วง และมีโอกาสเดินถ่ายรูปดอกไม้ยามเช้าในสวนทูนอิน ประโยคที่ยกมาข้างบนนั้นคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ พูดขึ้นมา (จะเรียกว่าสอนก็น่าจะได้) เมื่อชี้ให้ดูภาพแมวที่เขาถ่ายและใส่กรอบติดไว้ที่ผนังบ้าน    
โอ ไม้จัตวา
  แสงแดดมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพอย่างยิ่ง เพราะเป็นแสงจากธรรมชาติ ทำให้ภาพมีมิติ มีเงา แต่ก็ต้องเลือกเวลาเช่นกัน อย่างที่บอกในชื่อเรื่องว่า แสงแรกและแสงสุดท้าย แสงแรกนั้นคือ แสงแดดยามเช้าจนถึงสาย ๆ น่าจะประมาณ 8.30 น. และแสงสุดท้ายของวัน คือประมาณ 4-5 โมงเย็น เป็นช่วงเวลาที่พอดีที่สุดในการถ่ายภาพ