Skip to main content
ศ. วรพจน์ ณ นคร เขียนในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม 2540 ในท่ามกลางวิกฤตการณ์ค่าเงินบาทในสมัยนั้น ในความเห็นของวรพจน์กล่าวอย่างชัดเจนว่าให้ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธลาออก เพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลแห่งชาติ เพราะในบทเฉพาะกาลมีช่องว่างให้ทำได้ ตามมาตรา 317 ที่ยกเว้นคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี โดยไม่คาดว่าจะมีวิกฤติการณ์เศรษฐกิจขึ้น
 
แต่เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธลาออก ก็เป็นช่องทางให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ "แต่ไม่ใช่รัฐบาลแห่งชาติ" ดังที่หลายคนคาดหวัง
 
วิกิพีเดียกล่าวไว้ว่า
 
"...การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกาประชาธิปไตย[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากรัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยกลุ่มของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเดิมสนับสนุนให้ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาขึ้นดำรงตำแหน่งแทน โดยการสนับสนุนของพรรคความหวังใหม่ (125 คน) พรรคชาติพัฒนา (52 คน) พรรคประชากรไทย (18 คน) และ พรรคมวลชน (2 คน) รวม 197 เสียง ส่วนฝ่ายค้านเดิมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ (123 คน) ร่วมกับพรรคชาติไทย (39 คน) พรรคเอกภาพ (8 คน) พรรคพลังธรรม (1 คน) พรรคไท (1 คน) และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมได้แก่พรรคกิจสังคม (20 คน) และพรรคเสรีธรรม (4 คน) สนับสนุนนายชวน หลีกภัย ด้วยเสียงทั้งสิ้นรวม 196 เสียง ซึ่งน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาล 1 เสียง
 
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายชวน หลีกภัย ก่อให้เกิดกลุ่มการเมือง ที่ถูกตั้งชื่อว่า กลุ่มงูเห่า ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยจำนวน 12 คนที่เข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาล โดยคำชวนของ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ จนกระทั่งถูกพรรคประชากรไทยมีมติขับไล่ ทั้ง 12 ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และส่งผลให้สิ้นสุดสถานภาพ ส.ส.ตามกฎหมาย กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบ ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ ส.ส.ทั้ง 12 คน ยังคงสถานภาพ และหาพรรคใหม่สังกัด
 
นอกจากกรณีกลุ่มงูเห่าแล้ว ยังมีกรณีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ได้รับการตัดสินว่ามีความผิดทางการเมืองอีก 2 ท่าน ได้แก่ นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายรักเกียรติ สุขธนะ (พรรคชาติไทย) ได้รับคำพิพากษาตัดสินจาก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกเป็นเวลา 5 ปี ฐานเรียกรับสินบนบริษัทยา ทีเอ็น พี เฮลท์ แคร์ จำกัด ซึ่งนับว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกจากการทุจริตในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะร้ฐบาล
 
นอกจากนี้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการรายงานบัญชีทรัพย์สินตกหล่น
 
การจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองของนายชวนนี้ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชนชั้นกลางใน กทม. เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลนายชวน หลีกภัย จะสามารถฉุดประเทศไทยออกจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นในรัฐบาลของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ แต่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยไม่บรรลุผลไม่สามารถดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะการตกต่ำได้ทันใจ ความต้องการของประชาชน ทำได้แค่นำคนไข้ออกจากห้องฉุกเฉิน เข้าพักฟื้นในห้องคนป่วยปกติ แม้ว่าจะได้ดำเนินการมากว่า 3 ปี นอกจากนี้ นโยบายพรรคไทยรักไทย ยังเป็นที่ดึงดูดใจของประชาชน เช่น ปลดหนึ้เกษตรกร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ สามสิบบาทรักษาทุกโรค ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดมาในปี พ.ศ. 2544 ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์การพ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย และนายชวน ต้องกลับมาเป็นฝ่ายค้าน..."
 
(ดู http://th.wikipedia.org/wiki/ชวน_หลีกภัย)
 
ในขณะที่ชนชั้นนำไทยมักแสวงหาโอกาสตั้ง "รัฐบาลแห่งชาติ" ในยามวิกฤตของชาติ แต่ไม่สำเร็จทุกคราไป
 
สิ่งที่เห็นได้จากกรณีนี้ก็คือ การเพรียกหารัฐบาลแห่งชาติของแนวคิดกลุ่มนี้ มักยืนยันว่าเป็น "พระราชอำนาจ" โดยอ้างกรณี 14 ตุลาคม 2516 และกรณีหลังพฤษภาคม 2535 แล้วอ้างว่าเป็น "ประเพณี"* โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ 
 
ทั้งๆ ที่ประเพณีน่าจะหมายความถึงสิ่งที่ทำต่อกันมาจนได้รับ "การยอมรับ" ในระดับที่เป็น "แบบแผน" ขนบ หรือจารีต
 
กรณีที่ว่ามานี้ ก็ไม่ได้เกิดบ่อยครั้งจนเป็นแบบแผน หรือจารีต หรือประเพณี
 
แต่เป็นการอ้างเพื่อสร้างสภาวะยกเว้น (state of exception) ซึ่งหมายถึงการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายบางอย่างเป็นการชั่วคราว
 
หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงการรัฐประหาร (coup de tat) นั่นเอง
 
 
ต้องบอกต่อด้วยว่า ซูม ซอกแซก คอลัมนิสต์ข้างบทความยังให้ความเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญ 2540 มีช่องในบทเฉพาะกาลที่น่าจะมีรัฐบาลแห่งชาติได้ แต่เขาเห็นแย้งว่า
 
"...แนวความคิดนี้ไม่ใช่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน และผู้ที่ทำหน้าที่ร่างแทนพวกเรา เขาก็บอกแล้วว่าไม่ใช่ เป็นเพียงช่องว่างเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น เมื่อไม่ใช่เจตนารมณ์ ผมก็ว่าอย่าไปถวิลหาเลยครับ ลืมเสียเถิดรัฐบาลแห่งชาติอะไรที่ว่า..."  แล้วซูมก็เสนอให้บิ๊กจิ๋วปรับ ครม. ครั้งใหญ่ จัดการเรื่องกฎหมายลูก แล้วยุบสภา เลือกตั้งให้เร็ว เพื่อ "จะได้ไม่ต้องมีรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งไม่ใช่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ" (ดู ซูม ซอกแซก จันทร์ 13 ตุลาคม 2540)
 
นอกจากพรรคประชาธิปัตย์จะได้เป็นรัฐบาล เรื่องรัฐบาลแห่งชาติจึงเงียบเสียงลง
 
*ประเพณี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า ประเพณีหมายถึง สิ่งที่นิยมคือประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันนี้ (31 พฤษภาคม) เป็นวันที่ 17 นับจากวันเลือกตั้งจบลง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาเหลืออีก กว่า 43 วัน ที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างน้อย ร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตและบัญชีรายชื่อ เพื่อให่้ระบอบการเมืองเดินไปอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดต
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ช่วงที่พ่อแม่มาอยู่ด้วย ผมจะพาพ่อแม่ไปเที่ยวใกล้บ้าง ไกลบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เพราะการพาคนแก่มาอยู่เมืองที่ไม่มีเพื่อนฝูงที่สนิทกันคงไม่ใช่เรื่องสนุกอาทิตย์ก่อนก็ขับออกไปพุทธมลฑลแล้วไปพระปฐมเจดีย์ วกออกไปทางบ้านแพ้ว ออกมาพระรามสอง ก็เจอรถติดยาว ในสั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความนี้เขียนเร็วๆ จากบทสนทนาในไลน์กลุ่มที่ผู้เขียนเป็นสมาชิก เพื่อตอบคำถามสองส่วน ส่วนแรกคือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความได้สัดส่วนระหว่างขีดความสามารถของรัฐกับความคาดหวังจากสังคม ส่วนที่สองคือรัฐกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อเช้ายังงัวเงียอยู่ (เพราะนอนดึก) มิตรสหายในไลน์กลุ่มก็ชวนคุยว่า จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปทำไม่ ดูอย่างอเมริกาสิ ขนาดเปลี่ยนทรัมป์ออกไปเป็นโจ ไบเด็น ถึงวันนี้คนยังติดโควิดสูง แม้กระทั่งในทำเนียบขาว ผมเลยชวนดีเบตว่าเอาไหม ในที่สุด บทสนทนาก็มาถึงจุดที่ว่า เราไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 คนเราจะวัดความเป็นรัฐบุรุษที่แท้ได้ก็เมื่อวิกฤตการณ์มาถึง แล้วเขาสนองตอบต่อวิกฤตการณ์นั้นอย่างไร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในวันที่ 2 มีนาคม 1757 (2300) เดเมียนส์ผู้ปลงพระชนม์ถูกตัดสินว่าให้ "กระทำการสารภาพผิด (amende honorable) หน้าประตูอาสนวิหารแห่งปารีส" เป็นที่ซึ่งเขาจะถูกเอาตัวไปและส่งไปกับล้อเลื่อน โดยสวมแต่เพียงเสื้อเชิ้ต ถือคบเพลิงที่มีขี้ผึ้งเป็นเชื้อหนังสองปอนด์ (ราว 1 กิโลกรัม) จากนั้นเขาจะถูกนำตัวไปบนล้อเ