Skip to main content

 

ในที่สุดการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือก็เกิดขึ้นจนได้ ท่ามกลางความยินดีปรีดาของเหล่าผู้สนับสนุนการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

แน่นอนว่าขั้นตอนต่อไปคือการตอกฝาโลงตระกูลชินวัตรให้พ้นจากการเมืองให้ได้ โดยเฉพาะการลงทัณฑ์มิให้เข้าสู่สนามเลือกตั้งได้อีกในชั่วชีวิตนี้

ข้อสังเกตที่น่าคิดก็คือ มันสะท้อนถึงภาวการณ์ที่คนเหล่านี้ไม่เชื่อหรือศรัทธาแม้กระทั่งความยุติธรรมที่ตนเองสามารถ "กำกับ" ได้เกือบทุกเวที จึงต้องทำอะไรที่มันพิกลพิการขนาดนี้

เรื่องเดียวที่นึกย้อนหลังก็คือกรณีการลงทัณฑ์โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) หลังความตาย

การที่อังกฤษเกิดสงครามกลางเมืองเพราะพระเจ้าชาร์ลส์และฝ่ายนิยมกษัตริย์พยายามดึงอำนาจกลับมาอยู่ในมือฝ่ายตน และมีความพยายามของคนหลายกลุ่มที่จะแก้ปัญหาสงครามกลางเมือง 

 ในบรรดาคนเหล่านั้นก็คือโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ นายทหารที่ประสบความสำเร็จในการรบและเชื่อว่าหลักสำคัญในการใช้ชีวิตคือการที่พระเจ้าปกครองโลกด้วยวิธีการที่พระองค์ทรงคัดสรรบุคคลให้ดำเนินการตามพระประสงค์ ทรงคัดสรรบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆ ที่เรียกว่า the chosen เขาเองเชื่อว่าตัวเขาคือหนึ่งในผู้ได้รับเลือก เพราะชัยชนะในสนามรบและการเมืองสร้างความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่เขาทำนั้น "เป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า" 

ในอดีต ในยุคแห่งความปั่นป่วนของอังกฤษ พระเจ้าชาร์ลส์ที 1 ถูกนำตัวขึ้นศาลพิจารณาในข้อหาทรยศชาติ (treason) เพราะทรงทำลายเป็นสาเหตุแห่งสงครามกลางเมือง ทางเดียวที่จะยุติได้ก็คือการประหารชีวิตตามหลักการที่ว่า "แผ่นดินจะไม่บริสุทธิ์ หากไม่ชำระเลือดเหล่านั้น ด้วยเลือดของผู้บงการนั้น" (The land cannot be cleansed of the blood that is shed therein, but by the blood of him that shed it.) พระเจ้าชาร์ลส์ถูกประหารในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ด้วยมติของศาลที่ตั้งขึ้นพิจารณาคดี 

อังกฤษกลายเป็นสาธารณรัฐนับแต่นั้นจนถึงรุ่นลูกของเขาที่รับทอดตำแหน่ง Lord Protector แต่คงอำนาจได้เพียงสองร้อยกว่าวันเท่านั้น

ฝ่ายนิยมกษัตริย์ในประเทศอังกฤษเคยขุดศพของโอลิเวอร์ ครอมเวล (1599-1958) กับพวกอีกสามร่างที่มีบทบาทลงโทษประหารกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 1 ขั้นมาล่ามโซ่และบั่นศีรษะ หลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้วสามปี ซึ่งนั่นคือวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1661 (พ.ศ. 2204) นัยหนึ่งเป็นการรำลึกวาระ 12 ปีของการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 1 ว่ากันว่ากระโหลกของเขาถูกปักเสียบประจานให้เห็นอีกหลายปีจนถึง ค.ศ. 1685 และมีผู้เก็บกระโหลกศีรษะของเขาผ่านมือหลายคน ว่ากันว่ากระโหลกถูกฝังไว้ที่โถงทางเข้าวิหารในวิทยาลัยแห่งหนึ่งของเมืองเคมบริดจ์โดยไม่เผยตำแหน่งที่แท้จริงเพื่อหลีกเลี่ยงพวกนิยมกษัตริย์ที่อาจเข้าไปทำลายศพอีก

แต่นั่น ก็ไม่ปรากฏว่ามีการ "ถอดถอน" ตำแหน่งของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ในฐานะ ผู้ปกปักประเทศ (Lord Protector) และกิจการที่เขาได้ดำเนินการไปในระหว่างนั้น

 

และความเป็นจริง ในประวัติศาสตร์อังกฤษก็มีหลักการสำคัญประการหนึ่งก็คือ ธรรมเนียมรัฐธรรมนูญ (constitution convention) ที่ถือกำเนิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่พรรคแรงงานได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลาย ทำให้ผู้นำฝ่ายอนุรักษ์นิยมในสภาขุนนางขณะนั้นคือ Lord Addison และ Lord Salisbury เห็นว่าไม่ควรจะเข้าไปขัดขวาง "นโยบาย" ที่พรรครัฐบาลได้ผูกพันสัญญากับประชาชนระหว่างการหาเสียง หลักการนี้ได้ถือปฏิบัติเรื่อยมา แต่ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2005 พรรค Liberal Democrats บางส่วนเห็นว่าหลักการนี้ไม่ผูกพันกับฝ่ายคน จึงส่งผลให้คะแนนรับรองน้อยลง แต่ในสมัยของนายโทนี่ แบรล์ เห็นว่าอาจจะต้องตราเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรจึงตั้งกรรมาธิการร่วมของสองสภาเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในอนาคต

กรณีคำสัญญาที่ทางปรัชญาการเมืองเรื่องว่า common will นั้น ถูกรวบรวมผ่านฉันทานุมัติโดยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผลของเจตจำนงค์ร่วม ก็คือพันธสัญญา หรือ สัญญาประชาคม (social contract) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้รับมอบอำนาจจากมือประชาชนสัญญาว่าจะดำเนินการ ในแง่นี้จึงเป็นทั้งมารยาทและหลักการพื้นฐานว่า แนวนโยบายของรัฐบาล คือสิ่งที่ผ่านความเห็นชอบของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดโดยสัมบูรณ์ และพึงได้รับการปฏิบัติ

น่าเสียดายที่มีความพยายามทำลายหลักการนี้ด้วยข้อหาประเภทประชานิยม ซึ่งละเลยหลักการสำคัญว่าอำนาจประชาชนนั้นคืออำนาจสูงสุดเป็น mandate หรือโองการที่ประชาชนมอบให้กับพรรคเสียงข้างมากที่เป็นรัฐบาลผ่านนโยบายที่ประชาชนเห็นชอบ

แน่นอนว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องของการลดทอนความซับซ้อนและกระบวนการตรวจสอบการทำงาน การใช้อำนาจรัฐ เพราะนั่นเป็นเรื่องที่ต้องทำโดยเสมอหน้ากันอยู่แล้ว ไม่ว่าพรรคใด กลุ่มไหนเข้ามาบริหารประเทศ 

เพราะแม้กระทั่งโจร ยังมีกฎของโจร

เรากำลังเป็นพยานรู้เห็นการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทยที่สำคัญที่สุดในการเมืองสมัยใหม่

แต่ผลพวงของปฏิบัติการในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนรูป ผิดร่างของระบอบประชาธิปไตยที่เดินมาอย่างต่อเนื่องหลังจากปี พ.ศ. 2549 และยังไม่มีท่าทีจะสิ้นสุด

ในที่สุด หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยจะถูกแทนที่ด้วยหลักการพิลึกพิลั่นที่บรรดาเนติบริกรและรัฐศาสตร์บริการ รวมหัวกับทุนล้าหลังที่อ้างการปฏิรูปเพื่อผลประโยชน์ของตนโดยฝ่ายเดียว การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งออกอาการของโรคกลัวประชาธิปไตยมาต่อเนื่อง

เพราะหลักการประชาธิปไตยที่สร้างกันมาหลังการสังหารประชาชนเมื่อ พฤษภาคม 2535 ถูกลดรูป ตัดทอน เปลี่ยนสวมโดยหลักคิดอนุรักษ์นิยมอย่างที่ต้องทวนเข็มกันไปหลายปี

อย่างที่เคยเป็นมาก่อน 14 ตุลาคม 2516

 

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันนี้ (31 พฤษภาคม) เป็นวันที่ 17 นับจากวันเลือกตั้งจบลง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาเหลืออีก กว่า 43 วัน ที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างน้อย ร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตและบัญชีรายชื่อ เพื่อให่้ระบอบการเมืองเดินไปอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดต
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ช่วงที่พ่อแม่มาอยู่ด้วย ผมจะพาพ่อแม่ไปเที่ยวใกล้บ้าง ไกลบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เพราะการพาคนแก่มาอยู่เมืองที่ไม่มีเพื่อนฝูงที่สนิทกันคงไม่ใช่เรื่องสนุกอาทิตย์ก่อนก็ขับออกไปพุทธมลฑลแล้วไปพระปฐมเจดีย์ วกออกไปทางบ้านแพ้ว ออกมาพระรามสอง ก็เจอรถติดยาว ในสั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความนี้เขียนเร็วๆ จากบทสนทนาในไลน์กลุ่มที่ผู้เขียนเป็นสมาชิก เพื่อตอบคำถามสองส่วน ส่วนแรกคือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความได้สัดส่วนระหว่างขีดความสามารถของรัฐกับความคาดหวังจากสังคม ส่วนที่สองคือรัฐกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อเช้ายังงัวเงียอยู่ (เพราะนอนดึก) มิตรสหายในไลน์กลุ่มก็ชวนคุยว่า จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปทำไม่ ดูอย่างอเมริกาสิ ขนาดเปลี่ยนทรัมป์ออกไปเป็นโจ ไบเด็น ถึงวันนี้คนยังติดโควิดสูง แม้กระทั่งในทำเนียบขาว ผมเลยชวนดีเบตว่าเอาไหม ในที่สุด บทสนทนาก็มาถึงจุดที่ว่า เราไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 คนเราจะวัดความเป็นรัฐบุรุษที่แท้ได้ก็เมื่อวิกฤตการณ์มาถึง แล้วเขาสนองตอบต่อวิกฤตการณ์นั้นอย่างไร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในวันที่ 2 มีนาคม 1757 (2300) เดเมียนส์ผู้ปลงพระชนม์ถูกตัดสินว่าให้ "กระทำการสารภาพผิด (amende honorable) หน้าประตูอาสนวิหารแห่งปารีส" เป็นที่ซึ่งเขาจะถูกเอาตัวไปและส่งไปกับล้อเลื่อน โดยสวมแต่เพียงเสื้อเชิ้ต ถือคบเพลิงที่มีขี้ผึ้งเป็นเชื้อหนังสองปอนด์ (ราว 1 กิโลกรัม) จากนั้นเขาจะถูกนำตัวไปบนล้อเ