เมื่อวานนี้ (21 กุมภาพันธ์) หิมะยังโปรยเป็นสายลงมาไม่หยุดตั้งแต่ยามบ่าย นี่เป็นพายุหิมะระลอกที่สี่ เพียงแต่คราวนี้ไม่ยาวนานเหมือนครั้งก่อนๆ ในยามที่หิมะตกมาเป็นละอองเย็นๆ ยิ่งต้องระวัง เพราะหากสูดเข้าไปมากๆ อาจมีอาการป่วยได้ พวกเราเอง รวมทั้งผมต่างก็มีอาการป่วยกันคนละเล็กคนละน้อย เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างนี้
สำหรับคนไกลบ้านที่อยู่คนเดียว สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดคือการล้มหมอนนอนเสื่อ เพราะนอกจากจะเป็นความทรมานสังขารและจิตใจแล้ว ยังอาจรบกวนเพื่อนฝูงอีกด้วย การไม่ล้มป่วยจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
แม้กระนั้น สังขารก็เป็นเรื่องไม่เที่ยงแท้จริงๆ เมื่อยามหนุ่มสาวนั่งทำงานไม่หลับไม่นอนได้เป็นวันๆ เดี๋ยวนี้ชั่วโมงทำงานลดลง แต่พยายามทำงานให้ได้ตามเป้าหมายของตัวเองก็นับว่ายากแล้วจริงๆ
ในช่วงที่ผ่านมา ผมมีโอกาสทำงานค้างเก่าไว้เรื่องหนึ่ง คือเรื่องรัฐธรรมนูญ 2521 ที่เขียนค้างไว้นับสิบปีแล้ว สาเหตุสำคัญคือไม่มีเวลานานพอที่จะอ่านเอกสารให้เห็นภาพรวม เพราะความเคยชินกับการทำงานที่ต้องอ่านให้รอบด้านก่อน มาคราวนี้จึงมีเวลาทบทวนร่างที่เขียนเอาไว้และเขียนใกล้เสร็จแล้ว
เมื่อได้อ่านทบทวนการเขียนรัฐธรรมนูญในอดีตก็สะท้อนใจมากๆ เพราะฉบับ พ.ศ. 2521 ถูกระบุไว้ชัดในกรอบธรรมนูญการปกครอง 2520 ว่าต้องให้เกิดการเลือกตั้งภายในปี 2521 ให้ได้ และหากเกิดข้อผิดพลาดก็สามารถขยายเวลาออกไปได้เพียงไม่เกิน 120 วันเท่านั้น
กำเนิดของรัฐธรรมนูญฉบับ 2521 แม้จะงอกจากอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ยังสู้แรงกดดันจากฝ่ายนิยมประชาธิปไตยไม่ได้ จึงต้องปรับความตึงให้เหลือลักษณะที่เรียกว่ากึ่งประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือ กึ่งอำมาตยาธิปไตย-กึ่งประชาธิปไตย ตามแต่สะดวกจะเรียก
ที่เล่ามาก็เป็นงานหนึ่งที่ผมทำระหว่างอยู่ที่นี่
อีกส่วนหนึ่ง ก็คืองานที่ต้องพูดในการสัมมนาไทยศึกษาของฮาร์วาร์ด ผมจะพูดเรื่องความเป็นมาอย่างย่อของคณะกรรมการตรวจสอบค้นหาความจริงในเมืองไทย : วัฒนธรรมแห่งความคลุมเครือและละเลยไม่เอาโทษ ช่วงบ่ายสี่โมง ในวันที่ 4 มีนาคมนี้
ส่วนอีกงานหนึ่ง ก็ตามภาพที่แนบมา คือเรื่องสิทธิมนุษยชนกับการปกครองควบคุมในชีวิตประจำวันของประเทศไทย: อดีต ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของโครงการไทยศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม ทั้งวัน
เดือนหน้า วันแรกของเดือนเมษายน (บางคนเรียกว่าเมษาหน้าโง่ ที่เอาเรื่องแปลกๆ มาอำ กันเล่นๆ โดยไม่ถือสาหาความ) เราก็จะมีเวทีเล็กๆ เพื่อคุยเรื่อง social media กับการเปลี่ยนแปลงสังคม ตอนนี้กำลังติดต่อวิทยากรอยู่
บอกแล้วว่าไม่ได้มาตากหิมะเล่นๆ
มาทำงาน
ตารางกิจกรรมนะครับ
Forum on Human Rights and Everyday Governance in Thailand: Past, Present and Future
Friday, March 6, 2015; 9 a.m.-5 p.m.
K050, CGIS Knafel, 1737 Cambridge St., Cambridge
Sponsored by the Thai Studies Program, Harvard University Asia Center
8:45am: Arrival and registration
9:15am: Welcome and Introduction, Michael Herzfeld
9. 25am: Tyrell Haberkorn, (Australian National University)
Dangerous to the Nation: Seventy Years of Arbitrary Detention in Thailand
9.50am: Yukti Mukdawijitra, (Thammasat University)
Selective Human Rights in Thai style: Social Conflicts, Cultural Politics and Legal Limits of Human Rights in Thailand.
10. 15am: Q+A
10.35am: Tea and Coffee Break
11.00am: Pandit Chanrochanakit, (Ramkhamhaeng University)
Deformed Thai Politics: No Public Space for Pro-democratic Movements
11.25am: Benjamin Zawacki, (Visiting Fellow in the Human Rights Program at Harvard Law School)
A Perfect Storm: Forecasting Human Rights in Thailand.
11. 50am: Q+A
12.10pm: Break for lunch
1.00pm: Video interview from Pitch Pongsawat, (Chulalongkorn University)
1. 10pm: Pinkaew Laungaramsri , (Chiang Mai University)
Mass Surveillance and the Militarization of Cyber Space in Post-coup Thailand.
1.35pm: Duncan McCargo, (Leeds University )
Dispensing Justice: The Work of Thai Police Investigators.
2.00pm: Q+A
2.20pm: Graeme Bristol, (Centre for Architecture and Human Rights)
Economic, Social and Cultural Rights and Development Practice.
2.45pm: Michael Herzfeld, (Harvard University)
Pragmatic Social Justice and the Problem of the Right to Dignity
3.10pm: Q+A
3.25pm: Tea and Coffee Break.
3.45pm Discussant: Gazmend Kapllani, (Emerson College)
4.00pm: Overview and General Discussion.