Skip to main content

 

ผมได้รับเกียรติจากจากครูแพ็ท หรือ ผศ. ดร. ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ไปชมละครประจำปี 2560 ของคณะฯ เป็นละครเชิงสารคดีเรื่อง The Voyage ในวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา

 

ผมเองมีความรู้ในด้านการละครน้อยมาก แต่ก็พยายามจับประเด็นและเรื่องราว ตลอดจนลีลาการเล่าเรื่องของละครเรื่องนี้ ครูแพ็ทเล่าว่ากว่าจะมาเป็นละครเรื่องนี้เกิดขึ้นจากความยุ่งยากในหลายประการ ตั้งแต่การชักชวนผู้คนมาเล่าเรื่องรากเหง้าของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นเรื่องที่บางครอบครัวไม่อยากจะเล่า หรือไม่สามารถสืบค้นไปได้ไกล หรือบางเรื่องก็ไม่สามารถนำมาเล่าต่อที่สาธารณะได้ด้วยขีดจำกัดหลายๆ อย่าง

 

ละครเริ่มด้วยการเคลื่อนตัวของเหล่านักแสดงที่เข้ากลุ่มเป็นแถว ขยับตัวราวกับปลาว่ายทวนน้ำ จากนั้นจึงเริ่มเล่าเรื่องของแต่ละคน ทั้งนี้ ตัวเอกของเรื่องสี่คนจะเล่าเรื่องราวว่าบรรพชนของพวกเขาเดินทางมาสู่สยามได้อย่างไร

 

เรื่องราวของฟารีดา จิราพันธุ์ ดูจะพลิกผันที่สุด เมื่อเธอเผยเรื่องราวบรรพบุรุษที่ประสบกับชะตากรรมอันโหดร้ายถึงขั้นถูกจับไปเป็นทาสและขายทอดยังดินแดนที่ไกลออกไป ไม่รู้จักทั้งภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม เธอเฝ้ารอวันที่จะหยั่งรากลึกในดินแดนที่เธอคุ้นเคยมากที่สุด และเธอโชคดีที่ได้มาถึงท่าเรือของสยาม

 

เรื่องราวของนารีรัตน์ เหวยยือ ก็ชวนสะเทือนใจไม่น้อย ที่บรรพชนของเธอต้องพลัดพรากกันและเดินทางไปแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า จวบจนแม่ของเธอได้พบกับชายที่มีจิตใจดีงามและรักเธออย่างแท้จริง การเป็นส่วนหนึ่งของชาติพันธุ์อาข่านับเป็นความยุ่งยากประการแรกและฝังในสายเลือด แม้เวลาจะผ่านล่วงไป เรื่องราวอันแสนทรมานของบรรพบุรุษยังถูกเล่าราวกับเกิดขึ้นเมื่อวาน 

 

ส่วนเรื่องราวของรัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ เล่าผ่าน ธนพันธ์ ตั้งสิทธิประเสริฐ เป็นชีวิตของนายง้วนเว้ง ที่มาสยามโดยลำพังเพราะพลัดพรากกับบิดามารดาระหว่างหนีภัยสงครามในประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2482 เมื่อมาถึงสยาม ง้วนเว้งได้พยายามตั้งตัวครั้งแล้วครั้งเล่า แม้จะผ่านทุกข์ระทมถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวต้องเริ่มจากศูนย์อีกครั้ง แต่เขาก็สามารถยืนหยัดหยั่งรากในดินแดนใหม่ได้ในที่สุด

 

และเรื่องราวของ สิทธิกานต์ แก้วกันเนตร เล่าผ่าน ศุภิสรา วันชาญเวช ที่สะท้อนชีวิตของหญิงเชื้อสายมอญและที่ต้องตกอยู่กับความยากลำบากของค่านิยมเก่า ไม่ว่าจะเป็นการหาคู่ครองให้ การต้องเป็นแม่บ้านแม่เรือน ที่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพและเลี้ยงดูคนในครอบครัว

 

เรื่องราวของทั้งสี่ครอบครัวถักทอผ่านศิลปะการเล่าเรื่องของแต่ละคน การใช้เสียง ภาพฉายประกอบการเคลื่อนไหวชวนให้ผู้คนคิดอย่างต่อเนื่อง 

ด้านหนึ่งเรียกได้ว่าพยายามจะ “ตรึง” ผู้ชม แต่อีกด้านหนึ่งสำหรับคนที่ไม่ชินกับ “ละครเชิงสารคดี” ก็ทำให้ชวนอึดอัดไม่น้อย ประกอบกับเก้าอี้ที่จัดให้ผู้ชมนั่งก็จัดระยะได้ยาก ทำให้การชมละครไม่ผ่อนคลายนัก เมื่อเทียบกับเนื้อหาที่ชวนติดตามและตื่นเต้นในหลายตอน

แต่ในอีกด้านหนึ่ง เนื้อหาของเรื่องเล่าทั้งสี่ชวนให้ติดตามเพราะการเล่าเรื่องที่ไม่อาจเล่าด้วยภาษาของอักษร ทำให้ละครเรื่องนี้โดดเด่นขึ้นมา การเคลื่อนไหวเรือนร่างของกลุ่มนักแสดง ชวนให้คิดว่าการเคลื่อนตัวข้ามพรมแดนรัฐชาติในยุคที่เส้นพรมแดนยังเลือนรางและรั่ว เปิดช่องให้การเดินทางเป็นไปได้ และเป็นโอกาสให้คนที่เคยเป็น “คนอื่น” สามารถกลายเป็น “คนไทย”

 

อย่างที่กล่าวไป เรื่องเล่าสี่เรื่องในเวลาอันจำกัด แต่มีขอบเขตของเวลากว่าแปดสิบปี หรือถ้านับจากเรื่องเล่าของฟารีดาก็นับร้อยหกสิบปี

จึงไม่ง่ายนักที่จะเล่าในรายละเอียด แต่เป็นการเลือกช่วงเวลาที่สำคัญ หรือชวนให้สะเทือนใจ เห็นใจ เข้าใจความยากลำบากของคนที่มาใหม่ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจใหม่ในที่สุด

 

การเล่าเรื่องของครอบครัวที่สะเทือนใจ น่าจะเป็นเรื่องยากที่สุด แต่ก็เป็นเรื่องที่เชื้อเชิญให้ผู้ชมสนใจ เพราะดังที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนหนังสือเรื่อง “โครงกระดูกในตู้” หรือ Skelton in the Cupboard ที่เล่าเรื่องบรรพบุรุษซึ่งมีทั้งเรื่องดีและร้าย บวกและลบในสายตาของคนอื่น เพราะเรื่องราวชีวิตมนุษย์นั้นยากจะเป็นผ้าขาวบริสุทธิ์ราวกับไม่เคยแปดเปื้อนใดๆ นั้นคงจะไม่มี แต่ความกล้าหาญที่จะเล่าเรื่องนั้นๆ ต่างหาก ที่จะช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของครอบครัวและสังคมโดยรวมได้

The Voyage สำหรับผมจึงเป็น “อัตโนประวัติของคนชั้นกลางไทย” (Thai middle class’s autography) กล่าวคือ นี่เป็นเรื่องราวที่มาของคนชั้นกลางไทยที่ผสมผสานระหว่างคนจีน คนเวียด คนชวา คนมอญ และชาติพันธุ์อื่นๆ กับคนพื้นเมือง

ประเด็นหนึ่งที่ผมได้กล่าวก็คือ ส่วนที่ขาดหายไปน่าจะเป็นภาคสองของละครเรื่อง The Voyage เพราะยังมีเรื่องของพี่น้องชาวอีสาน ชาวภาคกลาง และมลายูที่ขาดหายไป 

ในความเป็นคนชั้นกลางที่ “เพิ่งมาถึง” และประสบความสำเร็จนี้ ชีวิตของคนอีสาน/คนลาว คนเมือง/ล้านนา คนมลายู หายไปหมดจนกลายเป็นพวกชายขอบ

 

และกล่าวอย่างถึงที่สุด ละคร The Voyage ก็แทบจะไม่มีพื้นที่ให้ตัวตนเหล่านี้ได้ปรากฏเลย

 

แต่ถึงอย่างไร ละครเรื่องนี้ก็ช่วยสถาปนาพื้นที่ให้กับคนชั้นกลางไทยได้อย่างมีสีสัน ประกอบกับเมื่อได้รู้ภาระงานของคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ที่ถูกรุมเร้าด้วยความคาดหวังเชิงดังนี้ชี้วัดการบริหารงานและวิชาการ ครูแพ็ทยังมีพลังเหลือพอจะมาสร้างสรรค์ละครเรื่องนี้ร่วมกับนักออกแบบการเคลื่อนไหว นักแสดง และผู้อยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังเวทีทั้งหลาย ผมจึงแอบหวังว่า ครูแพ็ท จะมีพลังและกำลังใจ สร้างสรรค์ภาคต่อของ The Voyage แต่อาจจะเป็นภาคแรก? ก่อน The Voyage ผมขอตั้งชื่อไว้ก่อนเลยก็คือเรื่อง The Native เพื่อเติมเต็มเรื่องเล่าที่ขาดหาย โดยเฉพาะการสร้างประกอบความเป็นไทยในรอบสองทศวรรษนี้ที่พวกเราถูกระบายสีเหลือง สีแดง และถูกเรื่องเล่าของบรรดาคนชั้นกลางที่ที่มาใหม่ เข้าแทรกและแทนที่กลายเป็นคนไทยที่ไทยกว่าคนดั้งเดิม

ผมอยากจะเห็นชีวิตชาวนาไทย ชาวนาอีสาน ชาวนาล้านนา ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาร่วมกับคนชั้นกลางไทย ผมอยากจะเห็นภาพสะท้อนของความแร้นแค้นและทุกข์ยากของพวกเขา ไม่แพ้ความยากลำบากในการเจรจา ต่อรองกับอัตลักษณ์บนผืนดินใหม่ของคนชั้นกลางไทย

หากจะมีภาคสอง (ที่ควรจะเป็นภาคแรก) ผมก็จะขอปวารณาตัวเป็นคนแรกๆ ที่จะตีตั๋วไปนั่งถึงขอบเวที และรอชมที่โรงละครใหม่ของคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอขอบคุณครูแพ็ท นักแสดง และผู้อยู่เบื้องหลังละคร The Voyage ที่ให้เกียรติเชื้อเชิญให้ไปแสดงความเห็นหลังละครจบนะครับ นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันนี้ (31 พฤษภาคม) เป็นวันที่ 17 นับจากวันเลือกตั้งจบลง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาเหลืออีก กว่า 43 วัน ที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างน้อย ร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตและบัญชีรายชื่อ เพื่อให่้ระบอบการเมืองเดินไปอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดต
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ช่วงที่พ่อแม่มาอยู่ด้วย ผมจะพาพ่อแม่ไปเที่ยวใกล้บ้าง ไกลบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เพราะการพาคนแก่มาอยู่เมืองที่ไม่มีเพื่อนฝูงที่สนิทกันคงไม่ใช่เรื่องสนุกอาทิตย์ก่อนก็ขับออกไปพุทธมลฑลแล้วไปพระปฐมเจดีย์ วกออกไปทางบ้านแพ้ว ออกมาพระรามสอง ก็เจอรถติดยาว ในสั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความนี้เขียนเร็วๆ จากบทสนทนาในไลน์กลุ่มที่ผู้เขียนเป็นสมาชิก เพื่อตอบคำถามสองส่วน ส่วนแรกคือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความได้สัดส่วนระหว่างขีดความสามารถของรัฐกับความคาดหวังจากสังคม ส่วนที่สองคือรัฐกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อเช้ายังงัวเงียอยู่ (เพราะนอนดึก) มิตรสหายในไลน์กลุ่มก็ชวนคุยว่า จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปทำไม่ ดูอย่างอเมริกาสิ ขนาดเปลี่ยนทรัมป์ออกไปเป็นโจ ไบเด็น ถึงวันนี้คนยังติดโควิดสูง แม้กระทั่งในทำเนียบขาว ผมเลยชวนดีเบตว่าเอาไหม ในที่สุด บทสนทนาก็มาถึงจุดที่ว่า เราไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 คนเราจะวัดความเป็นรัฐบุรุษที่แท้ได้ก็เมื่อวิกฤตการณ์มาถึง แล้วเขาสนองตอบต่อวิกฤตการณ์นั้นอย่างไร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในวันที่ 2 มีนาคม 1757 (2300) เดเมียนส์ผู้ปลงพระชนม์ถูกตัดสินว่าให้ "กระทำการสารภาพผิด (amende honorable) หน้าประตูอาสนวิหารแห่งปารีส" เป็นที่ซึ่งเขาจะถูกเอาตัวไปและส่งไปกับล้อเลื่อน โดยสวมแต่เพียงเสื้อเชิ้ต ถือคบเพลิงที่มีขี้ผึ้งเป็นเชื้อหนังสองปอนด์ (ราว 1 กิโลกรัม) จากนั้นเขาจะถูกนำตัวไปบนล้อเ