Skip to main content

คนสามรุ่น

 

ช่วงเวลาที่ผ่านมาผมมีงานยุ่งวุ่นวายจนห่างหายจากการเขียนบล็อก เมื่อเวลาอำนวยก็อยากจะบันทึกเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์เอาไว้ก่อนจะลืม

…..

ข้างหน้าผมเป็นเด็กหนุ่มวัยต้นยี่สิบเป็นนิสิตในที่ปรึกษาของผม ถัดไปเป็นชายผมสีดอกเลา ร่างผอมและไว้หนวด หญิงสาวร่างแบบบางคนถัดไปใส่เสื้อยืดขาว และมีชายหนุ่มอีกคนหนึ่งตัดผมสั้นท่าทางเรียบร้อย และคนสุดท้ายเป็น คนวัยเดียวกับผมที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่รู้จักกันดี

ทั้งห้าคนตกเป็นผู้ต้องหาจากทั้งการเคลื่อนไหวและส่วนหนึ่งเพียงเข้ามาสังเกตุการณ์กิจกรรม

ผมอดนึกไม่ได้ว่าอาชญากรรมใดหนอที่ทำให้คนที่เคยอยู่ฝ่ายตรงข้ามทางความคิดและไม่น่าจะมีทางอยู่ในสถานะเดียวกันได้ต้องมีชะตากรรมร่วมกันมาก่อน สองคนเป็นคนรุ่นหนุ่มสาวที่ผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ยุคปลายทักษิณ ชินวัตร หากจะประเมินคร่าวๆ คงอายุ 20-25 ปี, อีกรุ่นคือคนรุ่นผมสองคนที่เชื่อว่าเกิดช่วงไม่ห่างจาก 14 ตุลาคม 2516 ไม่ก่อนก็หลัง อีกคนหนึ่งนั้นต้องบอกว่าน่าจะเป็นหนุ่มกระทงสมัย 14 ตุลาฯ ผ่าน 6 ตุลาคม 2519, พฤษภาคม 2535 แต่ความพลิกผันทางการเมืองทำให้คนทั้งห้าคนมานั่งรวมกันในห้องพิจารณาคดี

นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมขึ้นโรงขึ้นศาล จึงอดที่จะพยายามจดจำรายละเอียด กระบวนการเอาไว้ ตั้งแต่สถาปัตยกรรมของสถานที่แห่งนี้ที่จำลองจากตะวันตก บัลลังก์พิจารณาคดี เสมียน ระยะห่างระหว่างผู้กล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหากับผู้มีอำนาจ ระยะห่างระหว่างทนายผู้แก้ต่างกับพนักงานผู้กล่าวหา และที่สำหรับผู้ร่วมรับฟัง

ทั้งหมดมีรายละเอียดที่ชวนคิดทั้งสิ้นว่าตัวสถาปัตยกรรมกับพื้นที่ที่แบ่งและจัดสรร การกำหนดพื้นที่การเคลื่อนไหวของคน การมีช่องว่างล้วนแล้วแต่บ่งบอกถึงอำนาจและสถานะของคนในแต่ละจุด

ท่าทีของฝ่ายผู้กล่าวหา ถึงจะแข็งกร้าว แต่สีหน้าบ่งบอกถึงความเหนื่อยหน่ายกับภาระงานของเขา เขากลายเป็นคนโดดเดี่ยวทันที เพราะเขาคือตัวแทนเพียงคนเดียวที่มายืนยันตามลายลักษณ์อักษร จึงดูประหลาดไม่น้อยในบริบทนี้

ส่วนฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา ดูจะเครียดไม่แพ้กันกับผู้แก้ต่างให้ 

ยังมีผู้คนที่รอฟังข่าวทั้งในห้องเล็กๆ นี้กับคนอีกจำนวนมากที่ติดตามข่าวสาร

เรื่องราวทั้งหมดชวนให้ผมย้อนกลับมาครุ่นคิดว่าอะไรทำให้พวกเขามาอยู่ในจุดตัดของอำนาจนี้

 

สำหรับคนที่ผ่าน 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 น่าจะรู้เรื่องและผ่านความรู้สึกได้ชัย กระทั่งพ่ายแพ้ ทั้งยังเห็นความรุนแรงในกรณี 2535, 2552, และ 2553 เลวร้ายกว่านั้นเขาเองตกเป็นจำเลยในอีกฝั่งเมืองชั่วระยะหนึ่ง

คนรุ่นผม ถึงจะเกิดทัน 14 ตุลาคม 2516 ก็คงไม่ทันรู้เรื่อง อาจจะทัน 6 ตุลาคม 2519 แต่ก็ลางเลือน รู้แต่ว่า วันนั้นมีการเผาหนังสือและล้อมสังหารคน ที่เห็นด้วยตาก็คือกรณีพฤษภาคม 2535 และบอกตัวเองว่าจะไม่ยอมตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นอีก แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเห็นการรัฐประหารถึงสองครั้งในรอบสิบปี ความรุนแรงต่อเนื่องนับแต่การชุมนุมในกรุงและต่างจังหวัดตั้งแต่ 2549 ถึงวันนี้ก็มี 2552, 2553 อย่างน้อยอีกสองครั้ง

ส่วนเด็กหนุ่มสองคน คงเกิดไม่ทัน 2535 แน่ๆ พวกเขาคงทันช่วงที่รัฐธรรมนูญ 2540 ประกาศใช้และโตมากับการเมืองแบบเปิดกว้างมาก เมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนหน้า

เด็กหนุ่มสองคนที่ควรจะสนุกสนาน เฮฮา เรียนรู้วิชาการที่ตัวเองถนัดกลับมาอยู่ในคอกและทำประวัติอาชญากรกับคนอีกสองรุ่่น

สังคมแบบไหนที่คนอยากใช้สิทธิพื้นฐานในการเลือกตั้งอันเป็นสิทธิมนุษยชนสากล กลายเป็นจำเลยทางการเมือง?

ไม่นับคนอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกตั้งข้อหาอย่างไม่เป็นธรรม ถูกดำเนินคดีจนชีวิตไม่เป็นปรกติสุขในอีกหลายวัย

อย่งน้อย ความผิดปกติอีกข้อหนึ่งก็คือ การเมืองที่พลิกผันในรอบกว่าหนึ่งทศวรรษได้พาคนที่เคยอยู่ขั้วตรงข้ามทางการเมืองกลับมาอยู่ในระนาบเดียวกันได้

เช่นเดียวกันกับคนจำนวนหนึ่งยินดีปรีดาที่ประเทศเพื่อนบ้านสามารถเลือกตั้งได้และฝ่าวิกฤติการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองจนได้รัฐบาลจากการเลือกตั้งและได้ ดร. มหาธีร์ โมฮัมหมัดมาเป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งในวัย 92 ปี และต้องไม่ลืมว่ามาเลเซียเองก็ผ่านความตึงเครียดทางการเมือง ดังข้อสังเกตจากมิตรสหายที่ทำงานด้านการทูตของแดนเสือเหลืองที่เคยเปรยกับผมว่า พวกเขาจับตามองประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เพราะอะไรที่เคยเกิดขึ้นกับไทยก็จะส่งผลสะเทือนต่อพวกเขาไม่น้อย ดังกรณีต้มยำกุ้งเมื่อ พ.ศ. 2540 นั่นกระไร ยังการชุมนุมทางการเมืองในรอบหลายปีก่อนก็ส่งผลต่อความรู้สึกและการแสดงออกทางการเมืองอยู่ไม่น้อย

เรื่องที่น่าขันก็คือ คนที่ตื่นเต้นเรื่องมหาธีร์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดก็คือบรรดาผู้ใหญ่ เพื่อนพี่น้องที่เคยขัดขวาง ปิดคูหาเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั่นเอง

แต่เอาเถิด วันนี้ก็นับว่ากลับมาอยู่ขั้วเดียวกัน คำถามสำคัญก็คือว่าการเมืองไทยจะเดินหน้าไปอย่างไรนับจากวันนี้

ดังเห็นได้คนสามรุ่นที่นั่งอยู่บนม้านั่งยาวข้างหน้าผมในวันนั้น 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันนี้ (31 พฤษภาคม) เป็นวันที่ 17 นับจากวันเลือกตั้งจบลง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาเหลืออีก กว่า 43 วัน ที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างน้อย ร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตและบัญชีรายชื่อ เพื่อให่้ระบอบการเมืองเดินไปอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดต
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ช่วงที่พ่อแม่มาอยู่ด้วย ผมจะพาพ่อแม่ไปเที่ยวใกล้บ้าง ไกลบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เพราะการพาคนแก่มาอยู่เมืองที่ไม่มีเพื่อนฝูงที่สนิทกันคงไม่ใช่เรื่องสนุกอาทิตย์ก่อนก็ขับออกไปพุทธมลฑลแล้วไปพระปฐมเจดีย์ วกออกไปทางบ้านแพ้ว ออกมาพระรามสอง ก็เจอรถติดยาว ในสั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความนี้เขียนเร็วๆ จากบทสนทนาในไลน์กลุ่มที่ผู้เขียนเป็นสมาชิก เพื่อตอบคำถามสองส่วน ส่วนแรกคือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความได้สัดส่วนระหว่างขีดความสามารถของรัฐกับความคาดหวังจากสังคม ส่วนที่สองคือรัฐกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อเช้ายังงัวเงียอยู่ (เพราะนอนดึก) มิตรสหายในไลน์กลุ่มก็ชวนคุยว่า จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปทำไม่ ดูอย่างอเมริกาสิ ขนาดเปลี่ยนทรัมป์ออกไปเป็นโจ ไบเด็น ถึงวันนี้คนยังติดโควิดสูง แม้กระทั่งในทำเนียบขาว ผมเลยชวนดีเบตว่าเอาไหม ในที่สุด บทสนทนาก็มาถึงจุดที่ว่า เราไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 คนเราจะวัดความเป็นรัฐบุรุษที่แท้ได้ก็เมื่อวิกฤตการณ์มาถึง แล้วเขาสนองตอบต่อวิกฤตการณ์นั้นอย่างไร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในวันที่ 2 มีนาคม 1757 (2300) เดเมียนส์ผู้ปลงพระชนม์ถูกตัดสินว่าให้ "กระทำการสารภาพผิด (amende honorable) หน้าประตูอาสนวิหารแห่งปารีส" เป็นที่ซึ่งเขาจะถูกเอาตัวไปและส่งไปกับล้อเลื่อน โดยสวมแต่เพียงเสื้อเชิ้ต ถือคบเพลิงที่มีขี้ผึ้งเป็นเชื้อหนังสองปอนด์ (ราว 1 กิโลกรัม) จากนั้นเขาจะถูกนำตัวไปบนล้อเ