Skip to main content

พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป]

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ

จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป

๑. ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะมีการตั้ง ผู้สำเร็จราชการ "แผ่นดิน" (ดูรายละเอียดในข้อ ๒ ประกอบ) แต่ในสมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะใช้คำว่า ผู้สำเร็จราชการ "แทนพระองค์" เสมอไป เพราะการแผ่นดินหรือการปกครองนั้น กษัตริย์ไม่อยู่ในฐานะจะบริหารพระราชภาระดังกล่าวได้เลยในระบอบรัฐธรรมนูญ (สำนึก คือ ปฏิเสธสมบูรณาญาสิทธิราชย์/รัฐทรราช/อำเภอใจ) การใช้ถ้อยคำดังกล่าวที่แตกต่างกันนั้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พิจารณาจากพระบรมราชโองการทุกฉบับแล้ว มีความเห็นว่า เกิดจากพระราชนิยม และกฎเกณฑ์การตั้งก็ตามพระราชนิยมในแต่ละครั้ง ๆ ไป

๒. การมอบหมายให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่แทนกษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มักใช้คำว่า ผู้สำเร็จราชการ "รักษาพระนคร" แทนทั้งสิ้น แต่จะมีการใช้คำว่า ผู้สำเร็จราชการ "แผ่นดิน" อยู่บ้างเมื่อครั้นเสด็จฯ ประพาสยุโรปครั้งที่หนึ่งของ ร.๕ เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพราะคำว่า "สำเร็จราชการ" นั้นใช้ในความหมายของการรับหน้าที่แทนคนเก่า (ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น พ้นจากตำแหน่ง) ตามถ้อยคำที่ใช้ทางราชการแต่งตั้งตำแหน่งแห่งยุคสมัยนั้น (เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๓๖, ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๒, หน้า ๑๐๗. ฯลฯ)

๓. ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้ความสำคัญต่อ "กษัตริย์พำนักอยู่ในพระนคร/กรุงเทพฯ หรือไม่" (บางคราวกรณีออกพำนักต่างจังหวัดเรียก "ย้ายราชสำนัก") เป็นสำคัญ และพื้นที่การใช้อำนาจรัฐต้องเป็น "เมืองหลวง" เท่านั้น ไม่มีความคิดที่ซับซ้อนที่จะพิจารณา "องค์กร" และ "เขตอำนาจทางพื้นที่" แต่อย่างใด - และในความเป็นจริง แม้จะมีการรวมศูนย์อำนาจแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่การบังคับมณฑลต่างๆ ก็ใช่จะเชื่อฟังส่วนกลาง (รัฐบาลคณะเจ้า) อาจพิจารณาจาก ใบฎีกา ของเทียนวรรณ ซึ่งรัชกาลที่ ๕ บันทึกว่าเทียนวรรณเขียนฎีกา "ดูถูกตราพระราชสีห์ซึ่งสำหรับรับและดำเนินพระบรมราชโองการว่าจะบังคับกรมการในหัวเมืองไม่ได้"  (คำว่า "กรมการ" เทียนวรรณ หมายถึง ฝ่ายสมุหนายก ซึ่งมี "เขตอำนาจหัวเมืองฝ่ายเหนือ" - ร.๕ อาจรู้สึกเหมือนถูกประชดว่า พระราชอำนาจไม่มีเรี่ยวแรง?) และบรรยายอีกด้วยว่า "ถึงจะไปร้องกล่าวโทษกรมการก็จะไม่ไปถึงไหนได้" (แสดง ความไร้ประสิทธิภาพของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) เทียนวรรณบรรยายในใบฎีกาเช่นนั้นหาใช่ป่วนประสาทเล่นไม่ เขาเพียงแต่อ้างเพื่อใช้เป็นเหตุ "ฎีกาตรง" โดยไม่ต้องผ่านกระทรวงวัง (ดู พระราชกำหนดเก่า ข้อ ๑๘) ซึ่ง ร.๕ ถือว่า การบรรยายเช่นนั้นเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายห้าม ที่ปรากฏเป็นพระราชกำหนดใหม่ /กฎหมายที่กษัตริย์ตราขึ้น) จึงพระราชวินิจฉัยสั่งขังลืมเทียนวรรณโดยไม่ต้องไต่สวน

ฉะนั้น แม้กษัตริย์ออกพ้นเมืองหลวง กษัตริย์ก็ต้องตั้งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ เพราะไม่มีอำนาจที่แท้จริงเหนือจังหวัดอื่นๆ แต่สมัยระบอบรัฐธรรมนูญ ล้วนถือ "เขตอำนาจในทางพื้นที่" ขององค์รัฐเป็นสำคัญ กล่าวคือ ประมุขของรัฐ (กษัตริย์) มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร จึงไม่จำต้องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ถ้อยคำตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจนถึงปัจจุบัน)

๔. ในคราวที่ กษัตริย์ต้องเข้าโรงพยาบาลแล้ว มีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ปรากฏครั้งแรก เมื่อคราวที่ ร.๙ ประสบอุบัติเหตุระหว่างทางจากเจนีวาไปโลซาน เมื่อ ๒๔๙๑ ทำให้เสียดวงตาขวา ทั้งนี้ เป็นกรณีที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือ คณะอภิรัฐมนตรี เป็นโดยตำแหน่ง เพราะเหตุ "ไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร" อยู่ แล้ว (สมัยนั้นคณะอภิรัฐมนตรีเป็นโดยตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๔๙๐) จึงไม่ต้องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จากเหตุ "จะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้" อีก มีข้อสังเกตคือ หากเกิดข้อเท็จจริงตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งขึ้นก่อนแล้ว และมีการแต่งตั้งผู้/คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขึ่นแล้ว ก็ไม่ต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยอาศัยเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซ้ำอีก แต่ถ้าเกิดเงื่อนไขหนึ่งขึ้นก่อนแล้วและยังไม่มีการแต่งตั้ง คณะ/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อมีเงื่อนไขเกิดขึ้นแทรกซ้อนในระหว่างนั้น ย่อมอาศัยทั้งสองเงื่อนไขเป็นเหตุตั้งคณะ/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้เช่นกัน

ฉะนั้น ยังไม่เคยปรากฏกรณีตั้งผู้/คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะเหตุที่ "กษัตริย์เข้าโรงพยาบาล" ขึ้นในระบบกฎหมายไทย.

ถัดจากนี้ เรามาพิจารณาลักษณะการตั้งองค์กรทำหน้าที่แทนกษัตริย์เป็นการชั่วคราวผ่านกฎหมายในแต่ละยุคสมัย ดังนี้

ยุค ๑. สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แบ่งเหตุเป็น ๒ กรณี

๑. กรณีจะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร

- พระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๕

- พระบรมราชโองการ ประกาศ การรักษาพระนครพระบรมราชโองการสั่งในการรักษาพระนคร ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒๓, ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕, หน้า ๑๒๘๓.

- พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จประพาสประเทศชะวา พ.ศ. ๒๔๗๒

- พระบรมราชโองการ ประกาศ การรักษาพระนครเวลาเสด็จประพาสประเทศอินโดจีน พ.ศ. ๒๔๗๓

- พระบรมราชโองการ ประกาศ การรักษาพระนครเวลาเสด็จฯ ประเทศอเมริกา พุทธศักราช ๒๔๗๓ - ๔

- พระบรมราชโองการ ประกาศ การรักษาพระนครเวลาเสด็จประพาสประเทศอินโดจีน พ.ศ. ๒๔๗๓

๒. กรณีจะไม่ประทับอยู่ในพระนครแต่ยังอยู่ในพระราชอาณาจักร

- พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จไปจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (จ.ศ.๑๒๓๐)

- พระบรมราชโองการสั่งในการรักษาพระนคร (ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๓๕, ลงวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๑, หน้า ๑๙๑)

 

ยุค ๒. สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง

๑. ยุคประชาธิปไตย คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร (๒๔-๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ และเมื่อประกาศใช้ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ขึ้นแล้วก็ได้รับรองสถานะ "คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร" ในมาตรา ๑๐ ของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฯ)

๒. ยุคทรราช พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร (จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์) (ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๗๔ ตอน ๗๖, ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐)

 

ยุค ๓. สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญทั้งสิ้น ๖ ครั้ง ดังนี้

เราอาจจำแนกรัฐธรรมนูญ (ตั้งแต่ฉบับ ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕) โดยพิจารณาคุณลักษณะของ "องค์กรผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระมหากษัตริย์" ในกรณีที่จะไม่ประทับในราชอาณาจักรหรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ แบ่งเป็น

๑. การใช้อำนาจ (สิทธิอำนาจ) นั้นตกเป็นของคณะรัฐมนตรีโดยทันที

"ถ้ากษัตริย์มีเหตุจำเป็นชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในพระนคร ให้คณะกรรมการราษฎรเป็นผู้ใช้สิทธิแทน" มาตรา ๕ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕

๒. การใช้อำนาจนั้นตกเป็นของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนซึ่งกษัตริย์แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแต่ถ้าไม่ทรงตั้งไว้ สภาผู้แทนราษฎรก็มีอำนาจตั้งเอง และระหว่างที่คณะรัฐมนตรียังไม่แต่งตั้งก็ให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน

"ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้นให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ถ้าหากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ไซร้ ท่านให้สภาผู้แทนราษฎรปรึกษากันตั้งขึ้น และในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรยังมิได้ตั้งผู้ใด ท่านให้คณะรัฐมนตรีกระทำหน้าที่นั้นไปชั่วคราว" มาตรา ๑๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

๓. การใช้อำนาจนั้นตกเป็นของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนซึ่งกษัตริย์แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของรัฐสภา แต่ถ้าไม่ทรงตั้งไว้ รัฐสภาก็มีอำนาจตั้งเอง ระหว่างที่ยังไม่ตั้ง ให้ตำแหน่งบุคคลบางตำแหน่งในสภาสูงหน้าที่ไปพลางก่อนเป็นคณะ

"ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้นให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา ถ้าหากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ ให้รัฐสภาปรึกษากันตั้งขึ้น และในระหว่างที่รัฐสภายังมิได้ตั้งผู้ใด ให้สมาชิกพฤฒสภาผู้มีอายุสูงสุดสามคน ประกอบเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นชั่วคราว" มาตรา ๑๐ และ "ใน กรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง และมิได้มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งไว้ตามความในมาตรา ๑๐ ให้สมาชิกพฤฒสภาผู้มีอายุสูงสุดสามคนประกอบเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ขึ้นชั่วคราว" มาตรา ๑๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ตราไว้ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙)

๔. การใช้อำนาจ (สิทธิอำนาจ) นั้นตกเป็นของคณะอภิรัฐมนตรีโดยทันที

"ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้แต่งตั้งอภิรัฐมนตรีขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถ้าพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ ก็ให้คณะอภิรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินในหน้าที่คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ทันที" มาตรา ๑๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) (ตราไว้ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐)

๕. การใช้อำนาจนั้นตกเป็นของบุคคลซึ่งกษัตริย์แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของรัฐสภา แต่ถ้าไม่ทรงตั้งไว้ คณะองคมนตรีก็มีอำนาจเลือกบุคคลเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ระหว่างที่คณะองคมนตรียังไม่แต่งตั้ง ก็ให้ประธานองคมนตรีปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน

"ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งด้วยความเห็นชอบของรัฐสภาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ" มาตรา ๑๙ และ "ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามความใน มาตรา ๑๙ ก็ดี ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่นใดก็ดี ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งที่สมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก็ให้ประธานรัฐสภาประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แต่งตั้งผู้นั้นเป็น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" มาตรา ๒๐ และ "ในระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙ หรือมาตรา ๒๐ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อน" มาตรา ๒๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ตราไว้ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒) [หมายเหตุ : เป็นแม่แบบในรัฐธรรมนูญแทบจะทุกฉบับในยุคต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน]

๖. การใช้อำนาจนั้นตกเป็นของบุคคลซึ่งกษัตริย์แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าไม่ทรงตั้งไว้ คณะองคมนตรีก็มีอำนาจเลือกบุคคลเพื่อขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างคณะองคมนตรีที่ยังไม่ตั้ง ให้ประธานองคมนตรีปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน เว้นแต่เวลานั้นไม่มีคณะองคมนตรี ก็ให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไปพลางก่อน

"ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ" มาตรา ๑๗ และ "ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามความ ในมาตรา ๑๗ ก็ดี ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ หรือเพราะเหตุอื่นใดก็ดี ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งที่สมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบแล้ว ก็ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง และ "ในกรณีที่ไม่มีคณะองคมนตรี ให้คณะรัฐมนตรีทำหน้าที่แทนคณะองคมนตรีตามความในวรรคแรก" มาตรา ๑๘ วรรคสอง และ "ใน ระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๑๘ ก็ดี ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามความในมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๑๘ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ดี ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว" มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕

 

ทั้งนี้ เงื่อนไขในการตั้งผู้/คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีสาระสำคัญ ดังนี้

ประการที่ ๑. กรณีจะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร

๑.๑. ตั้ง "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"

- พระราชกฤษฎีกาตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พุทธศักราช ๒๔๗๖

- พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมพระชัยนาทนเรนทร) ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๒, ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๓

๑.๒. ตั้ง "คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"

- ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๖๒ ตอน ๕๒, หน้า ๕๕๙, ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘)

๑.๓. คณะอภิรัฐมนตรี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยตำแหน่ง (รัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๔๙๐)

- พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งอภิรัฐมนตรี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต, พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ, พระยามานวราชเสวี, พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส) ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๖๔ ตอน ๕๔, หน้า ๖๘๘, ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐

ประการที่ ๒. เหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้

๒.๑. ตั้ง "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"

กรณีผนวช

- พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างที่ทรงผนวช ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๙)

๒.๒. ตั้ง "คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"

กรณีพระเยาว์

- สมัย ร.๘ : ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๕๑, ลงวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗, หน้า ๑๓๓๒.

- สมัย ร.๙ : ประกาศ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๔๕ ตอน ๖๓, ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙, หน้า ๔๒๐.

__________________________________

เชิงอรรถ

 กำธร เลี้ยงสัจธรรม, บรรณาธิการ. กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๓. กรุงเทพ : สุขภาพใจ, ๒๕๔๘. หน้า ๕๒.

 จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ ๑๓, พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา, พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๗๙, หน้า ๑๑ และ ๑๕.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโตพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง 'ดาวคะนอง'พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ :  ความเพิกเฉยต่อปัญหาการโยนภาระให้เอกชนแบกรับหน้าที่ให้บริการภายหลังสัญญาอนุญาตฯ/ใบอนุญาตฯสิ้นสุดเป็นการชั่วคราวพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อสังเกตบางประการ : ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลังจากที่ผมได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ( http://prachatai.org/journal/20
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"บวรศักดิ์" โต้ "บวรศักดิ์"พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เมื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตีความเสียงหัวเราะของ เสนีย์ ปราโมช (คดีอาชญากรสงคราม ๒๔๘๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการปรุงนิยายให้กลายเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์: เรื่องพินัยกรรม ร.๕ คือ ให้ ร.๖ พระราชทานรัฐธรรมนูญ?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ 'ข้อโต้แย้งของ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ)' ภาค๒พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล