Skip to main content

"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง]

"...นอกจากจะปรากฏไว้ใน

ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี

งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก

ด้วย...

การที่ขอให้ฉันกลับเข้าเมืองไทยในโอ

กาสที่ฉันได้บรรลุนิติภาวะ ณ วันที่ ๕ ธันวา

คม ศกนี้นั้น ฉันขอขอบใจมาด้วย นอก

จากเวลาจะได้กะชั้นชิดจนเกินไปแล้ว ยังมี

เหตุผลอื่น ๆ ซึ่งฉนเข้าไปไม่ได้..."

พระราชหัตถเลขา ร.๙ ถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม [สะกดและจัดหน้ากระดาษตามต้นฉบับ]

โดยดู วิชัย ประสังสิต. (ว.ช.ประสังสิต ; นามแฝง). ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจล ในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : รัฐภักดี, หน้า ๒๔๗.

หนังสือ ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจล ในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ของ ว.ช.ประสังสิต (เป็นนามแฝงของ นายวิชัย ประสังสิต) เขียนด้วยวิธีการประวัติศาสตร์จากปากคำของผู้สร้างเหตุการณ์อันเป็นประวัติ ศาสตร์ ซึ่งได้รับการยอมรับกันว่า หนังสือดังกล่าวมีสถานะเป็น "หลักฐานชั้นปฐมภูมิ" (Primary sources) ในเรื่องนี้ เมื่อ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๖ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี ได้แสดงความเห็นปรากฏใน คำไว้อาลัย ดังนี้

"คุณวิชัย ประสังสิต หรือ "ว.ช.ประสังสิต" เป็นผู้ที่คนรักหนังสือ หรือนักอ่านหนังสือรู้จักดี รวมถึงผมคนหนึ่ง ซึ่งไม่เคยรู้จักตัวท่าน แต่ก็ได้อ่านข้อเขียนของท่านมามากหลาย จนคล้ายกับว่ารู้จักท่านดี

นี้เป็นนิทัศน์แก่เยาวชนผู้มาภายหลัง ว่าการเขียนหนังสือดี ๆ มาก ๆ นั้น นอกจากจะเป็นการทำบุญ คือบำรุงสติปัญญาความรู้ของประชาชนแล้วยังเป็นการทำชื่อไว้ให้คนทั้งหลายได้ รู้จัก เป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์สกุลด้วยอีก..."

ในเมื่อหนังสือ ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจล ในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ของ นายวิชัย ประสังสิต มีสถานะเป็น "หลักฐานชั้นต้น" จึงสมควรนำการอ้างอิงเอกสารของทางราชการที่ ถูกอ้างอิงทั้งฉบับไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าวมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาค้นคว้าต่อไป สำหรับเอกสารของทางราชการซึ่งนำมาเผยแพร่ในที่นี้ คือ "พระราชหัตเลขาแสดงพระปีติโสนัสด้วยการรัฐประหาร ถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐)

โดย ดาวน์โหลดเอกสารประวัติศาสตร์ : http://www.mediafire.com/?e9s35a14gtraad1

[ตราครุฑ]

โลซานน์

๒๕ พฤศจิกายน

ถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ฉันได้รับหนงสือลงวันที่ ๑๔ เดือน นี้ ทราบ

ความตลอดแล้ว 

เมื่อเหตุการณ์ได้บังเกิดขึ้นเช่นนี้ ก็มี

ความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้น

ไป ประชาชนพลเมืองไทยที่รักของฉัน ซึ่ง

ฉันได้เป็นห่วงใยความทุกข์สุกของเขาอยู่

เสมอตลอดมา คงจะได้บรรเทาและปลด

เปลื้องความลำบากยากแค้นต่าง ๆ ลงไป

จนหมดสิ้น และมีความสุขสบายตามสม

ควรของเขา

 

ฉันรู้สึกพอใจยิ่งนักที่ทราบว่าเหตุการณ์

ที่ได้บังเกิดขึ้นนี้มิได้เสียเลือดเนื้อ และชีวิต

ของคนไทยด้วยกันเลย อนึ่งที่ได้บอกมา

ว่าทุก ๆ คนที่ได้รวมปฏิบัติการครั้งนี้ ได้

ตกลงแน่วแน่ว่า ไม่ต้องการช่วงชิงอำนาจ

หาความดีใส่ตนเลย มีจุดประสงค์เพียง

แต่จะให้รัฐบาลใหม่ที่เข้มแข็งได้เข้ามาบริ

หารราชการ ทำนุบำรุงประเทศให้เจริญ

รุ่งเรืองและปลดเปลื้องความยุ่งยากที่บัง

เกิดขึ้นฉะเพาะหน้า ในบัดนี้ ให้บรรเทาเบา

บางลง ให้ประชาชนได้รับความสงบสุข

ร่มเย็นตามสมควรแก่สภาพ และให้ประ

เทศชาติได้รับการทำนุบำรุงให้เจริญ ฯลฯ

นั้นก็เป็นการแสดงให้เห็นในอุดมคติอันดียิ่ง

และเป็นความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติโดย

แท้จริง เมื่อได้ยึดถืออุดมคติอันดีดังกล่าว

นนำมาปฏิบัติ นอกจากจะปรากฏไว้ใน

ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี

งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก

ด้วย ขอให้ทุก ๆ ฝ่ายจงช่วยกันร่วมมือ

ประสานงานด้วยดี เพื่อนำมาซึ่งความ

เจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติที่รักของ

เราจะเป็นความพอใจสูงสุดของฉัน 

การที่ขอให้ฉันกลับเข้าเมืองไทยในโอ

กาสที่ฉันได้บรรลุนิติภาวะ ณ วันที่ ๕ ธันวา

คม ศกนี้นั้น ฉันขอขอบใจมาด้วย นอก

จากเวลาจะได้กะชั้นชิดจนเกินไปแล้ว ยังมี

เหตุผลอื่น ๆ ซึ่งฉนเข้าไปไม่ได้ ฉันได้

สั่งให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์ เพ็ญสิริ จักรพันธ์

ไปแจ้งให้เข้าใจโดยละเอียดแล้ว แต่อย่าง

ไรก็ดี ฉันมีความประสงค์ที่จะกลับเข้า

ไปกรุงเทพฯ ชั่วคราว เพื่อถวาอพระเพลิง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในมีนา

คมหน้านี้ ตามที่ได้กะกันไว้ในขณะที่อยู่

กรุงเทพฯ ชั่วคราวนี้ ฉันหวังว่าจะได้ช่วย

ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติบ้านเมือง ได้

บ้างไม่มากก็น้อย

(ลงชื่อ) ภูมิพลอดุลย์เดช

หวังว่าท่านทั้งหลายคงนำ "หลักฐานชั้นต้น" นี้จะเป็นประโยชน์ประกอบการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลังรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ (๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) ได้ตามสมควร.

_______________________________

เชิงอรรถ

เสทื้อน ศุภโสภณ, บรรณาธิการ. วิชยานุสรณ์, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมเพลิง นายวิชัย ประสังสิต วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๒๗. หน้า ๓๐.

สัญญา ธรรมศักดิ์. "คำไว้อาลัยของ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี" ใน เสทื้อน ศุภโสภณ, บรรณาธิการ. วิชยานุสรณ์, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมเพลิง นายวิชัย ประสังสิต วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๒๗. หน้า ๑.

วิชัย ประสังสิต. (ว.ช.ประสังสิต ; นามแฝง). ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจล ในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : รัฐภักดี, หน้า ๒๔๓ - ๒๔๘.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโตพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง 'ดาวคะนอง'พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ :  ความเพิกเฉยต่อปัญหาการโยนภาระให้เอกชนแบกรับหน้าที่ให้บริการภายหลังสัญญาอนุญาตฯ/ใบอนุญาตฯสิ้นสุดเป็นการชั่วคราวพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อสังเกตบางประการ : ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลังจากที่ผมได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ( http://prachatai.org/journal/20
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"บวรศักดิ์" โต้ "บวรศักดิ์"พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เมื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตีความเสียงหัวเราะของ เสนีย์ ปราโมช (คดีอาชญากรสงคราม ๒๔๘๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการปรุงนิยายให้กลายเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์: เรื่องพินัยกรรม ร.๕ คือ ให้ ร.๖ พระราชทานรัฐธรรมนูญ?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ 'ข้อโต้แย้งของ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ)' ภาค๒พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล