พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
(เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
ผมมีข้อสังเกตสั้นๆ เกี่ยวกับบทความ "พระยาพหลฯ อ่านประกาศอะไรในนาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕?" ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับล่าสุด (มิ.ย.๒๕๕๕) หน้า ๗๒ ผู้เขียน (ปรามินทร์ เครือทอง) โดยคุณ ปรามินทร์ฯ อ้างอิงข้อมูลจาก "นายหนหวย" ในหนังสือ ทหารเรือปฏิวัติ (๒๕๒๑) ในประเด็น "พระยาพหลฯ อ่านประกาศเวอร์ชั่นสั้นๆ" นั้นในเบื้องต้น เป็นข้อมูลที่สอดคล้องกับ คำบรรยายของ "ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์" ในหนังสือ ตัวตายแต่ชื่อยัง (๒๕๐๘) แต่ว่า เนื้อหาใจความของข้อความสั้นๆ ที่พระยาพหลฯ อ่านนั้น ไม่ตรงกันครับ
เรามาดูฉบับของ ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์ กันก่อนนะครับ
"บัดนี้บุคคลคณะหนึ่งมีนามว่าคณะราษฎร ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองของรัฐบาลไว้ได้หมดแล้ว ทั้งได้จับเจ้านายและบุคคลสำคัญเอามาไว้เป็นตัวประกันด้วย เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชให้เป็นประชาธิปไตย จึงขอประกาศห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดขัดขวางหรือต่อสู้เป็นอันขาด ถ้าใครฝ่าฝืนจะถูกลงโทษประหารชีวิต ด้วยการยิงเป้าในทันที" (จงกล ไกรฤกษ์, หน้า ๘๖)
ส่วน "ประกาศคณะราษฎร" ที่นายปรีดี พนมยงค์ ตีพิมพ์จากโรงพิมพ์นิติสาส์น จำนวน ๓,๐๐๐ แผ่นนั้น ก็ได้ให้ ร้อยตรีเที่ยง นั่งเรือแจว นำไปมอบให้ พระยาทรงสุรเดช (จงกล ไกรฤกษ์, หน้า ๗๒) เมื่อรับใบปลิวมาแล้ว "พระยาทรงสุรเดช" จึงนำ 'ประกาศคณะราษฎร' (ที่เรารู้จักกัน) อ่านให้ "ที่ประชุมนายทหาร" ฟัง (จงกล ไกรฤกษ์, หน้า ๘๗)
แต่ในฉบับของ "นายหนหวย" (๒๕๒๑) ที่ คุณปรามินทร์ฯ นำมาอ้างอิง ศิลปวัฒนธรรม ฉบับล่าสุด หน้า ๗๒ นั้น มีเนื้อความดังนี้
"บัดนี้คณะราษฎร, ทหาร, พลเรือน ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองไว้แล้วโดยเด็ดขาด เพื่อลบล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชอันเก่าแก่ลง และสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นแบบอารยะชาติทั้งหลาย
ขอให้นาย ทหารที่มิได้เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติอยู่ในความสงบอย่าทำการขัดขวาง และออกจากลานพระรูปฯ ไปไม่ได้จนกว่าจะได้สั่งให้กลับไป หากจะพอใจให้ความร่วมมือสนับสนุนแก่คณะราษฎร ซึ่งยึดอำนาจการปกครองก็ยินดียิ่ง ทั้งนี้เพื่อความเจริญของชาติบ้านเมือง" (นายหนหวย, หน้า ๑๓๔)
และในบทความเดียวกันนี้เอง คุณปรามินทร์ฯ ได้นำข้อความต้นฉบับลายมือของพระยาพหลฯ มายกไว้ด้วย ซึ่งจะพบว่า สอดคล้องกับฉบับ "ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์" ทีเดียว ข้อความของต้นฉบับลายมือพระยาพหลฯ เล่าความทรงจำ นั้นมีความว่า
"ข้าพเจ้าได้ยืนกล่าวสุนทรพจน์เพื่อปลุกใจเพื่อนที่เคยร่วมตายทั้งหลาย และได้สั่งการอย่างเด็ดขาดในการที่จะดำเนินการต่อไป และได้กำหนดโทษไว้อย่างหนัก ถ้าผู้ใดขัดขืนคำสั่งและละเมิดวินัยในการกระทำหน้าที่ ซึ่งเกี่ยวแก่การเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น" (ศิลปวัฒนธรรม,ปีที่ ๓๓ ฉบับ ๘, มิ.ย.๒๕๕๕, หน้า ๗๒)
อันบ่งชี้ "ความรับผิด" สอดคล้องกับฉบับ ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์ (ประหารชีวิตในทันที) คือ "กำหนดโทษไว้อย่างหนัก" แต่ฉบับของนายหนหวย นั้น "ไม่ระบุความรับผิด" ไว้โดยชัดแจ้ง จึงไม่น่าจะเรียกได้ว่า "คำบรรยายของนายหนหวย สอดคล้องต้องกัน กับต้นฉบับลายมือเขียนของพระยาพหลฯ" ดังที่คุณ ปรามินทร์ เครือทอง ได้ด่วนกล่าวอ้าง (ศิลปวัฒนธรรม, มิ.ย.๒๕๕๕, หน้า ๗๒).
หมายเหตุ : ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์ เป็นอดีตกบฏ ๒๔๗๖ และถูกส่งไปอยู่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล (รุ่นแรกๆ) เป็นระยะเวลา ๑๑ ปี.
__________________
หนังสืออ้างอิง
จงกล ไกรฤกษ์. ตัวตายแต่ชื่อยัง. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : เกื้อกูลการพิมพ์, ๒๕๐๘.
นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพ : วัชรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๑.
........................................
ภาคผนวกเพิ่มเติม
คำเล่าเหตุการณ์ของลูกศิษย์และเ
"เช้ามืด ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
นำทหารใหม่ ๑ กองร้อย ฝึกริมคลองติดถนนพระราม ๕ ตามคำสั่ง ร.อ.หลวงวรณสฤช ออกมาที่สนามควบคุมใกล้ชิดด้วย
รุ่งสางผ่านไปได้ไม่กี่นาทีเห็น
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ถือกระดาษแผ่นหนึ่งในมือ กล่าวแก่ทหารทั้งปวง เสียงดัง แต่สั่นด้วยความตื่นเต้น ข้าพเจ้ายืนแถวหน้าสังเกตเห็นถน
"นายทหาร นักเรียนนายร้อยและทหารทั้งปวง"
บรรยากาศอันสงบเงียบ ณ ที่นั้น ถูกทำลายทันทีด้วยเสียงตบเท้าก้
ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านได้
"...การปฏิบัติครั้งนี้เกิดขึ้น
เหตุผลข้อที่ ๑ ก็คือ เป็นที่ประจักษ์แน่แล้วว่าระบอบ
เหตุผลข้อที่ ๒ พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แทบทั้ง
ทั้งสองข้อนี้นี้ประกอบกัน ย่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้ช
ข้อความข้างต้นทั้งหมด เขียนโดยพันเอกพระยาทรงสุรเดช มิได้ต่อเติมแก้ไขหรือเปลี่ยนแป
________________________
ที่มา : สำรวจ กาญจนสิทธิ์, "ท.ส.เจ้าคุณทรงสุรเดช : สารคดีเบื้องหลังประวัติศาสตร์ก