การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทย ปรากฏเมื่อคราวพระยาพหลพลพยุหเสนา ใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจจากการ "รัฐประหารโต้อภิวัฒน์" ของรัฐบาลมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งกระทำการกำเริบตรา "พระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่"[๑] และออก "แถลงการณ์ของรัฐบาล"[๒] เพื่องดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันเป็นการกระทำนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ เป็นการแย่งชิงอำนาจไปจากปวงชน (Usurpation) เพื่อถวายคืนให้ในหลวง อันมีผลในทางกฎหมายคือ "การรัฐประหารทางรัฐธรรมนูญ" สภาพการณ์เป็นไปตามที่ พระยาพหลฯ กล่าวว่า "...พระยามโนฯ "เขาคงคิดจะถวายอำนาจคืนในหลวงกัน""[๓] ซึ่งการกระทำของ "มหาอำมาตย์โท พระยามโนประกรณ์นิติธาดา" เป็นการโต้อภิวัฒน์-ทำลายรัฐธรรมนูญและระบอบอันเป็นคุณค่าพื้นฐานของรัฐธรรมนูญโดยตรง
ฉะนั้น การใช้อำนาจของ "คณะทหารเพื่อให้มีการเปิดสภาและบังคับใช้รัฐธรรมนูญนั้น โดยพระยาพหลพลพยุหเสนา" ในปี ๒๔๗๖ นั้นจึงเป็น การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (ครั้งแรก) เราหาควรนับรวมว่าเป็นการกระทำรัฐประหารไม่.
__________________________
[๑] ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๐ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๖. หน้า ๑-๒. ดู http://www.mediafire.com/?7mhgc6nbcncgiea
[๒] ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๐ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๖. หน้า ๗-๙. ดู http://www.mediafire.com/?uqgivlqyqp341ld
[๓] ดู เสทื้อน ศุภโสภณ. ชีวิตทางการเมืองของ พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์. พิมพ์ครั้งที่ ๑. (รวบรวมเรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ พ.อ.พระยาฤทธิ์ฯ). พระนคร : วัชรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๔. หน้า ๑๙๑.