Skip to main content

การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทย ปรากฏเมื่อคราวพระยาพหลพลพยุหเสนา ใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจจากการ "รัฐประหารโต้อภิวัฒน์" ของรัฐบาลมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งกระทำการกำเริบตรา "พระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่"[๑] และออก "แถลงการณ์ของรัฐบาล"[๒]  เพื่องดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันเป็นการกระทำนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ เป็นการแย่งชิงอำนาจไปจากปวงชน (Usurpation) เพื่อถวายคืนให้ในหลวง อันมีผลในทางกฎหมายคือ "การรัฐประหารทางรัฐธรรมนูญ" สภาพการณ์เป็นไปตามที่ พระยาพหลฯ กล่าวว่า "...พระยามโนฯ "เขาคงคิดจะถวายอำนาจคืนในหลวงกัน""[๓] ซึ่งการกระทำของ "มหาอำมาตย์โท พระยามโนประกรณ์นิติธาดา" เป็นการโต้อภิวัฒน์-ทำลายรัฐธรรมนูญและระบอบอันเป็นคุณค่าพื้นฐานของรัฐธรรมนูญโดยตรง

ฉะนั้น การใช้อำนาจของ "คณะทหารเพื่อให้มีการเปิดสภาและบังคับใช้รัฐธรรมนูญนั้น โดยพระยาพหลพลพยุหเสนา" ในปี ๒๔๗๖ นั้นจึงเป็น การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (ครั้งแรก) เราหาควรนับรวมว่าเป็นการกระทำรัฐประหารไม่.
__________________________
[๑] ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๐ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๖. หน้า ๑-๒. ดู http://www.mediafire.com/?7mhgc6nbcncgiea
[๒] ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๐ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๖. หน้า ๗-๙. ดู http://www.mediafire.com/?uqgivlqyqp341ld
[๓] ดู เสทื้อน ศุภโสภณ. ชีวิตทางการเมืองของ พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์. พิมพ์ครั้งที่ ๑. (รวบรวมเรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ พ.อ.พระยาฤทธิ์ฯ). พระนคร : วัชรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๔. หน้า ๑๙๑.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ) เรื่องหลักความมีส่วนได้เสียและข้อห้ามนั่งพิจารณาคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดี "ที่มา สว."พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 การนิรโทษกรรมประชาชนตามกรอบร่างพรบ.ฉบับวรชัยฯ ไม่ขัดหลักเสมอภาค พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล กรรมาธิการวิสามัญพิจาร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยพระเจ้าท้ายสระ คดี Oia Sennerat v. Alexander Hamilton (ค.ศ. ๑๗๑๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ความชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ :กรณี ร.๙ พิพากษาคดีในศาล?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รวบรวมข้อมูลการเดินทางเยือนต่างประเทศของพระบรมวงศานุวงศ์ (๑ ม.ค.-๑๒ ก.ย.๒๕๕๖)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กรณีบอย โกสิยพงษ์ เรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ประธานรัฐสภากับการประท้วงของประชาธิปัตย์ชกต่อยตำรวจสภาพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ แคเธอรีน บาววี เรื่องสิทธิเลือกตั้งสตรี ร.ศ.๑๑๖พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ต้นตอของคำอธิบายเรื่องมิให้นำ "บทยกเว้นความผิด" มาใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยการดูหมิ่น พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ศาลไทยในยุคก่อนทำสนธิสัญญาเบาว์ริงพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล