3G คืออะไร ?

8 November, 2009 - 00:00 -- Anonymous

- 1 -


3G
เป็นตัวย่อของคำว่า 3rd Generation หมายถึง ยุคที่ 3 ของเทคโนโลยีไร้สายของโทรศัพท์เคลื่อน ที่ โดยระบบ 3G นั้นพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน International Mobile Telecommunications 2000 (IMT-2000) ซึ่งถ้าจะให้อธิบายคำจัดกัดความแบบเข้าใจง่ายมากขึ้นอาจกล่าว ได้ว่า 3G นั้นจะต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้, ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง, บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดย ไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) และ อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที รวมทั้งทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที


ปัจจุบันการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่เรียกว่า GPRS จัดอยู่ในช่วง 2.5G และ EDGE เป็นช่วง 2.75G

- 2 -

มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G

องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 ได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เอาไว้เป็นมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ

มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำ ไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตรา เร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย - โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการ เชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น

มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลกดังแสดงในรูปที่ 5 ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย - โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิด ให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป

- 3 -


ในประเทศไทยกำลังจะมีการให้บริการเครื่องข่าย 3G บนคลื่นความถี่ 2100MHz กันบ้านแล้ว โดยเจ้าแรกเริ่มโดย TOT และในเร็วๆนี้ จะมีการเปิดประมูลช่วงสัญญาณในคลื่นความถี่ 2100MHz ส่วนที่เหลือจากนี้เช่นกัน (ในระหว่างนี้อยู่ในการพิจารณาทบทวนการออกกฤหมาย, การออกใบอนุญาต รวมทั้งจะต้องมีการประมูลในอนาคต)

เทคโนโลยีในการใช้งาน 3G สามารถทำงานได้หลายคลื่นความถี่ เช่น 850, 900, 1800 และ 1900 MHz แต่สำหรับเคลื่อน 2100 MHz เป็นคลื่นความถี่ที่ใช้งานกันทั่วโลก (การใช้งาน 3G จะต้องตรวจสอบว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้รองรับคลื่นความถี่ใดบ้าง)

- 4 -


ประโยชน์ที่จะได้รับจาการใช้งานเครือข่ายยุค 3G คือ การรับ-ส่งข้อมูลในความเร็วสูง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้มากถึง 2 Mbps ถ้าอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมที่สุด บริการใหม่ที่จะมาพร้อมกับระบบ 3G ก็คือ Video call และระบบ Streaming

  • Video call หรือ การสนทนาแบบเห็นหน้าคู่สนทนาผ่านกล้องด้านหน้า

  • Streaming เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คุณชมคลิปวีดีโอ รายการโทรทัศน์ วิทยุ และ ฟังเพลงออนไลน์ ได้ในแบบเรียลไทม์

  • Mobile Internet การใช้งานอินเตอร์เนตในโทรศัพท์มือถือเต็มรูปแบบ


อ้างอิง:

============================================================================================

หรือก๊อปได้จากที่นี่

http://docs.google.com/View?id=dfjm336b_43dqjr99gg

 

 

ระบาย vol.1

8 February, 2010 - 20:02 -- Anonymous

ไม่ว่าอะไรก็ตาม วันนี้มันรุ้สึกเหมือนไม่มั่นใจ

น่าเบื่อหน่ายทุกอย่างไม่เป็นไปอย่างที่คิด

ถ้าคนๆนั้นไม่ทำให้รู้สึกว่าเจ็บปวดอย่างนี้

เหมือนกับว่าความเชื่อใจกันมันได้หายไป

เรื่องทั้งหมดมันไม่ได้มีอะไรมากเลย

ถ้ามันไม่เกรียนแบบนี้ อยากจะพูดแรงๆ

ก้อทำไม่ได้  ไม่รู้จะพูดกับใคร ถึงแม้พูดไปแล้ว

ก้อไม่สามารถขจัดความกังวลใจนี้ได้

สุดท้ายมันก้อกลายเป็นสิ่งที่ขุ่นข้องหมองใจ

ไปอีกนาน

ไม่เคยอยากเกลียดใคร และก้อไม่อยากให้ใครมาว่าตัวเอง

ทำไมถึงได้เป็นแบบนี้

งานก้อทำมาด้วยกัน แต่กลับดูเหมือนเธอทำเพียงคนเดียว

ราวกับว่าชั้นไม่ได้มีส่วนร่วมม เหอะๆ

ช่างน่าขัน พอถึงเวลาแก้งาน ตัวเองก้อโยนมาให้

แต่พอทำไม่ถูกใจก้อกลับไม่พอใจกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว

ให้ตายเหอะ 

ทำไมต้องเซ็นสัญญาเน็ตใหม่ ใครตอบได้ช่วยบอกที !?

28 November, 2009 - 00:00 -- Anonymous

เมื่อไม่นานมานี้คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ร้องเรียนต่อสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคฝ่ายกิจการโทรคมนาคม “เรื่อง การเซ็นต์สัญญาการใช้งาน Max net Broadband Internet” ที่ให้บริการโดย บริษัททีทีแอนด์ทีจำกัด(มหาชน) (TT&T)ซึ่งทางผู้ให้บริการติดต่อมายังคุณสุรีรัตน์ให้เซ็นต์สัญญาชุดใหม่ที่ทำขึ้นระหว่างผู้ให้บริการรายใหม่ คือ บริษัททริปเปิ้ลทรีบร์อดแบนด์จำกัด(มหาชน) (Triple T)ซึ่งเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการทำการตลาดและให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตของTT&T และผู้ใช้บริการคือคุณสุรีรัตน์ แม้ว่าการให้บริการต่างๆทางอินเตอร์แก่ผู้ใช้บริการจะไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลยก็ตาม ตลอดระยะเวลาเกือบสี่เดือนนับตั้งแต่วันแรกที่ทาง TT&T ติดต่อมาและนำเอกสารสัญญาไปที่บ้านจนกระทั่งวันนี้ คุณสุรีรัตน์ยังไม่ได้เซ็นต์สัญญาดังกล่าวแต่อย่างใด แม้ว่าจะถูกเร่งรัดจากทาง TT&T อยู่เรื่อยๆก็ตาม

 

สาเหตุที่ยังไม่เซ็นต์สัญญานั้น คุณสุรีรัตน์ให้เหตุผลว่า “สิ่งที่เป็นกังวลก็คือว่า เราถูกเปลี่ยนผู้ให้บริการโดยที่ไม่ได้รับการบอกกล่าวหรือว่าแจ้งให้ทราบเลย ตอนนี้เราถูกย้ายผู้ให้บริการแต่ว่าบริการเราไม่ถูกตัด แต่ว่าคุณภาพบริการเป็นยังไงเราก็ยังไม่รู้เหมือนกัน ก็เลยคิดว่าถ้าเกิดเหตุการณ์นี้กับบริการอื่น ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่มันเป็นปัญหาตอนนี้ก็คือ กรณี 3G ซึ่งถ้าตอนนี้เขาให้อนุมัติ 3G ขึ้นมา บริษัทที่ได้สัมปทาน 3G นี่ถ้าเกิดเป็นบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่ ให้บริการมือถือเราอยู่ แล้วอยู่ๆเขาย้ายเราไปให้บริษัทใหม่เลย ได้หรือเปล่า เพราะว่าเดิมนี่ บริษัทที่ให้บริการมือถือเดิมของเรานี่เขาต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐ แต่ว่าถ้าเขาไปได้ใบอนุญาต 3G แล้ว บริษัทจะไปทำ 3G โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐอีกต่อไป มันก็เลยทำให้เราคิดว่า บริษัทจะย้ายผู้ให้บริการต่อไปแล้วเขาก็ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐ เขาเอาไว้ในคลื่นใหม่ที่เขาได้รับการจัดสรรใหม่เลย ซึ่งประชาชนอาจจะยินดีก็ได้ อยู่ๆเราก็ถูกย้ายบริการจากผู้ที่ให้บริการเราอยู่ 2.5G แล้วถูกย้ายไปอยู่ 3.5Gเราก็อาจจะพอใจก็ได้เพราะว่า แต่ว่านั่นเป็นการให้บริการต้นทางแต่ว่าบริการปลายทางก็คือเราก็ต้องซื้อเครื่องใหม่ เพราะว่าเครื่องเราใช้กับ 3G ไม่ได้ แต่ว่าแบบนี้มันทำให้ย้ายผู้ให้บริการได้ เป็นเรื่องที่กังวลและเรื่องนี้ก็มีผู้บริโภคติงไปกับ กทช. ว่ารีบร้อนให้ประมูลใบอนุญาต 3G มันจะทำให้ผู้ให้บริการเลี่ยงการจ่ายสัมปทานได้”

นอกจากเหตุผลเรื่องการเปลี่ยนผู้ให้บริการโดยไม่เจ้งให้ทราบและการจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐแล้ว คุณสุรีรัตน์ยังมองว่า ตอนแรกที่TT&T เร่งรัดให้เซ็นต์สัญญานั้น เนื่องจากเขาไม่สามารถหักค่าบริการจากบัตรเครดิต ดังนั้นมันจึงหมายความว่าไม่ได้จ่ายค่าบริการ Broadband Internet เป็นเวลาสามเดือนและเดือนที่สี่ทาง TT&T ก็ส่งใบเสร็จไปที่บ้านพร้อมยอดชำระของสองเดือนที่ผ่านมาด้วย เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความงุนงงเป็นอันมากและคุณสุรีรัตน์ยังไม่ได้สอบถามเกี่ยวกับการหักค่าบริการทางบัตรเครดิตในระยะนี้แต่อย่างใด

ซึ่งทางคุณสุรีรัตน์ก็ยืนยันว่าจะไม่มีการเซ็นต์สัญญาฉบับใหม่นี้แต่อย่างใด เพราะนอกจากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ทาง TT&T ยังไม่ระบุไว้ด้วยว่า “หากเซ็นต์สัญญาฉบับใหม่แล้ว สัญญาฉบับเก่าจะถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นมา ควรจะยึดสัญญาฉบับไหนเป็นหลักแน่”

 

 

สัมภาษณ์ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์: มองอนาคต 3G ในเมืองไทย

19 November, 2009 - 00:00 -- Anonymous
  • เมื่อพูดถึงเทคโนโลยี 3G นั้นสามารถใช้งานบนคลื่นความถี่เดิมที่มีอยู่แล้วได้หรือไม่

ได้ครับ คือเรื่องความถี่ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะว่าทุกวันนี้ในหลายประเทศก็ใช้ความถี่หลายคลื่นอยู่แล้ว ตัวเครื่องเองก็สามารถรับสัญญาณได้หลายคลื่น นอกจากคลื่นแปลกๆ เช่น 850MHz ที่ไม่ค่อยมีใครใช้ ก็จะหาอุปกรณ์ได้ยากหน่อย

  • เหมือนในปัจจุบันเวลาเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ ก็ต้องเลือกด้วยว่ารับสัญญาณในช่วงคลื่นความถี่ไหนบ้าง แล้ว 3G ก็ทำงานได้ในทุกคลื่นความถี่

ก็ไม่ใช่ทุกความถี่เสียทีเดียว แต่ก็ได้เกือบหมด คือ 3G เป็นเทคโนโลยีอีกแบบหนึ่ง คือถ้ามองเป็นเหมือน 2G กับ WIMAX ก็เป็นคนละเทคโนโลยี แต่มีอุปกรณ์ที่รองรับได้เหมือนกัน อันนี้ก็เหมือนกัน คือ 2G กับ 3G

  • แล้วทำไมต้องมีคลื่นความถี่ใหม่ 2100MHz

2100MHz คือ ต่างประเทศเค้ามีกันอยู่แล้ว แต่เมืองไทยยังไม่มี หรือเพื่อป้องกันคลื่นรบกวนกันระหว่าง 2G กับ 3G แต่ด้วยเทคโนโลยีมันสามารถทำ 3G บนคลื่นความถี่เดิมได้ เช่น 3G บน 1800MHz ก็ทำได้

  • อย่างนั้นการมี 3G บนความถี่ใหม่ ก็เพื่อแยกกันชัดเจนมากขึ้น และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเค้าก็มีกันอยู่แล้ว

ใช่ครับ เพราะว่าการที่ทั่วโลกมีความถึ่นั้นให้บริการอยู่แล้ว การเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือมาใช้งานก็ง่ายขึ้น

  • พอทราบความคืบหน้าในการประมูลสัมปทานคลื่นความถี่ในประเทศไทยมั้ย

ไม่ได้ติดตามใกล้ชิด แต่ล่าสุดเลื่อนออกไปเป็นปีหน้า

  • การใช้งาน 3G อย่างเป็นรูปธรรม จะออกมาในลักษณะไหนบ้าง

ความหมายของ 3G ที่เรียกกันชัดเจนว่าเป็น Mobile Broadband ก็คือเอา Broadband ตามบ้าน เปลี่ยนให้มันไม่มีสาย พวกอินเตอร์เนต ADSL ทำอะไรได้ 3G ก็ทำได้เกือบหมด ก็คงมีความแตกต่างด้านความเสถียรก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่จะมีปัญหาตรงที่เมื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ที่อุปกรณ์มีศักยภาพมากกว่า มันก็ทำอะไรได้เยอะ เช่น เล่นเกมออนไลน์ได้ แต่พอเป็นโทรศัพท์มือถือ แม้จะมีเนตเวิร์กที่ดี แต่ก็อุปกรณ์ไม่รองรับ ก็ไม่สามารถทำหลายอย่างได้เหมือนคอมพิวเตอร์

  • อาจจะต้องมองไปเฉพาะเรื่อง Video Call หรือการดู Video Online

หรือไม่ก็มีอีกแบบหนึ่งคือ ตอนนี้ในหลายประเทศ จะมีโน๊ตบุคที่มีตัวเลือก ใช้งาน Mobile Broadband เช่น ถ้าลองสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ Dell ก็จะมีตัวเลือกว่าจะใช้งาน Broadband หรือไม่ ก็จะมีช่องใส่ SIM โดยไม่ต้องมีแอร์การ์ด ก็เล่นอินเตอร์เนตได้

  • แล้ว 3G จะเปลี่ยนวิถีการใช้งานมือถือในเมืองไทย

คิดว่าเปลี่ยนไม่เยอะ เพราะมันเป็นเนตเวิร์คที่มันเร็วขึ้นเท่านั้น มันขึ้นอยู่กับ application ต่อให้มีเนตเวิร์ค แต่ไม่รู้จะทำอะไรก็ไม่มีประโยชน์

  • อย่างนี้อาจจะ ต้องมองว่าอุตสาหกรรมไหนจะใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด เช่น พวกบริการด้านบันเทิง อาจมีบริการดาวน์โหลดคลิปวิดีโอได้เร็วขึ้น

ใช่ๆ อาจจะเป็นพวกบริการฟังเพลงออนไลน์ อาจมีแพคเกจเหมาจ่ายที่สามารถฟังเพลงได้ไม่จำกัด

  • ในประเทศไทยจะมี 3G เต็มรูปแบบในเร็วๆ นี้หรือเปล่า

อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับ กทช. คือตอนนี้เทคโนโลยีทุกอย่างพร้อมแล้ว application ก็เป็นไปตามกระแสโลก ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่นมี 3G ตั้งแต่ ปี 2001 แต่ตอนนั้นไม่มี twitter หรือ facebook ก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร แต่พอเดี๋ยวนี้ก็เริ่มรู้แล้วว่าจะเอาไปใช้อะไรบ้าง อย่างง่ายที่สุดก็ถ่ายรูปด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วโพสต์ในเว็บ twitpic แต่ปัญหาก็ติด regulator ที่ยังไม่สามารถออกใบอนุญาต

 

 

Underware's Story

10 November, 2009 - 15:54 -- Anonymous

ใคร : บล็อกกาซีนประชาไท
ทำอะไร : เปิดรับผลงานนิสิตนักศึกษา
ที่ไหน : เผยแพร่ใน http://blogazine.prachatai.com/user/khonlek
อย่างไร : ไม่มีค่าตอบแทน
ทำไม : นอกจากได้เสนอผลงานแล้ว ยังจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับชุมชนบล็อกกาซีนประชาไทด้วย

สนใจสอบถาม-ส่งผลงานได้ที่ netcord@prachatai.com

 

ผลงานจาก
มณีรัตน์ สุดแสงเทียนชัย, มูรธา จรรยาวรลักษณ์, อภิสฤษฎิ์ นิรุชทรัพย์รดา และธนพล ทรัพย์รื่นรวย
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในวิชาสังคมวิทยาอุตสาหกรรม พวกเขาได้รับมอบหมายให้ออกแบบสื่อสร้างสรรค์ที่สามารถสื่อสารออกไปยังสังคมภายนอกได้ หลังจากได้ลงพื้นที่คุยกับพี่ๆ แรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บชุดชั้นใน-ชุดว่ายน้ำ พวกเขาก็ตัดสินใจนำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของแรงงาน ใครจะไปนึกว่าปัญหายากๆ หนักๆ ของการเลิกจ้างแรงงาน จะกลายเป็น ‘การ์ตูนแรงงาน’ ไปได้