Skip to main content
"สงสารท่านผู้นำ"

นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ

 

"ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม

"ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"

ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก

ฉันคิดว่าการสนทนาของเราซึ่งเป็นคนแปลกหน้าที่พบกันในซอกหนังสือภายในห้างสรรพสินค้าใหม่คงจะจบลงเพียงนี้ แต่ไม่จบ เธอพูดต่อว่า

 

"เขาอาจจะได้กลับนะ รัฐบาลใหม่น่าจะให้เขากลับ"

ฉันพยักหน้าพร้อมกับเปิดหนังสือเล่มเดียวกับเธอ

 

วันนี้ฉันไม่ได้รีบเร่งไปไหน ผ่านทางกลับบ้านมีห้างสรรพสินค้าใหม่มาเปิดใกล้ ๆ อำเภอ ใคร ๆ ในหมู่บ้านต่างพากันไปห้างสรรพสินค้า อาทิตย์แรกที่เปิดห้างคนแถวบ้านพูดกันว่าคนเยอะมาก ไปเข้าแถวซื้อน้ำมันพืชลดราคากัน ครอบครัวหนึ่งซื้อได้ไม่เกินสามขวด แต่วันนี้พบว่า ห้างสรรพสินค้าใหม่โล่งโปร่งสบายไม่ค่อยมีคนมาจับจ่าย โดยเฉพาะมุมหนังสือมีแต่ผู้หญิงสองคนเท่านั้น

 

สัปดาห์ก่อนไปนั่งฟังเพื่อนสามคนเถียงกันเรื่องการเมืองสองฟาก แดงกับเหลืองที่ร้านอาหาร ทั้งสามคนเป็นเพื่อนกัน ฉันไม่รู้ว่าพวกเขาเริ่มกันอย่างไร แต่ประโยคแรกที่เป็นปัญหาคือ

 

เพื่อนผู้ชายคนที่หนึ่งพูดว่า "ผมไม่เอาทั้งเหลืองและแดง ผมเลือกทางเลือกที่สาม"

เพื่อนผู้ชายคนที่สอง บอกว่าเขารับไม่ได้

เพื่อนผู้ชายคนที่หนึ่งว่า พยายามอธิบายว่า ทำไมเขาถึงคิดถึงทางเลือกที่สาม และทางเลือกที่หนึ่งและสองมีข้อดีข้อด้อยอย่างไร แต่เพื่อนคนที่หนึ่งไม่ยอมฟัง และเหมือนยอมรับไม่ได้ว่าทางเลือกของตัวเองมีข้อด้อยอะไร

แล้วเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งก็มาสมทบ เธอก็บอกว่า เธอยอมรับไม่ได้เหมือนกันกับพวกที่ไม่เอาทั้งเหลืองและแดง ไม่เอาอะไรสักอย่าง ไม่ทำอะไรสักอย่าง และรอเสพสุขกับความสำเร็จที่ผู้อื่นทำให้

ในสุดเพื่อนคนที่หนึ่ง ก็พูดว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่เป็นไร ผมจะออกไป ผมกลับ

ไม่มีใครห้ามเขาว่าอย่ากลับไปเลย เขาจึงก้มหน้าเดินออกไป

เขาบอกฉันภายหลังว่า เขาเดินกลับออกไปอย่างเจ็บปวด แค่จะมีทางเลือกที่สามก็ไม่ยอมฟังเขา เพราะคนเราอยากจะฟังแต่พวกของตัวเอง หรือเรื่องที่ตัวเองอยากฟัง เราต่างเลือกที่จะไม่ฟังกันเลย

 

คิดถึงคำของเพื่อน ฉันจึงคิดจะหยุดฟังเธอในขณะที่เปิดดูหนังสือไปด้วย

แต่เธอเดินห่างออกไปที่มุมหนังสือพิมพ์ ฉันคิดว่า การสนทนาของเราคงจะจบแล้ว แต่เธอก็เดินกลับมา พร้อมกับหนังสือพิมพ์ในมือ เธอชี้ให้ดูข่าวกรอบเล็ก ๆ ตรงหน้าหนึ่ง ที่เขียนว่า รัฐบาลฟิตจัดประชานิยมสุดขีดจนตัวเลขแดง

"เอาเงินมาใช้จดหมด" เธอว่า

"เขาก็ช่วยสานต่อเรื่องลดค่าน้ำค่าไฟไง ที่บ้านต้องจ่ายไหม" ฉันถามเธอ

"ไม่ต้องจ่าย แต่ถ้าท่านผู้นำท่านบริหาร เงินไม่หมดนะ เขาบริหารได้ คนอื่นมันบริหารไม่ได้ เห็นไหมไม่เท่าไหร่เงินก็หมด เขาบริหารเงินไม่หมดแล้วยังเหลือจ่ายหนี้เก่าให้ด้วย ช่วงรัฐบาลเก่าทำหนี้ไอเอ็มเอฟไว้ท่านบริหารใช้หนี้คืนได้" เธอว่า ฉันพยักหน้า

 

"คนที่ไม่ชอบเขาเป็นพวกคนใหญ่ ๆ โต ๆ คนรวย ๆ ไม่ใช่คนแบบเรา ๆ หรอก นี่นะเขาหมดเงินแล้ว เขาไม่มีเงินแล้วถูกยึดหมด ไม่มีเงินใช้จ่ายอยู่เมืองนอก เราจะรวมเงินส่งไปให้เขา รวมกันคนละเล็กละน้อยส่งไปให้เขา"

"ถึงงั้นเชียวหรือ" ฉันอดทึ่งเธอไม่ได้

เธอยืนยันว่าจริง แต่เขาไม่เอา เขามีเพื่อนที่โน่น เขาหยิบยืมเอาที่โน่นได้

"จริงเหรอ มีคนจะลงขันส่งไปให้ท่านผู้นำ"

เธอพยักหน้าว่าจริง และเธอก็บอกฉันว่าอะไรบ้างที่ทำให้เธอชอบเขา เช่นว่าเธอได้พักหนี้หกเดือน เธอได้กองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้านของเธอตอนนี้มีเงินเป็นล้าน ได้หมุนเวียนกันยืม เพราะพวกเธอจัดระบบเป็นอย่างดี เธอยืมเงินจากกองทุนหมุนเวียนดีกว่าไปยืมไปกู้คนอื่น และได้ไปโรงพยาบาลสามสิบบาท จนถึงได้ไปฟรีก็เพราะเขาเริ่มต้นไว้

 

ฉันพยักหน้าอือ อือ ฟังเธออย่างสงบ

"ว่าเขาโกงแต่เราก็อยู่ได้ เศรษฐกิจก็ดี ค้าขายก็ดี น้ำมันก็ไม่ขึ้นราคา" เธอว่า

อือ.. ฉันพยักหน้าอีกครั้งก่อนถามเธอว่า ซื้อของได้ครบหรือยัง เธอบอกว่าไม่ได้ซื้ออะไร มาเดินเฉย ๆ เธอทำงานเข้ากะอยู่ที่นี่

 

ฉันขอบคุณเธอที่ได้ฟังเธอคุย และบอกเธอว่าฉันเข้าใจ เข้าใจจริง ๆ และยอมรับได้ที่เธอหรือใครจะรักท่านผู้นำ แต่ในส่วนที่ว่า "เขาโกงแต่เราอยู่ได้ หรือยอมรับว่าเขาโกงแต่ถ้าเราได้ดีด้วยไม่เป็นไร" อันนี้ฉันคิดว่า เราต้องคิดใหม่นะ โดยเฉพาะเราเป็นคนชนบทที่อยู่กันอย่างเอื้อเฟื้อและดูแลกันไม่ได้เห็นแก่ความสบายส่วนตัว คุณว่าไหม

 

เธอไม่ตอบ ฉันจึงรีบขอตัวไปซื้อขนมปัง

 

ถ้าฉันเจอเพื่อนที่อยากจะเลือกทางเลือกที่สามและคุยกับทั้งสองฝ่ายได้ ฉันจะได้บอกเพื่อนว่า ฉันพยายามทำแล้ว

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย