Skip to main content

1 

ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย

นอกจากไม้ฟืนก็ต้องเตรียมไม้ทำโลงอีก ได้ยินใครสักคนหนึ่งพูดว่า เหมือนพ่อเตรียมไม้ไว้แล้ว แค่เอามาตอกต่อประกอบเข้าเท่านั่น เรารู้สึกดีที่พ่อได้นอนในโลงไม้ใหม่

ในขณะใครต่อใครกำลังทำงานกันฉันได้อยู่เฉย ๆ เพราะฉันบอกแม่ว่า ปวดหัว ฉันมีอาการปวดหัวอยู่เสมอเมื่อวัยเยาว์ ดังนั้นเมื่อฉันพูดคำว่าปวดหัว แม่จึงบอกให้ฉันอยู่เฉย ๆ นั่งนิ่ง ๆ  ทันที แม่คงกลัวว่าโรคปวดหัวจะกลับมาอีก

เมื่อฉันได้นั่งนิ่ง ๆ อยู่เฉย ๆ ฉันจึงนั่งเขียนถึงพ่อ ฉันเขียนเรื่อง "ถนนสายเดียวดายที่พ่อรออยู่" ตอนนั้นฉันรู้สึกว่า ดีแล้วที่พ่อตาย เพราะฉันรู้สึกว่าในโลกแห่งการมีชีวิตช่วงสุดท้ายของพ่อ มีแต่ความเจ็บปวด แม้จะมีลูกหลานญาติมิตรมากมายแต่ไม่มีใครแบ่งปันความเจ็บปวดได้  ฉันเชื่อว่าความตายไม่เจ็บปวดเท่ากับการมีชีวิตอยู่ที่เจ็บป่วยอันยาวนานของพ่อ  เส้นทางที่พ่อเดินไปนั้นน่าจะเป็นถนนที่ดีกว่าแม้จะเดียวดายเพราะพ่อเดินทางไปคนเดียว           

พ่อจะรอพวกเราอยู่ที่ถนนสายเดียวดายและเมื่อถึงวันที่พวกเราลูก ๆ ไป เราก็จะไม่เดียวดายเพราะมีพ่อรออยู่แล้ว เหมือนที่พ่อรอให้รถไฟเข้าเทียบชานชลา เมื่อเราก้าวลงจากรถไฟเราก็จะพบพ่อรออยู่ทุกครั้ง

ผ่านมานานเกือบสามสิบปี ฉันคิดว่าพ่อไม่รอพวกเราแล้ว มันนานเกินไปที่จะให้พ่อรอและแม่ก็ทำบุญอุทิศสวนกุศลให้พ่อทุกวันตลอดเวลาสามสิบปี แม่ตักบาตรทุกเช้า ไปวัดทุกวันพระ เรียกลูก ๆ กลับมาทำบุญประจำปีให้พ่อทุกปี ลูกคนไหนไมได้กลับแม่ก็จะโทร.มาเตือน และลูกก็จะพูดว่า  ปีนี้ไม่ได้กลับแต่ลูกจะไปทำบุญที่วัดใกล้บ้านที่ลูกอยู่          

นี้คือการเขียนถึงความตายครั้งแรก ในช่วงวัยเยาว์ แต่ไม่ได้ทำหนังสืองานศพ ต่อมาฉันส่งไปลงในนิตยสารแพรวสุดสัปดาห์และนำมารวมเล่มในบทสุดท้าย เรื่องแผ่นหลังของพ่อ
                                  

2

เดือนที่ผ่านมา ฉันได้รับโปสการ์ดจากน้องคนหนึ่ง เธอบอกว่า พวกพี่ ๆ เขาฝากมา ให้พี่เขียนและส่งไปที่สวนทูนอิน เพื่อจัดทำหนังสือ ให้คุณรงค์ วงษ์สวรรค์

โปสการ์ดสีขาว ด้านหน้าภาพวาดลายเส้นใบหน้าของ นักเขียน รงค์ วงษ์สวรรค์  เขียนโดย   เทพศิริ สุขโสภา และบทกวี ของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

สองบรรทัดสุดท้าย เขียนว่า
เอกอักขราจารย์
คือ รงค์ วงษ์สวรรค์
(ที่เขียนมาไม่หมดยกมาสองบรรทัด เพราะกลัวผิดค่ะ ตัวอักษรลายมือหวัดอ่านยาก) แต่สองบรรทัดนี้ก็พอเพียงแล้ว 

ด้านหลังของโปสการ์ด แบ่งเป็นสองส่วน  มีตัวอักษรเล็ก ๆ ขั้นระหว่างส่วนว่า พญาอินทรี...ขยับปีกบินกลับรัง ในส่วนหนึ่งสำหรับเขียนที่อยู่ส่งไปที่สวนทูนอิน อีกซีกหนึ่งสำหรับเขียนข้อความไว้อาลัย สำหรับฉันคิดว่า เนื้อที่มันน้อยไปจริง ๆ น้อยจนไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร หรือถ้าเขียนลงไปก็คงได้ตัวเล็ก ๆ เหมือนบทกวีสั้น ๆ แค่หกบรรทัดของคุณเนาวรัตน์ซึ่งก็เกือบจะอ่านไม่ออกหรืออ่านออกก็อาจจะผิด

ฉันจึงไม่เขียนแต่เก็บโปสการ์ดที่สะอาดสวยงามไว้เป็นที่ระลึกและไว้อาลัยอยู่ในใจเพราะกระดาษบรรจุตัวอักษรไม่พอ

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“รู้สึกว่า ปีนี้ ไม่ค่อยจะมีความสดชื่น รื่นเริง  ความรื่นเริงและความสุขดูเหมือนจะหายไป ลุงรู้สึกเช่นนั้นไหม”ลุงว่า ใครมันจะมารื่นเริงอยู่ได้ในสถานการณ์เมืองไทยเป็นเช่นนี้ หมายความว่า น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ โดยเฉพาะการเมืองที่สับสนและดูไม่กระจ่างใส  เป็นความเครียดทางสังคม เครียดจากการปกครองโดยทหารที่ลึกลงไป และเข้าใจว่า แม้จะยอมรับก็ยอมรับแบบหวานอมขมกลืน และยิ่งเครียดเข้าไปอีกเมื่อมีการเลือกตั้งในช่วงใกล้ปีใหม่ ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นของฝ่ายไหนก็ไม่น่าจะทำให้ใครสบายใจได้ เมื่อประชาชนถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น…
แพร จารุ
  ฉันรู้สึกว่ามันเป็นช่วงปีใหม่ที่ไม่รู้สึกสดชื่นนัก ดูเหงา ๆ วังเวง ในท่ามกลางงานเลี้ยงรื่นเริงที่มีอยู่และเป็นไปตามวาระของมัน ความรู้สึกอย่างนี้มันอยู่ลึกลงไปแต่ฉันสัมผัสได้อย่างเย็นเยียบจริง ๆ ฉันไม่รู้ว่าคนอื่นจะรู้สึกหรือไม่ หรือว่าฉันรู้สึกอยู่คนเดียว ว่าเป็นปีใหม่ที่ไม่มีความรื่นเริงอยู่จริง มันหดหู่อยู่ภายในหัวใจอย่างไรไม่รู้ คล้ายรู้สึกว่า ความเศร้ามารอคอยเคาะประตูอยู่หลังบ้าน... หลังจากงานรื่นเริงจบลงฉันถามตัวเองหลายครั้งว่าความรู้สึกนี้เป็นจริง หรือว่าฉันกำลังจะป่วยด้วยอาการกลัวหรือกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้า อะไรทำให้ฉันคิดอย่างนั้น หรือเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจของตัวเอง…
แพร จารุ
ฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า อาหารบ้านฉัน  เป็นสูตรอาหารพื้นถิ่น ของกินจากป่าหลังบ้าน และที่สำคัญกว่านั้น เขียนว่าอร่อยไปถึงหัวใจ “ฉันเติบโตมาจากอาหารที่หลังบ้าน เธออยากรู้ไหมว่า อาหารบ้านฉันอร่อยแค่ไหน  เธอไม่ต้องกลัวหรอก บ้านฉันมีอาหารมากมาย กินกันอย่างไม่หมด” หนังสือเล่มนี้ มีผู้ร่วมดูแลหรือผู้ร่วมทำงานด้วย เขาคือ ธนภูมิ อโศกตระกูล เป็นคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ การกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น จานอร่อยปลอดเนื้อ มหัศจรรย์แห่งเต้าหู้ เจไม่จำเจ เป็นต้นธนภูมิ อโศกตระกูลเขาเล่าว่า “ได้เข้ามาเที่ยวในแม่เหียะใน เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว…
แพร จารุ
“หนาวไหม หนาวหรือยัง”“หนาวแล้ว เชียงไหมหนาวแล้ว”“ฉันจะไปเชียงใหม่”บทสนทนาหนึ่ง ที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ รายงานข่าว ขณะนี้ยอดดอยอากาศหนาวมาก โดยเฉพาะดอยสูงอุณหภูมิติดลบแล้ว เกิดน้ำค้างแข็ง มีคำถามว่า นักท่องเที่ยวหรือคนที่จะมาเชียงใหม่ควรได้รับรู้ข่าวคราวอะไรบ้างนอกจากว่า หนาวแล้วหรือหนาวกี่องศา ชายคนหนึ่งพูดขึ้นในยามบ่าย เขาพูดต่อว่า ถ้าอยากให้คนอื่นที่มาเที่ยวเชียงใหม่ รู้ว่าเขาควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเมืองและรักเมืองนี้ เราต้องให้ข่าวสารเขามากกว่านี้  เราควรต้องทำงานกับสื่อให้มากว่านี้  เขาเป็นหนึ่งในคนทำงานภาคีฯการมุ่งเน้นให้คนเชียงใหม่ดูแลเมืองเชียงใหม่…
แพร จารุ
มีเพื่อนผู้หวังดีส่งเมลมาว่า ให้เขียนเรื่องดี ๆ เพื่อเมืองเชียงใหม่บ้าง ทำไมถึงมองไม่เห็นความงามของเมืองบ้าง  ฉันจึงเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา               1ถ้ามองลงมาจากฟ้า เราจะเห็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ตรงกลาง มีป่าดอยสุเทพอยู่ทางตะวันตก มีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางตะวันออก  ช่างเป็นเมืองงดงามที่สมบูรณ์ เล่ากันว่า เดิมทีผู้คนในเมืองนี้อยู่กันอย่างสงบสันติ แต่แน่นอนเมืองที่ดีงามเช่นนี้ ย่อมมีผู้คนต้องการ เข้ามาอยู่มาครอบครอง โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติบนดอยสูง หลายร้อยปีต่อมา เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว…
แพร จารุ
ขอบอกก่อนว่า เป็นเรื่องเล่าที่ไม่มีสาระอะไรเลย เล่าเรื่องนี้ เพราะวันพิเศษเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ถือว่า เป็นการผจญภัยในดินแดนที่รื่นรมย์เลยทีเดียวฉันจะเรียกเขาว่า แขกพิเศษ เพราะเป็นการมาเยือนแบบไม่คาดคิดมาก่อน และต่างมาในวันเดียวกันด้วย อีกทั้งไม่ได้นัดหมายมาล่วงหน้า ต่างมาแบบตั้งตัวไม่ติดทั้งนั้น แขกคนที่หนึ่ง เขาเดินทางมาด้วยรถมอเตอร์ไชค์ มาถึงก่อนที่เจ้าของบ้านจะทันตื่น ได้ยินเขาส่งเสียงตะคอก เจ้าสองตัวแม่ลูก ที่ทำหน้าที่เฝ้าบ้าน มันเห่าเสียงแหลมเล็กตามแบบของหมาเล็ก และยังเยาว์ ฉันว่าคนเลี้ยงหมาทุกคนไม่ชอบให้ใครตะคอกหมา และยินดีที่มีคนรักหมาของตัวเอง…
แพร จารุ
ไม่รักไม่บอก  เออ...เหมือนมีใครมาพูดอยู่ข้างหู บอกว่า ฉันรักเธอนะจึงบอก แต่ว่าเรื่องที่ฉันจะบอกนั้น เธออาจไม่ชอบ เธออาจจะโกรธฉัน  แต่ที่ฉันต้องบอกเพราะว่า ฉันรักเธอและปรารถนาดีต่อเธอจริง ๆ “ฉันไม่บอกไม่ได้แล้ว”ถึงตอนนี้คุณอาจจะรู้สึกรำคาญใจ พูดพร่ำอยู่ทำไม อยากบอกอะไรก็บอกมาเถอะ ใช่...ไม่รักไม่บอกค่ะ เป็นชื่อหนังสือเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ มีการ์ตูนน่ารักๆ เปิดไปหน้าแรก ผู้เขียนบอกว่า ที่ทำหนังสือเล่มนี้ เพราะว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเรื่องน่ารัก มีเรื่องดีงามที่เขาค้นพบอยู่มากมาย เขาเล่าถึงเรื่อง เด็กชายคนหนึ่ง ตามแม่ไปซื้อของที่ร้านเกษมสโตร์ เขากินไอศกรีมรอแม่…
แพร จารุ
เรื่องขยะ ๆ มันโดนใจใครต่อใครหลายคน หลังจากที่เขียนเรื่อง แปดสิบบาทกับผู้ชายริมทางรถไฟ และในเรื่องมีขยะ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แพร จารุ
“สุชาติ สวัสดิ์ศรี” ยืนล้วงกระเป๋าเสื้ออยู่ริมทางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังมา  เป็นภาพปกหนังสือ ฅ คน ที่ทำให้ฉันต้องนับเงินในกระเป๋าให้ครบแปดสิบบาท ความจริงหนังสือเขาไม่แพงหรอก เพียงแต่ว่า เงินสำหรับบ้านฉันมันหายากมาก หรือจะเรียกให้ถูกก็คือฉันไม่ค่อยหาเงิน ดังนั้นเมื่อไม่หาเงินก็ต้องใช้เงินน้อย ๆ หรือไม่ใช้ไปเลยถ้าไม่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ แม้ว่าการจะซื้อหนังสือถือเป็นความจำเป็นหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกอย่างพิถีพิถันในเนื้อหา ดังนั้น ถ้าร้านไหนห่อพลาสติกอย่างดีเปิดไม่ได้ ก็ผ่านเลย หนังสือเล่มนี้ก็ห่อพลาสติกอย่างดีเหมือนกัน แต่ก็รีบซื้อ  เพราะทั้งรถไฟและคุณสุชาติ  สวัสดิ์ศรี…