Skip to main content

2 กันยายน 2552


นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที

เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล

แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด”

เพื่อนตอบว่าใช่

เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย”

ใช่”

 

 

ฉันไม่ได้ถามว่าทำไมเธอถึงเสียชีวิตระหว่างคลอดเพราะถึงอย่างไรเธอก็ตายไปแล้ว ส่วนที่ยังเหลือคือลูกของเธอ เด็กที่กำพร้าแม่และสิ่งที่โรงพยาบาลรับผิดชอบคือประกาศรับบริจาคเงินช่วยเหลือ

พ่อของเด็กล่ะ พ่อมีหรือเปล่า”

น่าจะมี”เธอตอบ


ฉันเป็นคนไม่มีลูก ทุกครั้งที่เพื่อนหรือใครมาบอกเล่าเรื่องราวเด็ก เช่นเพื่อนเก่ามีลูกสามคนแล้ว และลูกคนที่สี่เกิดมาพร้อมกับที่พ่อเสียชีวิต หลานเพื่อนตั้งท้องในวัยเรียน พวกเขาเข้ามาจุดประกายให้ฉันอยู่เสมอ ในการตัดสินใจรับเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกสักคน แต่ไม่เคยทำสำเร็จสักราย


อย่างเพื่อนที่สามีตายมีลูกสี่คนที่ต้องเลี้ยงดู ลูกคนเล็กอายุแค่เดือนเดียว ฉันก็ลังเลและเธอก็ลังเล เธอบอกฉันว่า ให้ฉันเลี้ยงลูกเธออย่างที่ป้าเลี้ยงหลาน นั่นหมายความว่า เธอยังเป็นแม่ตลอดไปและฉันเป็นป้า ซึ่งก็เป็นไปตามสูตรการเลี้ยงดูที่ต้องบอกความจริงแก่เด็กเพราะถ้าบอกตอนโตหรือเขามารู้ตอนโตเขาจะปรับตัวปรับใจยาก แต่ในที่สุดเธอก็เงียบไปและฉันก็ไม่ตามเรื่อง


รายต่อมาเป็นเด็กสาวพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารที่สามีฉันไปเล่นดนตรีร้องเพลงที่นั่น เด็กสาวเธอจะไปทำแท้ง ฉันบอกเธอว่า อย่าทำเลย ฉันจะรับเลี้ยงเด็กที่เกิดมา และจะดูแลเธอระหว่างตั้งครรภ์ด้วย โดยช่วยค่าห้องพักและอาหาร ฉันไม่มีเงินมากพอแต่พอจะอยู่กันได้ถ้าอยู่อย่างประหยัด และฉันมีเพื่อน ๆ ใจดีอยู่หลายคนที่ฉันเชื่อว่าพวกเขาพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันจริงจังมาก เธอนั่งฟังนิ่งเฉยไม่ตอบรับหรือปฏิเสธ แต่ฉันแอบคิดไปเองแล้วว่าเธอตกลง ฉันหาโรงพยาบาลให้เธอไปฝากครรภ์

 

วันหนึ่งในขณะที่ฉันนั่งฟังเพลงสบาย ๆ อยู่ในร้านอาหาร เธอเข้ามาบอกว่า “พี่หนูทำแท้งแล้ว” ฉันรู้สึกใจหายเล็กน้อยแต่ต้องยอมรับทางเลือกของเธอที่เธอเห็นว่าดีที่สุดแล้วในเวลานั้น


รายที่สองนี้ไม่ใช่เด็กสาวแล้วแต่ เป็นสาวใหญ่อายุสีสิบ ฉันไปเป็นเพื่อนเธอหาหมอเพื่อตรวจให้แน่ชัดว่าท้องแน่ ในระหว่างนั้น เธอมาพักผ่อนที่บ้าน นั่ง ๆ นอน ๆ ทำอาหารกิน เธอไม่เคยพูดเรื่องการทำแท้ง แต่พูดเสมอว่า เกิดแล้วจะยกให้พี่ และทุกครั้งที่เธอไปหาหมอ เธอก็จะโทร.มาบอกว่า “ลูกของพี่ทั้งสองสบายดีนะ”


ฉันไม่กล้าถามอะไรมากกว่านั้น เช่น ถามว่าพ่อเด็กเป็นใคร หรือเธอจะให้ลูกแก่ฉันจริงหรือ แต่ฉันก็แอบเตรียมพร้อมเอาไว้ บอกกับสามีว่า ถ้าเขาให้เราก็จะเลี้ยงไปตามสภาพ พอโตขึ้นเราก็ให้กินกล้วยน้ำว้า กล้วยราคาไม่แพง หรือไม่เราจะปลูกก็ได้ เรียนอนุบาลมันแพงไปเราก็สอนเอง ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะเข้าสังคมไม่เป็ นเรามีเพื่อนมากมายไปมาหาสู่ โตขึ้นเรียนโรงเรียนวัดใกล้ๆ แล้วให้เขาเรียนวิชาชีพที่เขาชอบที่สุดไว้เลี้ยงตัวเอง กว่าเราจะแก่ เขาก็ผ่านวัยรุ่นแล้ว มรดกคือหนังสือมากมาย

 

แล้วก็ไม่เป็นจริงเพราะว่า เมื่อเธอคลอดลูกออกมา เธอไม่พูดถึงเรื่องนี้อีกเลย เธอย้ายกลับไปบ้านเกิดในชนบทและเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง แต่ส่งรูปลูกสาวมาให้ดูเสมอ เล่าถึงเรื่องพัฒนาการของลูกเธอ ตอนนี้แกกำลังเรียนอนุบาลแล้ว

 

 

ข่าวผู้หญิงคลอดลูกแล้วตาย ทำให้ฉันคิดถึงเรื่องราวของเด็ก ๆ ที่ผ่านเข้ามาในใจ เพื่อนยังบอกต่อว่า เด็กเกิดใหม่คนนี้เป็นลูกชาวเขา และเธอคิดว่าถ้าเขาไม่ใช่ลูกชาวเขา ญาติพี่น้องของเขาคงจะร้องขอความกระจ่างว่าทำไมแม่ของเด็กตาย และโรงพยาบาลก็คงจะไม่ทำแค่ประกาศให้คนที่อยู่ในโรงพยาบาลช่วยกันบริจาคแต่อาจจะต้องคิดมากกว่านั้น

เธอยืนยันว่า การรับบริจาคหรือการรวบรวมเงินสักก้อนให้กับพ่อเด็กหรือผู้ดูแลเด็กต่อไปยังไม่เพียงพอเพื่อนฉันบอกว่า การบริจาคก็เป็นเรื่องดีแต่ว่าเขาน่าจะทำอะไรกันมากกว่าการบริจาคเพราะเด็กไม่ได้อยู่แค่ปีเดียว เงินบริจาคอาจจะหมดไปแค่เดือนเดียวปีเดียวแล้วแต่จำนวนเงิน แต่มันไม่ยั่งยืน เด็กจะมีชีวิตต่อไปอย่างไร ควรจะคิดยาว ๆ ออกไป เช่นว่า การศึกษาของเขา สุขภาพของเขา ทั้งหมดที่ว่าด้วยคุณภาพชีวิตนั่นแหละ

 

ฉันเห็นจริงด้วยกับเธอ บริจาคอย่างเดียวไม่พอ ถ้าจะรับผิดชอบต้องคิดไกลกว่านั้นเพราะชีวิตเด็กคนหนึ่งที่ขาดแม่นั้นเป็นเรื่องใหญ่มากกว่าการเปิดเสียงทั่วโรงพยาบาลขอรับบริจาคเงิน

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย