Skip to main content

มุสโต๊ะ (มุส-สะ-โต๊ะ)
อาหารมื้อไหน ๆ ก็ต้องมีมุสโต๊ะ

มุสโต๊ะก็คือน้ำพริกนั่นเอง ฉันรู้จักมุสโต๊ะครั้งแรกเมื่อเที่ยวบ้านปกาเกอญอ และนับจากวันนั้นก็ชอบมุสโต๊ะแบบปกาเกอญอทันที่

มุสโต๊ะแบบแรกที่ได้กินคือมุสโต๊ะแบบแห้ง ๆ แม่บ้านหยิบพริกขี้หนูที่อยู่บนแผงเหนือเตาไฟมาใส่ครกแล้วก็ตำ ๆ พร้อมกับเกลือเม็ด ตำไปเรื่อย ๆ จนละเอียด แล้วใส่ผักชีลงไปตำด้วย เป็นมุสโต๊ะแบบแห้ง ๆ

ถามแม่บ้านว่า แค่นี้เองเหรอ เธอบอกว่า ใส่ผงชูรสอีกนิดหน่อย ชูรสกับเกลือ แต่ต้องเป็นเกลือเม็ดไม่ใช่เกลือป่น

ใส่ปลาแห้งลงไปได้ไหม”
เธอตอบว่า ถ้ามีก็ใส่ได้ มีอะไรก็ใส่ได้

มีอะไรก็ใส่ได้จริง ๆ เพราะวันแรกใส่ผักชี วันต่อมามีมะเขือเทศ และอีกวันไม่มีทั้งมะเขือเทศ และผักชี
แม่บ้านบอกฉันว่ามีข้าว มีพริก ก็อยู่ได้แล้ว พวกผัก ถั่ว ปลูกทีหลัง หาข้าวกับพริกไว้ก่อน

แล้วเกลือล่ะ” ฉันถาม
เธอบอกว่าซื้อเอาเกลือ ซื้อเกลือกับผงชูรสเท่านั้น อย่างอื่นไม่ต้องซื้อ



อาหารมื้อสมบูรณ์ก็ต้องมีมุสโต๊ะถ้วยหนึ่ง

 
หลังจากนั้น ฉันทำมุสโต๊ะแบบปกาเกอญอกินอยู่เสมอ ๆ แต่จะเติมปลาแห้ง กุ้งแห้งลงไปด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่เคยอร่อยเท่าจนเลิกทำเอง ฉันคิดว่ามันอยู่ที่ความเผ็ดของพริกที่ต่างกัน หรือไม่ก็อยู่ที่ไฟที่ลนให้พริกแห้งยาวนาน เพราะเขาจะเอาพริกขึ้นไว้บนแผงเหนือเตาไฟ ตลอดเวลา

ฉันจริงจังกับมุสโต๊ะมากถึงขั้นเอาพริกจากดอยลงมาปลูก และเมื่อทำมุสโต๊ะก็เอาพริกไปคั่วก่อน ไปซื้อเกลือเม็ดใหญ่ ใส่ชูรสด้วย ก็ยังไม่อร่อยเท่า ฉันคิดว่าอยู่ที่อารมณ์ของคนปรุง และบรรยากาศนั่นด้วย

เมื่อวานนี้ฉันได้ไปนั่งกินมุสโต๊ะอีกครั้งกับพี่น้องปกาเกอญอ ในระหว่างกินอาหารอยู่นั้น หนุ่มเจ้าของบ้านพูดขึ้นว่า มุสโต๊ะช่วยได้หลายอย่าง ดับกลิ่นคาว ช่วยให้อาหารต่าง ๆ อร่อยขึ้น

เขาถามฉันว่า มุสโต๊ะที่ปักษ์ใต้เป็นอย่างไร

เขาเรียกว่าน้ำชุบ ไม่ใช่น้ำพริก ถ้าใครพูดน้ำพริกไม่ใช่ของแท้หรือดัดจริตพูดใต้บนกลาง แล้ว”
เขาพยักหน้าพร้อมกับเอาปากกามาจด

น้ำชุบมีหลายอย่าง เช่นน้ำชุบแห้ง เอาพริกแห้งตำกับกะเทียมแล้วใส่กะปิลงไปเลย อยากนี้เรียกน้ำชุบแห้ง
(แต่กะปิต้องย่างไฟให้หอมถึงจะดี) แล้วก็มีน้ำชุบโจร อันนี้เป็นศิลปะมาก สมัยก่อนโจรต้องรีบกินรีบไปจะมามัวโอ้เอ้แบบศิลปินไมได้

 


น้ำชุบแห้ง
 

ดังนั้นน้ำชุบโจรจึงต้องทำอย่างรีบด่วน โจรไม่มีครกมีสาก มีแต่มีด พริกขี้หนูเก็บเอาระหว่างทาง เพราะพื้นที่เราอุดมสมบูรณ์มาก พริกหั่นหยาบ ๆ หอมก็หั่นหยาบ เอากะปิลงไป เติมน้ำลงไปคนให้เข้ากัน ถ้ามีน้ำตาลก็ใส่น้ำตาลไปนิดหนึ่ง นี้เป็นน้ำชุบโจรแท้ ๆ ส่วนที่ไม่แท้ดัดแปลงเขาจะใส่กุ้งลวก และมะนามลงไปด้วย อร่อยเพิ่มขึ้น

อุดมสมบูรณ์แล้วทำไมต้องเป็นโจร”
ฉันบอกเขาว่า มีโจรเพราะมีความไม่เป็นธรรมในแผ่นดิน ฉันก็สืบเชื้อสายมาจากโจรเหมือนกัน

แล้วมีน้ำชุบอะไรอีก”
มีน้ำชุบหยำ หรือเรียกเป็นภาษากลางว่า น้ำชุบขยำ น้ำชุบนี้ใช้พริกขี้หนูแห้งผสมกับพริกขี้หนูสด มีขมิ้น ตะไคร้เยอะ ๆ หอม กระเทียม พริกไทย ตำให้ละเอียดเติมกะปิย่างไฟลงไปตำให้เข้ากัน พิเศษคือน้ำชุบนี้ใส่ปลาย่างลงไปด้วย ใช้ปลาย่างเป็นตัว ๆ เอาแต่เนื้อตำให้เข้ากัน และเอามาคลุกข้าวเอามือคลุกเรียกว่าหยำ ๆ เสร็จแล้วกินกับผัก หรือจะทำเป็นข้าวยำก็ได้แค่เอาผักสารพัดหั่นฝอย ๆ โรยหน้าข้าวราดน้ำมูดูที่ปรุงแล้ว โรยมะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง

ฟังเล่าเรื่องน้ำชุบหลายคนอยากกิน ฉันสัญญากับพวกเขาว่า มาเที่ยวหน้าจะทำน้ำชุบโจรให้กิน น้องชายคนหนึ่งสงสัยว่า มีน้ำชุบโจรเพราะมีความไม่เป็นธรรมในแผ่นดินจริงหรือ

ทำไมพี่กล้าบอกใคร ๆ ว่า สืบเชื้อสายมาจากโจร” เขาถาม
ถ้าสืบต่อไปอีก พี่น่าจะมาจากพวกทาสเลยแหละ จากพวกทาสก็เลยมาเป็นโจร”
ไม่อายเหรอ ”หนุ่มหนึ่งว่า
จะอายทำไม คิดดูสิถ้าไม่มีชนชั้นนี้ การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมก็ไม่เกิดหรอก ชนชั้นโจรนี่แหละที่มีความพยายามทำให้เกิดความเป็นธรรมหรือมีการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง”

 

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“จึงขอตั้งจิตมั่นว่าจะพูดแต่ความจริงด้วยถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความมั่นใจ ความเบิกบาน และความหวัง โดยไม่กระพือข่าวที่ตัวเองไม่รู้แน่ชัด รวมทั้งไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือกล่าวโทษในสิ่งที่ตัวเองไม่แน่ใจ” ฉันชอบถ้อยคำนี้มาก เป็นถ้อยคำ ที่เพื่อนนำมาฝากหลังจากที่เธอกลับมาจากภาวนา เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ... เพื่อนของฉันกลับมาจาก “ภาวนา” แบบหมู่บ้านพลัม เธอว่าดีงามมาก ใช้กับชีวิตได้ เธอพูดถึง ข้ออบรมสติ 5 ประการ แต่เธอเน้นข้อฝึกอบรม ข้อที่ 4 เธอเขียนส่งมาให้ฉันอ่าน ฉันคิดว่าเธอคงอยากให้ฉันตระหนักรู้ หรือไม่เธอก็บอกอ้อม ๆ ว่า ฉันเป็นคนที่ควรจะปฏิบัติเพราะฉันมีปัญหาในข้อนี้…
แพร จารุ
ระหว่างการพูดคุยกับเพื่อน เพื่อนนักเขียนของฉัน ไปอยู่ไกลถึงลอนดอน ช่วงที่ผ่านมาเธอกลับบ้านเพื่อมาส่งแม่เดินทางไกล เพราะครั้งนี้แม่ไปแล้วจะไม่กลับมาอีกเลย และไม่รู้ว่าเส้นทางสายยาวไกลของแม่อยู่ที่ไหน แต่สำหรับเธอ เชื่อว่า จะไปพบกันที่พระเจ้า เราไม่ได้พบหน้ากันมานาน ได้แต่คุยโทรศัพท์กัน ช่วงแรกเพื่อนนักเขียนของฉันนั่งทำงานเขียน นั่งวาดภาพ และปลูกต้นไม้อยู่ในเรือนกระจกอยู่ที่บ้าน ต่อมาเธอไม่เลือกที่จะนั่งเขียนหนังสืออยู่ที่บ้านแล้ว เธอไปทำงานที่พักคนชรา ทำงานอยู่กับคนแก่ ไม่ใช่เรื่องโรแมนติกแต่เป็นเรื่องจริงของชีวิต เธอมีการงานที่มีความเศร้า ความตายของคนแก่ที่นั่นอยู่เสมอ
แพร จารุ
ยามเช้าได้อ่านงานของดอกสตาร์ เธอเขียนจั่วหัวว่า เชียงใหม่แพ้ซ้ำซาก Chiangmai lost her beauties. ข้อเขียนของเธอบอกว่า ผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วง ๙๐ วัน ที่คนได้รับความเดือดร้อนจากผังเมืองฉบับนี้จะยื่นคำร้องเพื่อคัดค้าน ถ้ารัฐบาลไม่รับฟังและผังเมืองฉบับนี้ผ่าน โฉมหน้าเมืองเชียงใหม่คงจะอัปลักษณ์สุด ๆ รอวันตายลูกเดียว มีเรื่องฝายทั้งสามแห่งคือ ฝายพญาคำ ฝายหนองผึ้งและฝ่ายท่าศาลาอีก ของเก่าแก่ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลานชาวล้านนาได้ประโยชน์กลับจะรื้อทิ้งโดยเห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยที่เทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองกับลูกหลานในอนาคต“…
แพร จารุ
พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 น. ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว
แพร จารุ
ฉันได้เดินทางมายังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งใจจะมาเที่ยวตามป่าเขาแค่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ   รัฐบาล โดยนายอำเภอ และอุทยานแห่งชาติ จัดให้มีงานบวชป่า และส่งมอบอาวุธปืน มีหนังสือจากหน่วยงานของรัฐมาถึงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเย็นวันหนึ่ง มีเสียงพูดกันเบา จับใจความได้ว่า พวกเขากังวล เพราะพวกเขาไม่มีปืนจะไปมอบ ฉันฟังอย่างไม่เข้าใจ ไม่รู้พวกเขาว่าจะกังวลทำไม ไม่มีก็ไม่ต้องมอบ บอกไปว่าเราไม่มีก็จบ ก็ไม่มีจะเอามาจากไหน
แพร จารุ
 “ไม่นานคนก็ตายกันหมดโลกแน่ ๆ”หญิงสาววัยเพิ่งผ่านเลขสามพูดขึ้นก่อนล้มตัวลงนอน “พี่เชื่อไหม ไม่นานผู้คนจะตายหมดโลก” เธอพูดอีกครั้ง “อะไรทำให้เธอคิดเช่นนั้น” ฉันถามออกไปด้วยความขลาดกลัว มานอนกลางป่ากลางเขาแล้วพูดถึง เรื่องความตาย  ไม่อยากจะฟังคำตอบจากเธอ รีบเตรียมถุงนอน พร้อมที่จะล้มตัวลงนอนใกล้ ๆ เธอ คืนนี้เราเลือกที่จะไม่นอนในบ้านสบาย ๆ แต่เลือกที่จะมานอนกันในป่าเปลี่ยนบรรยากาศ   เธออธิบายต่อว่า เมื่อกลางวันได้ยินข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงราย 3.5 ริกเตอร์  เมื่อแผ่นดินไหวที่เชียงรายได้ ก็ไหวที่เชียงใหม่ได้ หรือที่อื่น ๆ ได้ และมันคงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ “อือ...ก็น่าจะจริง…
แพร จารุ
 เธอได้ยินไหม  คนบ้านฉันเขาตัดไม้กันอยู่ เสียงดังกรูด ๆ ๆ แล้วไม่นานก็ได้ยินเสียงไม่ล้ม ฉันฟังจนแยกออกแล้วว่า เสียงที่ล้มลงมาต้นเล็กต้นใหญ่ขนาดไหน ฉันบอกเพื่อนไปเช่นนั้น ด้วยเราพูดกันอย่างไม่เห็นหน้าจึงไม่รู้ว่า เพื่อนทำหน้าตาอย่างไร เธอคงคาดไม่ถึงว่าได้ยินเสียงตอบเช่นนี้ เธอคงผิดหวังมากทีเดียวเพื่อนโทร.มาบอกให้ฉันช่วยเขียนเรื่องการปลูกต้นไม้ เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิที่เธอทำงานอยู่ ชื่อว่า โครงการป่าเมือง หรือการปลูกต้นไม้ในเมืองนั่นเอง
แพร จารุ
ขอคั่นรายการหน้าโฆษณาหน่อยนะคะ บอกจริง ๆ ว่า ช่วงนี้รู้สึกโหวงเหวงอย่างบอกไม่ถูก คุณผู้อ่านรู้จักคำว่า โหวงเหวงไหม มันเป็นอาการซึม ๆ เศร้า ๆ และรู้สึกเบา ๆ ในหัวใจ  เมื่อทบทวนดูอาการแล้ว พบว่าน่าจะมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งน่าจะเป็นอาการผิดปกติจากข่าว ช่วงนี้มีข่าวมีคนตายเป็นหมื่นเป็นแสน และยังหายสาบสูญไปอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อีกทั้งยังบาดเจ็บรอคอยอยู่อีกมาก
แพร จารุ
“พี่มันน่ากลัวจริง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ไม้พี่ไม้ ไม้เป็นหมื่น ๆ” เธอส่งเสียงมาเหมือนถูกผีหลอกกลางวัน“อยู่แดนสนธยาที่ไหน” ฉันถามกลับไปเพื่อให้ตัวเองตั้งสติหากมีเรื่องร้าย “ไม่ใช่ต้นไม้แต่เป็นไม้เป็นหมื่น ๆ ท่อนพี่ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย มันเยอะจริง เดี๋ยวจะถ่ายรูปส่งไปให้ดู บางต้นมีผ้าเหลืองผ้าแดงผูกโคนต้นด้วย” “ที่ไหน” “กิ่วคอหมาพี่ เขากำลังสร้างเขื่อนกิ่วคอหมา พี่รู้เรื่องนี้ไหม พูดแล้วขนลุกพี่ รอเดี๋ยว ๆ นะพี่นะจะส่งรูปไปให้ดู”“จ๊ะ แล้วเธอไปทำไม”“ขับรถผ่านมานะพี่  กลับมาจากลำปาง”เธอพูดหลายครั้งว่าเธอไม่เคยเห็นไม้เยอะขนาดนี้มาก่อนจริง ๆ และสงสัยว่าทำไมเขายังตัดไม้กันขนาดนี้…
แพร จารุ
เขาว่ากันว่า  เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งธรรมชาติงดงาม เมืองวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ จอดดูสักหน่อยซิเขาเล่ากันต่อว่า ช่วงสิบปีที่ผ่านมา เชียงใหม่เติบโตด้านการท่องเที่ยวสูงสุด ปีหนึ่งๆ มีคนมาเที่ยวเชียงใหม่มากมาย เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่ต้องรับภาระหาเงินทอง เมกกะโปรเจคขนาดใหญ่จึงเกิดขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ว้าว! แล้วคนเชียงใหม่ คิดอย่างไรกับเมืองเชียงใหม่ หากไปถามคำถามนี้ ร้อยทั้งร้อยคนเชียงใหม่ต่างวิตกกังวล คนเชียงใหม่บอกว่า เมืองน่าอยู่นั้นคือเมื่อก่อน เมื่อก่อนซึ่งไม่นานเท่าไหร่ แต่เดี๋ยวนี้ คนเชียงใหม่ลำบากกับรถติดในเมือง คนเชียงใหม่กลัวน้ำท่วมเหมือนปี 2548 ฤดูร้อน…
แพร จารุ
เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปร่วมงาน เปิดตัวหนังสืออาหารบ้านฉัน ที่บ้านแม่เหียะใน หัวหน้าอุทยานดอยสุเทพ มาเปิดงาน ฉันฟังเสียงของท่านไม่ค่อยได้ยิน เพราะว่ายืนไกลและที่บ้านแม่เหียะใน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ เสียงเครื่องปั่นไฟดังมาก จึงไปถามชาวบ้านที่ตั้งใจไปฟังใกล้ ๆ ว่าท่านพูดอะไร แน่นอนชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อุทยานเขาต้องตั้งใจฟังทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่อุทยานพูด เพราะว่าชีวิตขึ้นอยู่กับอุทยานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือเรียกว่าอยู่ภายใต้กฎหมายอุทยาน “ท่านพูดว่า ท่านเข้าใจว่าที่ทำหนังสือเล่มนี้ทำขึ้นมาเพราะต้องการที่อยู่ที่กิน” หญิงสาวคนหนึ่งบอกว่าท่านพูดเช่นนั้น และเธอรู้สึกดีใจมาก“…
แพร จารุ
ป้าของฉันเป็นผู้หญิงธรรมดามาก ไม่เป็นที่รู้จักของใคร  ฉันคิดว่าคนที่ป้ารู้จักมีแต่หลาน ๆ กับคนข้างบ้านเท่านั้น และคนที่รู้จักป้าก็เช่นกัน ป้าเป็นผู้หญิงธรรมดาจริง ๆ แต่ฉันอยากเขียนถึงป้า เพราะน่าจะมีแต่ฉันที่จะเขียนถึงป้า และฉันก็น่าจะเป็นหลานคนเดียวที่ไม่เคยได้ทำอะไรให้ป้าเลยนอกจากเขียนถึงป้า ใจหายเหมือนกันเมื่อคิดว่า นี่คือสิ่งแรกที่ฉันจะทำให้ป้า ป้าฉันไม่มีอะไรพิเศษเลยนอกจากเป็นคนดี มีจิตใจที่ดีงาม ตั้งแต่ฉันรู้จักเป็นป้าหลานมา ฉันไม่เคยเห็นป้าทำอะไรไม่ดีเลย ไม่ใช่แกเป็นป้าที่ดีของพวกหลาน ๆ แกเท่านั้น แต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเพื่อนบ้าน ชีวิตป้ามีความสุขมาก ฉันคิดว่าป้ามีความสุขทุกวัน…