Skip to main content


1) กว่า 90% ของผู้เสียชีวิตคือผู้ชุมนุมธรรมดา -ปี 2553 จากร้อยศพผมนึกได้เพียงชื่อ เสธ.แดง กับพันเอกร่มเกล้า

2) กว่า 99% ของผู้อยู่แนวหน้าเวลาเกิดเหตุเผชิญหน้าปะทะคือผู้ชุมนุมธรรมดา หาใช่แกนนำไม่ –แกนนำมักคอยปลุกปั่นท่ามกลาง ‘มวลมหาประชาชน’ หรือม็อบจากบนเวทีแนวหลัง

3) กว่า 99% ของผู้เสียชีวิตมิใช่คนรวยขับรถสปอร์ตหรูคันละเป็นสิบล้าน พวกคนรวยอาจปากกล้าในโซเชียลมีเดียและย้ำบอกว่าประชาชนยินดีตายโหงเพื่อ ‘อุดมการณ์’ แต่พอสถานการณ์มิสู้ดีก็มักหลบกลับบ้านหรือไปช๊อปกินอาหารหรูมื้อหลายพันต่อที่ห้างที่โรงแรมและห้างดัง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเพราะพวกเขากลัวรถสุดหรูที่ของพวกเขาจอดแถวม็อบถูก 'ทำร้าย'

4) 100% ของผู้ชุมนุมที่เสียชีวิตไม่เคยมีโอกาสลาตายกับครอบครัวและคนรัก -ไม่มีแกนนำฝ่ายไหนเขาจะบอกคุณตรงๆบนเวทีหรอกว่าการมาร่วมชุมนุมวันนี้ อาจเป็นวันสุดท้ายของชีวิตคุณ -ผมเพิ่งสัมภาษณ์ญาติเสื้อแดง 3 ศพ ที่เสียชีวิตเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมจึงตระหนักซึ้งเรื่องนี้ดี

5) 100% ของผู้เสียชีวิตตกเป็นเบี้ยทางการเมือง -อันนี้ผมสรุปเอง แต่มีใครยังจำชื่อผู้ชุมนุมที่เสียชีวิตตอนปี 2535 ที่ขับไล่สุจินดาได้บ้าง หากไม่ใช่ญาติหรือคอประวัติศาสตร์การเมืองเลือด? และใครเห็นความพยายามของทักษิณและพรรคเพื่อไทยที่จะให้มีการนิรโทษเหมาเข่งจนไม่รู้ว่าใครเป็นฆาตกรปี 2553 หรือต้องมีผู้รับผิดชอบบ้าง? ถ้าไม่ซึ้ง ลองไปถามแม่น้องเกดหรือพ่อน้องเฌอดูเอาเอง!

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมขอเตือนให้ผู้ที่จะไปร่วมชุมนุมในอาทิตย์หน้าของทั้งสองฝ่ายบอกรักกับครอบครัวและคนรักให้ดี เพราะมันอาจเป็นโอกาสสุดท้าย และผมขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสียชีวิตที่กำลังจะเกิดขึ้นแบบแทบจะหลีกเลี่ยงมิได้กับญาติผู้ที่จะต้องสูญเสียคนรักมา ณ.ที่นี้ด้วย

อาเมน สาธุ อินชาอัลเลาะฮ์ ขอให้ผู้ที่กำลังจะต้องเสียชีวิตโดยมิรู้ตัวว่าตกเป็นเบี้ยการเมืองไปสู่สุคติด้วย

บล็อกของ ประวิตร โรจนพฤกษ์

ประวิตร โรจนพฤกษ์
 ลึกๆในจิตใต้สำนึกของบรรดาผู้นำเผด็จการทหาร พวกเขาคงตระหนักว่าเขาปราศจากความชอบธรรมใดๆ พวกเขาจึงออกอาการวิตกจริตและปราบปรามการขัดขืนทุกรูปแบบ ไม่ว่าในโลกเสมือนจริงของอินเทอร์เน็ตหรือในโลกแห่งความเป็นจริงประจำวัน
ประวิตร โรจนพฤกษ์
การรับร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหารรังแต่จะเป็นการสนับสนุนให้มีการก่อรัฐประหารปล้นอำนาจประชาชนซ้ำๆจนชั่วลูกชั่วหลาน วันที่ 31 กรกฎา ผมจะเป็นหนึ่งเสียงในการพยายามยุติวัฐจักรอุบาทว์ปล้นอำนาจประชาชนผ่านรัฐประหารโดยการโหวตโน
ประวิตร โรจนพฤกษ์
การปรับทัศนคติ: คําสวยหรูที่ใช้โดยเผด็จการทหาร คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ในการจัดการกับผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดที่แสดงความเห็นไม่ยอมรับรัฐประหาร หรือตั้งคําถามถึงความชอบธรรม หรือความไร้ความชอบธรรมของการก่อรัฐประหารยึดอํานาจฉีกรัฐธรรมนูญ
ประวิตร โรจนพฤกษ์
ข่าวที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับเมืองไทยในหมู่ผู้สื่อข่าวต่างชาติในไทยในปัจจุบันได้แก่การที่พวกเขาจำนวนหนึ่งรู้สึกว่าการขอวีซ่าทำงานในฐานะนักข่าวในไทยนั้นยากมากขึ้นตั้งแต่เกิดรัฐประหารปี 2557