Skip to main content

โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน


 โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

อาตมาอ่านเจอกลอนในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ผู้เขียนระบายไว้ได้สาแก่ใจมากเลย


เร็ว ก็หาว่าล้ำหน้า
ช้า ก็หาว่าอืดอาด
โง่ ก็ถูกตวาด
พอฉลาด ก็ถูกระแวง
ทำก่อน บอกไม่ได้สั่ง
ทำทีหลัง บอกไม่มีหัวคิด
เฮ้อ น
ี่แหละชีวิตคนทำงาน

ข้างต้น น่าจะเป็นกลอนที่โดนใจบรรดาคนทำงานหลายๆ คน เพราะสะท้อนความรู้สึกกดดันอย่างชัดเจน ซึ่งจากการได้พูดคุยกับโยมที่เข้ามาปรึกษาหารือถึงสาเหตุที่ทำงานกันอย่างไม่มีความสุขก็มีปัจจัยมากมาย เช่น ทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด ทำงานที่ไม่ชอบ โดนหัวหน้างานกดขี่ หรือรู้สึกว่าหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมายนั้นต่ำต้อย ฯลฯ

โดยจะว่าไปแล้ว บริษัทก็เหมือนกับบ้านหลังที่สองของเรา บางคนใช้ชีวิตในบริษัทมากกว่าที่บ้านซะอีก เพราะต้องตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่ตี ๔ ตี ๕ กลับถึงบ้านก็ ๒-๓ ทุ่ม วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง หากต้องใช้ชีวิตในการทำงาน (รวมนั่งรถไป-กลับ) วันละ ๑๐ กว่าชั่วโมงแล้ว ถ้าโยมไม่มีความสุขกับงานที่ทำ จึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากๆ

อาตมาชอบใจคุณยามที่บริษัทแห่งหนึ่งมาก เคยถามเขาว่า ไม่เบื่อเหรอ เปิดประตูทั้งวัน เขาตอบกลับอย่างฉะฉานว่า

' ไม่เบื่อหรอกครับท่าน เพราะคนจะเข้าไปที่นี่ได้หรือไม่ได้ มันอยู่ที่ผม ถ้าผมไม่เปิดประตู ไม่อนุญาตหรือบอกไม่ให้เข้า เขาก็ไม่ได้เข้านะ อย่างพระอาจารย์มาบรรยายที่นี่ ผมไม่ให้เข้าก็ได้ ... แต่ผมให้เข้าครับ' ( แล้วไป)

อาตมาจึงไม่แปลกใจเลย เวลาไปทำธุระที่บริษัทนี้ทีไร มักเห็นเจ้าหมอนี่ ทำหน้าที่ตัวเองอย่างกระตือรือร้น ก็เพราะเขามีทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่ เห็นความสำคัญของตัวเอง จึงทำให้เขาทำงานได้อย่างมีความสุข (แถมมีมุขอำกลับอาตมาอีกต่างหาก)

ดังนั้นอาตมาจึงอยากจะหนุนใจญาติโยมที่กำลังรู้สึกย่ำแย่กับงานของตัวเองว่า

ถ้าเราทำงานจนเมื่อยมือเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีมือให้เมื่อย
ถ้าเราเดินไปเดินมาจนปวดขาเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีขาให้ปวด
ถ้าเราเห็นหัวหน้า แล้วเซ็งเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีหัวหน้าให้เซ็ง
ถ้าเราเห็นงาน แล้วเราเบื่องานเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีงานให้เบื่อ


เพราะหลายคนพอไม่มีงานให้ทำ ก็จะประท้วงกัน อยากทำงาน ! อยากทำงาน ! ดังนั้นเมื่อคุณโยมมีโอกาสทำแล้ว ก็จงทำให้ดีที่สุด เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนทัศนคติต่องานที่ทำก่อน เห็นความสำคัญของหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ได้ ทำมันอย่างเต็มที่และดีที่สุด เหมือนดั่งคุณยามที่อาตมายกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น

อาตมาเคยอ่านเจอคำแนะนำของท่านพระธรรมปิฎก (..ประยุตฺโต) ในหนังสือเล่มหนึ่ง ท่านเขียนชี้แนะไว้ว่า

งานมีผลตอบแทนสองชั้นด้วยกัน

ผลตอบแทนชั้นที่ ๑ คือ ตอนเงินเดือนออก นี่คือความสุขชั้นที่หนึ่ง ซึ่งหลายๆ คนมีความสุขในการทำงานแค่วันนั้นวันเดียว แต่ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับงานได้ มันก็จะก้าวไปสู่อีกระดับ อันนำมาซึ่งผลตอบแทนหรือความสุขชั้นที่ ๒ นั่นเอง

หนึ่งเดือน คุณโยมอยากมีความสุขเพียง ๑ ชั้น หรือ ๒ ชั้น ก็เลือกเอาตามใจชอบเลย

เจริญพร...

ขอขอบพระคุณคุณบทความดีๆจากพระอาจารย์สมปอง

ที่ผู้เขียนบล๊อค อยากนำมาเสนอและแบ่งปันให้ทุกๆคนได้อ่านกัน....

บล็อกของ โชเนน

โชเนน
โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน  โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต อาตมาอ่านเจอกลอนในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ผู้เขียนระบายไว้ได้สาแก่ใจมากเลย เร็ว ก็หาว่าล้ำหน้า ช้า ก็หาว่าอืดอาด โง่ ก็ถูกตวาด พอฉลาด ก็ถูกระแวง ทำก่อน บอกไม่ได้สั่ง ทำทีหลัง บอกไม่มีหัวคิด เฮ้อ นี่แหละชีวิตคนทำงาน ข้างต้น น่าจะเป็นกลอนที่โดนใจบรรดาคนทำงานหลายๆ คน เพราะสะท้อนความรู้สึกกดดันอย่างชัดเจน ซึ่งจากการได้พูดคุยกับโยมที่เข้ามาปรึกษาหารือถึงสาเหตุที่ทำงานกันอย่างไม่มีความสุขก็มีปัจจัยมากมาย เช่น ทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด ทำงานที่ไม่ชอบ โดนหัวหน้างานกดขี่…
โชเนน
"ข้าวที่เต็มรวง จะโน้มลงพื้นดิน... เป็นรวงข้าวที่สมบูรณ์ เป็นที่ต้องการ... แต่ถ้าข้าวรวงไหนมีเมล็ดลีบมากๆ... มันจะตั้งตรง... ไม่มีใครอยากเกี่ยวให้ เปลืองแรงหรอก คนเราก็เช่นกัน" คนเราทุกคนมีค่าเท่ากัน.... การถ่อมตนอย่างถูกกาลเทศะ จะสร้างความรู้สึกดีให้กับคนอื่น... แปลว่าคนคนนั้นเติมเต็ม... เหมือนข้าวที่เต็มรวง จะยิ่งโน้มลงดิน เป็นรวงข้าวที่มีค่า... คนที่อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ทับถมใคร... จะดูน่ารักในสายตาคนอื่น... คุยด้วยก็รู้สึกดี... คนเรายิ่งอยู่สูง ยิ่งต้องมองต่ำ... ส่วนคนที่อยู่ต่ำกว่า ต้องมองสูง... และทั้งคู่จะมองเห็นความสวยงามของกันและกัน... อย่างไม่ยาก...…
โชเนน
อยากเอ่ยคำขอบคุณให้กับพี่ๆเพือนๆและทีมงานทุกๆคนที่อยู่ด้วยกันใน 4 วัน... ที่ยอมให้ผมไปสายทั้ง 4 วันเลย ห่ะๆ ผมได้รับแจ้งให้ไปร่วมประชุมอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ก่อนจะหลบเข้ามุมคิดในใจ " เฮยจะไปดีป่าวว่ะ "  แต่นั่นเป็นเพียงแค่ความคิดในใจคนเดียว เพราะในทางปฏิบัติคือ " ต้องไป "    และตัดสินใจเดินทางไปด้วยความโล่งของสมองที่ไม่รู้เลยว่าต้องไปทำอะไรมั่ง รู้แต่ว่าไปแคมป์อบรมเขียนข่าว!!  ซึ่งวันแรกก็ไปสายซะแล้วววว!! ไปถึงวันแรกวันศุกร์ก็สายซะแล้ว ยังงงๆว่ามาทำอะไร เจอคนมากหน้าหลายตาไปหมด มีทั้งคนที่รู้จักและไม่รู้จัก ด้วยความไปช้าเลยได้นั่งหน้าสุด…
โชเนน
ท่านปัญญานันทภิกขุ.....เป็นเช่นนั้นเอง                                 ชาวพุทธเราควรจะอยู่ด้วยความไม่เป็นทุกข์ในอะไรๆที่เกิดขึ้น ให้ทำใจให้เป็นสุขอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น ฝนจะตก ฟ้าจะร้อง หรือว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของเราเราก็จะไม่เป็นทุกข์ในเรื่องนั้น เราจะใช่สติปัญญา เป็นเครื่องพิจารณาแล้วรู้จะปลง รู้จักวางในสิ่งนั้นๆ ไม่เข้าไปยึดถือ ด้วยความโง่ ความเขลา เพราะถ้าเราเข้าไปยึดไปถือด้วยความโง่ความเขลา เราก็เป็นทุกข์…